“ประเสริฐ” ชี้หากร่าง พ.ร.บ.ประชามติถูกเท รบ.ต้องยุบสภาฯ-ลาออก
https://www.matichon.co.th/politics/news_2646473
“ประเสริฐ” ชี้หากร่าง พ.ร.บ.ประชามติถูกเท รบ.ต้องยุบสภาฯ-ลาออก จ่อประชุมพรรคหารือแก้ รธน.รายมาตรา เผยเตรียมเคาะโทษ 26 ส.ส.
เมื่อวันที่ 28 มีนาคม นาย
ประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส. นครราชสีมา ในฐานะเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่า หลังจากมีพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญ พ.ศ.2564 ตั้งแต่วันที่ 7 เมษายนเป็นต้นไปนั้น ทางรัฐสภาจะได้มีการประชุมเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติฯ ต่อในมาตรา 10 ทันทีหลังจากที่รอให้กฤษฎีกาและกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาแก้ไขรายละเอียดต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ซึ่งตนหวังว่าจะไม่มีใครไปยื่นร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อตีความอีก เพราะจะทำให้การพิจารณาช้าลงไปอีก ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์เหมือนกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญอีก ที่สำคัญเป็นอำนาจของสมาชิกรัฐสภาที่จะดำเนินการได้
นาย
ประเสริฐ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ร่าง พ.ร.บ.ประชามติฯ เป็นกฎหมายปฏิรูปที่รัฐบาลเสนอเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีการตีความ ขณะที่ผู้แปรญัตติก็ดำเนินการโดยไม่ขัดกับหลักการในวาระ 1 จึงอยากให้สมาชิกรัฐสภาให้ความสำคัญกับกฎหมายฉบับนี้ เนื่องจากมีผลต่อการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญในอนาคตด้วย อย่างไรก็ตาม หากร่าง พ.ร.บ.ประชามติฯ ไม่ผ่าน รัฐบาลต้องเป็นผู้รับผิดชอบโดยการยุบสภาฯ หรือลาออก เพราะเป็นกฎหมายที่รัฐบาลเสนอ
นาย
ประเสริฐ กล่าวถึงการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญหลังร่างแก้ไขเพิ่มเติมถูกคว่ำไปแล้วว่า ขึ้นอยู่กับการเสนอญัตติว่าจะแก้ไขต่ออย่างไร ซึ่งก็คงจะต้องเดินหน้าแก้ไขเป็นรายมาตรา โดยในช่วงต้นเดือนเมษายน พรรคเพื่อไทยจะได้เรียกประชุม ส.ส.ของพรรคเพื่อหารือถึงเรื่องดังกล่าวอีกครั้ง โดยหลักก็จะต้องแก้ไขเป็นรายมาตราโดยเฉพาะในเรื่องของอำนาจหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) รวมทั้งเรื่องของการเลือกตั้ง ซึ่งจะได้สอบถามความเห็นของ ส.ส.อีกครั้ง โดยเราอยากแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย และประชาชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขด้วย จากนั้นจะได้หารือกับทางพรรคร่วมฝ่ายค้านอีกครั้งหนึ่ง
นาย
ประเสริฐ กล่าวถึงมาตรการลงโทษ 26 ส.ส.เพื่อไทยที่ขัดมติพรรค ไม่ยอมโหวตเห็นชอบร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาคำชี้แจงของ ส.ส.แต่ละคน ซึ่งจะสรุปความคิดเห็นได้ภายในสัปดาห์หน้า ก่อนที่จะเสนอเรื่องเข้าสู่คณะกรรมการจริยธรรมของพรรค เพื่อพิจารณามาตรการดำเนินการกับ ส.ส.ต่อไป หาก ส.ส.คนใดพิจารณาแล้วเข้าข่าย ก็จะมีผลต่อการพิจารณาตำแหน่งในกรรมาธิการชุดต่างๆ
TDRI เตือน! สงกรานต์นี้ เสี่ยงโควิดระบาดรุนแรงขึ้น
https://www.tnnthailand.com/news/covid19/75477/
“ทีดีอาร์ไอ เตือนสงกรานต์ปีนี้ การแพร่ระบาดของโค-19 มีความเสี่ยงรุนแรงมากกว่าวันหยุดยาวในครั้งก่อน”
วันนี้ ( 28 มี.ค. 64 )ดร.
