ประมาณ 5-6 ปีแล้วที่การซื้อขายหุ้นผ่านระบบ ROBOT หรือการซื้อขายหุ้นด้วยโปรแกรมอัตโนมัติแทรกซึมเข้ามาในตลาดหุ้นไทย และกวาดเงินไปปีละนับพันล้านบาท แต่ระบบ ROBOT อาจล่มสลายลง หลังภาษีขายหุ้นมีผลบังคับใช้
เพราะต้นทุนการซื้อขายหุ้นที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ระบบ ROBOT ไม่สามารถใช้เป็นเครื่องมือเก็บเกี่ยวกำไรหุ้นได้ง่ายๆ อีกต่อไป
โปรแกรมการซื้อขายหุ้นอัตโนมัติ หรือ ROBOT มีความรวดเร็วสูง สามารถโยนคำสั่งซื้อขายมากกว่า 10 รายการ ภายในเวลา 1 วินาที และมีความฉับไวในการประเมินผลคำสั่งซื้อขายหุ้นแต่ละตัว โดยไม่มีการลังเลในคำสั่งซื้อหรือขาย เมื่อประเมินแล้วว่า แนวโน้มหุ้นจะขึ้นหรือลง
การขึ้นหรือลงของหุ้นเพียง 1 ช่อง หรือ 1 ช่วงราคา ROBOT สามารถทำกำไรได้แล้ว เนื่องจากมีต้นทุนค่านายหน้าซื้อขายต่ำมาก คาดว่าประมาณ 0.01% เศษเท่านั้น หรือซื้อขายหุ้นวงเงิน 1 ล้านบาท เสียค่านายหน้า 100 บาทเศษ
หุ้นเก็งกำไรร้อนแรง ราคาขึ้นลงแรงและเร็วโดยมีมูลค่าซื้อขายสูง ไม่ว่าจะเป็นหุ้นขนาดใหญ่หรือหุ้นตัวเล็ก อยู่ในเป้าหมายที่ ROBOT จะโดดเข้าไปตะลุมบอนด้วย เมื่อ ROBOT เข้าไปเล่นหุ้นตัวใดแทบปิดประตูแพ้ แต่จะโกยกำไรส่วนต่างของราคาหุ้นออกมา
ROBOT ไม่ได้กินนักลงทุนรายย่อยทุกคน แต่จะอยู่ส่วนบนสุดของห่วงโซ่เก็งกำไร และกินแม้กระทั่งเจ้ามือหุ้น นักลงทุนขาใหญ่ และแม้แต่แก๊งปั่นหุ้น โดยนักลงทุนรายย่อยอยู่ในส่วนปลายของห่วงโซ่เก็งกำไร
4-5 ปีที่ผ่านมา ภาพการลงทุนโดยรวมนักลงทุนรายย่อยเป็นผู้สูญเสีย ขายหุ้นออกไม่ทันจนติดอยู่ยอดดอย แบกหุ้นต้นทุนสูงสะสมรวมกันประมาณ 5 แสนล้านบาท
คาดว่ามูลค่าการซื้อขายหุ้นผ่านระบบ ROBOT จะมีประมาณ 30-40% ของมูลค่าการซื้อขายหุ้นแต่ละวัน และการซื้อขายของ ROBOT ทำให้สัดส่วนมูลค่าการซื้อขายหุ้นของต่างชาติเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยปีนี้มีสัดส่วนการซื้อขายประมาณ 48% ของมูลค่าการซื้อขายหุ้นรวมของนักลงทุนทุกกลุ่ม
กลายเป็นกลุ่มนักลงทุนที่มีอิทธิพลในการชี้นำทิศทางตลาดหุ้นมากที่สุด
เดิมการซื้อขายนักลงทุนรายกลุ่ม ตลาดหลักทรัพย์จะรายงานข้อมูลเพียง 3 กลุ่มเท่านั้น คือ กองทุนในประเทศ นักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนรายย่อย โดยอดีตนักลงทุนรายย่อยครองสัดส่วนการซื้อขายหุ้นประมาณ 70% ของมูลค่าซื้อขายรวม นักลงทุนต่างชาติมีสัดส่วนซื้อขายประมาณ 20% เศษ และกองทุนในประเทศสัดส่วนการซื้อขายต่ำกว่า 10%
ต่อมาได้จำแนกนักลงทุนเป็น 4 กลุ่ม โดยเพิ่มบัญชีซื้อขายของโบรกเกอร์เข้ามาด้วย แต่นักลงทุนรายย่อยยังครองสัดส่วนการซื้อขายสูงสุด เพียงแต่ละลงมาเหลือประมาณ 50% ของมูลค่าการซื้อขายหุ้นรวมทุกกลุ่ม
