อาการปวดบริเวณข้อศอกจัดเป็นกลุ่มโรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่พบบ่อยอันดับต้นๆ
เนื่องจากว่าการทำงานไม่ว่าจะงานหนักหรือว่างานเบา มักจะมีการกระดกมือและเหยียดศอกอยู่เสมอๆ เช่น การปัดกวาดบ้าน
การทาสี การตีกลอง ตลอดจนการทำงานบ้านและการเล่นกีฬาต่างๆ ขณะที่ใช้งานข้อศอก กล้ามเนื้ออาจจะทำงานในลักษณะเกร็ง
หรือทำงานซ้ำๆกัน ส่งผลในเกิดอาการปวดบริเวณศอกด้านนอกทำให้เป็นอุปสรรคต่อการทำงานหรือการดำเนินชีวิตได้
อาการปวดข้อศอกด้านนอกนี้ เรียกว่า Tennis elbow หรือ Lateral epicondylitis
สาเหตุ
เกิดจากกล้ามเนื้อหรือเอ็นบริเวณข้อศอกด้านนอกมีการบาดเจ็บหรือฉีกขาดจากการใช้งานซ้ำๆ
เช่น การเหวี่ยงในท่าหลังมือ(back hand)ในนักกีฬา งานสำนักงานที่มีการพิมพ์เอกสารบ่อยๆ ช่างทาสี ช่างฉาบปูน แม่บ้าน เป็นต้น
อาการ
ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บบริเวณข้อศอกเมื่อมีการทำงานของกล้ามเนื้อที่อยู่ด้านนอกแขน เมื่อทำการยืดหรือ
กดกล้ามเนื้อจะมีอาการปวด โดยอาการปวดจะเป็นลักษณะปวดแบบแหลมๆอยู่กับที่หรือมีอาการปวดร้าวไปบริเวณอื่น จะเป็นๆหายๆ
หรือเจ็บตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับระยะของโรคและอาการของโรคว่าผู้ป่วยมีปัญหาเรื้อรังหรือมีการบีบรัดเส้นปรสาท
หรือการตึงตัวของเส้นประสาทร่วมด้วยหรือไม่
วิธีการรักษา
1. พักการใช้งานและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หากมีการอักเสบ บมแดง ร้อน ควรใช้ความเย็นประคบ ประมาณ 10-15 นาที
2. ใช้อุปกรณ์รัดข้อศอกเพื่อลดอาการปวดและลดการทำงานของกล้ามเนื้อ ในกรณีที่ต้องใช้งานมาก
3. ทานยาลดปวด
4. หากไม่มีการอักเสบแล้ว ควรออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ
5. ปรับสภาพงานให้เหมาะสมเพื่อลดภาระการทำงานของกล้ามเนื้อลง เพื่อป้องกันการเกิดโรคซ้ำ
ตัวอย่างออกกำลังกายเพื่อยืดกล้ามเนื้อและเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อบริเวณศอก
https://www.youtube.com/watch?v=P0Ji5AhdbU8
บทความโดยฟิสิคอลคลินิก
ปวดศอกด้านนอก เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง และมีวิธีรักษาอย่างไร
เนื่องจากว่าการทำงานไม่ว่าจะงานหนักหรือว่างานเบา มักจะมีการกระดกมือและเหยียดศอกอยู่เสมอๆ เช่น การปัดกวาดบ้าน
การทาสี การตีกลอง ตลอดจนการทำงานบ้านและการเล่นกีฬาต่างๆ ขณะที่ใช้งานข้อศอก กล้ามเนื้ออาจจะทำงานในลักษณะเกร็ง
หรือทำงานซ้ำๆกัน ส่งผลในเกิดอาการปวดบริเวณศอกด้านนอกทำให้เป็นอุปสรรคต่อการทำงานหรือการดำเนินชีวิตได้
อาการปวดข้อศอกด้านนอกนี้ เรียกว่า Tennis elbow หรือ Lateral epicondylitis
สาเหตุ
เกิดจากกล้ามเนื้อหรือเอ็นบริเวณข้อศอกด้านนอกมีการบาดเจ็บหรือฉีกขาดจากการใช้งานซ้ำๆ
เช่น การเหวี่ยงในท่าหลังมือ(back hand)ในนักกีฬา งานสำนักงานที่มีการพิมพ์เอกสารบ่อยๆ ช่างทาสี ช่างฉาบปูน แม่บ้าน เป็นต้น
อาการ
ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บบริเวณข้อศอกเมื่อมีการทำงานของกล้ามเนื้อที่อยู่ด้านนอกแขน เมื่อทำการยืดหรือ
กดกล้ามเนื้อจะมีอาการปวด โดยอาการปวดจะเป็นลักษณะปวดแบบแหลมๆอยู่กับที่หรือมีอาการปวดร้าวไปบริเวณอื่น จะเป็นๆหายๆ
หรือเจ็บตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับระยะของโรคและอาการของโรคว่าผู้ป่วยมีปัญหาเรื้อรังหรือมีการบีบรัดเส้นปรสาท
หรือการตึงตัวของเส้นประสาทร่วมด้วยหรือไม่
วิธีการรักษา
1. พักการใช้งานและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หากมีการอักเสบ บมแดง ร้อน ควรใช้ความเย็นประคบ ประมาณ 10-15 นาที
2. ใช้อุปกรณ์รัดข้อศอกเพื่อลดอาการปวดและลดการทำงานของกล้ามเนื้อ ในกรณีที่ต้องใช้งานมาก
3. ทานยาลดปวด
4. หากไม่มีการอักเสบแล้ว ควรออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ
5. ปรับสภาพงานให้เหมาะสมเพื่อลดภาระการทำงานของกล้ามเนื้อลง เพื่อป้องกันการเกิดโรคซ้ำ
ตัวอย่างออกกำลังกายเพื่อยืดกล้ามเนื้อและเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อบริเวณศอก
https://www.youtube.com/watch?v=P0Ji5AhdbU8
บทความโดยฟิสิคอลคลินิก