เรือบินบรรทุกที่ใหญ่ที่สุดในโลก Antonov An-225 Mriya

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

Antonov-225 "Mriya" AMAZING take off runway 16 at ZRH


ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการก่อสร้าง
ทำให้เกิดการแข่งขันและพัฒนางานด้านวิศวกรรม
ในการก่อสร้างอาคาร เรือบรรทุกสินค้า และเรือบินบรรทุกสินค้า
ที่มีขนาดใหญ่โตมโหฬารมากกว่าในอดีต


The Burj Khalifa ใน Dubai ได้รับการบันทึกว่าเป็นอาคารสูงที่สุดในโลก © http://goo.gl/0Y92Zr


เรือบรรทุกสินค้าของ Maersk ต่อที่เกาหลีโดยแดวู Daewoo Shipping
ถ้าสร้างแล้วเสร็จจะมีระวางบรรทุกได้มากที่สุด/ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
แต่มีข้อจำกัดวิ่งผ่านคลองขุดปานามา คลองสุเอซ ไม่ได้
ต้องอ้อมแหลมตอนใต้แหลม Good Hopes อัฟริกา แหลม Horn ละตินอเมริกา


ภาพจำลองการบรรทุกสินค้าของเรือลำนี้ © http://goo.gl/mkQ3za
การสร้างเรือบรรทุก หรือเรือบินบรรทุกขนาดใหญ่มาก
เพื่อการบรรทุกสินค้าที่มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก
ประกอบเสร็จจากสถานที่ผลิตแล้วลำเลียงส่งยังเป้าหมาย
เพื่อความสะดวกรวดเร็วและประหยัดด้านทรัพยากรส่วนหนึ่ง
เรือบินบรรทุกสินค้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยสร้างขึ้นมาคือ
Antonov An-225 Mriya (Mriya = Dream ความฝัน)

Isai76 สมาชิกกลุ่ม Reddit http://goo.gl/U55D2I
ได้รวบรวมภาพต่าง ๆ ของเรือบิน Antonov An-225 Mriya
ที่มีขนาดของปีก 88 เมตร(290 ฟุต) ลำตัวยาว 84 เมตร (275 ฟุต)
ต้องมีผู้ช่วยนักบินอย่างน้อย 6 นายเพื่อทำให้การบินขึ้นลงได้อย่างงดงาม



เที่ยวบินครั้งแรกเริ่มต้นในวันที่ 21 ธันวาคม 2531 ในยุคสหภาพโซเวียตรัสเซีย
เพื่อขนส่งกระสวยอวกาศ Buran และเชื้อเพลิงสำหรับจรวดขับเคลื่อน
และยังคงมีการลำเลียงขนส่งด้วยเรือบินสายการบิน Antonov Airlines
ที่แยกกิจการและการลงทุนออกจากรัสเซียแล้ว



ทั้ง 3 ภาพ © https://goo.gl/JX7upD
Antonov An-225 มีล้อเรือบิน 32 ล้อ
เพื่อรองรับน้ำหนักได้สูงสุดที่ 640 ตัน (1,411,000 ปอนด์)


เรือบินลำนี้ทำสถิติการบรรทุกสินค้าชิ้นเดียว
ที่มีน้ำหนัก 189,980 กิโลกรัม (418,834 ปอนด์)
และเคยบรรทุกสินค้าหลายชนิดรวมกัน
ที่มีน้ำหนัก 253,820 กิโลกรัม (559,577 ปอนด์)



The Deep Submergence Rescue Vehicle "Mystic" being loaded at Naval Air Station North Island, California


เรือบินลำนี้จุน้ำมันเชื้อเพลิงได้ถึง 300 000 กิโลลิตร (98,000 แกลลอน)
(jet fuel: 0.81 kg/L, 1L = 0.265 US gallons)