แต่ประมาณ 6 ปีที่ผ่านมา สัดส่วนการซื้อขายหุ้นของต่างชาติเพิ่มขึ้น จนผงาดขึ้นมาเป็นนักลงทุนกลุ่มใหญ่ที่สุด โดยมูลค่าซื้อขายหุ้นของต่างชาติที่พองโตเกิดจาก ROBOT ซึ่งเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับนักลงทุนต่างชาติไป
จากนักลงทุนระยะยาว กลายเป็นนักเก็งกำไรระยะสั้น ซื้อขายหุ้นวันต่อวัน และซื้อขายถี่ยิ่งกว่านักเก็งกำไรรายย่อยเสียอีก
แต่ ROBOT กำลังถูกกำจัดภายในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า โดยภาษีขายหุ้นที่จัดเก็บในอัตรา 0.055% จะเข้ามาทำลายกลไกของ ROBOT ทำให้ต้นทุนการซื้อขายหุ้นเพิ่มขึ้น และกำไรจากส่วนต่างราคาหุ้นเพียง 1 หรือ 2 ช่องอาจไม่คุ้มแล้ว
นอกจากนั้น พฤติกรรมการลงทุนหุ้นจะเปลี่ยนไปตลอดกาล การซื้อขายเก็งกำไรระยะสั้นด้วยความถี่ โดยเฉพาะนักเดย์เทรดหรือนักลงทุนที่ซื้อขายรายวันต้องเลิกอาชีพ เพราะถ้ายังเดย์เทรดต่อไปจะต้องแบกต้นทุนค่านายหน้าและภาษีขายหุ้น จนในที่สุดต้องยกธงขาวยอมแพ้
แก๊งปั่นหุ้น เจ้ามือหรือนักลงทุนขาใหญ่ อาจต้องหยุดกิจกรรมการสร้างภาพลวงตา โยนคำสั่งซื้อขายหุ้นเพื่อล่อแมลงเม่า เพราะต้นทุนการปั่นหุ้นสูงขึ้น ทำให้เกิดความเสี่ยง หากปั่นหุ้นแล้วจุดไม่ติด รายย่อยไม่ตามแห่
ROBOT จะไม่เหลือเหยื่อที่เคยเคี้ยวอย่างคล่องคอมาหลายปี
เหลือเวลาอีกประมาณ 3 เดือนครึ่ง ภาษีหุ้นจะมีผลบังคับใช้ ช่วงเวลาที่เหลือจึงเป็นการนับถอยหลังการล่มสลายของ ROBOT
แต่ถ้าดูจากมูลค่าการซื้อขายของต่างชาติแล้วยังไม่ได้ลดลง แสดงว่า ROBOT ยังใช้เวลาที่เหลือโกยเงินจากตลาดหุ้นไทย และจะโกยกำไรส่วนต่างราคาหุ้นให้มากที่สุด ก่อนวาระสุดท้ายจะมาถึง
ถ้า ROBOT เทรดล่มสลาย มูลค่าซื้อขายหุ้นจะหดวูบ ถ้าแก๊งปั่นหุ้นเข้ามือหรือขาใหญ่ล้างมือ และนักลงทุนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่ซื้อขายหุ้นถี่
หลังภาษีขายหุ้นมีผลบังคับใช้ในเดือนเมษายนปีหน้า มูลค่าซื้อขายหุ้นที่คาดว่าจะลดลงประมาณ 40% อาจเป็นการประเมินที่ต่ำเกินไป
เพราะมูลค่าซื้อขายหุ้นอาจทรุดลงถึงระดับ 50% สร้างความระส่ำระสายให้โบรกเกอร์กว่า 40 เบอร์ที่อาจต้องล้มหายตายจากกัน
ที่มา :
https://mgronline.com/stockmarket/detail/9650000119046fbclid=IwAR3KOZGR5qlsftBdS049SrPq1GLg_50iWqf0DhNvmkSzDSPFbrFnxqsPmH0
--------------------------
สิ่งที่สงสัยคือ
1. ตลาดหลักทรัพย์ของต่างประเทศเขามีการเรียกเก็บภาษีขายแบบตลาดหุ้นไทยหรือไม่
2. นักลงทุนของประเทศเขาออกมาโวยวายไม่เห็นด้วยกับมาตรการการเก็บภาษีขายแบบนักลงทุนไทยหรือไม่
3. การเก็บภาษีขายอาจทำให้ ROBOT เทรดไม่คุ้มค่าที่คนจะคิดค้นและพัฒนาเพื่อนำมันมาใช้ประโยชน์อีกต่อไป ถ้าหากไม่สามารถใช้ประโยชน์จากการเทรดเร็วและซื้อขายถี่ของ ROBOT ได้ ซึ่งในที่สุดอาจถึงขั้นยกเลิกไม่มีการนำ ROBOT มาใช้เทรดแทนมนุษย์อีกต่อไปเลยหรือไม่
