ในวันสัมภาษณ์งาน พี่ K หรือ MD ของบริษัทเล่าให้คุณ P ฟังว่าตอนนี้องค์กรมีพนักงานอยู่ประมาณ 10 คน วัฒนธรรมขององค์กรคือความเป็นพี่เป็นน้อง
คุณ P เองในขณะนั้นเป็นนักศึกษาจบใหม่ มีความเครียดในการหางานเป็นทุนเดิม แม้จะยังไม่ได้รับการคัดเลือก แต่ก็รู้สึกอุ่นใจที่ได้ยินอย่างนั้น และอยากทำงานในบริษัทพี่ K
และแล้วฝันนั้นก็เป็นจริง คุณ P ได้รับการตอบรับเข้าทำงาน วันแรกที่เริ่มงานพี่ K ก็ทักทายคุณ P ว่า
“มีอะไรก็บอกได้ ที่นี่เราอยู่กันแบบพี่น้อง”
วันเดียวกันนั้นเองที่คุณ P เริ่มไม่ค่อยแน่ใจ เพราะบรรยากาศออฟฟิศนั้นดูทางการและเพื่อนร่วมงานก็ดูเคร่งขรึม
คุณ P เล่าให้ฟังว่าเวลาเข้าประชุม พี่ K มักจะขอให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่
แต่เวลาที่คุณ P หรือเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆ(ที่มักจะเงียบเป็นส่วนใหญ่) แสดงข้อคิดเห็นออกไป คุณ P สังเกตว่าหากสิ่งนั้นมันไม่ตรงกับสิ่งที่พี่ K มีอยู่ในใจ พี่ K ก็จะนิ่งไปพักหนึ่ง และบอกกับที่ประชุมว่าพี่เคยลองแล้ว มันไม่เวิร์ก
สรุปคุณ P เสนออะไรไปก็ถูก Pause คุณ P เริ่มเข้าใจแล้วว่าทำไมเพื่อนร่วมงานถึงไม่ค่อยพูด เพราะว่าทุกอย่างขึ้นอยู่กับพี่ใหญ่อย่างพี่ K เท่านั้น
ความหมายของอยู่กันแบบพี่น้องที่ทางพี่ K สื่อน่าจะเป็น
พี่เป็นใหญ่น้องต้องเชื่อฟัง
แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้คุณ P รู้สึกอึดอัดใจเท่าไหร่ บางทีพี่ K อาจจะถูกก็ได้ เพราะพี่ K เป็นหัวหน้า
มีอยู่วันหนึ่ง พี่ K อยากให้คุณ P และทีมงานผลิตชิ้นงานหนึ่งออกสู่ตลาด
แต่กว่าจะสำเร็จลุล่วง พี่ K บอกให้คุณ P แก้อยู่หลายครั้ง จนชิ้นงานออกมาต่างจาก Draft แรกที่พี่ K วางไว้มาก และงบประมาณที่ใช้เริ่มบานปลาย
คุณ P จึงสื่อสารกับพี่ K เพราะทางพี่ K เองก็ดูหลายอย่าง บางทีอาจจะลืมตรวจสอบก็เป็นได้
“พี่รู้ดีครับ ว่าพี่กำลังทำอะไรอยู่”
คือสิ่งที่พี่ K ตอบกลับมา
ไม่นานคุณ P ก็ตัดสินใจเปลี่ยนงาน เพราะวัฒนธรรมองค์กรที่ลูกน้องไม่สามารถแสดงความคิดเห็น หรือท้วงติงอะไรได้เลย ทำให้คุณ P รู้สึกหดหู่และไร้คุณค่า
จากเรื่องของคุณ P พี่ K คือหัวหน้าที่เชื่อว่าวัฒนธรรมองค์กรของตัวเองเป็นแบบหนึ่ง แต่ในความเป็นจริงแล้วเป็นอีกแบบหนึ่ง ไม่ว่าสาเหตุจะมาจากขนาดขององค์กรก็ดี หรือช่วงวัยที่เจ้านายและลูกน้องอายุไม่ห่างกันมากก็ดี
การที่พี่ K ไม่สามารถทำตามที่บอกได้ ในที่นี้คือ “การมีอะไรก็บอกได้” ไม่เป็นผลดีกับใครเลย ทั้งองค์กรพี่ K และลูกน้อง
โดยสรุป เจ้าของธุรกิจต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าวัฒนธรรมองค์กรของเรา แท้จริงแล้วคือรูปแบบใด และมุมของผู้สมัคร / พนักงาน การ Screen องค์กรที่เราสนใจ ว่าแท้จริงแล้วที่นั่นเป็นอย่างไร เหมาะกับแรงจูงใจของเราหรือไม่ จะช่วยลดปัญหาการทำงานระหว่างกัน และองค์กรเติบโตได้เร็วขึ้น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ติดตั้งอาวุธสำหรับคนทำงานด้วยกันกับเรา
