สวัสดีค่ะเพื่อนๆ ราชดำเนิน ขออนุญาต WM แจ้งข่าวและส่งกำลังใจให้เพื่อนสมาชิก
ไม่กี่วันก่อนนู๋นิดเพิ่งได้ตั้งกระทู้ให้กำลังใจไป วันนี้ขอมาตั้งกระทู้ให้กำลังใจนู๋นิดบ้าง
ช่วงนี้นู๋นิดไม่ค่อยสบาย และล่าสุดวันนี้ยังได้รับอุบัติเหตุโดนรถมอเตอร์ไซด์ชนล้ม จนข้อเท้าแพลง
ได้ไปหาหมอแล้ว ตอนนี้ได้กลับมาพักผ่อน และกำลังไข้ขึ้น จึงมาส่งข่าวให้เพื่อนๆ ทราบ
เพื่อช่วยกันส่งกำลังใจให้นู๋นิด จะได้หายป่วยและหายเจ็บเร็วๆ
เห็นนู๋นิดว่าพรุ่งนี้จะขับรถไปทำงานอีก ห้ามเลยนะ กินยา นอนพักมากๆ ให้หายก่อนค่ะ
พร้อมกันนี้ ขออนุญาตนำเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ เรื่องข้อเท้าแพลงมาฝากเพื่อนๆ ค่ะ เผื่อจะเป็นประโยชน์
เจ้าของกระทู้เองก็เป็นคนซุ่มซ่าม และมีเหตุต้องเจ็บตัวอยู่เรื่อย จนได้
คำแนะนำดีๆ จากพี่สาวเหลือน้อยว่า
หากมีอาการบาดเจ็บให้รีบประคบเย็นภายใน 48 ชั่วโมงทันที
ข้อเท้าแพลง (ankle sprain) เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันที่พบได้บ่อยอย่างหนึ่ง
ทั้งจากชีวิตประจำวัน เล่นกีฬา และอุบัติเหตุ
ข้อเท้าแพลงเกิดจากเอ็นและเนื้อเยื่อรอบข้อเท้าฉีกขาด อาจจะเป็นเพียงบางส่วน แต่ในรายที่รุนแรงเอ็นอาจจะฉีกทั้งเส้น
ทำให้เกิดอาการบวมและปวดของข้อเท้าตามมา และข้อเท้าไม่มั่นคง
กายวิภาคของข้อเท้า
ข้อเท้าของคนเรา นอกจากมีกระดูกมาประกอบกันเป็นข้อต่อแล้ว ยังมีเยื่อหุ้มข้อโดยรอบ
ในวันหนึ่งๆ ข้อเท้าและเท้าต้องทำหน้าที่หนักมาก ในเวลาเดิน ข้อเท้าและเท้าจะต้องรับน้ำหนัก 1.5 เท่าของน้ำหนักตัว
ถ้าคิดคำนวณโดยเฉลี่ยแล้ว คนเราใช้เท้าเดินประมาณปีละ 1,000 ไมล์
และเมื่อออกกำลังกาย ข้อเท้าและเท้าจะต้องรับน้ำหนักประมาณ 1,000 ปอนด์ต่อชั่วโมง
หลักการ R.I.C.E
R-Rest นั่งพักเพื่อสังเกตอาการจากข้อเท้าแพลงว่ารุนแรงไหม
I-ICE ประคบเย็นเพื่อลดบวมและช่วยให้เลือกออกน้อยลง โดยประคบเย็นประมาณ 15 นาที ทุกๆ 2 ชม. ข้อห้ามไม่ควรประคบร้อน หรือนวดบริเวณที่เกิดการบาดเจ็บในระยะแรกเพราะจะทำให้บวมมากยิ่งขึ้น
C-Compression ใช้ผ้าพันบริเวณที่บวม และพยายามไม่เคลื่อนไหว ถ้าไม่จำเป็นเพราะจะทำให้ ปวดในบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ
E-Evaluation ยกปลายเท้าให้สูงขึ้น เพื่อลดบวมและลดความเจ็บปวด
8 ขั้นตอน วิธีรักษาและปฐมพยาบาลอาการข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลงในเบื้องต้น
1. ห้ามให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวบริเวณที่เกิดการพลิกโดยเด็ดขาดเพราะอาจมีส่วนของกระดูกแตกเกิดขึ้นได้
ดังนั้นให้หาไม้มาวางประคบแล้วใช้เชือกพันเป็นเฝือก และหากจำเป็นต้องมีการเคลื่อนที่ควรใช้เปล หรือไม้เท้าขณะเดิน
