ในประวัติศาสตร์ลาวนั้น กษัตริย์ลาวที่มักถูกเอ่ยถึงมากที่สุด คือ พระไชยเชษฐาธิราช ในฐานะที่ยกย่องเป็นวีรกษัตริย์และมหาราชผู้ยิ่งใหญ่ เป็นกษัตริย์สองแผ่นดิน ปกครองทั้งล้านช้างและล้านนาในเวลาเดียวกัน และเมื่อมีการค้นหาพระราชประวัติของพระองค์ ข้อมูลจากทุกแหล่งเอกสารมักจะชี้ไปในทางเดียวกันว่า ทรงกำเนิดมาพร้อมสถานะเจ้าชายลูกครึ่งล้านช้าง-ล้านนา
พระราชานุสาวรีย์พระไชยเชษฐาธิราช หน้าพระธาตุหลวง นครเวียงจันทน์
พระราชประวัติพระไชยเชษฐาธิราช ส่วนใหญ่แล้วมักกล่าวกันว่า ทรงเป็นพระราชโอรสของพระโพธิสาลราช กับเจ้าหญิงเชียงใหม่พระราชธิดาพระเกษเมืองเกล้า ทรงพระนามว่า เจ้านางยอดคำทิพ เมื่อแผ่นดินเชียงใหม่เกิดจลาจล ในฐานะที่เป็นเชื้อสายพระเกษเมืองเกล้าอยู่ครึ่งหนึ่ง พระมหาเทวีจิรประภา ที่เชื่อกันว่าเป็นมเหสีของพระเกษเมืองเกล้า และมีฐานะเป็นเสด็จยายของพระองค์ พร้อมทั้งเหล่าขุนนางได้เชิญพระองค์มาครองราชสมบัติที่เชียงใหม่ นี่คือความรับรู้โดยทั่วไป เอกสารเก่าสุดที่กล่าวถึงเรื่องนี้ คือ ตำนานสิงหนวติกุมาร ซึ่งเอกสารฉบับนี้สันนิษฐานว่าเขียนในสมัยเจ้าองค์นกเป็นกษัตริย์เชียงใหม่ (ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๒๒๗๐ - ๒๓๐๒) เนื่องจากบันทึกสุดสิ้นที่รัชกาลเจ้าองค์นก โดยระบุถึงพระราชมารดาของพระไชยเชษฐาธิราชว่า
"...ต่อนั้น ฟ้าอุปโยลูกนางยอดคำ ลุกเมืองลานช้างมากินเมิงเชียงใหม่แทนท้าวชายคำตนเป็นลุง เหตุว่าแม่เป็นลูกพระเมืองเกษเกล้าแล..." (ตำนานสิงหนวติกุมาร)
แปล : พระอุปยุวราช (พระนามเดิมของพระไชยเชษฐา) ลูกนางยอดคำ มาจากเมืองล้านช้างมากินเมืองเชียงใหม่แทนท้าวชายคำผู้เป็นลุง เพราะแม่พระอุปยุวราชเป็นพระราชธิดาพระเกษเมืองเกล้า
นับแต่ตำนานสิงหนวติกุมารเป็นต้นมา เอกสารชั้นหลังก็อาศัยเนื้อความดังกล่าว ระบุเรื่องที่พระราชมารดาพระไชยเชษฐาเป็นพระราชธิดาพระเกษเมืองเกล้าอิงกันมาหลายฉบับ เนื่องจากมีเนื้อความที่คล้ายกันมาก เช่น ตำนานพระแก้วมรกตฉบับ จ.ศ.๑๑๕๐ (พ.ศ. ๒๓๓๑) ซึ่งพระเจ้าสุริยวงศ์กษัตริย์หลวงพระบาง นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายรัชกาลที่ ๑ ซึ่งเอกสารฉบับนี้ก็เป็นต้นเค้าเดียวกันกับพงษาวดารเมืองหลวงพระบางตามฉบับที่มีอยู่ในศาลาลูกขุน ที่ชำระขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ (มหาสิลา วีละวง เมื่อชำระประวัติศาสตร์ลาว ได้อาศัยพงศาวดารฉบับนี้เป็นเอกสารต้นเรื่อง) ที่มีเนื้อตรงกันเรื่องพระราชมารดาของพระไชยเชษฐาเป็นเจ้าหญิงจากเชียงใหม่ ดังนั้น จึงไม่แปลกใจที่หนังสือประวัติศาสตร์ไทย ลาว และล้านนา จะระบุตรงกันถึงเรื่องนี้
แต่จริง ๆ แล้ว พระราชมารดาของพระไชยเชษฐา เป็นเจ้าหญิงเชียงใหม่ตามที่อ้างกันจริงหรือไม่?