จุดจบของ ROBOT เทรด / โดยสุนันท์ ศรีจันทรา
เพราะต้นทุนการซื้อขายหุ้นที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ระบบ ROBOT ไม่สามารถใช้เป็นเครื่องมือเก็บเกี่ยวกำไรหุ้นได้ง่ายๆ อีกต่อไป
โปรแกรมการซื้อขายหุ้นอัตโนมัติ หรือ ROBOT มีความรวดเร็วสูง สามารถโยนคำสั่งซื้อขายมากกว่า 10 รายการ ภายในเวลา 1 วินาที และมีความฉับไวในการประเมินผลคำสั่งซื้อขายหุ้นแต่ละตัว โดยไม่มีการลังเลในคำสั่งซื้อหรือขาย เมื่อประเมินแล้วว่า แนวโน้มหุ้นจะขึ้นหรือลง
การขึ้นหรือลงของหุ้นเพียง 1 ช่อง หรือ 1 ช่วงราคา ROBOT สามารถทำกำไรได้แล้ว เนื่องจากมีต้นทุนค่านายหน้าซื้อขายต่ำมาก คาดว่าประมาณ 0.01% เศษเท่านั้น หรือซื้อขายหุ้นวงเงิน 1 ล้านบาท เสียค่านายหน้า 100 บาทเศษ
หุ้นเก็งกำไรร้อนแรง ราคาขึ้นลงแรงและเร็วโดยมีมูลค่าซื้อขายสูง ไม่ว่าจะเป็นหุ้นขนาดใหญ่หรือหุ้นตัวเล็ก อยู่ในเป้าหมายที่ ROBOT จะโดดเข้าไปตะลุมบอนด้วย เมื่อ ROBOT เข้าไปเล่นหุ้นตัวใดแทบปิดประตูแพ้ แต่จะโกยกำไรส่วนต่างของราคาหุ้นออกมา
ROBOT ไม่ได้กินนักลงทุนรายย่อยทุกคน แต่จะอยู่ส่วนบนสุดของห่วงโซ่เก็งกำไร และกินแม้กระทั่งเจ้ามือหุ้น นักลงทุนขาใหญ่ และแม้แต่แก๊งปั่นหุ้น โดยนักลงทุนรายย่อยอยู่ในส่วนปลายของห่วงโซ่เก็งกำไร
4-5 ปีที่ผ่านมา ภาพการลงทุนโดยรวมนักลงทุนรายย่อยเป็นผู้สูญเสีย ขายหุ้นออกไม่ทันจนติดอยู่ยอดดอย แบกหุ้นต้นทุนสูงสะสมรวมกันประมาณ 5 แสนล้านบาท
คาดว่ามูลค่าการซื้อขายหุ้นผ่านระบบ ROBOT จะมีประมาณ 30-40% ของมูลค่าการซื้อขายหุ้นแต่ละวัน และการซื้อขายของ ROBOT ทำให้สัดส่วนมูลค่าการซื้อขายหุ้นของต่างชาติเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยปีนี้มีสัดส่วนการซื้อขายประมาณ 48% ของมูลค่าการซื้อขายหุ้นรวมของนักลงทุนทุกกลุ่ม
กลายเป็นกลุ่มนักลงทุนที่มีอิทธิพลในการชี้นำทิศทางตลาดหุ้นมากที่สุด
เดิมการซื้อขายนักลงทุนรายกลุ่ม ตลาดหลักทรัพย์จะรายงานข้อมูลเพียง 3 กลุ่มเท่านั้น คือ กองทุนในประเทศ นักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนรายย่อย โดยอดีตนักลงทุนรายย่อยครองสัดส่วนการซื้อขายหุ้นประมาณ 70% ของมูลค่าซื้อขายรวม นักลงทุนต่างชาติมีสัดส่วนซื้อขายประมาณ 20% เศษ และกองทุนในประเทศสัดส่วนการซื้อขายต่ำกว่า 10%
ต่อมาได้จำแนกนักลงทุนเป็น 4 กลุ่ม โดยเพิ่มบัญชีซื้อขายของโบรกเกอร์เข้ามาด้วย แต่นักลงทุนรายย่อยยังครองสัดส่วนการซื้อขายสูงสุด เพียงแต่ละลงมาเหลือประมาณ 50% ของมูลค่าการซื้อขายหุ้นรวมทุกกลุ่ม