วิโรจน์ ณ ระนอง ผู้อำนวยการวิจัย ด้านสาธารณสุขและการเกษตร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบันว่าน่าจะมีผู้ติดเชื้อที่หลงเหลืออยู่จำนวนมาก ทำให้การเดินทางกลับต่างจังหวัดที่น่าจะเกิดขึ้นอย่างขนานใหญ่ในช่วงหยุดยาวสงกรานต์นี้ รวมทั้งกิจกรรมต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในช่วงดังกล่าว มีโอกาสที่จะเพิ่มการระบาดในต่างจังหวัดที่น่าจะรุนแรงกว่าในปีที่ผ่านมาก
แม้ทางศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. เองก็ได้ออกมาตรการมาบางประการ เช่น ขอความร่วมมือ “
งดสาดน้ำ ประแป้ง ปาร์ตี้โฟม และจัดคอนเสิร์ต” นอกจากนี้ยังมีมติลดเวลาการกักตัวเหลือ 10 วันจาก 14 วัน และแบ่งโซนจังหวัดเป็นกลุ่มสีต่างๆ และการกำหนดมาตรการในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในช่วงสงกรานต์ แต่มาตรการเหล่านี้ไม่น่าเพียงพอที่จะป้องกันการระบาดได้มากนัก เมื่อพิจารณาความเสี่ยงที่สำคัญในช่วงต่างๆ
เนื่องจากในช่วงการเดินทาง โดยเฉพาะรถทัวร์ รถโดยสาร และรถตู้ รวมทั้งรถโดยสารในตัวจังหวัด ไม่ชัดเจนว่ายังคงใช้มาตรการเว้นระยะห่างมากน้อยแค่ไหน แต่คาดว่าในช่วงวันหยุดยาวนี้ น่าจะมีความต้องการเดินทางเป็นจำนวนมาก ถ้ารัฐไม่เน้นเรื่องนี้อย่างชัดเจน ก็อาจมีการละเลยมาตรการด้านความปลอดภัยที่อาจจะสำคัญกว่านั้นอีก เช่น การบังคับให้ทุกคนสวมหน้ากากตลอดเวลา
ดังนั้น วันหยุดยาวในเทศช่วงสงกรานต์ครั้งนี้มีความเสี่ยงมากกว่าวันหยุดยาวในครั้งก่อนๆ มาก ทั้งจากธรรมชาติของกิจกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงสงกรานต์เอง และจากสถานการณ์ในปัจจุบันซึ่งน่าจะมีผู้ติดเชื้อ โดยเฉพาะกลุ่มที่หนุ่มสาวที่แข็งแรงและไม่มีอาการชัดเจน แฝงตัวอยู่ในประชากรในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดใกล้เคียง ที่จะเดินทางกลับต่างจังหวัดเป็นจำนวนมากกว่าเมื่อกลางเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 หลายเท่าตัว
ซึ่งแม้ว่าประชาชนไทยควรได้รับโอกาสที่จะผ่อนคลายบ้างหลังจากที่ไม่ได้รับโอกาสในช่วงสงกรานต์ในปีก่อน แต่รัฐบาลควรจะต้องส่งสัญญาณที่ชัดเจนไปยังประชาชนว่าเรากำลังอยู่ในสถานการณ์ความเสี่ยงที่สูงขึ้น รวมทั้งความเสี่ยงที่คนหนุ่มสาวอาจนำเชื้อไประบาดและเพิ่มความเสี่ยงกับญาติผู้ใหญ่มากขึ้น และต้องเพิ่มความเข้มงวดในการปฏิบัติตามมาตรการที่สำคัญ เช่น การใช้หน้ากาก ไม่ใช่ส่งสัญญาณที่เหมือนอนุญาตให้ผ่อนคลายหรือ “ปล่อยการ์ดตกได้” เสียเอง
ทั้งนี้ การประเมินของ TDRI ครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย “COVID-19 Policy Watch” ซึ่งเป็นโครงการย่อยใน “
โครงการประเมินผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในมิติสังคมและเศรษฐกิจ” ที่ TDRI ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
“สุรเกียรติ์”ชี้”พม่า”อยู่เหนือหลักไม่แทรกแซงกิจการภายในแล้ว ห่วงจุดยืน-ภาพลักษณ์ไทย
https://www.matichon.co.th/politics/news_2646641
“สุรเกียรติ์” ชี้ ”พม่า” อยู่นอกเหนือหลักไม่แทรกแซงกิจการภายในแล้ว ห่วงจุดยืน-ภาพลักษณ์ไทย
เมื่อวันที่ 28 มี.ค. ศาสตราจารย์ ดร.
สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ประธานคณะมนตรีเพื่อสันติภาพและความปรองดองแห่งเอเชีย(APRC)และอดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้กล่าวถึงสถานการณ์ในเมียนมาว่า
เหตุการณ์ความรุนแรงในเมียนมาในขณะนี้มีผลกับประเทศไทยทั้งในเชิงจุดยืน ภาพพจน์และชื่อเสียง และมีผลกระทบที่เป็นรูปธรรมต่อเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคงของไทยอย่างมาก
ในด้านจุดยืน ภาพพจน์และชื่อเสียงของประเทศไทยนั้น เมื่อกองทัพเมียนมา มีการใช้ความรุนแรงในการปราบปรามผู้ชุมนุมประท้วงโดยใช้กระสุนจริงยิงใส่ผู้ประท้วงจนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ใช้กำลังในการปราบปรามเช่นการซ้อม ทุบตีคนเห็นต่าง ทำร้ายร่างกายคนที่ใช้อารยะขัดขืนไม่ออกไปทำงาน ไม่เว้นแม้แต่การใช้กระสุนจริงต่อเด็กอายุ 5 ขวบ 7 ขวบ 10ขวบ และประชาชนทั่วไป ทำให้มีผู้เสียชีวิตนับร้อยในวันเดียวก็เกิดขึ้นมาแล้ว ทำให้หลักการไม่แทรกแซงในกิจการภายในของประเทศอาเซียน ต้องมีการทำความเข้าใจกันใหม่ เพราะตามกฎหมายระหว่างประเทศและกฎบัตรสหประชาชาติแล้ว เรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงเช่นที่กล่าวมานี้ เรื่องการละเมิดหลักมนุษยธรรม เรื่องอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ เป็นข้อยกเว้นของหลักการไม่แทรกแซงในกิจการภายในของประเทศสมาชิกของสหประชาชาติ
การกระทำเช่นว่านั้น ทำให้ประเทศที่กระทำการนั้นๆ หมดสิทธิที่จะอ้างหลักการไม่แทรกแซง เพราะสถานการณ์ดังกล่าวเป็นเรื่องของสังคมระหว่างประเทศไปเสียแล้ว โดยมีกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายขององค์การระหว่างประเทศ และองค์การภูมิภาคเช่นกฎบัตรของอาเซียนใช้บังคับอยู่
ดังจะเห็นได้ว่า สมาชิกประชาคมระหว่างประเทศ แม้บางประเทศไม่ได้ประณามการยึดอำนาจของกองทัพเมียนมา แต่ก็ได้ออกมาเรียกร้องให้กองทัพเมียนมายุติการใช้กำลัง ยุติการใช้อาวุธร้ายแรงกับประชาชนที่นำไปสู่การบาดเจ็บล้มตายนับร้อยตั้งแต่มีการยึดอำนาจตั้งแต่1 กพ. 2564เป็นต้นมา ประเทศไทยเอง แม้เราจะไม่ก้าวก่ายกิจการภายในว่าใครจะชนะ จะแพ้การเลือกตั้ง ไม่ก้าวก่ายว่าเมียนมาจะจัดการบริหารประเทศอย่างใด แต่ในฐานะเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิด และมีความสัมพันธ์ที่ดีกัน การกระทำใดที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง การกระทำที่จะนำไปสู่การเป็นอาชญากรต่อมนุษยชาติ ประเทศไทยย่อมอยู่ในฐานะทางกฎหมายและทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่จะเรียกร้องให้เพื่อนยุติการกระทำเช่นนั้น เพราะการกระทำดังกล่าวได้ทำให้เมียนมาพ้นสิทธิในการอ้างหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในแล้ว หากแต่เป็นเรื่องของหลักสากล ที่ย่อมไม่ให้มีการเลือกฆ่าประชาชนผู้เห็นต่าง อย่างที่เป็นอยู่ในเมียนมาขณะนี้
การที่ประเทศไทยเลือกที่จะนิ่งเฉยเมื่อมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงโดยอ้างหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในนั้น นอกจากจะเป็นการอ้างหลักต่อสถานการณ์ที่ผิดจากหลักปฏิบัติระหว่างประเทศแล้ว จะทำให้สังคมระหว่างประเทศมองด้วยความเข้าใจว่าประเทศไทยยอมรับหรืออาจมองว่าสนับสนุนการใช้กระสุนจริง การกระทำของกองทัพเมียนมาที่มีผลต่อการสูญเสียชีวิตของคนเมียนมาทั้งๆที่ผมมั่นใจว่าไม่ใช่จุดยืนของประเทศไทยและคนไทย
นอกจากนี้ ศ. ดร. สุรเกียรติ์ ได้กล่าวว่า ในด้านผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงของไทยนั้น สถานการณ์ในเมียนมาที่ลุกลามเกิดความไม่สงบเช่นนี้ เป็นเรื่องของไทย จะบอกว่าเป็นเรื่องของเมียนมาฝ่ายเดียวไม่ได้ เพราะกระทบผลประโยชน์ของประชาชนคนไทยอย่างมาก
ประการแรก การปราบปรามผู้ประท้วงโดยใช้อาวุธนี้ และการไม่หาทางเจรจากับผู้เห็นต่างเพื่อนำไปสู่ทางออกที่สันติ ทำให้เศรษฐกิจเมียนมาดิ่งเหวลงไปอีก นอกจากผลต่อเศรษฐกิจจากโควิดแล้ว นักธุรกิจจากทุกประเทศ รวมทั้งคนเมียนมาเอง ย่อมยุติหรือชะลอการลงทุน การทำการค้าขาย ทำให้คนยากจนในเมียนมาเดือดร้อนขึ้นไปอีก ซึ่งก็ต้องหนีร้อนมาพึ่งเย็นในประเทศไทยเป็นธรรมดา
ประการที่สอง การสู้รบระหว่างกองกำลังชนกลุ่มน้อยและบางรัฐกับกองทัพเมียนมาจะทำให้มีผู้หลบลี้หนีภัยพลัดถิ่นมายังประเทศไทย ซึ่งประเทศไทยเอง หรือองค์การระหว่างประเทศที่ทำงานอยู่ที่ชายแดน ก็จะต้องใช้ความมีมนุษยธรรมที่จะไม่ผลักดันผู้ลี้ภัยออกไปสู่ภยันตราย เป็นภาระที่เคยเกิดกับไทยเมื่อ30กว่าปีที่แล้ว จนปัจจุบันก็ยังมีผู้ลี้ภ้ย ที่เราเรียกว่าผู้พลัดถิ่น อาศัยอยู่ตามแนวชายแดนจำนวนมาก
ในสองประการนี้ ยังไม่ได้รวมปัญหาความเสี่ยงจากการระบาดของโรคโควิด-19 ที่อาจติดมากับผู้หนีความยากแค้น และหนีการสู้รบ มาหางาน หาทางรอดในประเทศไทยอีกด้วย ซึ่งเมื่อมีการลักลอบเข้ามาแล้วเดินทางไปยังพื้นที่ต่างๆของประเทศไทย ปัญหาการระบาดที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤจิกายน 2563 จนเราต้องตรวจสอบอย่างเข้มข้น ปิดกิจกรรมธุรกิจบางพื้นที่ในหลายจังหวัดมาจนเศรษฐกิจไทยล้มซวนเซเป็นระลอกที่สองมาแล้ว ก็อาจจะมาเกิดขึ้นอีกได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีใครปรารถนา ไม่ว่ารัฐบาลหรือประชาขน
ดังนั้น ผมเห็นว่าประเทศไทยควรมีการแสดงจุดยืนร่วมกับนานาประเทศในเรื่องการไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรงของกองทัพเมียนมาจนเกิดการล้มตายเป็นจำนวนมากได้ โดยไม่ต้องห่วงการที่เพื่อนบ้านจะไม่พอใจ เพราะจุดยืนของไทยในการไม่แทรกแซงการเมืองภายในเมียนมายังเหมือนเดิม แต่การขอร้องให้หยุดการ กระทำที่ไม่มีมนุษยธรรม ย่อมเป็นสิ่งที่เพื่อนต้องตักเตือนกัน ต้องโน้มน้าวให้ยุติเสีย และยิ่งกว่านั้น การใช้ความรุนแรงปราบปรามนั้น จะมีผลให้ไทยต้องรับภาระดังกล่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อีกด้วย
JJNY : 4in1 ประเสริฐชี้หากร่างประชามติถูกเท│TDRIเตือน!สงกรานต์เสี่ยง│สุรเกียรติ์ห่วงจุดยืน-ภาพลักษณ์ไทย│เรียกอ.สอบเพิ่ม
https://www.matichon.co.th/politics/news_2646473
