เส้นเอ็นร้อยหวายหรือ Achilles tendon เป็นเอ็นที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย เชื่อมระหว่างกล้ามเนื้อน่องและกระดูกส้นเท้า
การอักเสบของเอ็นร้อยหวาย พบได้บ่อยในกลุ่มนักวิ่งหรือออกกำลังกายในลักษณะที่มีแรงกระทบบริเวณส้นเท้า
สาเหตุ
อาการบาดเจ็บเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การใช้งานมากเกินไป มักเกิดกับผู้สูงอายุที่ออกกำลังกาย
การเพิ่มความหนักของการออกกำลังกายอย่างทันที การออกกำลังกายโดยไม่ยืดกล้ามเนื้ออย่างเพียงพอ การที่มีภาวะอุ้งเท้าต่ำหรือแบน
มีข้อเท้าบิดเอียง หรือเล่นกีฬาที่ต้องใช้กล้ามเนื้อน่องมากๆ เช่น การวิ่ง การเล่นบาสเก็ตบอล เป็นต้น
การที่กล้ามเนื้อน่องมีความตึงมากเกินไป ทำให้มีแรงดึงรั้งที่เอ็นร้อยหวายมาก จึงเกิดการอักเสบขึ้นมาได้
หรือการที่มีกระดูกงอกที่บริเวณส้นเท้า ทำให้เกิดการเสียดสีกับเอ็นร้อยหวายขณะมีการเคลื่อนไหวข้อเท้าจึงเกิดการอักเสบขึ้นมาได้
อาการ
1. ปวดตามแนวเอ็นร้อยหวายในช่วงการออกกำลังกาย และมีอาการปวดมากขึ้นขณะพัก
2. มีจุดกดเจ็บบริเวณเอ็นร้อยหวาย
3. บวมตลอดเวลา และจะมีอาการมากขึ้นเมื่อยืนหรือเดินมากๆ
การรักษาทางกายภาพบำบัด
1. เมื่อมีอาการปวดมากๆ ควรพักหรือใส่อุปกรณ์ช่วยพยุง โดยเบื้องต้นหากมีอาการปวด บวม แดง ร้อน
ควรประคบเย็น ประมาณ 10-15 นาที ทุก 1-2 ชั่วโมง ร่วมกับการนอนยกเท้าสูง
2. การลดอาการปวด ด้วยเครื่องอัลตร้าซาวน์ เครื่องเลเซอร์ เป็นต้น
3. การติดเทปสีเพื่อลดอาการปวดหรือช่วยส่งเสริมการเคลื่อนไหว ด้วย Tapping technique
4. การออกกำลังกายเพื่อยืดกล้ามเนื้อและลดความตึงตัว รวมถึงเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
โดย ฟิสิคอลคลินิกกายภาพบำบัด
อาการปวดเส้นเอ็นร้อยหวายเกิดขึ้นได้อย่างไร และมีวิธีการรักษาได้อย่างไรบ้าง
การอักเสบของเอ็นร้อยหวาย พบได้บ่อยในกลุ่มนักวิ่งหรือออกกำลังกายในลักษณะที่มีแรงกระทบบริเวณส้นเท้า
สาเหตุ
อาการบาดเจ็บเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การใช้งานมากเกินไป มักเกิดกับผู้สูงอายุที่ออกกำลังกาย
การเพิ่มความหนักของการออกกำลังกายอย่างทันที การออกกำลังกายโดยไม่ยืดกล้ามเนื้ออย่างเพียงพอ การที่มีภาวะอุ้งเท้าต่ำหรือแบน
มีข้อเท้าบิดเอียง หรือเล่นกีฬาที่ต้องใช้กล้ามเนื้อน่องมากๆ เช่น การวิ่ง การเล่นบาสเก็ตบอล เป็นต้น
การที่กล้ามเนื้อน่องมีความตึงมากเกินไป ทำให้มีแรงดึงรั้งที่เอ็นร้อยหวายมาก จึงเกิดการอักเสบขึ้นมาได้
หรือการที่มีกระดูกงอกที่บริเวณส้นเท้า ทำให้เกิดการเสียดสีกับเอ็นร้อยหวายขณะมีการเคลื่อนไหวข้อเท้าจึงเกิดการอักเสบขึ้นมาได้
อาการ
1. ปวดตามแนวเอ็นร้อยหวายในช่วงการออกกำลังกาย และมีอาการปวดมากขึ้นขณะพัก
2. มีจุดกดเจ็บบริเวณเอ็นร้อยหวาย
3. บวมตลอดเวลา และจะมีอาการมากขึ้นเมื่อยืนหรือเดินมากๆ
การรักษาทางกายภาพบำบัด
1. เมื่อมีอาการปวดมากๆ ควรพักหรือใส่อุปกรณ์ช่วยพยุง โดยเบื้องต้นหากมีอาการปวด บวม แดง ร้อน
ควรประคบเย็น ประมาณ 10-15 นาที ทุก 1-2 ชั่วโมง ร่วมกับการนอนยกเท้าสูง
2. การลดอาการปวด ด้วยเครื่องอัลตร้าซาวน์ เครื่องเลเซอร์ เป็นต้น
3. การติดเทปสีเพื่อลดอาการปวดหรือช่วยส่งเสริมการเคลื่อนไหว ด้วย Tapping technique
4. การออกกำลังกายเพื่อยืดกล้ามเนื้อและลดความตึงตัว รวมถึงเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
โดย ฟิสิคอลคลินิกกายภาพบำบัด