เพราะเมื่อไปสืบค้นเอกสาร ที่เป็นลักษณะความเก่า กลับพบข้อมูลเกี่ยวกับพระไชยเชษฐาธิราชที่ต่างออกไป เริ่มจาก
๑. พระราชมารดาของพระไชยเชษฐา เป็นเจ้าหญิงล้านช้าง ไม่ใช่ล้านนา
-
เจ้านางหอสูง : มารดาพระไชยเชษฐา
โดยในขุนบรม ฉบับวัดธาตุหลวง นครหลวงพระบาง ซึ่งคัดลอกขึ้นในปี จ.ศ. ๑๒๒๒ (พ.ศ. ๒๔๐๓) ตามรับสั่งของพระเจ้าน้องนางเธอของพระเจ้าจันทรเทพประภาคุณ กษัตริย์หลวงพระบาง แม้จะเป็นเอกสารที่คัดลอกใหม่ แต่เนื้อหาของเอกสารนี้เป็นเอกสารความเก่า และเนื้อหาของขุนบรมฉบับนี้สิ้นสุดในรัชกาลพระไชยเชษฐาธิราชที่ ๒ (ไชยองค์เว้) จึงสันนิษฐานว่าขุนบรมฉบับนี้จะเขียนขึ้นในรัชกาลดังกล่าว (เป็นธรรมเนียมสมัยนั้น ที่จะมีการคัดลอกเอกสารและตำราเก่า เพื่อถวายวัด โดยไม่ได้เปลี่ยนข้อความในเอกสารฉบับเก่า) ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวงศาของพระไชยเชษฐาธิราชที่ ๑ ไว้ว่า
"...พระโพธิสารราชเสวยบ้านเมือง จึงมีลูกชาย ๑ ดอมนางใหญ่ผู้หนึ่ง ชื่อนางหอสูง ตนนางนั้นเป็นเชื้อพระยาจิกคำ ทั้งเป็นเชื้อนางน้อยอ่อนสอ ลูกชายตนนั้น แม่นพระไชยเสฐาทิราชเจ้านิแล..." (จากขุนบรม ฉบับวัดพระธาตุหลวง หลวงพระบาง)
แปล : พระโพธิสาลราช (พระราชบิดาพระไชยเชษฐา) มีโอรสหนึ่งองค์ประสูติแต่พระมเหสีใหญ่พระนามว่า นางหอสูง ซึ่งพระนางเป็นเชื้อสายพระเจ้าจิกคำ และเป็นเชื้อสายนางน้อยอ่อนสอ โอรสพระองค์นั้นมีพระนามว่า พระไชยเชษฐาธิราชเจ้า
จะเห็นได้ว่า ขุนบรมฉบับนี้ระบุว่า พระราชมารดาของพระไชยเชษฐาธิราช คือ เจ้านางหอสูง ซึ่งเป็นเชื้อสายพระเจ้าจิกคำ หรือพระเจ้าคำเต็มซ้า กษัตริย์ล้านช้างลำดับที่ ๕ โอรสพระเจ้าสามแสนไท ที่ประสูติแต่เจ้านางน้อยอ่อนสอ (เป็นเจ้าหญิงจากเมืองพะเยา) พระนางหอสูงองค์นี้ จึงไม่ใช่เจ้าหญิงล้านนา แต่เป็นเจ้าหญิงล้านช้าง ที่มีย่าหรือทวดหญิงเป็นเจ้าหญิงจากเมืองพะเยา
- พระยากลาง : ลุงพระไชยเชษฐา
นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงเชษฐาของเจ้านางหอสูง ซึ่งเป็นพระปิตุลาหรือลุงของพระไชยเชษฐา อันมีบทบาทสำคัญในรัชกาลนี้ นั่นคือ
"พระยากลาง" ซึ่งขุนบรมระบุความว่า "
...มีเสนาใหญ่ตนหนึ่ง ชื่อว่าพระยากาง เจ้าตนนี้เป็นพี่ชายนางหอสูง..." โดยพระยากลางท่านนี้เป็นเชื้อพระวงศ์ที่รับราชการมาแต่รัชกาลพระเจ้าโพธิศาลราช เป็นหนึ่งในเสนาบดีที่ขึ้นไปช่วยราชการพระไชยเชษฐาที่เชียงใหม่ และกลับมาสำเร็จราชการและจัดการบ้านบ้านเมืองต่างพระเนตรพระกรรณที่นครหลวงพระบางหลายครั้ง ซึ่งท่านมีตำแหน่งเป็นแสนเมือง หรืออัครมหาเสนาบดี จึงมักออกนามในพงศาวดารว่า
"พระยาแสนลุง" ซึ่งพระยาแสนลุงท่านนี้ คงไม่ใช่โอรสพระเกษเมืองเกล้า หรือเป็นบุคคลเดียวกับท้าวซายคำแน่นอน
-
พื้นเชียงใหม่หรือพงศาวดารเชียงใหม่ ไม่มีเรื่องธิดาพระเกษเมืองเกล้า เสกสมสมรสกับพระโพธิศาลราช
นอกจากนี้ ยังไม่ปรากฏในเอกสารฝ่ายล้านนาฉบับความเก่ากว่าตำนานสิงหนวติ ที่กล่าวถึงเจ้านางยอดคำทิพ หรือการเสกสมรสระหว่างธิดาพระเกษเมืองเกล้ากับพระโพธิสาลราช ดังนั้น จึงเป็นไม่ได้ที่พระราชมารดาของพระไชยเชษฐาจะเป็นพระธิดาพระเกษเมืองเกล้า หรือเจ้าหญิงจากเชียงใหม่
ถ้าพระราชมารดาของพระไชยเชษฐาไม่ได้เป็นเจ้าหญิงเชียงใหม่ แล้วพระไชยเชษฐาจะอ้างสิทธิในราชบัลลังก์เชียงใหม่ได้อย่างไร?