เมื่อวันที่ 28 มีนาคม นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส. นครราชสีมา ในฐานะเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่า หลังจากมีพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญ พ.ศ.2564 ตั้งแต่วันที่ 7 เมษายนเป็นต้นไปนั้น ทางรัฐสภาจะได้มีการประชุมเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติฯ ต่อในมาตรา 10 ทันทีหลังจากที่รอให้กฤษฎีกาและกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาแก้ไขรายละเอียดต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ซึ่งตนหวังว่าจะไม่มีใครไปยื่นร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อตีความอีก เพราะจะทำให้การพิจารณาช้าลงไปอีก ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์เหมือนกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญอีก ที่สำคัญเป็นอำนาจของสมาชิกรัฐสภาที่จะดำเนินการได้
นายประเสริฐ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ร่าง พ.ร.บ.ประชามติฯ เป็นกฎหมายปฏิรูปที่รัฐบาลเสนอเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีการตีความ ขณะที่ผู้แปรญัตติก็ดำเนินการโดยไม่ขัดกับหลักการในวาระ 1 จึงอยากให้สมาชิกรัฐสภาให้ความสำคัญกับกฎหมายฉบับนี้ เนื่องจากมีผลต่อการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญในอนาคตด้วย อย่างไรก็ตาม หากร่าง พ.ร.บ.ประชามติฯ ไม่ผ่าน รัฐบาลต้องเป็นผู้รับผิดชอบโดยการยุบสภาฯ หรือลาออก เพราะเป็นกฎหมายที่รัฐบาลเสนอ
นายประเสริฐ กล่าวถึงการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญหลังร่างแก้ไขเพิ่มเติมถูกคว่ำไปแล้วว่า ขึ้นอยู่กับการเสนอญัตติว่าจะแก้ไขต่ออย่างไร ซึ่งก็คงจะต้องเดินหน้าแก้ไขเป็นรายมาตรา โดยในช่วงต้นเดือนเมษายน พรรคเพื่อไทยจะได้เรียกประชุม ส.ส.ของพรรคเพื่อหารือถึงเรื่องดังกล่าวอีกครั้ง โดยหลักก็จะต้องแก้ไขเป็นรายมาตราโดยเฉพาะในเรื่องของอำนาจหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) รวมทั้งเรื่องของการเลือกตั้ง ซึ่งจะได้สอบถามความเห็นของ ส.ส.อีกครั้ง โดยเราอยากแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย และประชาชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขด้วย จากนั้นจะได้หารือกับทางพรรคร่วมฝ่ายค้านอีกครั้งหนึ่ง
นายประเสริฐ กล่าวถึงมาตรการลงโทษ 26 ส.ส.เพื่อไทยที่ขัดมติพรรค ไม่ยอมโหวตเห็นชอบร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาคำชี้แจงของ ส.ส.แต่ละคน ซึ่งจะสรุปความคิดเห็นได้ภายในสัปดาห์หน้า ก่อนที่จะเสนอเรื่องเข้าสู่คณะกรรมการจริยธรรมของพรรค เพื่อพิจารณามาตรการดำเนินการกับ ส.ส.ต่อไป หาก ส.ส.คนใดพิจารณาแล้วเข้าข่าย ก็จะมีผลต่อการพิจารณาตำแหน่งในกรรมาธิการชุดต่างๆ
TDRI เตือน! สงกรานต์นี้ เสี่ยงโควิดระบาดรุนแรงขึ้น
https://www.tnnthailand.com/news/covid19/75477/
“ทีดีอาร์ไอ เตือนสงกรานต์ปีนี้ การแพร่ระบาดของโค-19 มีความเสี่ยงรุนแรงมากกว่าวันหยุดยาวในครั้งก่อน”
