พวกท่านเป็นเหมือนกับเราไหมครับ ? ที่ในทุกสิ้นวันหลังตลาดหุ้นปิดทำการ จะต้องเฝ้าคอยดูตัวเลขหนึ่งอยู่เสมอ ซึ่งก็คือ
“สรุปมูลค่าการซื้อขายตามกลุ่มนักลงทุน” โดยลุ้นว่า นักลงทุนกลุ่มที่เราให้ความสำคัญจะมีการ Action ในทิศทางใด เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจซื้อ-ขายในวันถัดไปหรือในอนาคต แต่เชื่อหรือไม่ ? ว่ายังมีคนอีกเป็นจำนวนมากที่ “ไม่เข้าใจ” และนำไปใช้กันแบบผิด ๆ ดังนั้น ในฐานะของนัก Data Analyst ที่ใช้ข้อมูลนี้ในการสร้าง Model Trade จึงอยากนำมาบอกเล่า เพื่อให้ทุกท่านได้ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดผ่านบทความนี้
ทำความรู้จัก “ปอป,กอง,เม่า,หรั่ง”
ไม่ว่าจะเป็นมือใหม่สักแค่ไหน เราเชื่อว่าทุกคนต่างรู้ว่าทางตลาดหลักทรัพย์ได้แบ่งนักลงทุนออกเป็นทั้งหมด 4 กลุ่ม คือ
บริษัทหลักทรัพย์,นักลงทุนสถาบัน,นักลงทุนรายย่อย และนักลงทุนต่างชาติ โดยแต่ละกลุ่มก็จะมีบทบาทและมีสัดส่วนการลงทุนต่างกันไป ดังนั้น เรามาเริ่มจากการ Update ดูว่า
ในปัจจุบันนักลงทุนกลุ่มไหนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในตลาดหุ้นไทย ?
ภาพแสดงสัดส่วนของผู้เล่นกลุ่มต่าง ๆ ในตลาดหุ้นไทย 5 ปีย้อนหลัง
โควิดเปลี่ยนชีวิตรายย่อย
ในช่วงที่ Covid-19 ระบาด ได้ส่งผลกระทบในทางลบให้กับแทบทุกวงการ แต่สำหรับวงการหุ้นกลับมีเรื่องที่ผิดคาด เพราะด้วยความว่าง บวกกับสภาพเศรษฐกิจที่ไม่เหมาะกับการลงทุนทางตรง จึงทำให้กระแสเงินต่างไหลเข้ามาสู่ตลาดหุ้น จนมีปริมาณการซื้อขายแตะ 1 แสนล้านบาทต่อวัน ! และทำให้
นักลงทุนรายย่อยกลับขึ้นมาเป็นกลุ่มที่มีน้ำหนักการลงทุนมากที่สุดเป็นอันดับ 1 โดยครองสัดส่วนไปมากกว่า 50% เตะนักลงทุนต่างชาติกระเด็นตกจากบัลลังก์ เหลือสัดส่วนเพียง 30% ตามมาด้วยโบรกเกอร์ที่เติบโตตามธุรกรรมสมัยใหม่อย่าง DW และ Block Trade ที่ 13% รั้งท้ายด้วยกองทุนที่มีสัดส่วนเหลือเพียง 7% เท่านั้น ! โดยจากข้อสรุปนี้ คงทำให้หลายคนรู้สึกคึกคะนองถึงการเป็น
“พญาเม่า” ที่มีพวกเกินครึ่งของตลาด และมั่นใจว่าจะเป็นกลุ่มที่ชี้นำทิศทางตลาดได้ แล้วมันจะเป็นแบบนั้นหรือไม่ ขอเชิญทุกท่านมาดูคำตอบกันใน Paragraph ถัดไป
นักลงทุนกลุ่มใดที่มีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวของตลาดมากที่สุด