2. หากอาการไม่หนักมากให้ใช้น้ำแข็งหรือผ้าเย็นประคบบริเวณที่เกิดการพลิก โดยประคบครั้งละ 20-30 นาที
เพื่อกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนช้าลง เพราะ ความเย็นจากน้ำแข็งและผ้าเย็นนั้นจะไปทำให้เลือดหดตัว
และมีการไหลเวียนไม่สะดวก ช่วยลดอาการปวดบวมลงได้นั่นเอง
3. ห้ามใช้ยาหม่อง ครีมนวด หรือน้ำมันมวยเป็นอันขาด เพราะตัวยาจะทำให้เกิดการกระตุ้นโลหิตให้ไหลเวียน
และเป็นการเพิ่มอาการบวมให้มากขึ้น นอกจากนั้นตัวยายังมีฤทธิ์แสบร้อน ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บบริเวณที่พลิกมากขึ้นด้วย
4. อีกวิธีหนึ่งที่แนะนำสำหรับการลดการบวมคือ ใช้ผ้าพันบริเวณที่พลิก แต่ผ้าที่พันควรเป็นผ้ายืดและไม่พันแน่นจนเกินไป
เพราะจะทำให้เลือดไปคั่งอยู่บริเวณปลายเท้า และบวมหนักขึ้นกว่าเดิม
5. ยกเท้าให้สูงเข้าไว้ เพื่อลดอัตราการหล่อเลี้ยงของเลือดไม่ให้เข้าไปยังบริเวณที่บวมได้สะดวก
ขณะที่ผู้ป่วยนอนก็ควรหาหมอนหรือท่อนไม้มาหนุนขาข้างที่มีอาการให้สูงกว่าระดับหัวใจ
6. หากผู้ป่วยมีอาการปวดมาก สามารถให้รับประทานยาแก้ปวดได้ แต่ไม่ควรให้รับประทานมาก หรือติดต่อกัน
7. หากผู้ป่วยพ้นระยะ 48 ชั่วโมงไปแล้วให้ใช้วิธีใช้ถุงน้ำร้อนประคบ เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต
หรืออาจใช้สลับกับการประคบเย็นด้วยก็ได้
8. หากมีอาการปวดหรือบวมมาก ให้รีบพาไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพราะอาจมีอาการของกระดูกแตกร่วมด้วย
โดยมากหากอาการที่เกิดขึ้นไม่ร้ายแรงหรือเจ็บปวดนัก จะหายไปได้เองในระยะเวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์
แต่เพื่อความแน่ใจว่าไม่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก แนะนำว่าเมื่อเกิดอาการขึ้นควรรีบไปพบแพทย์
เพราะหากมารักษากันเองอย่างไม่ถูกวิธีแล้ว อาจจะส่งผลให้ข้อเท้าข้างนั้นหายช้า หรืออาจพิการไปเลยก็ได้
ขอบคุณข้อมูลจาก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
https://www.bangkokhospital.com/index.php/th/diseases-treatment/ankle-sprain#sthash.NFyyZTHg.dpuf
http://www.bangkokhealth.com/health/article/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%87-1136
http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.com/8-%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%90%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%81-%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99/
สุดท้ายขอส่งกำลังใจให้นู๋นิด จงผ่านพ้นอุปสรรคไปได้ในทุกๆ เรื่อง ถือว่าฟาดเคราะห์ นับต่อนี้ไปขอให้มีแต่สิ่งดีๆ เกิดขึ้น
เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ เป็นกำลังใจให้เสมอค่ะ ขอให้นู๋นิดแข็งแรงไวๆ แล้วกลับมาร่วมต่อสู้ด้วยกัน พวกเรารออยู่ที่นี่นะ
จับมือกันเดินด้วยใจอดทน
หากใครสักคนล้มลงฉุดมือกันขึ้นไป
จะฝ่าประจันทุกข์อันตราย
กอดคอกันไปไม่กลัวภัยพาล
**เป็นกำลังใจให้นู๋นิด เพชรน้ำนิล หายจากการป่วยและอาการบาดเจ็บเร็ววันค่ะ พร้อมนำเกร็ดความรู้มาฝากเพื่อนๆ** (ชุนเทียน)
ไม่กี่วันก่อนนู๋นิดเพิ่งได้ตั้งกระทู้ให้กำลังใจไป วันนี้ขอมาตั้งกระทู้ให้กำลังใจนู๋นิดบ้าง
ช่วงนี้นู๋นิดไม่ค่อยสบาย และล่าสุดวันนี้ยังได้รับอุบัติเหตุโดนรถมอเตอร์ไซด์ชนล้ม จนข้อเท้าแพลง
ได้ไปหาหมอแล้ว ตอนนี้ได้กลับมาพักผ่อน และกำลังไข้ขึ้น จึงมาส่งข่าวให้เพื่อนๆ ทราบ
เพื่อช่วยกันส่งกำลังใจให้นู๋นิด จะได้หายป่วยและหายเจ็บเร็วๆ
เห็นนู๋นิดว่าพรุ่งนี้จะขับรถไปทำงานอีก ห้ามเลยนะ กินยา นอนพักมากๆ ให้หายก่อนค่ะ
พร้อมกันนี้ ขออนุญาตนำเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ เรื่องข้อเท้าแพลงมาฝากเพื่อนๆ ค่ะ เผื่อจะเป็นประโยชน์
เจ้าของกระทู้เองก็เป็นคนซุ่มซ่าม และมีเหตุต้องเจ็บตัวอยู่เรื่อย จนได้คำแนะนำดีๆ จากพี่สาวเหลือน้อยว่า
หากมีอาการบาดเจ็บให้รีบประคบเย็นภายใน 48 ชั่วโมงทันที
ข้อเท้าแพลง (ankle sprain) เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันที่พบได้บ่อยอย่างหนึ่ง
ทั้งจากชีวิตประจำวัน เล่นกีฬา และอุบัติเหตุ
ข้อเท้าแพลงเกิดจากเอ็นและเนื้อเยื่อรอบข้อเท้าฉีกขาด อาจจะเป็นเพียงบางส่วน แต่ในรายที่รุนแรงเอ็นอาจจะฉีกทั้งเส้น
ทำให้เกิดอาการบวมและปวดของข้อเท้าตามมา และข้อเท้าไม่มั่นคง
กายวิภาคของข้อเท้า
ข้อเท้าของคนเรา นอกจากมีกระดูกมาประกอบกันเป็นข้อต่อแล้ว ยังมีเยื่อหุ้มข้อโดยรอบ
ในวันหนึ่งๆ ข้อเท้าและเท้าต้องทำหน้าที่หนักมาก ในเวลาเดิน ข้อเท้าและเท้าจะต้องรับน้ำหนัก 1.5 เท่าของน้ำหนักตัว
ถ้าคิดคำนวณโดยเฉลี่ยแล้ว คนเราใช้เท้าเดินประมาณปีละ 1,000 ไมล์
และเมื่อออกกำลังกาย ข้อเท้าและเท้าจะต้องรับน้ำหนักประมาณ 1,000 ปอนด์ต่อชั่วโมง
หลักการ R.I.C.E
R-Rest นั่งพักเพื่อสังเกตอาการจากข้อเท้าแพลงว่ารุนแรงไหม
I-ICE ประคบเย็นเพื่อลดบวมและช่วยให้เลือกออกน้อยลง โดยประคบเย็นประมาณ 15 นาที ทุกๆ 2 ชม. ข้อห้ามไม่ควรประคบร้อน หรือนวดบริเวณที่เกิดการบาดเจ็บในระยะแรกเพราะจะทำให้บวมมากยิ่งขึ้น
C-Compression ใช้ผ้าพันบริเวณที่บวม และพยายามไม่เคลื่อนไหว ถ้าไม่จำเป็นเพราะจะทำให้ ปวดในบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ
E-Evaluation ยกปลายเท้าให้สูงขึ้น เพื่อลดบวมและลดความเจ็บปวด
8 ขั้นตอน วิธีรักษาและปฐมพยาบาลอาการข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลงในเบื้องต้น
