บนพื้นโลกมีน้ำครอบคลุมพื้นที่ 2 ใน 3 ของพื้นที่รวม แต่กลับปรากฏว่ามีประชากรโลกจำนวน 1 ใน 5 กำลังประสบภาวะขาดแคลนน้ำ และ
ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ
ความเสี่ยงจากน้ำโดยรวม
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้คำอธิบาย:
ความเสี่ยงด้านน้ำโดยรวมจะวัดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับน้ำทั้งหมด ค่าที่สูงขึ้นแสดงถึงความเสี่ยงต่อน้ำที่สูงขึ้น
ที่มา: WRI Aqueduct 2019
ด้วยข้อเท็จจริงทางภูมิศาสตร์ที่ว่า ปริมาณน้ำโดยรวมของโลกในปัจจุบันนั้นเป็นน้ำเค็มถึง 97.5%
ส่วนพื้นที่น้ำที่เป็นน้ำจืดมีเพียงประมาณ 2.5% เท่านั้น
และน้ำจืด 2.5%นี้แบ่งเป็นน้ำแข็งขั้วโลกเหนือ-ขั้วโลกใต้ และบนเทือกเขาสูง 68.9%
น้ำที่อยู่ใต้ดิน 30.8% และน้ำในแม่น้ำและทะเลสาป หรือที่เรียกว่า น้ำบนผิวดินมีเพียง 0.3%
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการเติบโตของจำนวนประชากรในประเทศต่างๆทำให้ความต้องการใช้น้ำทวีสูงขึ้น
จากรายงานขององค์การสหประชาชาติ พบว่า ภายในปี 2568 ประชากรกว่า 7 พันล้านคนจาก 60
ประเทศ จะประสบภาวะการขาดแคลนน้ำรุนแรง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ศึกษาวิเคราะห์ถึงภาวะการขาดแคลนน้ำที่เกิดขึ้นนั้น มีเหตุปัจจัยอย่างน้อย 10
ประการที่เป็นตัวเร่งให้เกิดภาวะขาดแคลนน้ำ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. เกิดภาวะเรือนกระจก สภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบันนั้น สาเหตุหนึ่งมาจากภาวะเรือน
กระจก (Greenhouse Effect) ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น หรือที่เรียกว่า Global Warming เกิดการ
เปลี่ยนแปลงฤดูกาลในบางพื้นที่
สำหรับประเทศไทย ภาวะเรือนกระจกทำให้อากาศร้อนขึ้น โดยมีอุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุดเฉลี่ยในช่วง
ทศวรรษ 2533 สูงกว่าค่าเฉลี่ยในรอบ 49 ปี และอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยรายปีสูงกว่าค่าเฉลี่ยประมาณ 0.7 องศา
เซลเซียส ขณะที่ฤดูหนาวนั้นมีแน้วโน้มที่จะสั้นลง
2. ปัญหามลพิษในแม่น้ำลำคลองและแหล่งน้ำต่างๆ หลายประเทศขณะนี้กำลังประสบปัญหามลพิษ
ในแหล่งน้ำธรรมชาติต่างๆ เน่าเสีย จากการปล่อยน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมลงในแหล่งน้ำโดยไม่ได้ผ่าน
การบำบัด (water treatment) สารเคมีตกค้างจากการเกษตร การทำเหมืองแร่ และจากการทิ้งขยะและของ
เสียลงในแหล่งน้ำต่างๆ เป็นต้น
จากการสำรวจขององค์การสหประชาชาติพบว่า ทุกวันนี้มีของเสียประมาณ 2ล้านตันถูกปล่อยลงในแหล่งน้ำ จากการคำนวณ พบว่า น้ำเสีย 1 ลิตร สามารถทำลายน้ำสะอาดได้ถึง 8 ลิตร และในขณะนี้มีน้ำเสียอยู่ถึงประมาณ 12,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ทั่วโลก เทียบเท่ากับ 10 แม่น้ำสายใหญ่ของ
โลกรวมกันและคาดว่าปริมาณน้ำเสียจะเพิ่มขึ้นเป็น 18,000 ล้านลูกบาศก์เมตร
