เป็น "ความดันโลหิตสูง" ออกกำลังกายดีอย่างไร?
จากการศึกษาวิจัยยืนยันแล้วว่าผู้ที่มี “ความดันโลหิตสูง” การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การควบคุมอาหารและออกกำลังกาย สามารถป้องกันและควบคุมโรคได้ผลดีกว่าการพึ่งยาเพียงอย่างเดียว
ในผู้ที่มีปัญหาความดันโลหิตสูง การออกกำลังกายสม่ำเสมอจะสามารถช่วยควบคุมความดันโลหิตได้โดยช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของเส้นเลือด ลดไขมันทั้งในร่างกายและหลอดเลือด ทำให้ความต้านทานในหลอดเลือดลดลง หัวใจและปอดแข็งแรงขึ้น ทำให้ปริมาณเลือดที่สูบฉีดแต่ละคร้ังเพิ่มขึ้น ระดับพลาสมานอร์อิพิเนพฟริน ลดลง ผลโดยรวมจึงทำให้ความดันโลหิตลดลง และยังช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง การเผาผลาญดีขึ้น ควบคุมน้ำหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดอาการปวดข้อต่างๆ ส่งผลให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นผู้ป่วยมีความมั่นใจมากขึ้น
การออกกำลังกายจึงเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการรักษาและควบคุมความดันโลหิต แต่การออกกำลังกายในคนที่เป็นความดันโลหิตสูงควรได้รับการประเมินสมรรถภาพและรับคำแนะนำวิธีการการออกกำลังกายที่ถูกต้องเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญก่อนเพื่อผลการออกกำลังกายที่ดีและมีความปลอดภัย....
วิธีดูแลตัวเองในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
* ผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงควรพบแพทย์เพื่อตรวจระดับของความดันโลหิตเป็นประจำเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน
* ทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ เพื่อควบคุมระดับของความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
* ปรับเปลี่ยนปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่มีผลต่อความดันโลหิตสูง เช่น ลดน้ำหนักตัว ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดดื่มแอลกอฮอล์ เลิกบุหรี่ และลดความเครียด
* งดทานอาหารรสเค็ม ทอด และมีไขมันสูง ให้เปลี่ยนมาทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผักผลไม้ให้มากขึ้น
* วัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอและจดบันทึกลงในสมุดเพื่อนำไปให้แพทย์ผู้รักษาใช้ประกอบการรักษาความดันโลหิตสูง
*คอยหมั่นสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นในขณะที่ออกกำลังกาย เช่น หน้ามืด เวียนศีรษะ หายใจติดขัด แน่นหน้าอกหรืออ่อนเพลียผิดปกติ และควรสังเกตอาการตอบสนองของความดันโลหิตหลังจากที่ทำกิจกรรมต่างๆ
เป็นความดันโลหิตสูง ออกกำลังกายดีอย่างไร?
เป็น "ความดันโลหิตสูง" ออกกำลังกายดีอย่างไร?
จากการศึกษาวิจัยยืนยันแล้วว่าผู้ที่มี “ความดันโลหิตสูง” การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การควบคุมอาหารและออกกำลังกาย สามารถป้องกันและควบคุมโรคได้ผลดีกว่าการพึ่งยาเพียงอย่างเดียว
ในผู้ที่มีปัญหาความดันโลหิตสูง การออกกำลังกายสม่ำเสมอจะสามารถช่วยควบคุมความดันโลหิตได้โดยช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของเส้นเลือด ลดไขมันทั้งในร่างกายและหลอดเลือด ทำให้ความต้านทานในหลอดเลือดลดลง หัวใจและปอดแข็งแรงขึ้น ทำให้ปริมาณเลือดที่สูบฉีดแต่ละคร้ังเพิ่มขึ้น ระดับพลาสมานอร์อิพิเนพฟริน ลดลง ผลโดยรวมจึงทำให้ความดันโลหิตลดลง และยังช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง การเผาผลาญดีขึ้น ควบคุมน้ำหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดอาการปวดข้อต่างๆ ส่งผลให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นผู้ป่วยมีความมั่นใจมากขึ้น
การออกกำลังกายจึงเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการรักษาและควบคุมความดันโลหิต แต่การออกกำลังกายในคนที่เป็นความดันโลหิตสูงควรได้รับการประเมินสมรรถภาพและรับคำแนะนำวิธีการการออกกำลังกายที่ถูกต้องเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญก่อนเพื่อผลการออกกำลังกายที่ดีและมีความปลอดภัย....
วิธีดูแลตัวเองในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
* ผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงควรพบแพทย์เพื่อตรวจระดับของความดันโลหิตเป็นประจำเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน
* ทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ เพื่อควบคุมระดับของความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
* ปรับเปลี่ยนปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่มีผลต่อความดันโลหิตสูง เช่น ลดน้ำหนักตัว ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดดื่มแอลกอฮอล์ เลิกบุหรี่ และลดความเครียด
* งดทานอาหารรสเค็ม ทอด และมีไขมันสูง ให้เปลี่ยนมาทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผักผลไม้ให้มากขึ้น
* วัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอและจดบันทึกลงในสมุดเพื่อนำไปให้แพทย์ผู้รักษาใช้ประกอบการรักษาความดันโลหิตสูง
*คอยหมั่นสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นในขณะที่ออกกำลังกาย เช่น หน้ามืด เวียนศีรษะ หายใจติดขัด แน่นหน้าอกหรืออ่อนเพลียผิดปกติ และควรสังเกตอาการตอบสนองของความดันโลหิตหลังจากที่ทำกิจกรรมต่างๆ