๒.ขุนนางเชียงใหม่เชิญพระโพธิสาลราชครองล้านนา ไม่ใช่พระไชยเชษฐา
แต่เดิมเข้าใจกันว่า ขุนนางล้านนาจำเพาะเจาะจงเลือกพระไชยเชษฐา หรือขณะนั้นมีพระนามว่า เจ้าอุปยุวราช ขึ้นครองล้านนามาแต่แรก ในฐานะเป็นเจ้าชายลูกครึ่งล้านช้าง-ล้านนา แต่เมื่อสืบค้นอย่างละเอียดกลับพบข้อมูลทั้งในพื้นเชียงใหม่อันเป็นเอกสารฝ่ายล้านนา กับนิทานขุนบรมและนิทานเชียงดงอันเป็นเอกสารฝ่ายล้านช้าง กล่าวตรงกันว่า ขุนนางล้านนาตั้งใจจะอัญเชิญพระโพธิสาลราชให้มาครองล้านนา เพื่อจะให้เข้าใจจึงต้องเล่าความเป็นมาตั้งแต่เหตุจลาจลในเชียงใหม่หลังการสวรรคตของพระเกษเมืองเกล้า
๐ ในพื้นเชียงใหม่เล่าว่า หลังจากแสนคร้าว ขุนนางเชียงใหม่ก่อรัฐประหาร และปลงพระชนม์พระเกษเมืองเกล้า แสนคร้าวพยายามหาเจ้านายในแว่นแคว้นข้างเคียงมาครองล้านนา เพื่อจะให้เป็นหุ่นเชิด ในชั้นแรกแสนคร้าวไปเชิญเจ้าฟ้าเชียงตุงให้มาครองแต่เจ้าฟ้าเชียงตุงไม่รับ จึงไปเชิญเจ้าฟ้าเมืองนาย คราวนี้เจ้าฟ้าเมืองนายรับจะมาครองล้านนา
๐ แต่ระหว่างที่เจ้าฟ้าเมืองนายยังไม่มานั้น ขุนนางล้านนาซึ่งเป็นขั้วอำนาจตรงข้ามกับแสนคร้าว อันประกอบด้วย เจ้าหมื่นสามล้านอ้ายเจ้าเมืองลำปาง เจ้าหมื่นแก้วเจ้าเมืองเชียงราย เจ้าหมื่นมโนเจ้าเมืองเชียงแสน เจ้าหมื่นยี่เจ้าเมืองพาน ได้ไปรวมกันที่เชียงแสน แล้วส่งขุนนางไปเชิญพระโพธิสาลราชมาครองล้านนา แข่งกับเจ้าฟ้าเมืองนายของฝ่ายแสนคร้าว
"...เจ้าขุนทั้งหลายพร้อมกันยังเชียงแสน จิ่งหื้อหมื่นตาแสงพ่อนาย ไพราธนาพระญาล้านช้าง ก็รับปฏิญาณว่าจักมากินเชียงใหม่..." (จากพื้นเชียงใหม่ ฉบับ ๗๐๐ ปี)
๐ เหตุการณ์นี้ บันทึกตรงกันกับเอกสารฝ่ายล้านช้าง ที่กล่าวว่า "
...แต่นั้นพระสังฆเจ้าทั้งหลาย ทั้งสวนดอก ทั้งป่าแดง แลชื่อเมืองทั้งมวล เป็นต้นว่าพระยาแสนหลวง พระยาสามล้าน พระยาเชียงแสน พระยาเชียงราย พระยาฝาง พระยาพะยาว พระยาน่าน พระยานคร พระยาแพร่ เขาเจ้าทั้งหลาย พร้อมกันจึงมาราธนานิมนต์ขอเอาพระโพธิสาราชเจ้า เมือเป็นเจ้าแผ่นดินในเมืองพิงเชียงใหม่ถึงสองที สามที ก็จึงเมือตามนิมนต์เขาหั้นแล..." (จากขุนบรม ฉบับวัดพระธาตุหลวง หลวงพระบาง)
๐ แต่ยังไม่ทันที่เจ้าฟ้าเมืองนาย หรือพระโพธิสาลราช จะได้ครองเมืองเชียงใหม่ เจ้าหมื่นหัวเคียนเมืองแสนหวี ซึ่งโพล่มาแบบงง ๆ ได้ชิงนำทัพลงมาตีเมืองเชียงใหม่ และรบกับแสนคร้าว แต่เจ้าหมื่นหัวเคียนเป็นฝ่ายแตกหนีลงมาถึงเมืองลำพูน เจ้าหมื่นหัวเคียนจึงเชิญขั้วอำนาจใหม่เข้ามาจัดการล้านนา โดยการส่งทูตไปเชิญกษัตริย์อยุธยามาเอาเชียงใหม่ พระไชยราชาธิราชแห่งอยุธยา จึงเสด็จยกทัพขึ้นมาร่วมวงกินโต๊ะล้านนาครั้งนี้
