เรือเหาะขนสินค้า 600 ตันของรัสเซีย


คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
Aerosmena Cargo Airship 
project by Orfey Kozlov Chief Designer
of The Aerosmena Initiative DB


Aerosmena




ผู้ผลิตเรือเหาะของรัสเซีย 
Airship Initiative Design Bureau Aerosmena
(AIDBA) หรือ Aerosmena
มีเป้าหมายที่จะเปิดตัวเรือเหาะ
ที่มีระวางบรรทุกสินค้าได้ 600 ตัน
ในรูปคล้ายจานข้าววางปะกบกันในปี 2024

Orfey Kozlov ชาวรัสเซีย
คือ นักออกแบบเรือบิน
ที่มากด้วยประสบการณ์
(แต่น่าเศร้า ท่านเพิ่งจะเสียชีวิต
จาก COVID-19 เมื่อปีที่แล้ว)



Orfey Kozlov




เรือเหาะบรรทุกสินค้าของบริษัท
จะสามารถขึ้น/ลง  ขนถ่ายสินค้า
ได้ภายในพื้นที่ต่าง ๆ โดยไม่จำเป็นต้อง
มีโครงสร้างพื้นฐานภาคพื้นดิน
เช่น ถนน สนามบิน ลู่วิ่งสนามบิน
หรือท่าเทียบเรือในทัองทะเล
ทั้งยังรับส่งสินค้าเหนือภูมิประเทศต่าง ๆ
ตลอดจนการดึง/ส่งสินค้าจากเรือเหาะ
โดยใช้ระบบรอกดึงข้าวของขึ้นมา

รอกที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพีตอนนี้
ยกของได้หนักถึง 25,000 ปอนด์(11 ตันกว่า)



เรือเหาะ Aerosmena สามารถรับสินค้า
จากตำแหน่งที่ลอยลำอยู่








" การขนส่งสินค้าโดยใช้การออกแบบดังกล่าว
ดำเนินการตามโครงการแบบ door-to-door
ที่เรียบง่าย ซึ่งจะช่วยลดต้นทุน
ด้านโลจิสติกส์และคลังสินค้า

ทั้งนี้  ค่าใช้จ่ายต่อชั่วโมงในการบิน
โดยใช้เรือเหาะบรรทุกสินค้า Aerosmena
จะต่ำกว่าการใช้เรือบินขนส่ง 
ที่บรรทุกน้ำหนักสินค้าที่หนักเท่ากัน "
Sergei V. Bendin ซีอีโอของ Aerosmena
ตอบผ่านทางอีเมลกับ Interesting Engineering

การออกแบบรูปทรงจานข้าวปะกบกัน
ทำให้เรือเหาะขึ้นลงและจอดได้ง่ายขึ้น
สำหรับรูปทรงจานบินของ Aerosmena
จะทำให้เรือเหาะยักษ์เคลื่อนที่
และลงจอดโต้ลม/ลู่ลมไปมา
ได้ง่ายกว่าเรือเหาะรูปทรงเดิม
ที่ลำตัวยาวคล้ายบุหรี่ซิการ์

การออกแบบที่มีประสิทธิภาพนี้
คือ กุญแจสำคัญในภารกิจขนส่งสินค้า
ในพื้นที่และภูมิประเทศต่าง ๆ
ที่เรือบินแบบดั้งเดิมเข้าถึงได้ยาก
เรือเหาะยังสามารถช่วยดับไฟป่า
บรรทุกข้าวของไปยังภูมิประเทศที่เป็นป่าเขา

การออกแบบของเรือเหาะ
จะมีห้องแก๊ส 2 ห้องใช้ในการยกตัวขึ้นฟ้า
รุ่น 600 ตันจะใช้ฮีเลียม 620,000 ลบ.เมตร
เพื่อยกตัวเรือเหาะให้ลอยลำขึ้นไปได้
ส่วนอีกห้องแก๊สที่มีขนาดใหญ่กว่า
จะใช้ลมร้อน 200 ํC (392 ํF)
โดยใช้ไอเสียเครื่องยนต์เฮลิคอปเตอร์ 8 ตัว
ทำหน้าที่ในการยกตัวเรือเหาะให้ลอยขึ้น/ลง
(แบบ บอลลูนลมร้อน เป่า/ปล่อย ให้ขึ้น/ลง)