1. ห้ามให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวบริเวณที่เกิดการพลิกโดยเด็ดขาดเพราะอาจมีส่วนของกระดูกแตกเกิดขึ้นได้
ดังนั้นให้หาไม้มาวางประคบแล้วใช้เชือกพันเป็นเฝือก และหากจำเป็นต้องมีการเคลื่อนที่ควรใช้เปล หรือไม้เท้าขณะเดิน
2. หากอาการไม่หนักมากให้ใช้น้ำแข็งหรือผ้าเย็นประคบบริเวณที่เกิดการพลิก โดยประคบครั้งละ 20-30 นาที
เพื่อกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนช้าลง เพราะ ความเย็นจากน้ำแข็งและผ้าเย็นนั้นจะไปทำให้เลือดหดตัว
และมีการไหลเวียนไม่สะดวก ช่วยลดอาการปวดบวมลงได้นั่นเอง
3. ห้ามใช้ยาหม่อง ครีมนวด หรือน้ำมันมวยเป็นอันขาด เพราะตัวยาจะทำให้เกิดการกระตุ้นโลหิตให้ไหลเวียน
และเป็นการเพิ่มอาการบวมให้มากขึ้น นอกจากนั้นตัวยายังมีฤทธิ์แสบร้อน ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บบริเวณที่พลิกมากขึ้นด้วย
4. อีกวิธีหนึ่งที่แนะนำสำหรับการลดการบวมคือ ใช้ผ้าพันบริเวณที่พลิก แต่ผ้าที่พันควรเป็นผ้ายืดและไม่พันแน่นจนเกินไป
เพราะจะทำให้เลือดไปคั่งอยู่บริเวณปลายเท้า และบวมหนักขึ้นกว่าเดิม
5. ยกเท้าให้สูงเข้าไว้ เพื่อลดอัตราการหล่อเลี้ยงของเลือดไม่ให้เข้าไปยังบริเวณที่บวมได้สะดวก
ขณะที่ผู้ป่วยนอนก็ควรหาหมอนหรือท่อนไม้มาหนุนขาข้างที่มีอาการให้สูงกว่าระดับหัวใจ
6. หากผู้ป่วยมีอาการปวดมาก สามารถให้รับประทานยาแก้ปวดได้ แต่ไม่ควรให้รับประทานมาก หรือติดต่อกัน
7. หากผู้ป่วยพ้นระยะ 48 ชั่วโมงไปแล้วให้ใช้วิธีใช้ถุงน้ำร้อนประคบ เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต
หรืออาจใช้สลับกับการประคบเย็นด้วยก็ได้
8. หากมีอาการปวดหรือบวมมาก ให้รีบพาไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพราะอาจมีอาการของกระดูกแตกร่วมด้วย
โดยมากหากอาการที่เกิดขึ้นไม่ร้ายแรงหรือเจ็บปวดนัก จะหายไปได้เองในระยะเวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์
แต่เพื่อความแน่ใจว่าไม่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก แนะนำว่าเมื่อเกิดอาการขึ้นควรรีบไปพบแพทย์
เพราะหากมารักษากันเองอย่างไม่ถูกวิธีแล้ว อาจจะส่งผลให้ข้อเท้าข้างนั้นหายช้า หรืออาจพิการไปเลยก็ได้
ขอบคุณข้อมูลจาก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สุดท้ายขอส่งกำลังใจให้นู๋นิด จงผ่านพ้นอุปสรรคไปได้ในทุกๆ เรื่อง ถือว่าฟาดเคราะห์ นับต่อนี้ไปขอให้มีแต่สิ่งดีๆ เกิดขึ้น
เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ เป็นกำลังใจให้เสมอค่ะ ขอให้นู๋นิดแข็งแรงไวๆ แล้วกลับมาร่วมต่อสู้ด้วยกัน พวกเรารออยู่ที่นี่นะ
หากใครสักคนล้มลงฉุดมือกันขึ้นไป
จะฝ่าประจันทุกข์อันตราย
กอดคอกันไปไม่กลัวภัยพาล