[คำเตือน : มีการเปิดเผยเนื้อหาบางส่วน!!]
Focus
👉 ภาพและเนื้อเรื่องโดย ทรงศีล ทิวสมบุญ
👉 เป็นหนึ่งในนิยายภาพที่มีอธิพลต่อวงการกราฟิกโนเวลในประเทศไทย
👉 มีจำนวน 8 เล่ม (ล่าสุด)
“นายจงฟังให้ดีๆ… เป้าหมายของฉัน… ก็คือ… ครองโลกยังไงล่ะ!”
หัวไฟกล่าวถึงความฝันอันสูงสุดของเขาให้กับถั่วงอก
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า โลกหนังสือในปัจจุบันมีวิวัฒนาการและรูปแบบที่แตกต่างกว่าในอดีต ที่เรามักจะเห็นเพียงตัวอักษรบนหน้ากระดาษ มีภาพประกอบพอเป็นพิธี
ถั่วงอกและหัวไฟ ในความบ้าคลั่งอันมิรู้สิ้นสุด (Bean Sprout & Firehead in The Infinite Madness) เป็นนิยายภาพ หรือ Graphic Novel ประพันธ์โดยคุณ
ทรงศีล ทิวสมบูรณ์ ได้คลอดออกจากโรงพิมพ์สู่สายตานักอ่านชาวไทยครั้งแรกในเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2548
เรื่องราวของถั่วงอกและหัวไฟ เริ่มต้นขึ้นเมื่อ ‘ถั่วงอก’ พบว่าตัวเองถูกทิ้งให้อยู่ในกองขยะโดยไม่ทราบสาเหตุ จากนั้นเขาก็ได้เจอกับ ‘หัวไฟ’ และ ‘บุบบิบ’ (สุนัขของหัวไฟ) ทั้งสามได้ออกเดินทาง พานพบกับเหตุการณ์ต่างๆมากมายที่ทำให้พวกเขาเติบโตและเข้าใจชีวิตของโลกภายนอกมากขึ้น
ผมพบกับถั่วงอกและหัวไฟครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2551 ย้อนกลับไปในวันวานเมื่อครั้งที่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และห่างหายการอ่านหนังสือเพราะมัวแต่ไปติดเกม ซึ่งในยุคนั้นแผ่นปั้มกำลังเฟื่องฟูแถวสะพานเหล็กและคลองถม การเล่นเกมในช่วงปิดเทอมฤดูร้อนจีงเป็นกิจกรรมยามว่างสำหรับแก้เบื่อที่ดีที่สุด
ผมมีโอกาสได้รู้จักกับคุณ ทรงศีล ผ่านลายเส้นตัวการ์ตูนแปลกๆของเขา บนหน้าปกนิตยสาร a day ฉบับที่ 91 จะด้วยความพิศวงหรือกวนโอ๊ยของลายเส้นก็ไม่รู้ คล้ายมาดลใจให้ผมอยากรู้จักเขามากยิ่งขึ้น พี่สาวของผมจึงได้สนองความต้องการด้วยการแนะนำหนังสือเรื่อง ถั่วงอกและหัวไฟ ให้เป็นการโหมโรง นั่นจึงเป็นครั้งแรกในชีวิตที่ได้สัมผัสกับนิยายภาพ
จากนั้นผมก็พกหนังสือเล่มนี้ไปที่โรงเรียนตลอด แอบนั่งอ่านในชั่วโมงภาษาไทยและสังคมศึกษา จนหลายครั้งที่ถูกจับได้ แล้วต้องไปขออาจารย์คืนหลังเลิกเรียนอยู่บ่อยๆ
ถั่วงอกและหัวไฟ เป็นเรื่องราวที่เหมือนจะไร้แบบแผน อ่านเอาสนุกไม่ต้องคิดเยอะ ทว่ามันกลับสอนเด็ก ม.ต้นอย่างผม ให้รู้จักโลกแห่งความโหดร้ายนอกรั้วโรงเรียน (จริงๆ ในโรงเรียนก็มี) ภายใต้ตัวละครที่เกือบจะน่ารัก มันแฝงความตลกร้ายได้อย่างเจ็บแสบ
