ปรับชีวิตพิชิตโรคกระดูกสันหลัง
หลายคนคงพอทราบว่าโรคกระดูกสันหลังหลายๆโรคเมื่อเป็นแล้วจะคอยรบกวนชีวิตเราอยู่เรื่อยๆแม้ว่าจะได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องแล้วก็ตาม บางคนอาจจะเข้าใจว่า ภาวะกระดูกสันหลังเสื่อมจะเกิดขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ซึ่งเราไม่สามารถควบคุมปัจจัยด้านอายุได้ ดังนั้นเราก็ไม่สามารถควบคุมภาวะโรคกระดูกสันหลังให้เกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน ภาวะโรคกระดูกสันหลังอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น
- ปัจจัยด้านกรรมพันธุ์ หมายถึง บางคนคิดว่าภาวะโรคกระดูกสันหลังเกิดขึ้นจาก กรณีที่ญาติมีความผิดปกติด้านกระดูกสันหลัง เราคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเป็นโรคทางด้านกระดูกสันหลังเช่นเดียวกัน ซึ่งจริงๆอาจเป็นความจริงหรือไม่ก็ตาม
- ปัจจัยด้านอายุ หรือกรรมพันธุ์อาจมีผลทำให้เกิดภาวะผิดปกติด้านกระดูกสันหลังได้แต่เป็นเพียงแค่ส่วนน้อยเท่านั้น หมายความว่าคนที่อายุมากขึ้น ไม่ได้จำเป็นว่าจะเกิดภาวะผิดปกติด้านกระดูกสันหลังทุกรายไป หรือคนที่มีญาติที่มีปัญหาด้านกระดูกสันหลังก็ไม่ใช่ว่าเค้าเหล่านั้นจะมีปัญหาด้านกระดูกสันหลังร่วมด้วยเสมอ
ปัญหาด้านกระดูกสันหลังถ้าไม่นับการเกิดอุบัติเหตุโดยตรงกับกระดูกสันหลัง ส่วนใหญ่มักเกิดจากรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันในอดีตโดยเฉพาะการใช้งานที่ส่งผลต่อการทำงานของกระดูกสันหลังที่ไม่สมดุล ร่วมกับการทำรูปแบบต่างๆเหล่านั้นซ้ำๆกันในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่งอย่างต่อเนื่อง ส่วนรูปแบบต่างๆที่ว่านั้นหมายถึงท่าทางการใช้ชีวิตประจำวันบางอย่างที่ส่งผลต่อภาวะกระดูกสันหลัง รวมถึง ท่านั่ง ท่านอน ท่ายืนที่ผิดปกติ ท่าก้มยกของที่ผิดปกติ ยกตัวอย่างเช่น
1. การนั่งหลังค่อม ซึ่งส่งผลต่อกล้ามเนื้อหลังทำให้เกิดการเกร็งค้าง ทำให้ปวดเมื่อยและจะทำให้เกิดการบาดเจ็บของเส้นใยกล้ามเนื้อ เมื่อนั่งท่านี้นานๆ ทำให้เกิดความเสื่อมหรือมีการกดทับของเส้นประสาทสันหลังเกิดขึ้นภายหลังได้
2. การนั่งไขว่ห้าง ทำให้น้ำหนักตัวกดลงข้างใดข้างหนึ่งของกระดูกสันหลัง ส่งผลให้กระดูกสันหลังคดตามมาได้
3. การยกของหนักๆ เรื่อยๆ หมอนรองกระดูกซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญส่วนหนึ่งของกระดูกสันหลังก็ต้องรองรับน้ำหนักมากขึ้นเรื่อยๆ อาจจะเกิดการปลิ้นหรือการแตก ส่งผลให้เกิดการกดทับเส้นประสาท
4. การใส่รองเท้าส้นสูงมากเกินไปจะส่งผลให้แนวกระดูกสันหลังช่วงล่างแอ่นมากกว่าปกติทำให้เสียสมดุลของสรีระกระดูกสันหลัง
5. ท่านอนที่ไม่เหมาะสมเช่น การนอนขดตัว ไม่นอนหงายหรือนอนตะแคงร่วมกับกอดหมอนข้างก็ส่งผลต่อแนวกระดูกสันหลัง
6. การปล่อยให้น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นมากเกินไปจะส่งผลให้กระดูกสันหลังต้องรับภาระหนักในการพยุงน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น
*ภาพประกอบเหล่านี้อาจเป็นเพียงส่วนหนึ่งของตัวอย่างของท่าทางการใช้ชีวิตประจำวันบางอย่างที่อาจจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการทำงานของกระดูกสันหลังทำให้เสียสมดุลการทำงานของกระดูกสันหลังและส่งผลต่อภาวะของโรคกระดูกสันหลังต่างๆตามมาในภายหลัง
หากเราได้ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงของภาวะโรคกระดูกสันหลังแล้ว เราจะพบว่าสาเหตุต่างๆเหล่านั้นสามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะโรคกระดูกสันหลังตามมาได้และ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับปัจจัยด้านอายุเหมือนกับที่หลายๆคนเข้าใจ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้บทความนี้เนื่องจากเป็นบทความแรกของผมจึงถือขอถือโอกาสเกริ่นนำกว้างๆและทำความเข้าใจกับท่านผู้อ่านทุกท่านเบื้องต้นก่อน และบทความหน้าผมจะได้กล่าวถึงรายละเอียดของภาวะโรคกระดูกสันหลังรวมทั้งการรักษามากขึ้นตามลำดับครับ แล้วพบกันในบทความหน้าครับ
