ตำนาน พระธาตุดอยตุง
สมัยเมืองโยนกนาคพันธ์สิงหนวัตินคร ยังมีภูเขา ๓ ลูก คล้ายๆ ก้อนเส้าประชุมกัน เป็นดอยดินแดง
ภูเขาลูกที่ ๑ อยู่ทางปัจฉิมทิศ ทิศเบื้องหลัง ชื่อว่า "ภูเขาท่า" เป็นเพราะลูกๆ อยู่ดอยนี้ คอยเอาของไปขายให้คนทั้งหลาย
ภูเขาลูกที่ ๒ อยู่ทางอุตตรทิศ ทิศทางเหนือ ชื่อ "ภูเขาย่าเจ้า" เป็นเพราะย่าเจ้าลาวจกอาศัยอยู่ภูเขาลูกนี้
ภูเขาลูกที่ ๓ อยู่ระหว่างกลางชื่อว่า "ภูเขาปู่เจ้า" เป็นเพราะปู่เจ้าลาวจกอาศัยอยู่ภูเขาลูกนี้
ประวัติความเป็นมาของภูเขานี้คือ สมัยตอนที่พระพุทธเจ้ายังพระชนชีพอยู่นั้น มีสามีภรรยาคู่หนึ่ง เป็นชาวมิลักขุ ชนชาติลัวะ (Lua) สามีชื่อ ปู่เจ้าลาวจก ภรรยาชื่อ ย่าเจ้าลาวจก เป็นหัวหน้าหมู่บ้าน ๕๐๐ คน อาชีพทำสวนทำไร่ ปลูกถั่ว งา ฟัก แตง แตงเต้า พริก ขิง
ทั้งสองสามีภรรยามีบุตรชาย ๓ คน
คนที่ ๑ ชื่อ ลวกุมฺโภ แปลว่า ลาวหม้อ
คนที่ ๒ ชื่อ ลวทสลกฺข แปลว่า ลาวล้าน
คนที่ ๓ ชื่อ ลวคนฺโธ แปลว่า ลาวกลิ่นรส
ในกาลสมัยนั้น พระพุทธเจ้าเสด็จออกจากที่ประทับเขาคิชฌกูฏอยู่ทางทิศใต้กรุงราชคฤห์ (Rajgir) แคว้นมคธ พระพุทธเจ้าพร้อมกับพระอรหันต์ ๕๐๐ รูป เสด็จเหาะมาทางอากาศ มาเส้นทางแม่น้ำโขง แล้วประทับ ณ เหนือก้อนหิน ๑ ก้อนใหญ่ ลักษณะคล้ายกับผลมะนาวครึ่งซีก เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมายืนประทับทำให้ก้อนหินนี้มุดจมลงไปในดินลึก ๕ ศอก อยู่เหนือแผ่นดิน ๗ ศอก ตั้งอยู่บนเนินเขาปู่เจ้า เขาลูกนี้ไม่มีต้นไม้ มีแต่หญ้าแพรก หญ้ามุ้งกระต่าย และแฝกหอม แขมเหลือง กุสิ สะน่อย จึงเรียกว่า ดอยดินแดง
พระพุทธเจ้าก็ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก แล้วก็ทำนายว่า เมื่อพระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว กระดูกของพระพุทธเจ้าจะมาอยู่ ณ ที่แห่งนี้ และบ้านเมืองนี้จะเจริญรุ่งเรืองมาก คนและเทวดาทั้งหลายจะมาบูชาจนถึง ๕,๐๐๐ ปี และพระองค์ยังตรัสบอกพระอานนท์ว่า ให้นำเอาพระธาตุของพระองค์มาบรรจุไว้ในก้อนหินที่ยืนนี้ (ก้อนหินเหมือนดั่งมะนาวตัดเกิ่ง)
จากนั้นพระพุทธเจ้าก็ให้พระอานนท์ไปตักน้ำบ่อน้ำทิพย์นี้มาดื่ม และยังบอกด้วยว่า พระพุทธเจ้าทั้ง ๕ พระองค์ ก็จะมาดื่มที่น้ำบ่อน้ำทิพย์นี้
พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ได้แก่
๑. พระกกุสันธพุทธเจ้า
๒. พระโกนาคมนพุทธเจ้า
๓. พระกัสสปพุทธเจ้า
๔. พระโคตมพุทธเจ้า
๕. พระเมตไตยพุทธเจ้า (จะมาตรัสรู้ในอนาคต)
จากนั้นพระพุทธเจ้าทั้ง ๕ พระองค์ก็เสด็จไปฉันภัตตาหารที่ ถ้ำปุ่ม อยู่ที่ตำบลโป่งงาม
