เสนอให้ประเทศมีการจัดตำแหน่งทางสังคม

กระทู้คำถาม
พูดในฐานะของบุคคลสามัญชนทั่วไป ผมเห็นการตัดสินที่เหลื่อมล้ำเกิดขึ้นตลอด แม้ว่าคนเราจะบอกว่าไม่พยายามตัดสินใคร ยกตัวอย่าง การที่บอกว่าคนนี้มีออร่ามาก เห็นออร่ามาแต่ไกล ค่าเฉลี่ยการวิเคราะห์คือ  หน้าตา 75% การแต่งตัว 15% บุคลิก 10%  นั่นหมายความว่า ถ้า หน้าตา = 0% ส่วนที่เหลือก็ไม่มีความหมาย 
ซึ่งมันไร้สาระมาก ที่เราจัดให้คนกลุ่มแค่หน้าตาดี เป็นบุคคลชนชั้น 1 ทั้งๆที่ คนหน้าตาไม่ดีอาจมี ฐานะดีกว่า ความรู้มากกว่า สติปัญญาสูงกว่า ขยันมากกว่า 

เพื่อปรับเปลี่ยนให้การตัดสินจอมปลอม ดูมีหลักเกณฑ์ที่แน่นอน ผมจึงอยากเสนอให้

1.จัดทำเข็มบ่งบอก ฐานะทางสังคม เป็นเหมือน Ranking ที่บ่งบอกว่า คุณอยู่ระดับไหนในสังคม โดยเข็มมีการคาดสีที่ต่างกัน เช่น สีเทา = ระดับ 1 ไปจนถึง สีทอง = ระดับ 10 
2. การประเมินปรับตำแหน่งฐานะทางสังคม เกิดขึ้นปีละ 1 ครั้งทุกปี  โดย ทำการสอบเพื่อปรับตำแหน่งใหม่ ซึ่งไม่เป็นการบังคับ 
3. การสอบปรับตำแหน่ง ประเมินจาก
    3.1  ความสามารถในการหารายได้ ต่อเดือน     65%
    3.2  ทักษะความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญในสายงาน  20% 
    3.3  ตำแหน่งหน้าที่การงาน  10% 
    3.3  การช่วยเหลือ สร้างประโยชน์ให้สังคม 5 % 
4. ทุกคนต้องติดเข็ม เมื่อออกไปข้างนอก เสมือนเป็น หน้ากาก อนามัย 
5. โดยทั่วไป เข็มฐานะ ไม่ได้ มีผลในการทำธุรกรรม แต่ก็สามารถนำมาใช้ได้ตามแต่สมควร 

เท่านี้เราก็จะได้ คนที่มีออร่าอย่างแท้จริง โดยประเมินจากความเป็นจริง ของคนนั้นๆ  นั่นหมายความว่า คนที่หน้าตาไม่โดดเด่น ไม่มีออร่า แต่ติดเข็ม ระดับ 7 ขึ้นไป ก็กลายเป็นคนมีออร่าได้แล้ว อย่างสมเหตุสมผล แบบที่ควรจะเป็น

แผนร่างฉบับนี้จัดทำขึ้นแบบคร่าวๆ ใครอยากนำไปแก้ไขก็สามารถนำไปต่อยอดได้ครับ

จากการอ่านความคิดเห็นของ หลายๆท่าน ยังพบว่ามีความเข้าใจผิดไปมาก จึงขอชี้แจงเพิ่มเติมดังนี้
1.ระบบการจัดอันดับนี้ มีเพื่อดึง คนที่ถูกมองข้าม และ กด คนที่มองเกินจริง ให้เกิดความสมดุล 
2.แก้ปัญหาการมองบุคคลจากภายนอก บุคคลที่ดูดีแต่ภายนอกจะอยู่ยากขึ้น เพราะระบบการจัดสรรใหม่ของสังคม
3.ทำให้ระบบเริ่มสอดส่องคนที่มีความผิดปกติ หรือทำธุรกิจสีเทา และดำ อยู่ยากขึ้น เพราะเข็มบ่งบอกสถานะ ต้องได้รับการรับรองทางกฏหมาย ผู้ที่มีทรัพย์สิน มากเกินความเป็นจริงจะหลบเลี่ยงหรือลำบากขึ้น 
4.ลดปัญหาการบูลลี่รูปลักษณ์ภายนอก เพราะคนให้ความสำคัญกับอันดับเข็มมากกว่า
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่