ที่มา https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/march-2021/adjusting-life-spine-disease
ปรับชีวิตพิชิตโรคกระดูกสันหลัง
หลายคนคงพอทราบว่าโรคกระดูกสันหลังหลายๆโรคเมื่อเป็นแล้วจะคอยรบกวนชีวิตเราอยู่เรื่อยๆแม้ว่าจะได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องแล้วก็ตาม บางคนอาจจะเข้าใจว่า ภาวะกระดูกสันหลังเสื่อมจะเกิดขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ซึ่งเราไม่สามารถควบคุมปัจจัยด้านอายุได้ ดังนั้นเราก็ไม่สามารถควบคุมภาวะโรคกระดูกสันหลังให้เกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน ภาวะโรคกระดูกสันหลังอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น
- ปัจจัยด้านกรรมพันธุ์ หมายถึง บางคนคิดว่าภาวะโรคกระดูกสันหลังเกิดขึ้นจาก กรณีที่ญาติมีความผิดปกติด้านกระดูกสันหลัง เราคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเป็นโรคทางด้านกระดูกสันหลังเช่นเดียวกัน ซึ่งจริงๆอาจเป็นความจริงหรือไม่ก็ตาม
- ปัจจัยด้านอายุ หรือกรรมพันธุ์อาจมีผลทำให้เกิดภาวะผิดปกติด้านกระดูกสันหลังได้แต่เป็นเพียงแค่ส่วนน้อยเท่านั้น หมายความว่าคนที่อายุมากขึ้น ไม่ได้จำเป็นว่าจะเกิดภาวะผิดปกติด้านกระดูกสันหลังทุกรายไป หรือคนที่มีญาติที่มีปัญหาด้านกระดูกสันหลังก็ไม่ใช่ว่าเค้าเหล่านั้นจะมีปัญหาด้านกระดูกสันหลังร่วมด้วยเสมอ
ปัญหาด้านกระดูกสันหลังถ้าไม่นับการเกิดอุบัติเหตุโดยตรงกับกระดูกสันหลัง ส่วนใหญ่มักเกิดจากรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันในอดีตโดยเฉพาะการใช้งานที่ส่งผลต่อการทำงานของกระดูกสันหลังที่ไม่สมดุล ร่วมกับการทำรูปแบบต่างๆเหล่านั้นซ้ำๆกันในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่งอย่างต่อเนื่อง ส่วนรูปแบบต่างๆที่ว่านั้นหมายถึงท่าทางการใช้ชีวิตประจำวันบางอย่างที่ส่งผลต่อภาวะกระดูกสันหลัง รวมถึง ท่านั่ง ท่านอน ท่ายืนที่ผิดปกติ ท่าก้มยกของที่ผิดปกติ ยกตัวอย่างเช่น
1. การนั่งหลังค่อม ซึ่งส่งผลต่อกล้ามเนื้อหลังทำให้เกิดการเกร็งค้าง ทำให้ปวดเมื่อยและจะทำให้เกิดการบาดเจ็บของเส้นใยกล้ามเนื้อ เมื่อนั่งท่านี้นานๆ ทำให้เกิดความเสื่อมหรือมีการกดทับของเส้นประสาทสันหลังเกิดขึ้นภายหลังได้
2. การนั่งไขว่ห้าง ทำให้น้ำหนักตัวกดลงข้างใดข้างหนึ่งของกระดูกสันหลัง ส่งผลให้กระดูกสันหลังคดตามมาได้
3. การยกของหนักๆ เรื่อยๆ หมอนรองกระดูกซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญส่วนหนึ่งของกระดูกสันหลังก็ต้องรองรับน้ำหนักมากขึ้นเรื่อยๆ อาจจะเกิดการปลิ้นหรือการแตก ส่งผลให้เกิดการกดทับเส้นประสาท
4. การใส่รองเท้าส้นสูงมากเกินไปจะส่งผลให้แนวกระดูกสันหลังช่วงล่างแอ่นมากกว่าปกติทำให้เสียสมดุลของสรีระกระดูกสันหลัง
5. ท่านอนที่ไม่เหมาะสมเช่น การนอนขดตัว ไม่นอนหงายหรือนอนตะแคงร่วมกับกอดหมอนข้างก็ส่งผลต่อแนวกระดูกสันหลัง
6. การปล่อยให้น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นมากเกินไปจะส่งผลให้กระดูกสันหลังต้องรับภาระหนักในการพยุงน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น
*ภาพประกอบเหล่านี้อาจเป็นเพียงส่วนหนึ่งของตัวอย่างของท่าทางการใช้ชีวิตประจำวันบางอย่างที่อาจจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการทำงานของกระดูกสันหลังทำให้เสียสมดุลการทำงานของกระดูกสันหลังและส่งผลต่อภาวะของโรคกระดูกสันหลังต่างๆตามมาในภายหลัง
หากเราได้ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงของภาวะโรคกระดูกสันหลังแล้ว เราจะพบว่าสาเหตุต่างๆเหล่านั้นสามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะโรคกระดูกสันหลังตามมาได้และ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับปัจจัยด้านอายุเหมือนกับที่หลายๆคนเข้าใจ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้