มาเริ่มพิสูจน์กันจากในระยะสั้น โดยการเปรียบเทียบข้อมูลการซื้อขายของนักลงทุนกลุ่มต่าง ๆ กับการเปลี่ยนแปลงของตลาดหุ้นไทยกันแบบ “วันต่อวัน” เพื่อดูว่า
เมื่อตลาดมีการปรับตัวขึ้น(ลง)ในวันนั้น นักลงทุนกลุ่มใดที่ทำการซื้อ(ขาย)สุทธิสอดคล้องกับทิศทางตลาด โดยทำการเก็บข้อมูลย้อนหลังเป็นจำนวน 5 ปี (2016-2021) รวมทั้งสิ้น 1,270 วันทำการ สามารถสรุปข้อมูลได้ ดังนี้
ตารางแสดงความสัมพันธ์ของยอดการซื้อขายของนักลงทุนกลุ่มต่าง ๆ กับการเคลื่อนไหวของ SET ตั้งแต่ปี 2016-2021
กองทุนเป็นผู้เล่นที่มีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวของดัชนีหุ้นมากที่สุด
เป็นเรื่องที่น่าแปลกนะครับ ที่ผู้เล่นที่มีสัดส่วนการลงทุนอันดับสุดท้าย เพียงแค่ 7% กลับมีการซื้อ-ขายที่สอดคล้องกับทิศทางตลาดในแต่ละวันมากที่สุดถึงกว่า 70% และในทางตรงกันข้าม … ผู้เล่นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอย่างนักลงทุนรายย่อย กลับมีการซื้อ-ขายที่สัมพันธ์กับทิศทางตลาดน้อยที่สุดเพียงแค่ 20% เท่านั้น และยังเป็นกลุ่มเดียวที่มีค่าต่ำกว่าครึ่ง หรือถ้าเปรียบเทียบให้เห็นภาพง่าย ๆ คือ
ในทุกๆ สัปดาห์(5 วันทำการ) จะมีแค่ 1 วันเท่านั้นที่รายย่อยซื้อขายถูกทาง นี่จึงเป็นเหตุผล ว่าทำไมพวกนักลงทุนมืออาชีพ พอเห็นการเคลื่อนไหวของตลาดแล้วแทบจะรู้ได้ทันทีว่า ใครเป็นคนซื้อ-ขายในวันนั้น เพราะรายย่อยแม่มแทบไม่เคยถูกเลยนั่นเอง …
คงมีบางท่านที่อยากจะแย้งคำตอบของเราและมองว่าเราอคติกับรายย่อยเกินไปหรือเปล่า ? เนื่องจากข้อมูลที่นำเสนอเป็นข้อมูลย้อนหลังถึง 5 ปี แต่รายย่อยพึ่งมามีสัดส่วนน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะเมื่อปีก่อน จึงมองว่าผลวิจัยนี้ไม่เป็นธรรมกับรายย่อย! และเพื่อพิสูจน์ข้อกังขานี้ เราจึงได้ทำการเก็บข้อมูลโดยการใช้เพียง 100 วันทำการล่าสุด (ต.ค.20-มี.ค.21) ได้ผลลัพธ์ดังตาราง
ตารางแสดงความสัมพันธ์ของยอดการซื้อขายของนักลงทุนกลุ่มต่าง ๆ กับการเคลื่อนไหวของ SET จำนวน 100 วันล่าสุด (ต.ค.20-มี.ค.21)
จากตารางจะเห็นว่าข้อสรุปยังคงเป็นเช่นเดิม โดยรายย่อยก็ยังคงมีการซื้อขายที่สัมพันธ์กับตลาดเพียงแค่ 20% เท่านั้น ดังนั้น คงเห็นแล้วใช่ไหมครับ ไม่ว่าจะกี่ยุคที่สมัย หรือรายย่อยจะมีสัดส่วนการซื้อขายเพิ่มสักเพียงใด ผลลัพธ์มันก็ “ไม่ต่าง” ไปจากเดิม นั่นคือ
“รายย่อยเป็นผู้แพ้เสมอ” โดยเราคิดว่ามันเป็น “สัจธรรม” ที่จะยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่องทั้งในปัจจุบันและอนาคต ตราบเท่าทุกคนยังซื้อๆ-ขายๆกันแบบเป็นเอกเทศกัน
แล้วในระยะยาวที่ตลาดขึ้น-ลงใครเป็นคนกำหนดทิศทาง
ต่อมาเรามาพิสูจน์ในระยะยาวกันบ้าง ว่าผลลัพธ์ที่ได้จะเหมือนกับในระยะสั้นหรือไม่ ? โดยทุกท่านก็คงอยากรู้กันใช่ไหมครับ ว่าในทุกครั้งที่ตลาดมีการฉุดกระชากลากถูกันอย่างรุนแรง
ใครเป็นคนซื้อ-ขายถูกทาง(หรือทำราคา)บ่อยที่สุด ดังนั้น เรามาเริ่มต้นกันด้วยการเก็บข้อมูลการเคลื่อนไหวอย่างมีนัยสำคัญ โดยใช้สมมุติฐาน คือ
“ดัชนีเปลี่ยนแปลง +/- 5% ในช่วงเวลา 10 วันทำการ” และตลอด 5 ปีที่ผ่านมา จะได้ชุดข้อมูลทั้งหมด ดังนี้
ตารางแสดงการเคลื่อนไหว +/- 5% ของดัชนี SET ในช่วง 10 วันทำการตั้งแต่ปี 2016-2021
*นับเฉพาะต้นเทรน (10 วันทำการแรก) เท่านั้น
จากตารางพบว่าในช่วง 5 ปีหลังสุด ตลาดได้มีการ +/- เกิน 5% ในรอบ 10 วันทำการ เป็นจำนวน 22 ครั้ง โดยปีที่ผันผวนมากที่สุด คือ ปี 2020 ที่มีการขึ้นลงแรงถึง 11 ครั้ง (ครึ่งหนึ่ง) ในขณะเดียวกันก็มีบางปีที่ตลาดแทบจะ Sideway ไม่เคลื่อนไหวรุนแรงเลยด้วยเช่นกัน บ่งชี้ว่าพฤติกรรมความผันผวนของตลาดเป็นแบบ Dynamic ที่ไม่มีใครสามารถล่วงรู้การเคลื่อนไหวได้อย่างชัดเจน … แล้วพวกท่านคิดว่า
“ในแต่ละครั้งของการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ นักลงทุนกลุ่มใดที่ซื้อขายได้ตรงกับทิศทางมากที่สุด” มาดูเฉลยกัน
ตารางแสดงยอดการซื้อขาย 10 วันทำการของนักลงทุนกลุ่มต่าง ๆ ตามรอบที่ตลาด +/- เกิน 5%
เกิดเป็นเม่า เศร้าเสมอ !
จากตัวเลขเราจะได้ว่าในรอบ 22 ครั้งที่ตลาดเคลื่อนไหวอย่างมีนัยสำคัญ
กองทุน&โบรกเกอร์&ต่างชาติ มีการซื้อขายที่ถูกทางถึง 15-16 ครั้ง หรือคิดเป็น 70% ! ในขณะที่รายย่อยถูกทางเพียงแค่ 3 ครั้ง หรือเพียง 13% เท่านั้น แถมยังเป็น 3 ครั้งติดกันที่เกิดจากการหน้ามืดตามัวถัวตลอดทาง จากสถานการณ์ Covid ที่กลุ่มอื่น ๆ กินกำไร Short กันแบบอิ่มหนำสำราญกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งหากเปรียบเทียบกับในระยะสั้นแล้วจะเห็นว่า
คำตอบยิ่งชัดเจนขึ้น โดยกลายเป็นทั้ง 3 กลุ่มผลัดกันทำกำไรและทิ้งให้รายย่อยกลายเป็นผู้เคราะห์ร้ายที่ได้รับลูกหลงจากสงครามในตลาดหุ้นอยู่เสมอ
