พระบาลีเปรียบเทียบจิตในพระสูตร และ จิตในพระอภิธรรม
๑.จิตในพระสูตร มีว่าไว้ดังนี้ คือ
“จิตฺเตน นิยติ โลโก จิตฺเตน ปริกสฺสติ จิตฺตสฺส เอกธมฺมสฺส สพฺเพ ว วสมนฺวคู”
แปลว่า
“โลกย่อมหมุนไปตามจิต ธรรมทั้งปวงย่อมขึ้นแก่ธรรมอันเดียว คือจิตเท่านั้น”
ทั้งนี้ย่อมพิจารณาเห็นได้ว่า
จิตซึ่งเป็นประธานของธรรมทั้งปวงนั้น
ย่อมดับตายหายสูญไปไหนไม่ได้
จึงต้องมีแก่นสารมั่นคงตลอดไป
๒.จิตในพระอภิธรรม มีว่าไว้ดังนี้ คือ
“อนิพฺพตฺเตน ชาโต ปจฺจุปนฺเนน ชีวิติ จิตฺตภงฺคา มโตโลโก ปญฺญตฺติ ปรมตฺถิยา”
แปลว่า
“เมื่อจิตไม่เกิด โลกก็ไม่เกิด โลกอยู่ได้เพราะจิตกำลังเกิดอยู่ เมื่อจิตดับ โลกก็ตาย นี้เป็นบัญญัติโดยปรมัตถ์”
ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่า
จิตในพระอภิธรรม ไม่มีแก่นสารอะไรเลย เกิดขึ้น
แล้วก็ย่อมดับตายหายสูญไปตามกาลเวลาตลอดไป
ดังนั้น จึงนับเอาเป็นประธานของธรรมทั้งปวงเหมือนดังจิตในพระสูตรไม่ได้เลย.
จิตในพระสูตร ปฏิบัติตามได้ แต่จิตในพระอภิธรรมปฏิบัติตามไม่ได้
๑.จิตในพระสูตร มีว่าไว้ดังนี้ คือ
“จิตฺเตน นิยติ โลโก จิตฺเตน ปริกสฺสติ จิตฺตสฺส เอกธมฺมสฺส สพฺเพ ว วสมนฺวคู”
แปลว่า
“โลกย่อมหมุนไปตามจิต ธรรมทั้งปวงย่อมขึ้นแก่ธรรมอันเดียว คือจิตเท่านั้น”
ทั้งนี้ย่อมพิจารณาเห็นได้ว่า
จิตซึ่งเป็นประธานของธรรมทั้งปวงนั้น
ย่อมดับตายหายสูญไปไหนไม่ได้
จึงต้องมีแก่นสารมั่นคงตลอดไป
๒.จิตในพระอภิธรรม มีว่าไว้ดังนี้ คือ
“อนิพฺพตฺเตน ชาโต ปจฺจุปนฺเนน ชีวิติ จิตฺตภงฺคา มโตโลโก ปญฺญตฺติ ปรมตฺถิยา”
แปลว่า
“เมื่อจิตไม่เกิด โลกก็ไม่เกิด โลกอยู่ได้เพราะจิตกำลังเกิดอยู่ เมื่อจิตดับ โลกก็ตาย นี้เป็นบัญญัติโดยปรมัตถ์”
ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่า
จิตในพระอภิธรรม ไม่มีแก่นสารอะไรเลย เกิดขึ้น
แล้วก็ย่อมดับตายหายสูญไปตามกาลเวลาตลอดไป
ดังนั้น จึงนับเอาเป็นประธานของธรรมทั้งปวงเหมือนดังจิตในพระสูตรไม่ได้เลย.