ในปี 2548 สำหรับหลายแหล่งน้ำในประเทศไทยเองกำลังประสบกับมลพิษอย่างรุนแรง เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำบางปะกง เป็นต้น
3. จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น จากการสำรวจของ UN พบว่า ภายในระยะเวลา 50 ปีนี้ อัตราการใช้น้ำทั่วโลกเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า
การเพิ่มจำนวนประชากรที่รวดเร็ว ทำให้อัตราการใช้น้ำเพิ่มสูงขึ้นไปด้วย
4. ภาคเกษตรและปศุสัตว์ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ในภาคการผลิตเกษตรและปศุสัตว์มีอัตราการใช้น้ำสูง
ที่สุดประมาณ 70% ของการใช้น้ำรวมทั้งหมดของโลก จากการใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง การใช้ปุ๋ยเคมี และการ
เลี้ยงสัตว์ใกล้แหล่งน้ำก่อให้เกิดมลพิษในแหล่งน้ำทั้งบนบกและใต้ดิน เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ดังตัวอย่างให้
เห็นในหลายๆประเทศ เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และจีน เป็นต้น
สำหรับแหล่งน้ำในประเทศไทยนั้น ประชากรในประเทศส่วนใหญ่เกือบร้อยละ 49 ทำการเกษตร พื้นที่ที่ใช้สำหรับการเกษตรและพื้นที่เลี้ยง
สัตว์ ทุกช่วงฤดูร้อนของปีเกษตรกรจะพบกับภาวะการขาดแคลนน้ำที่รุนแรงมาก โดยเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
5. การขยายตัวภาคอุตสาหกรรม ในระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมามีการขยายการลงทุนทางภาคอุตสาหกรรมในหลายภูมิภาคของโลก โดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนา (Developing Countries) ทำให้มีการใช้น้ำสูงขึ้นในขั้นตอนการผลิต ผลที่ตามมา คือ มีการปล่อยน้ำเสียซึ่งมีสารเคมีปนเปื้อนลงในแม่น้ำ ลำคลอง ทำให้เกิดมลพิษไม่สามารถนำน้ำมาใช้บริโภคได้
6. ขาดการจัดการที่ดีในเรื่องของการใช้น้ำ จากรายงานขององค์การสหประชาชาติ พบว่าปัญหาการขาดแคลนน้ำที่เกิดขึ้นในบางพื้นที่นั้น สาเหตุหนึ่งเกิดจากการขาดการวางแผนและการจัดการที่ดีในการใช้น้ำและควบคุมมลพิษ เช่น ขาดมาตรการควบคุมที่เข้มงวดกับโรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยนํ้าเสียลงในแหล่งน้ำ
ขาดการดูแลเอาใจใส่ของประชาชนและรัฐบาลในการป้องกันการทิ้งของเสียลงในแหล่งน้ำ และขาดการควบคุมการใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง ในภาคเกษตร และขาดการจัดการและวางแผนที่ดีในเขตเศรษฐกิจ ในเรื่องของการใช้น้ำ เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้ได้เกิดขึ้นในประเทศไทย และทั่วทุกภูมิภาคของโลก
7. การขุดเจาะนำน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้ น้ำใต้ดินที่มีอยู่ประมาณ 30.8% ของน้ำจืดที่มีในโลก ในปัจจุบันมีการขุดเจาะนำน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้มากขึ้น ซึ่งการขุดเจาะน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้เป็นจำนวนมากนี้ ทำให้เกิดผลเสียอย่างมหาศาลคือ กระทบต่อแหล่งน้ำบนพื้นดินแห้งขอดได้ และในที่สุดจะกลายเป็นทะเลทราย นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการทรุดตัวของพื้นดินอีกด้วย