ทำความเข้าใจ “Fund Flow” เข็มทิศชี้นำทิศทางตลาดหุ้นไทย
พวกท่านเป็นเหมือนกับเราไหมครับ ? ที่ในทุกสิ้นวันหลังตลาดหุ้นปิดทำการ จะต้องเฝ้าคอยดูตัวเลขหนึ่งอยู่เสมอ ซึ่งก็คือ “สรุปมูลค่าการซื้อขายตามกลุ่มนักลงทุน” โดยลุ้นว่า นักลงทุนกลุ่มที่เราให้ความสำคัญจะมีการ Action ในทิศทางใด เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจซื้อ-ขายในวันถัดไปหรือในอนาคต แต่เชื่อหรือไม่ ? ว่ายังมีคนอีกเป็นจำนวนมากที่ “ไม่เข้าใจ” และนำไปใช้กันแบบผิด ๆ ดังนั้น ในฐานะของนัก Data Analyst ที่ใช้ข้อมูลนี้ในการสร้าง Model Trade จึงอยากนำมาบอกเล่า เพื่อให้ทุกท่านได้ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดผ่านบทความนี้
ทำความรู้จัก “ปอป,กอง,เม่า,หรั่ง”
ไม่ว่าจะเป็นมือใหม่สักแค่ไหน เราเชื่อว่าทุกคนต่างรู้ว่าทางตลาดหลักทรัพย์ได้แบ่งนักลงทุนออกเป็นทั้งหมด 4 กลุ่ม คือ บริษัทหลักทรัพย์,นักลงทุนสถาบัน,นักลงทุนรายย่อย และนักลงทุนต่างชาติ โดยแต่ละกลุ่มก็จะมีบทบาทและมีสัดส่วนการลงทุนต่างกันไป ดังนั้น เรามาเริ่มจากการ Update ดูว่า ในปัจจุบันนักลงทุนกลุ่มไหนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในตลาดหุ้นไทย ?
ภาพแสดงสัดส่วนของผู้เล่นกลุ่มต่าง ๆ ในตลาดหุ้นไทย 5 ปีย้อนหลัง
โควิดเปลี่ยนชีวิตรายย่อย
ในช่วงที่ Covid-19 ระบาด ได้ส่งผลกระทบในทางลบให้กับแทบทุกวงการ แต่สำหรับวงการหุ้นกลับมีเรื่องที่ผิดคาด เพราะด้วยความว่าง บวกกับสภาพเศรษฐกิจที่ไม่เหมาะกับการลงทุนทางตรง จึงทำให้กระแสเงินต่างไหลเข้ามาสู่ตลาดหุ้น จนมีปริมาณการซื้อขายแตะ 1 แสนล้านบาทต่อวัน ! และทำให้ นักลงทุนรายย่อยกลับขึ้นมาเป็นกลุ่มที่มีน้ำหนักการลงทุนมากที่สุดเป็นอันดับ 1 โดยครองสัดส่วนไปมากกว่า 50% เตะนักลงทุนต่างชาติกระเด็นตกจากบัลลังก์ เหลือสัดส่วนเพียง 30% ตามมาด้วยโบรกเกอร์ที่เติบโตตามธุรกรรมสมัยใหม่อย่าง DW และ Block Trade ที่ 13% รั้งท้ายด้วยกองทุนที่มีสัดส่วนเหลือเพียง 7% เท่านั้น ! โดยจากข้อสรุปนี้ คงทำให้หลายคนรู้สึกคึกคะนองถึงการเป็น “พญาเม่า” ที่มีพวกเกินครึ่งของตลาด และมั่นใจว่าจะเป็นกลุ่มที่ชี้นำทิศทางตลาดได้ แล้วมันจะเป็นแบบนั้นหรือไม่ ขอเชิญทุกท่านมาดูคำตอบกันใน Paragraph ถัดไป
นักลงทุนกลุ่มใดที่มีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวของตลาดมากที่สุด