๐ ฝ่ายกลุ่มพระยาสามล้านอ้าย เห็นเหตุการณ์ที่ชักจะวุ่นวายไปใหญ่ เพราะมีอยุธยาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย จึงนำกำลังจากเชียงแสนมาบุกตีเชียงใหม่ และสามารถสังหารแสนคร้าวและพรรคพวก อันประกอบด้วย หมื่นเตริน หมื่นอ้าย และหมื่นเสริมลูกแสนคร้าว จากนั้นจึงอัญเชิญพระมหาเทวีจิรประภา ซึ่งหลักฐานปัจจุบันนี้ยังไม่ทราบถึงสถานะของพระนางที่แน่ชัด บางว่าเป็นมเหสีพระเกษเมืองเกล้า บ้างว่าเป็นพระธิดาพระเกษเมืองเกล้า พระนางได้ขึ้นครองเมือง พระมหาเทวีจิรประภาจึงขอเป็นไมตรีกับพระไชยราชาธิราช โดยพระไชยราชาธิราชเสด็จมาประทับในเชียงใหม่ทรงก่อกู่ถวายพระเกษเมืองเกล้าที่วัดโลกโมลีและถวายไทยทานสิ้นพระราชทรัพย์ไป ๕,๐๐๐ เงิน และเสด็จยกทัพกลับ
๐ ฝ่ายเจ้าฟ้าเมืองนาย เมื่อทราบว่าแสนคร้าวถูกปราบ ก็ทรงยกทัพเมืองนายเข้าแดนล้านนา เวลานั้นยอดพระเจดีย์หลวงและเจดีย์วัดพระสิงห์ได้พังทลายลงมา ทัพเมืองนายยกเข้ามาถึงวัดสวนดอก ตั้งทัพล้อมเมืองไว้
๐ ฝ่ายเชียงใหม่ขอทัพล้านช้างมาช่วย พระโพธิสาลราชโปรดฯ ให้พระยากลาง (ลุงพระไชยเชษฐา) และพระยาสุนหรือพระยาซุน (พระยาอรชุน) ยกทัพไปช่วยล้านนารบเจ้าฟ้าเมืองนาย จนฝ่ายเมืองนายถอยทัพไป แต่เมื่อข่าวทัพล้านช้างยกข้ามโขงเข้ามาล้านนาทราบถึงพระไชยราชาธิราชนั้น ทรงพิโรธเป็นอันมาก จึงยกทัพเข้าตีล้านนา แต่กองทัพผสมล้านนา-ล้านช้าง สามารถตีทัพอยุธยาให้ถอยลงไปได้
๓.ราชาภิเษกพระไชยเชษฐาธิราช ทรงอยู่ในฐานะเขยล้านนา
เมื่อเสร็จศึกอยุธยา ขุนนางล้านนาจึงอัญเชิญพระอุปยุวราช โอรสองค์โตของพระโพธิสาลราชขึ้นครองล้านนาแทน ทรงพระนามว่า พระไชยเชษฐาธิราช พร้อมทั้งอภิเษกพระราชธิดา ๒ องค์ ซึ่งไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นธิดาของกษัตริย์องค์ใด ซึ่งอาจเป็นพระธิดาของพระเกษเมืองเกล้า หรือพระธิดาเจ้าซายคำ
"...บัดนี้จักจา พระสังฆเจ้าทั้งหลายแลนายเมืองพิงเชียงใหม่ ขอราธนาพระอุปยุวเจ้า อยู่เป็นเจ้าแผ่นดินเมืองพิงเชียงใหม่ พระยากลางลุง พี่แม่พระอุปยูวราชเจ้านั้น ไว้เป็นแสนเมืองในเมืองเชียงใหม่ เจ้าแผ่นดินก็ให้ลูกอยู่ตามอันมักแห่งเขา จึงเอานางผู้หนึ่ง ชื่อว่าตนทิพ เป็นเอกมเหสีขวา ผู้หนึ่งชื่อว่าตนคำอัคคมเหสีซ้าย ใส่ชื่อว่าเป็น พระเชยยะเสฐาทิราชเจ้า อยู่เป็นเจ้าแผ่นดินเชียงใหม่ หั้นแล..." (จากนิทานขุนบรมฯ)
"...พร้อมกันเอาเครื่องราชปริโภค แลฉัตร พัด ยั่วยาน ช้างม้า หอกดาบ เครื่องแห่เครื่องแหนทั้งมวล ออกไพต้อนรับเอาเจ้าพระญาอุปปโย อังคาสราธนามาเถิงประตูโขงวัดเชียงยืน...อุสสาราชภิเสกพระราชอุปปโยเป็นพระญาเมืองพิงเชียงใหม่ยังสวนแหร่ นั่งแท่นแก้วโรงหลวงกับพระราชธิดาทั้งสอง คือ พระตนทิพเป็นอัคคมเหสี พระตนคำตนเป็นน้อง หั้นแล..." (พื้นเมืองเชียงใหม่ฯ ๗๐๐ ปี)
วิเคราะห์ประวัติศาสตร์ลาว ตอนที่ ๑ : พระไชยเชษฐาธิราช ผู้อาจไม่ได้มีเชื้อสายล้านนา?
พระราชานุสาวรีย์พระไชยเชษฐาธิราช หน้าพระธาตุหลวง นครเวียงจันทน์
พระราชประวัติพระไชยเชษฐาธิราช ส่วนใหญ่แล้วมักกล่าวกันว่า ทรงเป็นพระราชโอรสของพระโพธิสาลราช กับเจ้าหญิงเชียงใหม่พระราชธิดาพระเกษเมืองเกล้า ทรงพระนามว่า เจ้านางยอดคำทิพ เมื่อแผ่นดินเชียงใหม่เกิดจลาจล ในฐานะที่เป็นเชื้อสายพระเกษเมืองเกล้าอยู่ครึ่งหนึ่ง พระมหาเทวีจิรประภา ที่เชื่อกันว่าเป็นมเหสีของพระเกษเมืองเกล้า และมีฐานะเป็นเสด็จยายของพระองค์ พร้อมทั้งเหล่าขุนนางได้เชิญพระองค์มาครองราชสมบัติที่เชียงใหม่ นี่คือความรับรู้โดยทั่วไป เอกสารเก่าสุดที่กล่าวถึงเรื่องนี้ คือ ตำนานสิงหนวติกุมาร ซึ่งเอกสารฉบับนี้สันนิษฐานว่าเขียนในสมัยเจ้าองค์นกเป็นกษัตริย์เชียงใหม่ (ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๒๒๗๐ - ๒๓๐๒) เนื่องจากบันทึกสุดสิ้นที่รัชกาลเจ้าองค์นก โดยระบุถึงพระราชมารดาของพระไชยเชษฐาธิราชว่า
"...ต่อนั้น ฟ้าอุปโยลูกนางยอดคำ ลุกเมืองลานช้างมากินเมิงเชียงใหม่แทนท้าวชายคำตนเป็นลุง เหตุว่าแม่เป็นลูกพระเมืองเกษเกล้าแล..." (ตำนานสิงหนวติกุมาร)
แปล : พระอุปยุวราช (พระนามเดิมของพระไชยเชษฐา) ลูกนางยอดคำ มาจากเมืองล้านช้างมากินเมืองเชียงใหม่แทนท้าวชายคำผู้เป็นลุง เพราะแม่พระอุปยุวราชเป็นพระราชธิดาพระเกษเมืองเกล้า
นับแต่ตำนานสิงหนวติกุมารเป็นต้นมา เอกสารชั้นหลังก็อาศัยเนื้อความดังกล่าว ระบุเรื่องที่พระราชมารดาพระไชยเชษฐาเป็นพระราชธิดาพระเกษเมืองเกล้าอิงกันมาหลายฉบับ เนื่องจากมีเนื้อความที่คล้ายกันมาก เช่น ตำนานพระแก้วมรกตฉบับ จ.ศ.๑๑๕๐ (พ.ศ. ๒๓๓๑) ซึ่งพระเจ้าสุริยวงศ์กษัตริย์หลวงพระบาง นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายรัชกาลที่ ๑ ซึ่งเอกสารฉบับนี้ก็เป็นต้นเค้าเดียวกันกับพงษาวดารเมืองหลวงพระบางตามฉบับที่มีอยู่ในศาลาลูกขุน ที่ชำระขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ (มหาสิลา วีละวง เมื่อชำระประวัติศาสตร์ลาว ได้อาศัยพงศาวดารฉบับนี้เป็นเอกสารต้นเรื่อง) ที่มีเนื้อตรงกันเรื่องพระราชมารดาของพระไชยเชษฐาเป็นเจ้าหญิงจากเชียงใหม่ ดังนั้น จึงไม่แปลกใจที่หนังสือประวัติศาสตร์ไทย ลาว และล้านนา จะระบุตรงกันถึงเรื่องนี้
แต่จริง ๆ แล้ว พระราชมารดาของพระไชยเชษฐา เป็นเจ้าหญิงเชียงใหม่ตามที่อ้างกันจริงหรือไม่?
เพราะเมื่อไปสืบค้นเอกสาร ที่เป็นลักษณะความเก่า กลับพบข้อมูลเกี่ยวกับพระไชยเชษฐาธิราชที่ต่างออกไป เริ่มจาก
๑. พระราชมารดาของพระไชยเชษฐา เป็นเจ้าหญิงล้านช้าง ไม่ใช่ล้านนา
- เจ้านางหอสูง : มารดาพระไชยเชษฐา
โดยในขุนบรม ฉบับวัดธาตุหลวง นครหลวงพระบาง ซึ่งคัดลอกขึ้นในปี จ.ศ. ๑๒๒๒ (พ.ศ. ๒๔๐๓) ตามรับสั่งของพระเจ้าน้องนางเธอของพระเจ้าจันทรเทพประภาคุณ กษัตริย์หลวงพระบาง แม้จะเป็นเอกสารที่คัดลอกใหม่ แต่เนื้อหาของเอกสารนี้เป็นเอกสารความเก่า และเนื้อหาของขุนบรมฉบับนี้สิ้นสุดในรัชกาลพระไชยเชษฐาธิราชที่ ๒ (ไชยองค์เว้) จึงสันนิษฐานว่าขุนบรมฉบับนี้จะเขียนขึ้นในรัชกาลดังกล่าว (เป็นธรรมเนียมสมัยนั้น ที่จะมีการคัดลอกเอกสารและตำราเก่า เพื่อถวายวัด โดยไม่ได้เปลี่ยนข้อความในเอกสารฉบับเก่า) ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวงศาของพระไชยเชษฐาธิราชที่ ๑ ไว้ว่า
"...พระโพธิสารราชเสวยบ้านเมือง จึงมีลูกชาย ๑ ดอมนางใหญ่ผู้หนึ่ง ชื่อนางหอสูง ตนนางนั้นเป็นเชื้อพระยาจิกคำ ทั้งเป็นเชื้อนางน้อยอ่อนสอ ลูกชายตนนั้น แม่นพระไชยเสฐาทิราชเจ้านิแล..." (จากขุนบรม ฉบับวัดพระธาตุหลวง หลวงพระบาง)
แปล : พระโพธิสาลราช (พระราชบิดาพระไชยเชษฐา) มีโอรสหนึ่งองค์ประสูติแต่พระมเหสีใหญ่พระนามว่า นางหอสูง ซึ่งพระนางเป็นเชื้อสายพระเจ้าจิกคำ และเป็นเชื้อสายนางน้อยอ่อนสอ โอรสพระองค์นั้นมีพระนามว่า พระไชยเชษฐาธิราชเจ้า
จะเห็นได้ว่า ขุนบรมฉบับนี้ระบุว่า พระราชมารดาของพระไชยเชษฐาธิราช คือ เจ้านางหอสูง ซึ่งเป็นเชื้อสายพระเจ้าจิกคำ หรือพระเจ้าคำเต็มซ้า กษัตริย์ล้านช้างลำดับที่ ๕ โอรสพระเจ้าสามแสนไท ที่ประสูติแต่เจ้านางน้อยอ่อนสอ (เป็นเจ้าหญิงจากเมืองพะเยา) พระนางหอสูงองค์นี้ จึงไม่ใช่เจ้าหญิงล้านนา แต่เป็นเจ้าหญิงล้านช้าง ที่มีย่าหรือทวดหญิงเป็นเจ้าหญิงจากเมืองพะเยา
- พระยากลาง : ลุงพระไชยเชษฐา
นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงเชษฐาของเจ้านางหอสูง ซึ่งเป็นพระปิตุลาหรือลุงของพระไชยเชษฐา อันมีบทบาทสำคัญในรัชกาลนี้ นั่นคือ "พระยากลาง" ซึ่งขุนบรมระบุความว่า "...มีเสนาใหญ่ตนหนึ่ง ชื่อว่าพระยากาง เจ้าตนนี้เป็นพี่ชายนางหอสูง..." โดยพระยากลางท่านนี้เป็นเชื้อพระวงศ์ที่รับราชการมาแต่รัชกาลพระเจ้าโพธิศาลราช เป็นหนึ่งในเสนาบดีที่ขึ้นไปช่วยราชการพระไชยเชษฐาที่เชียงใหม่ และกลับมาสำเร็จราชการและจัดการบ้านบ้านเมืองต่างพระเนตรพระกรรณที่นครหลวงพระบางหลายครั้ง ซึ่งท่านมีตำแหน่งเป็นแสนเมือง หรืออัครมหาเสนาบดี จึงมักออกนามในพงศาวดารว่า "พระยาแสนลุง" ซึ่งพระยาแสนลุงท่านนี้ คงไม่ใช่โอรสพระเกษเมืองเกล้า หรือเป็นบุคคลเดียวกับท้าวซายคำแน่นอน
- พื้นเชียงใหม่หรือพงศาวดารเชียงใหม่ ไม่มีเรื่องธิดาพระเกษเมืองเกล้า เสกสมสมรสกับพระโพธิศาลราช
นอกจากนี้ ยังไม่ปรากฏในเอกสารฝ่ายล้านนาฉบับความเก่ากว่าตำนานสิงหนวติ ที่กล่าวถึงเจ้านางยอดคำทิพ หรือการเสกสมรสระหว่างธิดาพระเกษเมืองเกล้ากับพระโพธิสาลราช ดังนั้น จึงเป็นไม่ได้ที่พระราชมารดาของพระไชยเชษฐาจะเป็นพระธิดาพระเกษเมืองเกล้า หรือเจ้าหญิงจากเชียงใหม่
ถ้าพระราชมารดาของพระไชยเชษฐาไม่ได้เป็นเจ้าหญิงเชียงใหม่ แล้วพระไชยเชษฐาจะอ้างสิทธิในราชบัลลังก์เชียงใหม่ได้อย่างไร?