แต่ประมาณ 6 ปีที่ผ่านมา สัดส่วนการซื้อขายหุ้นของต่างชาติเพิ่มขึ้น จนผงาดขึ้นมาเป็นนักลงทุนกลุ่มใหญ่ที่สุด โดยมูลค่าซื้อขายหุ้นของต่างชาติที่พองโตเกิดจาก ROBOT ซึ่งเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับนักลงทุนต่างชาติไป
จากนักลงทุนระยะยาว กลายเป็นนักเก็งกำไรระยะสั้น ซื้อขายหุ้นวันต่อวัน และซื้อขายถี่ยิ่งกว่านักเก็งกำไรรายย่อยเสียอีก
แต่ ROBOT กำลังถูกกำจัดภายในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า โดยภาษีขายหุ้นที่จัดเก็บในอัตรา 0.055% จะเข้ามาทำลายกลไกของ ROBOT ทำให้ต้นทุนการซื้อขายหุ้นเพิ่มขึ้น และกำไรจากส่วนต่างราคาหุ้นเพียง 1 หรือ 2 ช่องอาจไม่คุ้มแล้ว
นอกจากนั้น พฤติกรรมการลงทุนหุ้นจะเปลี่ยนไปตลอดกาล การซื้อขายเก็งกำไรระยะสั้นด้วยความถี่ โดยเฉพาะนักเดย์เทรดหรือนักลงทุนที่ซื้อขายรายวันต้องเลิกอาชีพ เพราะถ้ายังเดย์เทรดต่อไปจะต้องแบกต้นทุนค่านายหน้าและภาษีขายหุ้น จนในที่สุดต้องยกธงขาวยอมแพ้
แก๊งปั่นหุ้น เจ้ามือหรือนักลงทุนขาใหญ่ อาจต้องหยุดกิจกรรมการสร้างภาพลวงตา โยนคำสั่งซื้อขายหุ้นเพื่อล่อแมลงเม่า เพราะต้นทุนการปั่นหุ้นสูงขึ้น ทำให้เกิดความเสี่ยง หากปั่นหุ้นแล้วจุดไม่ติด รายย่อยไม่ตามแห่
ROBOT จะไม่เหลือเหยื่อที่เคยเคี้ยวอย่างคล่องคอมาหลายปี
เหลือเวลาอีกประมาณ 3 เดือนครึ่ง ภาษีหุ้นจะมีผลบังคับใช้ ช่วงเวลาที่เหลือจึงเป็นการนับถอยหลังการล่มสลายของ ROBOT
แต่ถ้าดูจากมูลค่าการซื้อขายของต่างชาติแล้วยังไม่ได้ลดลง แสดงว่า ROBOT ยังใช้เวลาที่เหลือโกยเงินจากตลาดหุ้นไทย และจะโกยกำไรส่วนต่างราคาหุ้นให้มากที่สุด ก่อนวาระสุดท้ายจะมาถึง
ถ้า ROBOT เทรดล่มสลาย มูลค่าซื้อขายหุ้นจะหดวูบ ถ้าแก๊งปั่นหุ้นเข้ามือหรือขาใหญ่ล้างมือ และนักลงทุนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่ซื้อขายหุ้นถี่
หลังภาษีขายหุ้นมีผลบังคับใช้ในเดือนเมษายนปีหน้า มูลค่าซื้อขายหุ้นที่คาดว่าจะลดลงประมาณ 40% อาจเป็นการประเมินที่ต่ำเกินไป
เพราะมูลค่าซื้อขายหุ้นอาจทรุดลงถึงระดับ 50% สร้างความระส่ำระสายให้โบรกเกอร์กว่า 40 เบอร์ที่อาจต้องล้มหายตายจากกัน
ที่มา : https://mgronline.com/stockmarket/detail/9650000119046fbclid=IwAR3KOZGR5qlsftBdS049SrPq1GLg_50iWqf0DhNvmkSzDSPFbrFnxqsPmH0
--------------------------
สิ่งที่สงสัยคือ
1. ตลาดหลักทรัพย์ของต่างประเทศเขามีการเรียกเก็บภาษีขายแบบตลาดหุ้นไทยหรือไม่
2. นักลงทุนของประเทศเขาออกมาโวยวายไม่เห็นด้วยกับมาตรการการเก็บภาษีขายแบบนักลงทุนไทยหรือไม่
3. การเก็บภาษีขายอาจทำให้ ROBOT เทรดไม่คุ้มค่าที่คนจะคิดค้นและพัฒนาเพื่อนำมันมาใช้ประโยชน์อีกต่อไป ถ้าหากไม่สามารถใช้ประโยชน์จากการเทรดเร็วและซื้อขายถี่ของ ROBOT ได้ ซึ่งในที่สุดอาจถึงขั้นยกเลิกไม่มีการนำ ROBOT มาใช้เทรดแทนมนุษย์อีกต่อไปเลยหรือไม่