มาเริ่มพิสูจน์กันจากในระยะสั้น โดยการเปรียบเทียบข้อมูลการซื้อขายของนักลงทุนกลุ่มต่าง ๆ กับการเปลี่ยนแปลงของตลาดหุ้นไทยกันแบบ “วันต่อวัน” เพื่อดูว่า เมื่อตลาดมีการปรับตัวขึ้น(ลง)ในวันนั้น นักลงทุนกลุ่มใดที่ทำการซื้อ(ขาย)สุทธิสอดคล้องกับทิศทางตลาด โดยทำการเก็บข้อมูลย้อนหลังเป็นจำนวน 5 ปี (2016-2021) รวมทั้งสิ้น 1,270 วันทำการ สามารถสรุปข้อมูลได้ ดังนี้
ตารางแสดงความสัมพันธ์ของยอดการซื้อขายของนักลงทุนกลุ่มต่าง ๆ กับการเคลื่อนไหวของ SET ตั้งแต่ปี 2016-2021
กองทุนเป็นผู้เล่นที่มีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวของดัชนีหุ้นมากที่สุด
เป็นเรื่องที่น่าแปลกนะครับ ที่ผู้เล่นที่มีสัดส่วนการลงทุนอันดับสุดท้าย เพียงแค่ 7% กลับมีการซื้อ-ขายที่สอดคล้องกับทิศทางตลาดในแต่ละวันมากที่สุดถึงกว่า 70% และในทางตรงกันข้าม … ผู้เล่นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอย่างนักลงทุนรายย่อย กลับมีการซื้อ-ขายที่สัมพันธ์กับทิศทางตลาดน้อยที่สุดเพียงแค่ 20% เท่านั้น และยังเป็นกลุ่มเดียวที่มีค่าต่ำกว่าครึ่ง หรือถ้าเปรียบเทียบให้เห็นภาพง่าย ๆ คือ ในทุกๆ สัปดาห์(5 วันทำการ) จะมีแค่ 1 วันเท่านั้นที่รายย่อยซื้อขายถูกทาง นี่จึงเป็นเหตุผล ว่าทำไมพวกนักลงทุนมืออาชีพ พอเห็นการเคลื่อนไหวของตลาดแล้วแทบจะรู้ได้ทันทีว่า ใครเป็นคนซื้อ-ขายในวันนั้น เพราะรายย่อยแม่มแทบไม่เคยถูกเลยนั่นเอง …
คงมีบางท่านที่อยากจะแย้งคำตอบของเราและมองว่าเราอคติกับรายย่อยเกินไปหรือเปล่า ? เนื่องจากข้อมูลที่นำเสนอเป็นข้อมูลย้อนหลังถึง 5 ปี แต่รายย่อยพึ่งมามีสัดส่วนน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะเมื่อปีก่อน จึงมองว่าผลวิจัยนี้ไม่เป็นธรรมกับรายย่อย! และเพื่อพิสูจน์ข้อกังขานี้ เราจึงได้ทำการเก็บข้อมูลโดยการใช้เพียง 100 วันทำการล่าสุด (ต.ค.20-มี.ค.21) ได้ผลลัพธ์ดังตาราง
ตารางแสดงความสัมพันธ์ของยอดการซื้อขายของนักลงทุนกลุ่มต่าง ๆ กับการเคลื่อนไหวของ SET จำนวน 100 วันล่าสุด (ต.ค.20-มี.ค.21)
จากตารางจะเห็นว่าข้อสรุปยังคงเป็นเช่นเดิม โดยรายย่อยก็ยังคงมีการซื้อขายที่สัมพันธ์กับตลาดเพียงแค่ 20% เท่านั้น ดังนั้น คงเห็นแล้วใช่ไหมครับ ไม่ว่าจะกี่ยุคที่สมัย หรือรายย่อยจะมีสัดส่วนการซื้อขายเพิ่มสักเพียงใด ผลลัพธ์มันก็ “ไม่ต่าง” ไปจากเดิม นั่นคือ “รายย่อยเป็นผู้แพ้เสมอ” โดยเราคิดว่ามันเป็น “สัจธรรม” ที่จะยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่องทั้งในปัจจุบันและอนาคต ตราบเท่าทุกคนยังซื้อๆ-ขายๆกันแบบเป็นเอกเทศกัน