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว และเผาสรีระแล้ว โทรพราหมณ์ได้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุแล้ว ต่อมาพระมหากัสสปะได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระรากขวัญเบื้องซ้าย (กระดูกไหปลาร้า) ใส่โกศแก้ว แล้วเอาผ้าจันท์ยาว ๘ วา ห่อพระธาตุของพระพุทธเจ้าไว้ แล้วนำพร้อมพระอรหันต์จำนวน ๕๐๐ รูป เหาะอากาศ มาที่เมืองโยนกนาคพันธ์สิงหนวัตินคร แล้วมามอบให้กับพญาอชุตตราช ว่าพระพุทธเจ้าได้ทรงดำรัสไว้
พญาอชุตตราช กษัตริย์องค์ที่ ๓ ราชวงศ์สิงหนวัติ ก็ทรงปลาบปลื้มดีใจมาก พระองค์ก็ทรงสร้างโกศด้วยทองคำ ๑ ชิ้น เอาโกศแก้วใส่ไว้ข้างในโกศทองคำนี้
พระมหากัสสปะก็นำโกศนี้ตั้งอยู่บนก้อนหินเหมือนมะนาวตัดครึ่งนั้น แล้วท่านก็ตั้งสัจจะอธิษฐานขอให้พระธาตุนี้มุดจมเข้าไปอยู่ในก้อนหินนี้ ลึก ๘ ศอก จากนั้นก็เกิดปาฏิหาริย์เป็นไปตามคำอธิษฐาน ก้อนหินนี้ก็เปล่งรัศมีออกมา
จากนั้นพญาอชุตตราชก็มีรับสั่งว่าให้ปู่เจ้าลาวจก พร้อมกับลูกบ้าน ๕๐๐ คน ช่วยกันดูแลพระเจดีย์นี้ (ก้อนหินนี้) อย่าให้ใครมาทำลาย แล้วก็พระราชทานทองคำ ๑,๐๐๐ กิโลกรัม และพื้นที่ดินอีก ๓,๐๐๐ วา แล้วท่านก็เสด็จกลับเมือง
ลำดับนั้น พระมหากัสสปะ ก็อธิษฐานถวายตุงยาว ๗,๐๐๐ วา กว้าง ๕๐๐ วา กางบูชาพระมหาเจดีย์ พระธาตุเจ้าดอยตุง ผ้าผืนนี้ประกอบด้วย ๖ สี ได้แก่ ขาว เขียว แดง ดำ หม่น เหลือง
ตั้งแต่นั้นมา คนเห็นผ้าผืนนี้ จึงเรียกว่า "ดอยตุง" ตราบเท่ามาจนถึงปัจจุบันนี้
^_^ ..._/\_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต
ตำนาน พระธาตุดอยตุง
สมัยเมืองโยนกนาคพันธ์สิงหนวัตินคร ยังมีภูเขา ๓ ลูก คล้ายๆ ก้อนเส้าประชุมกัน เป็นดอยดินแดง
ภูเขาลูกที่ ๑ อยู่ทางปัจฉิมทิศ ทิศเบื้องหลัง ชื่อว่า "ภูเขาท่า" เป็นเพราะลูกๆ อยู่ดอยนี้ คอยเอาของไปขายให้คนทั้งหลาย
ภูเขาลูกที่ ๒ อยู่ทางอุตตรทิศ ทิศทางเหนือ ชื่อ "ภูเขาย่าเจ้า" เป็นเพราะย่าเจ้าลาวจกอาศัยอยู่ภูเขาลูกนี้
ภูเขาลูกที่ ๓ อยู่ระหว่างกลางชื่อว่า "ภูเขาปู่เจ้า" เป็นเพราะปู่เจ้าลาวจกอาศัยอยู่ภูเขาลูกนี้
ประวัติความเป็นมาของภูเขานี้คือ สมัยตอนที่พระพุทธเจ้ายังพระชนชีพอยู่นั้น มีสามีภรรยาคู่หนึ่ง เป็นชาวมิลักขุ ชนชาติลัวะ (Lua) สามีชื่อ ปู่เจ้าลาวจก ภรรยาชื่อ ย่าเจ้าลาวจก เป็นหัวหน้าหมู่บ้าน ๕๐๐ คน อาชีพทำสวนทำไร่ ปลูกถั่ว งา ฟัก แตง แตงเต้า พริก ขิง
ทั้งสองสามีภรรยามีบุตรชาย ๓ คน
คนที่ ๑ ชื่อ ลวกุมฺโภ แปลว่า ลาวหม้อ
คนที่ ๒ ชื่อ ลวทสลกฺข แปลว่า ลาวล้าน
คนที่ ๓ ชื่อ ลวคนฺโธ แปลว่า ลาวกลิ่นรส
ในกาลสมัยนั้น พระพุทธเจ้าเสด็จออกจากที่ประทับเขาคิชฌกูฏอยู่ทางทิศใต้กรุงราชคฤห์ (Rajgir) แคว้นมคธ พระพุทธเจ้าพร้อมกับพระอรหันต์ ๕๐๐ รูป เสด็จเหาะมาทางอากาศ มาเส้นทางแม่น้ำโขง แล้วประทับ ณ เหนือก้อนหิน ๑ ก้อนใหญ่ ลักษณะคล้ายกับผลมะนาวครึ่งซีก เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมายืนประทับทำให้ก้อนหินนี้มุดจมลงไปในดินลึก ๕ ศอก อยู่เหนือแผ่นดิน ๗ ศอก ตั้งอยู่บนเนินเขาปู่เจ้า เขาลูกนี้ไม่มีต้นไม้ มีแต่หญ้าแพรก หญ้ามุ้งกระต่าย และแฝกหอม แขมเหลือง กุสิ สะน่อย จึงเรียกว่า ดอยดินแดง
พระพุทธเจ้าก็ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก แล้วก็ทำนายว่า เมื่อพระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว กระดูกของพระพุทธเจ้าจะมาอยู่ ณ ที่แห่งนี้ และบ้านเมืองนี้จะเจริญรุ่งเรืองมาก คนและเทวดาทั้งหลายจะมาบูชาจนถึง ๕,๐๐๐ ปี และพระองค์ยังตรัสบอกพระอานนท์ว่า ให้นำเอาพระธาตุของพระองค์มาบรรจุไว้ในก้อนหินที่ยืนนี้ (ก้อนหินเหมือนดั่งมะนาวตัดเกิ่ง)
จากนั้นพระพุทธเจ้าก็ให้พระอานนท์ไปตักน้ำบ่อน้ำทิพย์นี้มาดื่ม และยังบอกด้วยว่า พระพุทธเจ้าทั้ง ๕ พระองค์ ก็จะมาดื่มที่น้ำบ่อน้ำทิพย์นี้
พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ได้แก่
๑. พระกกุสันธพุทธเจ้า
๒. พระโกนาคมนพุทธเจ้า
๓. พระกัสสปพุทธเจ้า
๔. พระโคตมพุทธเจ้า
๕. พระเมตไตยพุทธเจ้า (จะมาตรัสรู้ในอนาคต)
จากนั้นพระพุทธเจ้าทั้ง ๕ พระองค์ก็เสด็จไปฉันภัตตาหารที่ ถ้ำปุ่ม อยู่ที่ตำบลโป่งงาม
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว และเผาสรีระแล้ว โทรพราหมณ์ได้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุแล้ว ต่อมาพระมหากัสสปะได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระรากขวัญเบื้องซ้าย (กระดูกไหปลาร้า) ใส่โกศแก้ว แล้วเอาผ้าจันท์ยาว ๘ วา ห่อพระธาตุของพระพุทธเจ้าไว้ แล้วนำพร้อมพระอรหันต์จำนวน ๕๐๐ รูป เหาะอากาศ มาที่เมืองโยนกนาคพันธ์สิงหนวัตินคร แล้วมามอบให้กับพญาอชุตตราช ว่าพระพุทธเจ้าได้ทรงดำรัสไว้
พญาอชุตตราช กษัตริย์องค์ที่ ๓ ราชวงศ์สิงหนวัติ ก็ทรงปลาบปลื้มดีใจมาก พระองค์ก็ทรงสร้างโกศด้วยทองคำ ๑ ชิ้น เอาโกศแก้วใส่ไว้ข้างในโกศทองคำนี้
พระมหากัสสปะก็นำโกศนี้ตั้งอยู่บนก้อนหินเหมือนมะนาวตัดครึ่งนั้น แล้วท่านก็ตั้งสัจจะอธิษฐานขอให้พระธาตุนี้มุดจมเข้าไปอยู่ในก้อนหินนี้ ลึก ๘ ศอก จากนั้นก็เกิดปาฏิหาริย์เป็นไปตามคำอธิษฐาน ก้อนหินนี้ก็เปล่งรัศมีออกมา
จากนั้นพญาอชุตตราชก็มีรับสั่งว่าให้ปู่เจ้าลาวจก พร้อมกับลูกบ้าน ๕๐๐ คน ช่วยกันดูแลพระเจดีย์นี้ (ก้อนหินนี้) อย่าให้ใครมาทำลาย แล้วก็พระราชทานทองคำ ๑,๐๐๐ กิโลกรัม และพื้นที่ดินอีก ๓,๐๐๐ วา แล้วท่านก็เสด็จกลับเมือง
ลำดับนั้น พระมหากัสสปะ ก็อธิษฐานถวายตุงยาว ๗,๐๐๐ วา กว้าง ๕๐๐ วา กางบูชาพระมหาเจดีย์ พระธาตุเจ้าดอยตุง ผ้าผืนนี้ประกอบด้วย ๖ สี ได้แก่ ขาว เขียว แดง ดำ หม่น เหลือง
ตั้งแต่นั้นมา คนเห็นผ้าผืนนี้ จึงเรียกว่า "ดอยตุง" ตราบเท่ามาจนถึงปัจจุบันนี้
^_^ ..._/\_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต