*** สัมมาทิฐิเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาทิฐิ. เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมาทิฐิของพระอริยะ.เป็นองค์มรรค อย่าง ๑

.
**********
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=3724&Z=3923

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
 
๗. มหาจัตตารีสกสูตร (๑๑๗)
             [๒๕๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
             ...
...

             [๒๕๓] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า 

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็
สัมมาสมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ คือ
สัมมาทิฐิ

สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา 
สัมมากัมมันตะ 
สัมมาอาชีวะ 
สัมมาวายามะ 
สัมมาสติ เป็นไฉน
     
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ประกอบแล้วด้วยองค์ ๗ เหล่านี้แล
เรียกว่า สัมมาสมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุบ้าง มีองค์ประกอบบ้าง ฯ

             [๒๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็น
ประธาน 

ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร 
คือ ภิกษุรู้จักมิจฉาทิฐิว่ามิจฉาทิฐิ
รู้จักสัมมาทิฐิว่าสัมมาทิฐิ ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ ฯ
      ...
...

             [๒๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย  เรากล่าวสัมมาทิฐิเป็น ๒ อย่าง คือ 

สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ 
สัมมาทิฐิของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ
เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ


             [๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ 

ความเห็นดังนี้ว่า 
ทานที่ให้แล้ว มีผล 
ยัญที่บูชาแล้ว มีผล 
สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล 
ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้ว มีอยู่ 
โลกนี้มี 
โลกหน้ามี 
มารดามี 
บิดามี 
สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี 
สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง
เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่ 

นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ

             [๒๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน 

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ปัญญา
ปัญญินทรีย์
ปัญญาพละ 
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ 
ความเห็นชอบ 
องค์แห่งมรรค ของภิกษุผู้มี
จิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่

นี้แล สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค 

             ...
...

**********
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=252
อรรถกถา มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ อนุปทวรรคมหาจัตตารีสกสูตร ว่าด้วยมรรคที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ
 
               ๗. อรรถกถามหาจัตตารีสกสูตร     
            ...
...

              บทว่า ทฺวยํ วทามิ ความว่า เรากล่าว (สัมมาทิฏฐิ) ไว้สองส่วน.
               บทว่า ปุญฺญภาคิยา แปลว่า เป็นส่วนแห่งบุญ.
               บทว่า อุปธิเวปกฺกา แปลว่า ให้วิบาก คือ อุปธิ.

               ในบทว่า ปญฺญา ปญฺญินฺทริยํ เป็นต้น ที่ชื่อว่าปัญญา เพราะจำแนกออกแล้วๆ ยังประตูแห่งอมตะให้ปรากฏ คือแสดงให้เห็น.

               ชื่อว่า ปัญญินทรีย์ เพราะทำความเป็นใหญ่ในอรรถ (ภาวะ) อันนั้น

               ชื่อว่า ปัญญาพละ เพราะไม่หวั่นไหวด้วยอวิชชา.

               ชื่อว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เพราะบรรลุองค์แห่งการตรัสรู้แล้ว ค้นคว้าสัจธรรม ๔.
               ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ เพราะเห็นดีงามด้วยความสมบูรณ์แห่งมรรค.
               ชื่อว่า องค์แห่งมรรค เพราะเป็นองค์แห่งอริยมรรค.
                ...
...

==========

==========
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=542
อรรถกถา วิภังคปกรณ์โพชฌงควิภังค์ สุตตันตภาชนีย์
 
               อรรถกถาโพชฌังควิภังค์   
               ...

...
...

                         ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์               
               คำว่า โส ตถา สโต วิหรนฺโต ได้แก่ ภิกษุนั้นเป็นผู้มีสติ ด้วยสติอันเกิดขึ้นแล้วด้วยอาการอย่างนั้นอยู่.
               คำว่า ตํ ธมฺมํ ได้แก่ กิจที่กระทำไว้นานๆ วาจาที่กล่าวไว้นานๆ ซึ่งเป็นธรรมมีประการตามที่กล่าวแล้วในหนหลังนั้น.
               คำว่า ปญฺญาย วิจินติ ได้แก่ ย่อมวิจัย (ค้นคว้า) ด้วยปัญญาว่า นี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.
               คำว่า ปวิจินติ ได้แก่ ยังปัญญาให้ใคร่ครวญไปในธรรมนั้นว่า เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.
               คำว่า ปริวิมํสํ อาปชฺชติ ได้แก่ ย่อมถึงการแลดูค้นคว้า.
               คำว่า อยํ วุจฺจติ นี้มีประการตามที่กล่าวแล้ว คือเป็นสมุฏฐานแห่งโพชฌงค์ เป็นวิปัสสนาญาณ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่าธัมมวิจยสัมโพชฌงค์          
         ...
...
.
==========

.

.
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่