https://www.facebook.com/anticlassroom/
มีอะไรก็บอกนะ ที่นี่เราอยู่กันแบบพี่น้อง
คุณ P เองในขณะนั้นเป็นนักศึกษาจบใหม่ มีความเครียดในการหางานเป็นทุนเดิม แม้จะยังไม่ได้รับการคัดเลือก แต่ก็รู้สึกอุ่นใจที่ได้ยินอย่างนั้น และอยากทำงานในบริษัทพี่ K
และแล้วฝันนั้นก็เป็นจริง คุณ P ได้รับการตอบรับเข้าทำงาน วันแรกที่เริ่มงานพี่ K ก็ทักทายคุณ P ว่า
“มีอะไรก็บอกได้ ที่นี่เราอยู่กันแบบพี่น้อง”
วันเดียวกันนั้นเองที่คุณ P เริ่มไม่ค่อยแน่ใจ เพราะบรรยากาศออฟฟิศนั้นดูทางการและเพื่อนร่วมงานก็ดูเคร่งขรึม
คุณ P เล่าให้ฟังว่าเวลาเข้าประชุม พี่ K มักจะขอให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่
แต่เวลาที่คุณ P หรือเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆ(ที่มักจะเงียบเป็นส่วนใหญ่) แสดงข้อคิดเห็นออกไป คุณ P สังเกตว่าหากสิ่งนั้นมันไม่ตรงกับสิ่งที่พี่ K มีอยู่ในใจ พี่ K ก็จะนิ่งไปพักหนึ่ง และบอกกับที่ประชุมว่าพี่เคยลองแล้ว มันไม่เวิร์ก
สรุปคุณ P เสนออะไรไปก็ถูก Pause คุณ P เริ่มเข้าใจแล้วว่าทำไมเพื่อนร่วมงานถึงไม่ค่อยพูด เพราะว่าทุกอย่างขึ้นอยู่กับพี่ใหญ่อย่างพี่ K เท่านั้น
ความหมายของอยู่กันแบบพี่น้องที่ทางพี่ K สื่อน่าจะเป็น
พี่เป็นใหญ่น้องต้องเชื่อฟัง
แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้คุณ P รู้สึกอึดอัดใจเท่าไหร่ บางทีพี่ K อาจจะถูกก็ได้ เพราะพี่ K เป็นหัวหน้า
มีอยู่วันหนึ่ง พี่ K อยากให้คุณ P และทีมงานผลิตชิ้นงานหนึ่งออกสู่ตลาด
แต่กว่าจะสำเร็จลุล่วง พี่ K บอกให้คุณ P แก้อยู่หลายครั้ง จนชิ้นงานออกมาต่างจาก Draft แรกที่พี่ K วางไว้มาก และงบประมาณที่ใช้เริ่มบานปลาย
คุณ P จึงสื่อสารกับพี่ K เพราะทางพี่ K เองก็ดูหลายอย่าง บางทีอาจจะลืมตรวจสอบก็เป็นได้
“พี่รู้ดีครับ ว่าพี่กำลังทำอะไรอยู่”
คือสิ่งที่พี่ K ตอบกลับมา
ไม่นานคุณ P ก็ตัดสินใจเปลี่ยนงาน เพราะวัฒนธรรมองค์กรที่ลูกน้องไม่สามารถแสดงความคิดเห็น หรือท้วงติงอะไรได้เลย ทำให้คุณ P รู้สึกหดหู่และไร้คุณค่า
จากเรื่องของคุณ P พี่ K คือหัวหน้าที่เชื่อว่าวัฒนธรรมองค์กรของตัวเองเป็นแบบหนึ่ง แต่ในความเป็นจริงแล้วเป็นอีกแบบหนึ่ง ไม่ว่าสาเหตุจะมาจากขนาดขององค์กรก็ดี หรือช่วงวัยที่เจ้านายและลูกน้องอายุไม่ห่างกันมากก็ดี
การที่พี่ K ไม่สามารถทำตามที่บอกได้ ในที่นี้คือ “การมีอะไรก็บอกได้” ไม่เป็นผลดีกับใครเลย ทั้งองค์กรพี่ K และลูกน้อง
โดยสรุป เจ้าของธุรกิจต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าวัฒนธรรมองค์กรของเรา แท้จริงแล้วคือรูปแบบใด และมุมของผู้สมัคร / พนักงาน การ Screen องค์กรที่เราสนใจ ว่าแท้จริงแล้วที่นั่นเป็นอย่างไร เหมาะกับแรงจูงใจของเราหรือไม่ จะช่วยลดปัญหาการทำงานระหว่างกัน และองค์กรเติบโตได้เร็วขึ้น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้