แล้วในระยะยาวที่ตลาดขึ้น-ลงใครเป็นคนกำหนดทิศทาง
ต่อมาเรามาพิสูจน์ในระยะยาวกันบ้าง ว่าผลลัพธ์ที่ได้จะเหมือนกับในระยะสั้นหรือไม่ ? โดยทุกท่านก็คงอยากรู้กันใช่ไหมครับ ว่าในทุกครั้งที่ตลาดมีการฉุดกระชากลากถูกันอย่างรุนแรง ใครเป็นคนซื้อ-ขายถูกทาง(หรือทำราคา)บ่อยที่สุด ดังนั้น เรามาเริ่มต้นกันด้วยการเก็บข้อมูลการเคลื่อนไหวอย่างมีนัยสำคัญ โดยใช้สมมุติฐาน คือ “ดัชนีเปลี่ยนแปลง +/- 5% ในช่วงเวลา 10 วันทำการ” และตลอด 5 ปีที่ผ่านมา จะได้ชุดข้อมูลทั้งหมด ดังนี้
ตารางแสดงการเคลื่อนไหว +/- 5% ของดัชนี SET ในช่วง 10 วันทำการตั้งแต่ปี 2016-2021
*นับเฉพาะต้นเทรน (10 วันทำการแรก) เท่านั้น
จากตารางพบว่าในช่วง 5 ปีหลังสุด ตลาดได้มีการ +/- เกิน 5% ในรอบ 10 วันทำการ เป็นจำนวน 22 ครั้ง โดยปีที่ผันผวนมากที่สุด คือ ปี 2020 ที่มีการขึ้นลงแรงถึง 11 ครั้ง (ครึ่งหนึ่ง) ในขณะเดียวกันก็มีบางปีที่ตลาดแทบจะ Sideway ไม่เคลื่อนไหวรุนแรงเลยด้วยเช่นกัน บ่งชี้ว่าพฤติกรรมความผันผวนของตลาดเป็นแบบ Dynamic ที่ไม่มีใครสามารถล่วงรู้การเคลื่อนไหวได้อย่างชัดเจน … แล้วพวกท่านคิดว่า “ในแต่ละครั้งของการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ นักลงทุนกลุ่มใดที่ซื้อขายได้ตรงกับทิศทางมากที่สุด” มาดูเฉลยกัน
ตารางแสดงยอดการซื้อขาย 10 วันทำการของนักลงทุนกลุ่มต่าง ๆ ตามรอบที่ตลาด +/- เกิน 5%
เกิดเป็นเม่า เศร้าเสมอ !
จากตัวเลขเราจะได้ว่าในรอบ 22 ครั้งที่ตลาดเคลื่อนไหวอย่างมีนัยสำคัญ กองทุน&โบรกเกอร์&ต่างชาติ มีการซื้อขายที่ถูกทางถึง 15-16 ครั้ง หรือคิดเป็น 70% ! ในขณะที่รายย่อยถูกทางเพียงแค่ 3 ครั้ง หรือเพียง 13% เท่านั้น แถมยังเป็น 3 ครั้งติดกันที่เกิดจากการหน้ามืดตามัวถัวตลอดทาง จากสถานการณ์ Covid ที่กลุ่มอื่น ๆ กินกำไร Short กันแบบอิ่มหนำสำราญกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งหากเปรียบเทียบกับในระยะสั้นแล้วจะเห็นว่า คำตอบยิ่งชัดเจนขึ้น โดยกลายเป็นทั้ง 3 กลุ่มผลัดกันทำกำไรและทิ้งให้รายย่อยกลายเป็นผู้เคราะห์ร้ายที่ได้รับลูกหลงจากสงครามในตลาดหุ้นอยู่เสมอ