วันนี้ ( 28 มี.ค. 64 )ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง ผู้อำนวยการวิจัย ด้านสาธารณสุขและการเกษตร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบันว่าน่าจะมีผู้ติดเชื้อที่หลงเหลืออยู่จำนวนมาก ทำให้การเดินทางกลับต่างจังหวัดที่น่าจะเกิดขึ้นอย่างขนานใหญ่ในช่วงหยุดยาวสงกรานต์นี้ รวมทั้งกิจกรรมต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในช่วงดังกล่าว มีโอกาสที่จะเพิ่มการระบาดในต่างจังหวัดที่น่าจะรุนแรงกว่าในปีที่ผ่านมาก
แม้ทางศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. เองก็ได้ออกมาตรการมาบางประการ เช่น ขอความร่วมมือ “งดสาดน้ำ ประแป้ง ปาร์ตี้โฟม และจัดคอนเสิร์ต” นอกจากนี้ยังมีมติลดเวลาการกักตัวเหลือ 10 วันจาก 14 วัน และแบ่งโซนจังหวัดเป็นกลุ่มสีต่างๆ และการกำหนดมาตรการในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในช่วงสงกรานต์ แต่มาตรการเหล่านี้ไม่น่าเพียงพอที่จะป้องกันการระบาดได้มากนัก เมื่อพิจารณาความเสี่ยงที่สำคัญในช่วงต่างๆ
เนื่องจากในช่วงการเดินทาง โดยเฉพาะรถทัวร์ รถโดยสาร และรถตู้ รวมทั้งรถโดยสารในตัวจังหวัด ไม่ชัดเจนว่ายังคงใช้มาตรการเว้นระยะห่างมากน้อยแค่ไหน แต่คาดว่าในช่วงวันหยุดยาวนี้ น่าจะมีความต้องการเดินทางเป็นจำนวนมาก ถ้ารัฐไม่เน้นเรื่องนี้อย่างชัดเจน ก็อาจมีการละเลยมาตรการด้านความปลอดภัยที่อาจจะสำคัญกว่านั้นอีก เช่น การบังคับให้ทุกคนสวมหน้ากากตลอดเวลา
ดังนั้น วันหยุดยาวในเทศช่วงสงกรานต์ครั้งนี้มีความเสี่ยงมากกว่าวันหยุดยาวในครั้งก่อนๆ มาก ทั้งจากธรรมชาติของกิจกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงสงกรานต์เอง และจากสถานการณ์ในปัจจุบันซึ่งน่าจะมีผู้ติดเชื้อ โดยเฉพาะกลุ่มที่หนุ่มสาวที่แข็งแรงและไม่มีอาการชัดเจน แฝงตัวอยู่ในประชากรในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดใกล้เคียง ที่จะเดินทางกลับต่างจังหวัดเป็นจำนวนมากกว่าเมื่อกลางเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 หลายเท่าตัว
ซึ่งแม้ว่าประชาชนไทยควรได้รับโอกาสที่จะผ่อนคลายบ้างหลังจากที่ไม่ได้รับโอกาสในช่วงสงกรานต์ในปีก่อน แต่รัฐบาลควรจะต้องส่งสัญญาณที่ชัดเจนไปยังประชาชนว่าเรากำลังอยู่ในสถานการณ์ความเสี่ยงที่สูงขึ้น รวมทั้งความเสี่ยงที่คนหนุ่มสาวอาจนำเชื้อไประบาดและเพิ่มความเสี่ยงกับญาติผู้ใหญ่มากขึ้น และต้องเพิ่มความเข้มงวดในการปฏิบัติตามมาตรการที่สำคัญ เช่น การใช้หน้ากาก ไม่ใช่ส่งสัญญาณที่เหมือนอนุญาตให้ผ่อนคลายหรือ “ปล่อยการ์ดตกได้” เสียเอง
ทั้งนี้ การประเมินของ TDRI ครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย “COVID-19 Policy Watch” ซึ่งเป็นโครงการย่อยใน “โครงการประเมินผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในมิติสังคมและเศรษฐกิจ” ที่ TDRI ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
“สุรเกียรติ์”ชี้”พม่า”อยู่เหนือหลักไม่แทรกแซงกิจการภายในแล้ว ห่วงจุดยืน-ภาพลักษณ์ไทย
https://www.matichon.co.th/politics/news_2646641
“สุรเกียรติ์” ชี้ ”พม่า” อยู่นอกเหนือหลักไม่แทรกแซงกิจการภายในแล้ว ห่วงจุดยืน-ภาพลักษณ์ไทย
เมื่อวันที่ 28 มี.ค. ศาสตราจารย์ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ประธานคณะมนตรีเพื่อสันติภาพและความปรองดองแห่งเอเชีย(APRC)และอดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้กล่าวถึงสถานการณ์ในเมียนมาว่า
เหตุการณ์ความรุนแรงในเมียนมาในขณะนี้มีผลกับประเทศไทยทั้งในเชิงจุดยืน ภาพพจน์และชื่อเสียง และมีผลกระทบที่เป็นรูปธรรมต่อเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคงของไทยอย่างมาก
ในด้านจุดยืน ภาพพจน์และชื่อเสียงของประเทศไทยนั้น เมื่อกองทัพเมียนมา มีการใช้ความรุนแรงในการปราบปรามผู้ชุมนุมประท้วงโดยใช้กระสุนจริงยิงใส่ผู้ประท้วงจนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ใช้กำลังในการปราบปรามเช่นการซ้อม ทุบตีคนเห็นต่าง ทำร้ายร่างกายคนที่ใช้อารยะขัดขืนไม่ออกไปทำงาน ไม่เว้นแม้แต่การใช้กระสุนจริงต่อเด็กอายุ 5 ขวบ 7 ขวบ 10ขวบ และประชาชนทั่วไป ทำให้มีผู้เสียชีวิตนับร้อยในวันเดียวก็เกิดขึ้นมาแล้ว ทำให้หลักการไม่แทรกแซงในกิจการภายในของประเทศอาเซียน ต้องมีการทำความเข้าใจกันใหม่ เพราะตามกฎหมายระหว่างประเทศและกฎบัตรสหประชาชาติแล้ว เรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงเช่นที่กล่าวมานี้ เรื่องการละเมิดหลักมนุษยธรรม เรื่องอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ เป็นข้อยกเว้นของหลักการไม่แทรกแซงในกิจการภายในของประเทศสมาชิกของสหประชาชาติ
การกระทำเช่นว่านั้น ทำให้ประเทศที่กระทำการนั้นๆ หมดสิทธิที่จะอ้างหลักการไม่แทรกแซง เพราะสถานการณ์ดังกล่าวเป็นเรื่องของสังคมระหว่างประเทศไปเสียแล้ว โดยมีกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายขององค์การระหว่างประเทศ และองค์การภูมิภาคเช่นกฎบัตรของอาเซียนใช้บังคับอยู่
ดังจะเห็นได้ว่า สมาชิกประชาคมระหว่างประเทศ แม้บางประเทศไม่ได้ประณามการยึดอำนาจของกองทัพเมียนมา แต่ก็ได้ออกมาเรียกร้องให้กองทัพเมียนมายุติการใช้กำลัง ยุติการใช้อาวุธร้ายแรงกับประชาชนที่นำไปสู่การบาดเจ็บล้มตายนับร้อยตั้งแต่มีการยึดอำนาจตั้งแต่1 กพ. 2564เป็นต้นมา ประเทศไทยเอง แม้เราจะไม่ก้าวก่ายกิจการภายในว่าใครจะชนะ จะแพ้การเลือกตั้ง ไม่ก้าวก่ายว่าเมียนมาจะจัดการบริหารประเทศอย่างใด แต่ในฐานะเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิด และมีความสัมพันธ์ที่ดีกัน การกระทำใดที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง การกระทำที่จะนำไปสู่การเป็นอาชญากรต่อมนุษยชาติ ประเทศไทยย่อมอยู่ในฐานะทางกฎหมายและทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่จะเรียกร้องให้เพื่อนยุติการกระทำเช่นนั้น เพราะการกระทำดังกล่าวได้ทำให้เมียนมาพ้นสิทธิในการอ้างหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในแล้ว หากแต่เป็นเรื่องของหลักสากล ที่ย่อมไม่ให้มีการเลือกฆ่าประชาชนผู้เห็นต่าง อย่างที่เป็นอยู่ในเมียนมาขณะนี้