8. การสร้างเขื่อน การสร้างเขื่อนนั้นมีทั้งผลดีและผลเสีย ประโยชน์ของการสร้างเขื่อน เพื่อนำมาใช้ใน
การผลิตกระแสไฟฟ้า และกักเก็บน้ำใช้ในภาคการเกษตร
ส่วนข้อเสียก็มี เช่น เขื่อนที่ถูกสร้างขึ้นมาแล้วนั้น ทำให้เกิดผลกระทบต่อไปยังพื้นที่ปลายน้ำ ทำให้เกิดภาวะการขาดแคลนน้ำ และการ
เปลี่ยนแปลงทางระบบนิเวศน์วิทยาที่ตามมา
9. ขยะที่ถูกฝังใต้ดิน ปริมาณขยะเพิ่มขึ้น และขยะบางส่วนไม่สามารถย่อยสลายเองได้ และเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นขยะจากอุตสาหกรรมบางประเภทจึงต้องมีการปิดผนึกอย่างดีก่อนการนำไปฝังที่ใต้ดิน เช่น ที่แคลิฟอร์เนีย ซิลิคอน แวลลี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประมาณ 85 %ของแทงค์ที่เก็บขยะและถูกฝังลงใต้ดินนั้นเกิดการรั่วไหล ทำให้สารจำพวกโลหะหนักต่างๆ ไหลออกมาปะปนกับน้ำที่อยู่ใต้ดิน
สำหรับประเทศไทยนั้น มีการฝังขยะลงใต้ดิน และไม่มีการแยกว่าเป็นขยะประเภทใด บางครั้งเป็นขยะที่ยังมีสารเคมีตกค้างอยู่ เช่น แบเตอร์รี่ กระป๋องยาฆ่าแมลง ทำให้เกิดการรั่วไหลของสารเคมีลงสู่ชั้นดินและซึมลงไปยังน้ำใต้ดิน
10. ป่าไม้ถูกทำลาย โลกกำลังเผชิญกับการสูญเสียทรัพยากรป่าไม้เป็นจำนวนมาก เนื้อที่ป่าไม้ของโลก
มีอยู่ประมาณ 3 พันล้านเฮคเตอร์ (ประมาณ 18.75 พันล้านไร่) เนื้อที่ป่าไม้ที่ถูกทำลายส่วนใหญ่นั้นอยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนา
ภาวะขาดแคลนน้ำจืดทั่วโลก : ภัยร้ายที่กำลังมาเยือน..
ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ
ความเสี่ยงจากน้ำโดยรวม
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ด้วยข้อเท็จจริงทางภูมิศาสตร์ที่ว่า ปริมาณน้ำโดยรวมของโลกในปัจจุบันนั้นเป็นน้ำเค็มถึง 97.5%
ส่วนพื้นที่น้ำที่เป็นน้ำจืดมีเพียงประมาณ 2.5% เท่านั้น
และน้ำจืด 2.5%นี้แบ่งเป็นน้ำแข็งขั้วโลกเหนือ-ขั้วโลกใต้ และบนเทือกเขาสูง 68.9%
น้ำที่อยู่ใต้ดิน 30.8% และน้ำในแม่น้ำและทะเลสาป หรือที่เรียกว่า น้ำบนผิวดินมีเพียง 0.3%
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการเติบโตของจำนวนประชากรในประเทศต่างๆทำให้ความต้องการใช้น้ำทวีสูงขึ้น
จากรายงานขององค์การสหประชาชาติ พบว่า ภายในปี 2568 ประชากรกว่า 7 พันล้านคนจาก 60
ประเทศ จะประสบภาวะการขาดแคลนน้ำรุนแรง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ศึกษาวิเคราะห์ถึงภาวะการขาดแคลนน้ำที่เกิดขึ้นนั้น มีเหตุปัจจัยอย่างน้อย 10
ประการที่เป็นตัวเร่งให้เกิดภาวะขาดแคลนน้ำ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. เกิดภาวะเรือนกระจก สภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบันนั้น สาเหตุหนึ่งมาจากภาวะเรือน