🔴 When I Grow Up
เป็นบทที่สองของเรื่องซึ่งผมชอบเป็นพิเศษ โดยจะเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับ ความฝันของตัวละคร มีบทสนทนาสั้นๆจนถึงปานกลางระหว่างถั่วงอกกับหัวไฟ เมื่อถั่วงอกถามถึงจุดประสงค์ที่แท้จริงในการเผยแพร่ผลงานศิลปะ หัวไฟจึงสวนกลับแบบเจ็บๆว่า
“เคยมีคนถามนายมั้ยว่า โตขึ้นอยากเป็นอะไร...มันเป็นคำถามที่สุดแสนจะปัญญาอ่อนสำหรับฉัน เด็กส่วนใหญ่มักจะตอบว่า อยากเป็นหมอบ้าง เป็นนักบินอวกาศบ้าง ซึ่งนั่นควรจะเป็นคำตอบสำหรับคำถามที่ว่า ‘โตขึ้นอยากทำอาชีพอะไร’”
หากตอนนั้นมีคนถามผมด้วยคำถามแบบนี้ ผมก็คงจะตอบกลับไปเหมือนกับหัวไฟว่าอยากเป็นหมอ อยากเป็นตำรวจ อยากเป็นครู ฯลฯ ด้วยเหตุผลที่ว่าเพราะมันอาชีพที่คนส่วนใหญ่เป็นและสังคมให้การยอมรับกัน จากนั้นหัวไฟก็กล่าวต่ออีก
“ทั้งที่ ‘อาชีพ’ กับ ‘สิ่งที่อยากจะเป็น’ หรือคำว่า ‘จำเป็นต้องทำ’ กับ ‘ฝันว่าจะได้ทำ
มันอาจไม่ใช่เรื่องเดียวกัน เมื่อเราเติมโตขึ้น!! ผู้ใหญ่ห่วยๆมักกรอกหูเรา ด้วยอะไรที่ไม่เข้าท่า
จากประสบการณ์ผิดพลาดส่วนตัว โดยลืมคำนึงถึงจินตนาการและความฝันไป
ทั้งๆที่มันเป็นสิ่งสวยงามที่สุดที่มนุษย์พึงมี!!! ”
สิ่งที่หัวไฟบอกเมื่อหลาย 10 ปีก่อน ตอนนี้มันชัดเจนมากสำหรับผม เมื่อ ‘ความฝัน’ มีอุปสรรคที่เรียกว่า ‘จำเป็นต้องทำ’ ขวางกั้น ดังนั้น ‘สิ่งที่อยากจะเป็น’ จึงต้องกลายมาเป็น ‘อาชีพ’ ตามบริบทของสังคม เพราะระบบการศึกษาไทยและอีกหลายๆ ที่บนโลก คือการสอนให้คนเป็นอย่างที่สังคมต้องการ ไม่ใช่อย่างที่อยากจะเป็น เมื่อผู้ใหญ่ถามเราว่าโตขึ้นอยากจะเป็นอะไรหรือทำอาชีพอะไร เราจึงตอบออกไปตามกลไกของสังคมที่ถูกปลูกฝังมา
ผมไม่ได้พยายามจะบอกว่าอาชีพอย่างที่สังคมต้องการตามที่ยกตัวอย่างไปข้างต้นว่ามันไม่ดี เพียงแต่ผู้คนมีความหลากหลายเกินกว่าที่พวกเขาจะถูก ‘จำกัด’ เพียงแค่ ‘อาชีพ’ ตามที่สังคมกำหนดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เหล่าเด็กกำพร้าเร่ร่อนภายในเรื่อง คือตัวแทนของเด็กบางคนที่สังคมไม่ต้องการหรือถูกทอดทิ้งให้ผจญโลกอยู่เพียงลำพัง ผมเชื่อว่าพวกเขามีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกับเรา นั่นก็คือ ความฝัน ดังเช่น
👉 ความฝันของถั่วงอกคือการได้อาบน้ำ
👉 ความฝันของหัวไฟคือการครองโลกด้วยงานศิลปะ
ไม่ว่าจะฝันแปลกประหลาดซักแค่ไหน แต่ก็เพราะความฝันเหล่านี้ไม่ใช่หรือ ที่สร้างตัวตนของเราขึ้นมา เพราะคิดจึงมีเราอยู่ ตราบเท่าที่ความฝันหรือสิ่งที่เราอยากจะเป็นไม่ได้ไปสร้างความเดือดร้อนแก่ตัวเองและผู้อื่น เราก็ไม่ควรปิดกั้นโอกาสนั้น ผมเชื่อว่านั่นคือสิ่งที่ ถั่วงอกและหัวไฟพยายามจะบอกกับผู้อ่านทุกคน นั่นก็คือ
“จงเป็นตัวของตัวเอง”
และหวังว่าเราทุกคนจะค้นพบและได้ทำตามฝันของตัวเองนะครับ 😉
ชวนอ่านกราฟิกโนเวล ถั่วงอกและหัวไฟ กับการผจญภัยตามหาฝัน (อันไม่มีที่สิ้นสุด) | อ่านนอกเวลา
หัวไฟกล่าวถึงความฝันอันสูงสุดของเขาให้กับถั่วงอก
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า โลกหนังสือในปัจจุบันมีวิวัฒนาการและรูปแบบที่แตกต่างกว่าในอดีต ที่เรามักจะเห็นเพียงตัวอักษรบนหน้ากระดาษ มีภาพประกอบพอเป็นพิธี
ถั่วงอกและหัวไฟ ในความบ้าคลั่งอันมิรู้สิ้นสุด (Bean Sprout & Firehead in The Infinite Madness) เป็นนิยายภาพ หรือ Graphic Novel ประพันธ์โดยคุณ ทรงศีล ทิวสมบูรณ์ ได้คลอดออกจากโรงพิมพ์สู่สายตานักอ่านชาวไทยครั้งแรกในเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2548
เรื่องราวของถั่วงอกและหัวไฟ เริ่มต้นขึ้นเมื่อ ‘ถั่วงอก’ พบว่าตัวเองถูกทิ้งให้อยู่ในกองขยะโดยไม่ทราบสาเหตุ จากนั้นเขาก็ได้เจอกับ ‘หัวไฟ’ และ ‘บุบบิบ’ (สุนัขของหัวไฟ) ทั้งสามได้ออกเดินทาง พานพบกับเหตุการณ์ต่างๆมากมายที่ทำให้พวกเขาเติบโตและเข้าใจชีวิตของโลกภายนอกมากขึ้น
ผมพบกับถั่วงอกและหัวไฟครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2551 ย้อนกลับไปในวันวานเมื่อครั้งที่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และห่างหายการอ่านหนังสือเพราะมัวแต่ไปติดเกม ซึ่งในยุคนั้นแผ่นปั้มกำลังเฟื่องฟูแถวสะพานเหล็กและคลองถม การเล่นเกมในช่วงปิดเทอมฤดูร้อนจีงเป็นกิจกรรมยามว่างสำหรับแก้เบื่อที่ดีที่สุด
ผมมีโอกาสได้รู้จักกับคุณ ทรงศีล ผ่านลายเส้นตัวการ์ตูนแปลกๆของเขา บนหน้าปกนิตยสาร a day ฉบับที่ 91 จะด้วยความพิศวงหรือกวนโอ๊ยของลายเส้นก็ไม่รู้ คล้ายมาดลใจให้ผมอยากรู้จักเขามากยิ่งขึ้น พี่สาวของผมจึงได้สนองความต้องการด้วยการแนะนำหนังสือเรื่อง ถั่วงอกและหัวไฟ ให้เป็นการโหมโรง นั่นจึงเป็นครั้งแรกในชีวิตที่ได้สัมผัสกับนิยายภาพ
จากนั้นผมก็พกหนังสือเล่มนี้ไปที่โรงเรียนตลอด แอบนั่งอ่านในชั่วโมงภาษาไทยและสังคมศึกษา จนหลายครั้งที่ถูกจับได้ แล้วต้องไปขออาจารย์คืนหลังเลิกเรียนอยู่บ่อยๆ
ถั่วงอกและหัวไฟ เป็นเรื่องราวที่เหมือนจะไร้แบบแผน อ่านเอาสนุกไม่ต้องคิดเยอะ ทว่ามันกลับสอนเด็ก ม.ต้นอย่างผม ให้รู้จักโลกแห่งความโหดร้ายนอกรั้วโรงเรียน (จริงๆ ในโรงเรียนก็มี) ภายใต้ตัวละครที่เกือบจะน่ารัก มันแฝงความตลกร้ายได้อย่างเจ็บแสบ
🔴 When I Grow Up
เป็นบทที่สองของเรื่องซึ่งผมชอบเป็นพิเศษ โดยจะเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับ ความฝันของตัวละคร มีบทสนทนาสั้นๆจนถึงปานกลางระหว่างถั่วงอกกับหัวไฟ เมื่อถั่วงอกถามถึงจุดประสงค์ที่แท้จริงในการเผยแพร่ผลงานศิลปะ หัวไฟจึงสวนกลับแบบเจ็บๆว่า
หากตอนนั้นมีคนถามผมด้วยคำถามแบบนี้ ผมก็คงจะตอบกลับไปเหมือนกับหัวไฟว่าอยากเป็นหมอ อยากเป็นตำรวจ อยากเป็นครู ฯลฯ ด้วยเหตุผลที่ว่าเพราะมันอาชีพที่คนส่วนใหญ่เป็นและสังคมให้การยอมรับกัน จากนั้นหัวไฟก็กล่าวต่ออีก
มันอาจไม่ใช่เรื่องเดียวกัน เมื่อเราเติมโตขึ้น!! ผู้ใหญ่ห่วยๆมักกรอกหูเรา ด้วยอะไรที่ไม่เข้าท่า
จากประสบการณ์ผิดพลาดส่วนตัว โดยลืมคำนึงถึงจินตนาการและความฝันไป
ทั้งๆที่มันเป็นสิ่งสวยงามที่สุดที่มนุษย์พึงมี!!! ”
สิ่งที่หัวไฟบอกเมื่อหลาย 10 ปีก่อน ตอนนี้มันชัดเจนมากสำหรับผม เมื่อ ‘ความฝัน’ มีอุปสรรคที่เรียกว่า ‘จำเป็นต้องทำ’ ขวางกั้น ดังนั้น ‘สิ่งที่อยากจะเป็น’ จึงต้องกลายมาเป็น ‘อาชีพ’ ตามบริบทของสังคม เพราะระบบการศึกษาไทยและอีกหลายๆ ที่บนโลก คือการสอนให้คนเป็นอย่างที่สังคมต้องการ ไม่ใช่อย่างที่อยากจะเป็น เมื่อผู้ใหญ่ถามเราว่าโตขึ้นอยากจะเป็นอะไรหรือทำอาชีพอะไร เราจึงตอบออกไปตามกลไกของสังคมที่ถูกปลูกฝังมา
ผมไม่ได้พยายามจะบอกว่าอาชีพอย่างที่สังคมต้องการตามที่ยกตัวอย่างไปข้างต้นว่ามันไม่ดี เพียงแต่ผู้คนมีความหลากหลายเกินกว่าที่พวกเขาจะถูก ‘จำกัด’ เพียงแค่ ‘อาชีพ’ ตามที่สังคมกำหนดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เหล่าเด็กกำพร้าเร่ร่อนภายในเรื่อง คือตัวแทนของเด็กบางคนที่สังคมไม่ต้องการหรือถูกทอดทิ้งให้ผจญโลกอยู่เพียงลำพัง ผมเชื่อว่าพวกเขามีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกับเรา นั่นก็คือ ความฝัน ดังเช่น
👉 ความฝันของถั่วงอกคือการได้อาบน้ำ
👉 ความฝันของหัวไฟคือการครองโลกด้วยงานศิลปะ
ไม่ว่าจะฝันแปลกประหลาดซักแค่ไหน แต่ก็เพราะความฝันเหล่านี้ไม่ใช่หรือ ที่สร้างตัวตนของเราขึ้นมา เพราะคิดจึงมีเราอยู่ ตราบเท่าที่ความฝันหรือสิ่งที่เราอยากจะเป็นไม่ได้ไปสร้างความเดือดร้อนแก่ตัวเองและผู้อื่น เราก็ไม่ควรปิดกั้นโอกาสนั้น ผมเชื่อว่านั่นคือสิ่งที่ ถั่วงอกและหัวไฟพยายามจะบอกกับผู้อ่านทุกคน นั่นก็คือ
“จงเป็นตัวของตัวเอง”