Aerosmena




Aerosmena วางแผนจะสร้างเรือเหาะรุ่นต่าง ๆ
ที่มีความสามารถบรรทุกน้ำหนักได้
แตกต่างกันตั้งแต่ 20 ตันถึง 600 ตัน
และบินได้ไกลสุด 8,000 กม.(4,970 ไมล์)
ด้วยความเร็วสูงสุด 250 กม/ชม(155 ไมล์/ชม)

Sergei V. Bendin  ยังกล่าวว่า
บริษัทมีเป้าหมายที่จะสร้างเรือเหาะ
รุ่น 60 ตันเป็นลำแรกเพื่อทดลองก่อน
หลังจากผ่านการประเมินผลทางวิศวกรรม
ถึงประสิทธิภาพการบินของเรือเหาะ
จึงจะสร้างเรือเหาะขนาดใหญ่
ที่สามารถบรรทุกน้ำหนักได้ 200 และ 600 ตัน

ในอนาคตจะสร้างเรือเหาะ
สำหรับผู้โดยสารใช้เดินทางรอบโลก
ในสภาพโรงแรมหรูหราที่บินได้

หากทุกอย่างเป็นไปด้วยดีแล้ว
เรือเหาะยักษ์รูปจานปะกบที่บรรทุกสินค้า
จะได้เห็นว่า บินบนท้องฟ้าเหนือเมืองใหญ่
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Aerosmena
ไม่ใช่ บริษัทเดียวที่ผลิตเรือเหาะขนาดยักษ์ 
เพราะ Sergey Brin ผู้ร่วมก่อตั้ง Google
ก็กำลังพัฒนาเรือเหาะขนาดยักษ์เช่นกัน

โครงการ Aerosmena อาจฟังดูว่าโม้
เกินความจริงไปหรือไม่ในเรื่องนี้
แต่บางที สักวันหนึ่ง
การหยุดพักร้อนของคนมีเงิน
อาจจะใช้เรือเหาะขนาดยักษ์ลำนี้
เพื่อเดินทางท่องเที่ยวในที่ต่าง ๆ













เรือเหาะใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนเหลว
ที่ใหญ่ที่สุดในโลก S_Bachstroem / iStock




Sergey Brin ผู้ร่วมก่อตั้ง Google.com
ก็กำลังพัฒนาเรือเหาะขนาดยักษ์
เพื่อบรรเทาภัยพิบัติสาธารณะ

LTA Research and Exploration (LTA)
ได้ระบุว่า บริษัท กำลังมองหา
Hydrogen Power Manager
เพื่อสร้างระบบขับเคลื่อน
ด้วยเชื้อเพลิงไฮโดรเจนเหลว
ในการขับเคลื่อนเรือเหาะขนาด 1.5MW

บริษัทเรือเหาะของ Sergey Brin
กำลังวางแผนที่จะทำลายสถิติ
การใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนเหลว
รวมทั้งจัดหาเรือเหาะบรรเทาสาธารณภัย
เพื้อเป็นการปฏิวัติการขนส่งด้วยเรือเหาะ
ที่สามารถบินข้ามมหาสมุทร
ด้วยวิธีการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
เพื่อรับส่งผู้โดยสาร/บรรเทาภัยพิบัติเมื่อจำเป็น

เพราะจากการทดลองบินในตอนนี้
พลังงานขับเคลื่อนขนาด 0.25 MW
ในเครื่องยนต์เรือบินโดยสาร ZeroAvia
ใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนเหลว
ตามรายงานของ TechCrunch






ดังนั้น เรือเหาะเชื้อเพลิงไฮโดรเจนเหลว LTA
ยังมีอุปสรรคเล็กน้อยที่ต้องก้าวข้ามไปให้ได้
ก่อนจะใช้ขับเคลื่อนเรือเหาะขนาด 1.5 MW

แต่ถ้าผลการทดลองและตรวจสอบได้ถูกต้อง
Pathfinder 1 ต้นแบบแรกของบริษัท
มีกำหนดจะเปิดตัวในปลายปีนี้
ด้วยการใช้พลังงานแบตเตอรี่
พร้อมด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า 12 ตัว
เรือเหาะจะสามารถขนส่งผู้โดยสารได้ถึง 14 คน


Prof. Dr.Josef Kallo จาก
German Aerospace Center (DLR) ระบุว่า
การใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนเหลว
ในการขับเคลื่อนเรือเหาะ
เป็นเรื่องที่สมเหตุสมผลมาก
และกำลังพัฒนาเชื้อเพลิงเครื่องยนต์ 1.5MW
เพื่อขับเคลื่อนเรือเหาะบรรทุกคนได้ 60 คน
เรือเหาะจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน
นั่นคือ อนาคตใหม่ของ LTA
โดยจะใช้ Outsource ผลิต/ดำเนินการให้
ตามมาตรฐานที่ระบุไว้ในรายละเอียดงาน






วิสัยทัศน์ของ LTA เรื่องเรือเหาะ คือ
เสริม - และเร่งความเร็ว -
รับมือภัยพิบัติด้านมนุษยธรรม
และความพยายามบรรเทาทุกข์
โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลที่เรือบิน
และเรือไม่สามารถเข้าถึงได้โดยง่าย
เพราะโครงสร้างพื้นฐานที่จำกัดหรือถูกทำลาย

เพราะเรือเหาะไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่ลงจอด
หรือท่าเรือเทียบท่า เช่น เรือบินและเรือ
ดังนั้น จึงสามารถให้ความช่วยเหลือในพื้นที่
ที่ไม่มีโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวได้ง่ายขึ้น
หรือในจุดที่สิ่งเหล่านี้ถูกทำลายไปหมดแล้ว

ยิ่งไปกว่านั้นเรือเหาะของบริษัท 
จะมีการปล่อยมลพิษเป็นศูนย์
ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ของอุตสาหกรรมการบินได้อย่างมาก
ทั้งนี้ ยังไม่มีการเปิดเผยวันที่ที่แน่นอนว่า
จะได้เห็นต้นแบบของเรือเหาะนี้เมื่อใด
แต่ก็ยังคงเป็นข่าวที่น่ายินดีว่า
ผู้คนและบริษัทต่าง ๆ กำลังดำเนินการ
เพื่อบรรลุเป้าหมายเรื่องเรือเหาะนี้



เรียบเรียง/ที่มา

https://bit.ly/3fjJtoX
https://bit.ly/2NWLyvI
https://bit.ly/3vYlTEd





หมายเหตุ

เรือเหาะ Zeppelin
ใช้ก๊าซฮีเลียม บรรจุในเรือเหาะ
ซึ่งอันตรายน้อยกว่าก๊าซไฮโดรเจน
ทั้งยังเคยทำหน้าที่ทิ้งระเบิดให้เยอรมัน
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ด้วย
แต่ความนิยมลดลงไปในที่สุด
เพราะไม่คล่องตัวเหมือนเรือบิน






เรือเหาะ Hindenburg
เกิดไฟลุกไหม้ ทำให้ความนิยมลดลงทันที
เพราะตัองใช้ก๊าซไฮโดรเจนแทนที่ก๊าซฮีเลียม
ซึ่งหายาก/มีราคาแพง สหรัฐผูกขาดการผลิต
และรัฐสภาสหรัฐฯไม่อนุมัติขายให้เยอรมัน
ที่มีสถานภาพศัตรูกับสหรัฐ ตั้งแต่ครั้ง
สงครามโลกครั้งที่ 1
กับพลพรรคนาซีเยอรมันเริ่มมีอำนาจ

แม้ว่าผู้ให้บริการจะระมัดระวังถึงที่สุดแล้ว
แต่ก็ยังพลาดจากเครื่องยนต์ที่มีปัญหาลุกไหม้
เป็นเหตุให้มีคนตายและบาดเจ็บจำนวนมาก
เรือเหาะ Hindenburg : ประวัติศาสตร์ รายละเอียดและการล่มสลายของยักษ์





จำนวนวิศวกรที่แต่ละประเทศ
ผลิตได้ในแต่ละปี ขัอมูลจาก UNESCO




https://bit.ly/3w5Ipe7


แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่