กระจก (Greenhouse Effect) ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น หรือที่เรียกว่า Global Warming เกิดการ
เปลี่ยนแปลงฤดูกาลในบางพื้นที่
สำหรับประเทศไทย ภาวะเรือนกระจกทำให้อากาศร้อนขึ้น โดยมีอุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุดเฉลี่ยในช่วง
ทศวรรษ 2533 สูงกว่าค่าเฉลี่ยในรอบ 49 ปี และอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยรายปีสูงกว่าค่าเฉลี่ยประมาณ 0.7 องศา
เซลเซียส ขณะที่ฤดูหนาวนั้นมีแน้วโน้มที่จะสั้นลง
2. ปัญหามลพิษในแม่น้ำลำคลองและแหล่งน้ำต่างๆ หลายประเทศขณะนี้กำลังประสบปัญหามลพิษ
ในแหล่งน้ำธรรมชาติต่างๆ เน่าเสีย จากการปล่อยน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมลงในแหล่งน้ำโดยไม่ได้ผ่าน
การบำบัด (water treatment) สารเคมีตกค้างจากการเกษตร การทำเหมืองแร่ และจากการทิ้งขยะและของ
เสียลงในแหล่งน้ำต่างๆ เป็นต้น
จากการสำรวจขององค์การสหประชาชาติพบว่า ทุกวันนี้มีของเสียประมาณ 2ล้านตันถูกปล่อยลงในแหล่งน้ำ จากการคำนวณ พบว่า น้ำเสีย 1 ลิตร สามารถทำลายน้ำสะอาดได้ถึง 8 ลิตร และในขณะนี้มีน้ำเสียอยู่ถึงประมาณ 12,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ทั่วโลก เทียบเท่ากับ 10 แม่น้ำสายใหญ่ของ
โลกรวมกันและคาดว่าปริมาณน้ำเสียจะเพิ่มขึ้นเป็น 18,000 ล้านลูกบาศก์เมตร
ในปี 2548 สำหรับหลายแหล่งน้ำในประเทศไทยเองกำลังประสบกับมลพิษอย่างรุนแรง เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำบางปะกง เป็นต้น
3. จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น จากการสำรวจของ UN พบว่า ภายในระยะเวลา 50 ปีนี้ อัตราการใช้น้ำทั่วโลกเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า
การเพิ่มจำนวนประชากรที่รวดเร็ว ทำให้อัตราการใช้น้ำเพิ่มสูงขึ้นไปด้วย
4. ภาคเกษตรและปศุสัตว์ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ในภาคการผลิตเกษตรและปศุสัตว์มีอัตราการใช้น้ำสูง
ที่สุดประมาณ 70% ของการใช้น้ำรวมทั้งหมดของโลก จากการใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง การใช้ปุ๋ยเคมี และการ
เลี้ยงสัตว์ใกล้แหล่งน้ำก่อให้เกิดมลพิษในแหล่งน้ำทั้งบนบกและใต้ดิน เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ดังตัวอย่างให้
เห็นในหลายๆประเทศ เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และจีน เป็นต้น
สำหรับแหล่งน้ำในประเทศไทยนั้น ประชากรในประเทศส่วนใหญ่เกือบร้อยละ 49 ทำการเกษตร พื้นที่ที่ใช้สำหรับการเกษตรและพื้นที่เลี้ยง
สัตว์ ทุกช่วงฤดูร้อนของปีเกษตรกรจะพบกับภาวะการขาดแคลนน้ำที่รุนแรงมาก โดยเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
5. การขยายตัวภาคอุตสาหกรรม ในระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมามีการขยายการลงทุนทางภาคอุตสาหกรรมในหลายภูมิภาคของโลก โดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนา (Developing Countries) ทำให้มีการใช้น้ำสูงขึ้นในขั้นตอนการผลิต ผลที่ตามมา คือ มีการปล่อยน้ำเสียซึ่งมีสารเคมีปนเปื้อนลงในแม่น้ำ ลำคลอง ทำให้เกิดมลพิษไม่สามารถนำน้ำมาใช้บริโภคได้