๒.ขุนนางเชียงใหม่เชิญพระโพธิสาลราชครองล้านนา ไม่ใช่พระไชยเชษฐา
แต่เดิมเข้าใจกันว่า ขุนนางล้านนาจำเพาะเจาะจงเลือกพระไชยเชษฐา หรือขณะนั้นมีพระนามว่า เจ้าอุปยุวราช ขึ้นครองล้านนามาแต่แรก ในฐานะเป็นเจ้าชายลูกครึ่งล้านช้าง-ล้านนา แต่เมื่อสืบค้นอย่างละเอียดกลับพบข้อมูลทั้งในพื้นเชียงใหม่อันเป็นเอกสารฝ่ายล้านนา กับนิทานขุนบรมและนิทานเชียงดงอันเป็นเอกสารฝ่ายล้านช้าง กล่าวตรงกันว่า ขุนนางล้านนาตั้งใจจะอัญเชิญพระโพธิสาลราชให้มาครองล้านนา เพื่อจะให้เข้าใจจึงต้องเล่าความเป็นมาตั้งแต่เหตุจลาจลในเชียงใหม่หลังการสวรรคตของพระเกษเมืองเกล้า
๐ ในพื้นเชียงใหม่เล่าว่า หลังจากแสนคร้าว ขุนนางเชียงใหม่ก่อรัฐประหาร และปลงพระชนม์พระเกษเมืองเกล้า แสนคร้าวพยายามหาเจ้านายในแว่นแคว้นข้างเคียงมาครองล้านนา เพื่อจะให้เป็นหุ่นเชิด ในชั้นแรกแสนคร้าวไปเชิญเจ้าฟ้าเชียงตุงให้มาครองแต่เจ้าฟ้าเชียงตุงไม่รับ จึงไปเชิญเจ้าฟ้าเมืองนาย คราวนี้เจ้าฟ้าเมืองนายรับจะมาครองล้านนา
๐ แต่ระหว่างที่เจ้าฟ้าเมืองนายยังไม่มานั้น ขุนนางล้านนาซึ่งเป็นขั้วอำนาจตรงข้ามกับแสนคร้าว อันประกอบด้วย เจ้าหมื่นสามล้านอ้ายเจ้าเมืองลำปาง เจ้าหมื่นแก้วเจ้าเมืองเชียงราย เจ้าหมื่นมโนเจ้าเมืองเชียงแสน เจ้าหมื่นยี่เจ้าเมืองพาน ได้ไปรวมกันที่เชียงแสน แล้วส่งขุนนางไปเชิญพระโพธิสาลราชมาครองล้านนา แข่งกับเจ้าฟ้าเมืองนายของฝ่ายแสนคร้าว "...เจ้าขุนทั้งหลายพร้อมกันยังเชียงแสน จิ่งหื้อหมื่นตาแสงพ่อนาย ไพราธนาพระญาล้านช้าง ก็รับปฏิญาณว่าจักมากินเชียงใหม่..." (จากพื้นเชียงใหม่ ฉบับ ๗๐๐ ปี)
๐ เหตุการณ์นี้ บันทึกตรงกันกับเอกสารฝ่ายล้านช้าง ที่กล่าวว่า "...แต่นั้นพระสังฆเจ้าทั้งหลาย ทั้งสวนดอก ทั้งป่าแดง แลชื่อเมืองทั้งมวล เป็นต้นว่าพระยาแสนหลวง พระยาสามล้าน พระยาเชียงแสน พระยาเชียงราย พระยาฝาง พระยาพะยาว พระยาน่าน พระยานคร พระยาแพร่ เขาเจ้าทั้งหลาย พร้อมกันจึงมาราธนานิมนต์ขอเอาพระโพธิสาราชเจ้า เมือเป็นเจ้าแผ่นดินในเมืองพิงเชียงใหม่ถึงสองที สามที ก็จึงเมือตามนิมนต์เขาหั้นแล..." (จากขุนบรม ฉบับวัดพระธาตุหลวง หลวงพระบาง)
๐ แต่ยังไม่ทันที่เจ้าฟ้าเมืองนาย หรือพระโพธิสาลราช จะได้ครองเมืองเชียงใหม่ เจ้าหมื่นหัวเคียนเมืองแสนหวี ซึ่งโพล่มาแบบงง ๆ ได้ชิงนำทัพลงมาตีเมืองเชียงใหม่ และรบกับแสนคร้าว แต่เจ้าหมื่นหัวเคียนเป็นฝ่ายแตกหนีลงมาถึงเมืองลำพูน เจ้าหมื่นหัวเคียนจึงเชิญขั้วอำนาจใหม่เข้ามาจัดการล้านนา โดยการส่งทูตไปเชิญกษัตริย์อยุธยามาเอาเชียงใหม่ พระไชยราชาธิราชแห่งอยุธยา จึงเสด็จยกทัพขึ้นมาร่วมวงกินโต๊ะล้านนาครั้งนี้
๐ ฝ่ายกลุ่มพระยาสามล้านอ้าย เห็นเหตุการณ์ที่ชักจะวุ่นวายไปใหญ่ เพราะมีอยุธยาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย จึงนำกำลังจากเชียงแสนมาบุกตีเชียงใหม่ และสามารถสังหารแสนคร้าวและพรรคพวก อันประกอบด้วย หมื่นเตริน หมื่นอ้าย และหมื่นเสริมลูกแสนคร้าว จากนั้นจึงอัญเชิญพระมหาเทวีจิรประภา ซึ่งหลักฐานปัจจุบันนี้ยังไม่ทราบถึงสถานะของพระนางที่แน่ชัด บางว่าเป็นมเหสีพระเกษเมืองเกล้า บ้างว่าเป็นพระธิดาพระเกษเมืองเกล้า พระนางได้ขึ้นครองเมือง พระมหาเทวีจิรประภาจึงขอเป็นไมตรีกับพระไชยราชาธิราช โดยพระไชยราชาธิราชเสด็จมาประทับในเชียงใหม่ทรงก่อกู่ถวายพระเกษเมืองเกล้าที่วัดโลกโมลีและถวายไทยทานสิ้นพระราชทรัพย์ไป ๕,๐๐๐ เงิน และเสด็จยกทัพกลับ
๐ ฝ่ายเจ้าฟ้าเมืองนาย เมื่อทราบว่าแสนคร้าวถูกปราบ ก็ทรงยกทัพเมืองนายเข้าแดนล้านนา เวลานั้นยอดพระเจดีย์หลวงและเจดีย์วัดพระสิงห์ได้พังทลายลงมา ทัพเมืองนายยกเข้ามาถึงวัดสวนดอก ตั้งทัพล้อมเมืองไว้
๐ ฝ่ายเชียงใหม่ขอทัพล้านช้างมาช่วย พระโพธิสาลราชโปรดฯ ให้พระยากลาง (ลุงพระไชยเชษฐา) และพระยาสุนหรือพระยาซุน (พระยาอรชุน) ยกทัพไปช่วยล้านนารบเจ้าฟ้าเมืองนาย จนฝ่ายเมืองนายถอยทัพไป แต่เมื่อข่าวทัพล้านช้างยกข้ามโขงเข้ามาล้านนาทราบถึงพระไชยราชาธิราชนั้น ทรงพิโรธเป็นอันมาก จึงยกทัพเข้าตีล้านนา แต่กองทัพผสมล้านนา-ล้านช้าง สามารถตีทัพอยุธยาให้ถอยลงไปได้
๓.ราชาภิเษกพระไชยเชษฐาธิราช ทรงอยู่ในฐานะเขยล้านนา
เมื่อเสร็จศึกอยุธยา ขุนนางล้านนาจึงอัญเชิญพระอุปยุวราช โอรสองค์โตของพระโพธิสาลราชขึ้นครองล้านนาแทน ทรงพระนามว่า พระไชยเชษฐาธิราช พร้อมทั้งอภิเษกพระราชธิดา ๒ องค์ ซึ่งไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นธิดาของกษัตริย์องค์ใด ซึ่งอาจเป็นพระธิดาของพระเกษเมืองเกล้า หรือพระธิดาเจ้าซายคำ
"...บัดนี้จักจา พระสังฆเจ้าทั้งหลายแลนายเมืองพิงเชียงใหม่ ขอราธนาพระอุปยุวเจ้า อยู่เป็นเจ้าแผ่นดินเมืองพิงเชียงใหม่ พระยากลางลุง พี่แม่พระอุปยูวราชเจ้านั้น ไว้เป็นแสนเมืองในเมืองเชียงใหม่ เจ้าแผ่นดินก็ให้ลูกอยู่ตามอันมักแห่งเขา จึงเอานางผู้หนึ่ง ชื่อว่าตนทิพ เป็นเอกมเหสีขวา ผู้หนึ่งชื่อว่าตนคำอัคคมเหสีซ้าย ใส่ชื่อว่าเป็น พระเชยยะเสฐาทิราชเจ้า อยู่เป็นเจ้าแผ่นดินเชียงใหม่ หั้นแล..." (จากนิทานขุนบรมฯ)
"...พร้อมกันเอาเครื่องราชปริโภค แลฉัตร พัด ยั่วยาน ช้างม้า หอกดาบ เครื่องแห่เครื่องแหนทั้งมวล ออกไพต้อนรับเอาเจ้าพระญาอุปปโย อังคาสราธนามาเถิงประตูโขงวัดเชียงยืน...อุสสาราชภิเสกพระราชอุปปโยเป็นพระญาเมืองพิงเชียงใหม่ยังสวนแหร่ นั่งแท่นแก้วโรงหลวงกับพระราชธิดาทั้งสอง คือ พระตนทิพเป็นอัคคมเหสี พระตนคำตนเป็นน้อง หั้นแล..." (พื้นเมืองเชียงใหม่ฯ ๗๐๐ ปี)