The Antonov-225 at Gostomel Airport (Antonov airport), Ukraine


Antonov Airlines An-225 landing at Gostomel Airport, 2014
เรือบินลำนี้ใช้เครื่องยนต์ Ivchenko Progress D-18T จำนวน 6 เครื่อง
เพื่อให้เรือบินมีแรงบิดสูงสุด
Takeoff (S/L Static :ISA) Trust Kgf 23,430
specific fuel consumtion kg/kgf-h 0.345
Max Cruise Kgf 4,860
specific fuel consumtion kg/kgf-h 0.546









An-225 at Farnborough in 1990


An-225 Ivchenko Progress D-18T turbofan engines
นับเป็นเรือบินลำเดียวที่มีการสร้างขึ้นมา
แม้ว่าจะมีโครงเรือบินอีกลำเตรียมจะสร้างขึ้นมาทดแทนในปี 2534
แต่เพราะขาดแคลนเงินทุนสนับสนุน/เงินทุนหมุนเวียนจึงยุติไว้
ต่อมาในปี 2543  Antonov Airlines  ประมาณการว่า

น่าจะมีความต้องการใช้เรือบินแบบ AN-225 เพิ่มขึ้น
จึงเริ่มจะประกอบลำที่ 2 ให้เสร็จสมบูรณ์อีกครั้ง
สามารถบรรทุกได้ 250 ตันที่ต้นทุนการสร้าง 300 ล้านเหรียญสหรัฐ
แต่ก็เหมือนเดิมคือประสบปัญหาด้านการเงินและเหตุผลอื่น ๆ อีกมากมาย ๆ


Antonov Airlines An-225 landing at Gostomel Airport, 2014


เรื่องเล่าไร้สาระ

การทำให้สิ่งของมีน้ำหนักมาก
สามารถกระโดดโลดเต้นได้
เพื่อหนีแรงโน้มถ่วงของโลก
ไม่แตกต่างกับการทำให้ช้างเต้นระบำ


เรียบเรียง/ที่มา

http://goo.gl/WB4s3F
https://goo.gl/ZwT3PM
http://goo.gl/U55D2I




เรื่องเล่าไร้สาระ

ในระหว่างวันที่ 31 มกราคม - 6 กุมภาพันธ์ 2453
รัชสมัยของ พระบาทสมเด็จ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
นายชาร์ล แวน เดน บอร์น (CHARLES VAN DEN BORN)
นักบินลูกครึ่งเบลเยียม-ฝรั่งเศส ได้นำเครื่องบินแบบ อังรี ฟาร์มัง 4 (HENRY FARMAN IV)
ชื่อแวนด้า (Vanda) ปีก 2 ชั้น มาแสดงการบินเป็นครั้งแรกในประเทศไทย

ชาวบ้านต่างไม่เคยพบเคยเห็นมาก่อน
วัตถุที่รูปร่างแปลกประหลาดลอยบนฟ้าได้
สมัยก่อนมีแต่เรือที่ใช้คนบังคับไว้
จึงจะแล่นล่องลอยในน้ำตามทิศทางที่คนบังคับ
เมื่อคนบังคับวัตถุให้ล่องลอยในฟ้าได้จึงเรียกกันว่า เรือบิน

จะพบเห็นว่ายังมีร่องรอยคำนี้อยู่ในยศทหารเรือ ทหารอากาศ
ที่มีตำแหน่ง เรือตรี เรีอโท เรือเอก
หรือคำว่า นาวา ก็ยังแปลว่า เรือ
เติมคำว่า อากาศ ให้รู้ว่าทำงานเกี่ยวกับการบิน
ถ้าทำงานเรือจะไม่มีคำต่อท้าย
ถ้าไม่แต่งเครื่องแบบชุดปกติบอกแต่ตำแหน่ง
จะไม่รู้ว่าสังกัดเรือ หรือ อากาศ

ในหนังสือเก่า ๆ ช่วงยุค พล นิกร กิมหงวน
มักจะนิยมใช้คำว่าเรือบิน มาตลอด
เพิ่งจะเปลี่ยน/นิยมคำว่า เครื่องบิน เมื่อไม่นานมานี้

© https://bit.ly/3eTOK3T
© https://bit.ly/35aFEv3
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่