การที่ประเทศไทยเลือกที่จะนิ่งเฉยเมื่อมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงโดยอ้างหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในนั้น นอกจากจะเป็นการอ้างหลักต่อสถานการณ์ที่ผิดจากหลักปฏิบัติระหว่างประเทศแล้ว จะทำให้สังคมระหว่างประเทศมองด้วยความเข้าใจว่าประเทศไทยยอมรับหรืออาจมองว่าสนับสนุนการใช้กระสุนจริง การกระทำของกองทัพเมียนมาที่มีผลต่อการสูญเสียชีวิตของคนเมียนมาทั้งๆที่ผมมั่นใจว่าไม่ใช่จุดยืนของประเทศไทยและคนไทย
นอกจากนี้ ศ. ดร. สุรเกียรติ์ ได้กล่าวว่า ในด้านผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงของไทยนั้น สถานการณ์ในเมียนมาที่ลุกลามเกิดความไม่สงบเช่นนี้ เป็นเรื่องของไทย จะบอกว่าเป็นเรื่องของเมียนมาฝ่ายเดียวไม่ได้ เพราะกระทบผลประโยชน์ของประชาชนคนไทยอย่างมาก
ประการแรก การปราบปรามผู้ประท้วงโดยใช้อาวุธนี้ และการไม่หาทางเจรจากับผู้เห็นต่างเพื่อนำไปสู่ทางออกที่สันติ ทำให้เศรษฐกิจเมียนมาดิ่งเหวลงไปอีก นอกจากผลต่อเศรษฐกิจจากโควิดแล้ว นักธุรกิจจากทุกประเทศ รวมทั้งคนเมียนมาเอง ย่อมยุติหรือชะลอการลงทุน การทำการค้าขาย ทำให้คนยากจนในเมียนมาเดือดร้อนขึ้นไปอีก ซึ่งก็ต้องหนีร้อนมาพึ่งเย็นในประเทศไทยเป็นธรรมดา
ประการที่สอง การสู้รบระหว่างกองกำลังชนกลุ่มน้อยและบางรัฐกับกองทัพเมียนมาจะทำให้มีผู้หลบลี้หนีภัยพลัดถิ่นมายังประเทศไทย ซึ่งประเทศไทยเอง หรือองค์การระหว่างประเทศที่ทำงานอยู่ที่ชายแดน ก็จะต้องใช้ความมีมนุษยธรรมที่จะไม่ผลักดันผู้ลี้ภัยออกไปสู่ภยันตราย เป็นภาระที่เคยเกิดกับไทยเมื่อ30กว่าปีที่แล้ว จนปัจจุบันก็ยังมีผู้ลี้ภ้ย ที่เราเรียกว่าผู้พลัดถิ่น อาศัยอยู่ตามแนวชายแดนจำนวนมาก
ในสองประการนี้ ยังไม่ได้รวมปัญหาความเสี่ยงจากการระบาดของโรคโควิด-19 ที่อาจติดมากับผู้หนีความยากแค้น และหนีการสู้รบ มาหางาน หาทางรอดในประเทศไทยอีกด้วย ซึ่งเมื่อมีการลักลอบเข้ามาแล้วเดินทางไปยังพื้นที่ต่างๆของประเทศไทย ปัญหาการระบาดที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤจิกายน 2563 จนเราต้องตรวจสอบอย่างเข้มข้น ปิดกิจกรรมธุรกิจบางพื้นที่ในหลายจังหวัดมาจนเศรษฐกิจไทยล้มซวนเซเป็นระลอกที่สองมาแล้ว ก็อาจจะมาเกิดขึ้นอีกได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีใครปรารถนา ไม่ว่ารัฐบาลหรือประชาขน
ดังนั้น ผมเห็นว่าประเทศไทยควรมีการแสดงจุดยืนร่วมกับนานาประเทศในเรื่องการไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรงของกองทัพเมียนมาจนเกิดการล้มตายเป็นจำนวนมากได้ โดยไม่ต้องห่วงการที่เพื่อนบ้านจะไม่พอใจ เพราะจุดยืนของไทยในการไม่แทรกแซงการเมืองภายในเมียนมายังเหมือนเดิม แต่การขอร้องให้หยุดการ กระทำที่ไม่มีมนุษยธรรม ย่อมเป็นสิ่งที่เพื่อนต้องตักเตือนกัน ต้องโน้มน้าวให้ยุติเสีย และยิ่งกว่านั้น การใช้ความรุนแรงปราบปรามนั้น จะมีผลให้ไทยต้องรับภาระดังกล่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อีกด้วย