6. ขาดการจัดการที่ดีในเรื่องของการใช้น้ำ จากรายงานขององค์การสหประชาชาติ พบว่าปัญหาการขาดแคลนน้ำที่เกิดขึ้นในบางพื้นที่นั้น สาเหตุหนึ่งเกิดจากการขาดการวางแผนและการจัดการที่ดีในการใช้น้ำและควบคุมมลพิษ เช่น ขาดมาตรการควบคุมที่เข้มงวดกับโรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยนํ้าเสียลงในแหล่งน้ำ
ขาดการดูแลเอาใจใส่ของประชาชนและรัฐบาลในการป้องกันการทิ้งของเสียลงในแหล่งน้ำ และขาดการควบคุมการใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง ในภาคเกษตร และขาดการจัดการและวางแผนที่ดีในเขตเศรษฐกิจ ในเรื่องของการใช้น้ำ เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้ได้เกิดขึ้นในประเทศไทย และทั่วทุกภูมิภาคของโลก
7. การขุดเจาะนำน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้ น้ำใต้ดินที่มีอยู่ประมาณ 30.8% ของน้ำจืดที่มีในโลก ในปัจจุบันมีการขุดเจาะนำน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้มากขึ้น ซึ่งการขุดเจาะน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้เป็นจำนวนมากนี้ ทำให้เกิดผลเสียอย่างมหาศาลคือ กระทบต่อแหล่งน้ำบนพื้นดินแห้งขอดได้ และในที่สุดจะกลายเป็นทะเลทราย นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการทรุดตัวของพื้นดินอีกด้วย
8. การสร้างเขื่อน การสร้างเขื่อนนั้นมีทั้งผลดีและผลเสีย ประโยชน์ของการสร้างเขื่อน เพื่อนำมาใช้ใน
การผลิตกระแสไฟฟ้า และกักเก็บน้ำใช้ในภาคการเกษตร
ส่วนข้อเสียก็มี เช่น เขื่อนที่ถูกสร้างขึ้นมาแล้วนั้น ทำให้เกิดผลกระทบต่อไปยังพื้นที่ปลายน้ำ ทำให้เกิดภาวะการขาดแคลนน้ำ และการ
เปลี่ยนแปลงทางระบบนิเวศน์วิทยาที่ตามมา
9. ขยะที่ถูกฝังใต้ดิน ปริมาณขยะเพิ่มขึ้น และขยะบางส่วนไม่สามารถย่อยสลายเองได้ และเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นขยะจากอุตสาหกรรมบางประเภทจึงต้องมีการปิดผนึกอย่างดีก่อนการนำไปฝังที่ใต้ดิน เช่น ที่แคลิฟอร์เนีย ซิลิคอน แวลลี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประมาณ 85 %ของแทงค์ที่เก็บขยะและถูกฝังลงใต้ดินนั้นเกิดการรั่วไหล ทำให้สารจำพวกโลหะหนักต่างๆ ไหลออกมาปะปนกับน้ำที่อยู่ใต้ดิน
สำหรับประเทศไทยนั้น มีการฝังขยะลงใต้ดิน และไม่มีการแยกว่าเป็นขยะประเภทใด บางครั้งเป็นขยะที่ยังมีสารเคมีตกค้างอยู่ เช่น แบเตอร์รี่ กระป๋องยาฆ่าแมลง ทำให้เกิดการรั่วไหลของสารเคมีลงสู่ชั้นดินและซึมลงไปยังน้ำใต้ดิน
10. ป่าไม้ถูกทำลาย โลกกำลังเผชิญกับการสูญเสียทรัพยากรป่าไม้เป็นจำนวนมาก เนื้อที่ป่าไม้ของโลก
มีอยู่ประมาณ 3 พันล้านเฮคเตอร์ (ประมาณ 18.75 พันล้านไร่) เนื้อที่ป่าไม้ที่ถูกทำลายส่วนใหญ่นั้นอยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนา