นับถอยหลังฆ่าตัวตายพุ่ง ปัจจัยโควิดผลักคนตกเหว
https://www.thairath.co.th/news/society/2035727
นับแต่การระบาดโควิด-19 ผลกระทบ “เศรษฐกิจถดถอย” ซ้ำซ้อนทรุดตัวรุนแรง ไม่มีวี่แววจะฟื้นกลับคืนปกติในเร็ววัน “คนไทย” ไม่น้อยต้องตกเป็นผู้ว่างงานอย่างกะทันหันไม่มีรายได้ใช้หนี้สินที่มีอยู่ โดยเฉพาะ “คนไม่มีเงินเก็บที่ไม่มีช่องทางทำมาหากิน” ต้องเผชิญกับสถานะทางการเงินที่ตึงตัวเพิ่มสูงขึ้น
กลายเป็นปัญหา “ถาโถมรุมเร้า” กระทบต่อสภาพจิตใจ และชีวิตความเป็นอยู่ ทำให้ต้องเจอกับ “ความเครียด” ที่เป็นสัญญาณอันตรายสู่ “การฆ่าตัวตายได้ง่าย” ที่ปรากฏตามหน้าสื่อมาอย่างต่อเนื่องช่วงนี้
ก่อนหน้านี้ก็มี “โครงการวิจัยคนจนเมืองที่เปลี่ยนไปในสังคมเมืองที่กําลังเปลี่ยนแปลง” รวบรวมข้อมูลการฆ่าตัวตายจากผลกระทบโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 1-21 เม.ย.2563 มี 38 กรณี ในจำนวนนี้มีเสียชีวิต 28 คน ส่วนใหญ่อยู่ใน “วัยทํางานเสาหลักครอบครัว” ต้องเผชิญ “การตกงาน” นํามาซึ่งแรงกดดันต่อตนเอง และครอบครัว
ตั้งข้อสังเกตต่อว่า “ผู้ฆ่าตัวตาย” มักรับผลกระทบจากนโยบาย และมาตรการของรัฐ โดยเฉพาะ “กลุ่มคนจน” ตกงานแต่ไม่ได้รับการช่วยเหลือ หรือ “ผู้ประกอบการรายย่อย” ไม่ได้เยียวยาจากภาครัฐอย่างทันท่วงที
ปัจจัยคนไทยเสี่ยงฆ่าตัวตายนี้ นพ.ณัฐกร จำปาทอง ผอ.รพ.จิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ และศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายระดับชาติ กรมสุขภาพจิต บอกว่า ตามการเก็บข้อมูลของปัจจัยการฆ่าตัวตายในสังคมไทยโดยทั่วไป มีอยู่ 5 ปัจจัยหลัก คือ
หลักแรก...ความสัมพันธ์ ตั้งแต่ความสัมพันธ์บุคคล คนใกล้ชิด หรือคนในครอบครัว
หลักที่สอง...โรคเรื้อรัง ทั้งโรคเรื้อรังทางกาย และโรคเรื้อรังทางจิตอยู่เดิม เช่น โรคซึมเศร้า โรคจิตเภท
หลักที่สาม...การใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อการคลายเครียด แต่ในสภาวะมึนเมามักขาดสติเสี่ยงต่อการทำร้ายตัวเองเช่นกัน
หลักที่สี่...ผลกระทบจากภาวะเครียดในเรื่องเศรษฐกิจ และค่าใช้จ่ายต่างๆ
และ
หลักที่ห้า...ใช้สารเสพติด ทำให้เมายา ขาดสติ มีอารมณ์หุนหันพลันแล่น
ในจำนวนนี้ “
ผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จ” ส่วนใหญ่มักมีเหตุปัจจัยอื่นซ่อนอยู่ด้วยมากกว่าหนึ่งข้อ ที่เข้ามาเป็นองค์ประกอบร่วมอยู่ด้วยเสมอ
แต่เมื่อนำ 5 ปัจจัยนี้มาวิเคราะห์แจกแจงความถี่มีอยู่ 3 ข้อสำคัญ มักนำไปสู่การฆ่าตัวตายสำเร็จสูงสุด เช่น “
เรื่องความสัมพันธ์” โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด คนในครอบครัว มีการทะเลาะเบาะแว้ง การถูกตำหนิติเตียน ถูกด่าว่ารุนแรง การถูกบูลลี่ ก็เป็นปัจจัยก่อให้เกิดการฆ่าตัวตายด้วยเช่นกัน
รองลงมา “
ภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง” สามารถเกิดได้ “
ทุกคน ทุกอาชีพ” ทำให้มีความทุกข์ทรมานใจ ถ้าไม่ได้บำบัดรักษาอาการคงอยู่นานเป็นเดือนเรื้อรังเป็นปี อาจจบชีวิตด้วยการฆ่าตัวตายได้มากกว่าคนทั่วไป
ถัดมา “
ใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์” ที่เป็นตัวเหนี่ยวเร่งทำให้เกิดการกระทำที่ขาดความยับยั้งชั่งใจเพราะคนคิดฆ่าตัวตาย อาจมีอาการแว้บเรื่องนี้ขึ้นมาในสมอง “
ดื่มแอลกอฮอล์” ยิ่งผลักดันให้เกิดความกล้าทำง่ายขึ้น
ในบางช่วงก็สอดคล้องสภาพสังคมด้วย เช่น...ผลกระทบจาก “
เศรษฐกิจตกต่ำ” ทำให้รายได้ไม่พอใช้จ่ายเข้ากระตุ้นจิตใจปะทะปัญหาถูกคนใกล้ชิด “
กดดันดุด่า” ย่อมมีแนวโน้ม “
ฆ่าตัวตาย” สำเร็จมากยิ่งขึ้นก็ได้
มีคำถามว่า...คนฆ่าตัวตายไปแล้วนำข้อมูลวิเคราะห์เชิงลึกนี้มาอย่างไรนั้น เรื่องนี้สามารถทำการสืบสวนตาม “
หลักศาสตร์การชันสูตรทางจิตใจ” ในการค้นหาคำตอบจาก “
ครอบครัวและคนใกล้ชิด” แม้แต่การสืบค้นจาก “
เวชระเบียนทางการแพทย์” ใช้บันทึกเก็บข้อมูลของผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาลก็ได้เช่นกัน
นำข้อมูลร้อยเรียงกัน ทำให้ทราบพฤติกรรมต้นเหตุ และเบื้องหลังการฆ่าตัวตายได้อยู่เสมอ
สิ่งที่น่าสนใจ...“
มักเห็นข่าวเด็กอายุ 10-19 ปี ฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น” แม้ไม่มีปัจจัยปัญหามากมายเท่ากับ “
ผู้ใหญ่” ก็มักนำสู่การทำร้ายตัวเองเช่นกัน แต่ต้องบอกอย่างนี้ “
เด็กวัยนี้” กำลังเข้าสู่วัยรุ่นตอนต้นที่มีความสัมพันธ์ทางสังคมสลับซับซ้อนมาก โดยเฉพาะ “
สมรรถภาพระหว่างเพื่อนฝูง” ที่เด็กให้สำคัญอย่างมาก
อีกยังมีทักษะด้านการยับยั้งชั่งใจ และการควบคุมตนเองแตกต่างกันด้วย เมื่อมีเหตุการณ์ “
เด็กฆ่าตัวตาย” ได้มีการตามสืบสวนค้นหาสาเหตุให้ครบรอบด้าน ทำให้พบปัจจัยอื่นซ่อนกันอยู่มากมายด้วยเสมอ เช่น ปัญหาคนในครอบครัว ค่าใช้จ่าย หรือปัญหาในโรงเรียนจากการถูกเพื่อนบูลลี่กลั่นแกล้ง เป็นต้น
แต่ว่า...“วัยทำงานตอนกลาง” ในช่วงวัย 20-24 ปี มักฆ่าตัวตายสำเร็จเยอะมากกว่าวัยอายุ 10-19 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยที่อยู่ในระดับอุดมศึกษา เพราะฉะนั้นช่วงวัยที่ศึกษาในมหาวิทยาลัย และช่วงผู้ใหญ่ตอนต้น เป็นวัยที่จำเป็นต้องโฟกัสเป็นพิเศษ
ประเด็น...“
การฆ่าตัวตายยุคโควิด-19” ยังไม่ได้สรุปตัวเลขสะเด็ดนํ้าชัดเจน แต่ในอนาคตต้องมีมาตรการตั้งรับสถานการณ์ฆ่าตัวตายเร่งด่วนเพราะแนวโน้มตัวเลขมีโอกาสสูงขึ้นแน่ๆ เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านี้
ตอกย้ำว่า...นับตั้งแต่เดือน ธ.ค.2562 “
ปรากฏตัวเลขฆ่าตัวตาย” มีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่องอยู่แล้ว แต่เมื่อมีโควิด-19 ระบาด “
รัฐบาล” ก็ประกาศออกมาตรการป้องกัน “
ห้ามขายสุรา” กลับทำให้ “
ตัวเลขลดลง” ถือเป็นสิ่งที่แปลกประหลาดมาก จึงมีการตรวจสอบกับประเทศอื่นๆ ก็พบว่า “
จำนวนฆ่าตัวตายลดลง” เช่นกัน
ย้อนมา...“
ยุควิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ปี 2540” ที่มีสถิติการฆ่าตัวตายค่อนข้างสูง โดยเฉพาะในช่วงปี 2542 มีอัตราตัวเลขจุดสูงสุดของไทยอยู่ที่ 8.6 ต่อประชากรหนึ่งแสนคน ด้วยเหตุนี้ในช่วงโควิด-19 ระบาด ย่อมมีแนวโน้มตัวเลขการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นได้ แต่อาจต้องใช้เวลาการเดินทางไปถึงจุดสูงสุดราวๆ 1-2 ปี
นั่นหมายความว่า...
ในช่วงโรคระบาดอยู่ย่อมมี “การฆ่าตัวตาย” ต่อเนื่อง ในจำนวนนี้ยังไม่ใช่ตัวเลขจุดสูงสุด ที่ต้องใช้เวลาบ่มเพาะไล่ระดับไปเรื่อยๆ ในทางกลับกัน “รัฐบาล” ต่างก็พยายามออกมาช่วยเหลือเยียวยา ในส่วน “ฝ่ายสาธารณสุข” มีมาตรการป้องกันด้วยการบำบัดรักษาเช่นกัน เหตุนี้ “ตัวเลข” อาจไม่เป็นตามคาดการณ์ก็ได้
เพราะมีตัวกระตุ้นเข้าไปแทรกแซง “
กดตัวเลขต่ำลง” ทำให้ไม่เป็นไปตามคาดการณ์ด้วยพยากรณ์ อย่างเช่น...“
ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย” ถ้าหากไม่มีมาตรการเฝ้าระวังป้องกัน ย่อมส่งผลให้ตัวเลขการติดเชื้อพุ่งทะยานสูงขึ้น แต่พอดี “
ภาครัฐบาล” มีมาตรการป้องกันอย่างเข้มงวดก็สามารถกดการติดเชื้อให้ต่ำลงตามมา...
ทว่า...“
สาเหตุการฆ่าตัวตายดูผิวเผินภายนอก” มักถูกมองว่า “ภาครัฐบาล” ช่วยเหลือเยียวยาไม่ทั่วถึงทันท่วงที แต่ความจริงแล้วในช่วง 5-10 ปีนี้มีตัวเลขราว 4,000-5,000 รายต่อปี หรือเฉลี่ย 10 รายต่อวันมาอยู่ตลอด มีทั้งเป็นข่าวและไม่เป็นข่าว ด้วยเหตุนี้ “การฆ่าตัวตาย” จึงกลายเป็นปัญหาสังคมไทยมาเนิ่นนานแล้วด้วยซ้ำ
ดังนั้นแม้ไม่มีโรคระบาด “
ตัวเลขฆ่าตัวตาย” คงที่อยู่เช่นนี้
แต่ก็ปฏิเสธได้ยากในปี 2563-2564 อาจมีแนวโน้มฆ่าตัวตายสูงกว่าปี 2562 ในส่วนจะเกิดจากสาเหตุใดคงต้องรอผลสรุปแถลงการณ์ประจำปีอีกครั้งหนึ่งด้วยและคิดว่า “ตัวเลขการฆ่าตัวตาย” จะเกิดจากปัจจัยปัญหาเศรษฐกิจ หรือมีสิ่งอื่นเข้ามาแทรกซ้อนรุมเร้าร่วมด้วยเสมอ
สะท้อนให้เห็นถึง “
กลุ่มเปราะบางทางเศรษฐกิจ” ที่ไม่ว่าจะมีมากขึ้นหรือน้อยลง เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ต้องให้การช่วยเหลือเร่งด่วน “
ไม่ต้องรอตัวเลข” เพราะความเปราะบางนี้มีความสัมพันธ์กับ “
การฆ่าตัวตาย” สามารถเกิดขึ้นได้ไม่มากก็น้อย ที่ไม่ใช่ปัญหาของระบบสาธารณสุข แต่เป็นปัญหาทางสังคมเกี่ยวพันกับทุกภาคส่วนด้วยซ้ำ
เหตุนี้การแก้ปัญหาฆ่าตัวตายย่อมเกี่ยวพันหน่วยงานทุกภาคส่วนราชการ และภาคเอกชน
ในเรื่อง “
การฆ่าตัวตายมักนำมาผูกมัดสัมพันธ์กับโรคซึมเศร้า” มักไม่ใช่สาเหตุหลักเสมอไป แต่อาจมีปัจจัยอื่นเข้ามาแทรกแซงเกี่ยวข้องด้วยก็ได้ เช่น โรคเบาหวาน ความดัน หลอดเลือดสมอง และโรคไต เป็นต้น
โดยเฉพาะ “
รมควันฆ่าตัวตาย และใช้โซเชียลฯเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย” ที่เกิดขึ้นมาได้ระยะหนึ่งแล้วจากอิทธิพลการเลียนแบบตาม “
สื่อ” ทำให้การเสนอข่าวต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะที่ผ่านมา
“สื่อออนไลน์” นำเสนออุปกรณ์ วิธีการละเอียดสูง ทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และตัวหนังสือ ทำให้สุ่มเสี่ยงต่อการเลียนแบบได้
สุดท้าย “
การฆ่าตัวตาย” มักมีผลจากความสัมพันธ์จาก “
คนใกล้ชิด และสมาชิกในครอบครัว” ดังนั้นต้องทำ “
บรรยากาศภายในครอบครัวที่ดี” ที่จะมีความสำคัญอย่างมาก ด้วยมีการพูดคุยกันอย่างสม่ำเสมอ
ขอย้ำว่า... “นี่ไม่ใช่ชี้โพรงให้กระรอก” แต่เป็นการฝากเตือนให้เฝ้าระวัง “คนใกล้ชิด” สถานการณ์เช่นนี้อาจกำลังเจอ “ปัญหาถาโถมขนาดใหญ่” ที่รอใครสักคนมาซักถามช่วยหาทางออกร่วมกันอยู่ก็ได้...
อธิบดีคพ.โพสต์เอง ขรก.เห็นแก่นายทุน ต้องปรับทัศนคติใหม่
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_2587842
อธิบดีคพ.โพสต์เอง ขรก.เห็นแก่นายทุน ต้องปรับทัศนคติใหม่
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ นาย
อรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ(คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โพสต์เฟสบุ๊ก ระบุว่า
“
อุปสรรคใหญ่ของการแก้ไขปัญหามลพิษ…คือขรก.ผู้รับผิดชอบกม.โดยตรง มีอำนาจหน้าที่ที่ต้องทำ..แต่ไม่ใช้อำนาจหน้าที่ตนทำอย่างสุดความสามารถเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อน ซ้ำร้ายกลับรักษาผลประโยชน์ของนายทุน..ขรก.หน่วยงานอย่างนี้ต้องปรับทัศนคติใหม่ครับ”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากข้อความดังกล่าว มีเจ้าหน้าที่ของคพ.ทุกระดับ เข้ามาแสดงความคิดเห็น และให้กำลังใจ พร้อมทั้งตั้งคำถามว่า สิ่งที่นาย
อรรถพลกำลังพูดถึงมีความหมายแอบปฝงเรื่องอะไร หรือหมายถึงใครหรือไม่
โดย 1 ในผู้ที่ร่วมแสดงความคิดเห็นคือ ศ.
ธงชัย พรรณสวัสดิ์ อดีตที่ปรึกษากรมควบคุมมลพิษ ที่ระบุว่า
ตรงใจเลย
พูดมานานแล้ว
ดีใจที่คนคพ.กล้าออกมาพูดแบบนี้บ้าง ซึ่งมีน้ำหนักกว่าคนทั่วไปพูด เขาจะได้รู้บ้างว่าคนอื่นคิดกับเขาอย่างไร
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=4030646350334035&id=100001661307060
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=4030646350334035&id=100001661307060&comment_id=4030670776998259
JJNY : นับถอยหลังฆ่าตัวตายพุ่ง│อธิบดีคพ.โพสต์ขรก.เห็นแก่นายทุน│สหภาพยุโรปร่างบัญชีดำผู้ทำรปห.เมียนมา│รับมือม็อบจัดเต็ม!
https://www.thairath.co.th/news/society/2035727
กลายเป็นปัญหา “ถาโถมรุมเร้า” กระทบต่อสภาพจิตใจ และชีวิตความเป็นอยู่ ทำให้ต้องเจอกับ “ความเครียด” ที่เป็นสัญญาณอันตรายสู่ “การฆ่าตัวตายได้ง่าย” ที่ปรากฏตามหน้าสื่อมาอย่างต่อเนื่องช่วงนี้
ก่อนหน้านี้ก็มี “โครงการวิจัยคนจนเมืองที่เปลี่ยนไปในสังคมเมืองที่กําลังเปลี่ยนแปลง” รวบรวมข้อมูลการฆ่าตัวตายจากผลกระทบโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 1-21 เม.ย.2563 มี 38 กรณี ในจำนวนนี้มีเสียชีวิต 28 คน ส่วนใหญ่อยู่ใน “วัยทํางานเสาหลักครอบครัว” ต้องเผชิญ “การตกงาน” นํามาซึ่งแรงกดดันต่อตนเอง และครอบครัว
ตั้งข้อสังเกตต่อว่า “ผู้ฆ่าตัวตาย” มักรับผลกระทบจากนโยบาย และมาตรการของรัฐ โดยเฉพาะ “กลุ่มคนจน” ตกงานแต่ไม่ได้รับการช่วยเหลือ หรือ “ผู้ประกอบการรายย่อย” ไม่ได้เยียวยาจากภาครัฐอย่างทันท่วงที
ปัจจัยคนไทยเสี่ยงฆ่าตัวตายนี้ นพ.ณัฐกร จำปาทอง ผอ.รพ.จิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ และศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายระดับชาติ กรมสุขภาพจิต บอกว่า ตามการเก็บข้อมูลของปัจจัยการฆ่าตัวตายในสังคมไทยโดยทั่วไป มีอยู่ 5 ปัจจัยหลัก คือ
หลักที่สอง...โรคเรื้อรัง ทั้งโรคเรื้อรังทางกาย และโรคเรื้อรังทางจิตอยู่เดิม เช่น โรคซึมเศร้า โรคจิตเภท
หลักที่สาม...การใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อการคลายเครียด แต่ในสภาวะมึนเมามักขาดสติเสี่ยงต่อการทำร้ายตัวเองเช่นกัน
หลักที่สี่...ผลกระทบจากภาวะเครียดในเรื่องเศรษฐกิจ และค่าใช้จ่ายต่างๆ
และหลักที่ห้า...ใช้สารเสพติด ทำให้เมายา ขาดสติ มีอารมณ์หุนหันพลันแล่น
ในจำนวนนี้ “ผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จ” ส่วนใหญ่มักมีเหตุปัจจัยอื่นซ่อนอยู่ด้วยมากกว่าหนึ่งข้อ ที่เข้ามาเป็นองค์ประกอบร่วมอยู่ด้วยเสมอ
แต่เมื่อนำ 5 ปัจจัยนี้มาวิเคราะห์แจกแจงความถี่มีอยู่ 3 ข้อสำคัญ มักนำไปสู่การฆ่าตัวตายสำเร็จสูงสุด เช่น “เรื่องความสัมพันธ์” โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด คนในครอบครัว มีการทะเลาะเบาะแว้ง การถูกตำหนิติเตียน ถูกด่าว่ารุนแรง การถูกบูลลี่ ก็เป็นปัจจัยก่อให้เกิดการฆ่าตัวตายด้วยเช่นกัน
รองลงมา “ภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง” สามารถเกิดได้ “ทุกคน ทุกอาชีพ” ทำให้มีความทุกข์ทรมานใจ ถ้าไม่ได้บำบัดรักษาอาการคงอยู่นานเป็นเดือนเรื้อรังเป็นปี อาจจบชีวิตด้วยการฆ่าตัวตายได้มากกว่าคนทั่วไป
ถัดมา “ใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์” ที่เป็นตัวเหนี่ยวเร่งทำให้เกิดการกระทำที่ขาดความยับยั้งชั่งใจเพราะคนคิดฆ่าตัวตาย อาจมีอาการแว้บเรื่องนี้ขึ้นมาในสมอง “ดื่มแอลกอฮอล์” ยิ่งผลักดันให้เกิดความกล้าทำง่ายขึ้น
ในบางช่วงก็สอดคล้องสภาพสังคมด้วย เช่น...ผลกระทบจาก “เศรษฐกิจตกต่ำ” ทำให้รายได้ไม่พอใช้จ่ายเข้ากระตุ้นจิตใจปะทะปัญหาถูกคนใกล้ชิด “กดดันดุด่า” ย่อมมีแนวโน้ม “ฆ่าตัวตาย” สำเร็จมากยิ่งขึ้นก็ได้
มีคำถามว่า...คนฆ่าตัวตายไปแล้วนำข้อมูลวิเคราะห์เชิงลึกนี้มาอย่างไรนั้น เรื่องนี้สามารถทำการสืบสวนตาม “หลักศาสตร์การชันสูตรทางจิตใจ” ในการค้นหาคำตอบจาก “ครอบครัวและคนใกล้ชิด” แม้แต่การสืบค้นจาก “เวชระเบียนทางการแพทย์” ใช้บันทึกเก็บข้อมูลของผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาลก็ได้เช่นกัน
นำข้อมูลร้อยเรียงกัน ทำให้ทราบพฤติกรรมต้นเหตุ และเบื้องหลังการฆ่าตัวตายได้อยู่เสมอ
สิ่งที่น่าสนใจ...“มักเห็นข่าวเด็กอายุ 10-19 ปี ฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น” แม้ไม่มีปัจจัยปัญหามากมายเท่ากับ “ผู้ใหญ่” ก็มักนำสู่การทำร้ายตัวเองเช่นกัน แต่ต้องบอกอย่างนี้ “เด็กวัยนี้” กำลังเข้าสู่วัยรุ่นตอนต้นที่มีความสัมพันธ์ทางสังคมสลับซับซ้อนมาก โดยเฉพาะ “สมรรถภาพระหว่างเพื่อนฝูง” ที่เด็กให้สำคัญอย่างมาก
อีกยังมีทักษะด้านการยับยั้งชั่งใจ และการควบคุมตนเองแตกต่างกันด้วย เมื่อมีเหตุการณ์ “เด็กฆ่าตัวตาย” ได้มีการตามสืบสวนค้นหาสาเหตุให้ครบรอบด้าน ทำให้พบปัจจัยอื่นซ่อนกันอยู่มากมายด้วยเสมอ เช่น ปัญหาคนในครอบครัว ค่าใช้จ่าย หรือปัญหาในโรงเรียนจากการถูกเพื่อนบูลลี่กลั่นแกล้ง เป็นต้น
แต่ว่า...“วัยทำงานตอนกลาง” ในช่วงวัย 20-24 ปี มักฆ่าตัวตายสำเร็จเยอะมากกว่าวัยอายุ 10-19 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยที่อยู่ในระดับอุดมศึกษา เพราะฉะนั้นช่วงวัยที่ศึกษาในมหาวิทยาลัย และช่วงผู้ใหญ่ตอนต้น เป็นวัยที่จำเป็นต้องโฟกัสเป็นพิเศษ
ประเด็น...“การฆ่าตัวตายยุคโควิด-19” ยังไม่ได้สรุปตัวเลขสะเด็ดนํ้าชัดเจน แต่ในอนาคตต้องมีมาตรการตั้งรับสถานการณ์ฆ่าตัวตายเร่งด่วนเพราะแนวโน้มตัวเลขมีโอกาสสูงขึ้นแน่ๆ เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านี้
ตอกย้ำว่า...นับตั้งแต่เดือน ธ.ค.2562 “ปรากฏตัวเลขฆ่าตัวตาย” มีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่องอยู่แล้ว แต่เมื่อมีโควิด-19 ระบาด “รัฐบาล” ก็ประกาศออกมาตรการป้องกัน “ห้ามขายสุรา” กลับทำให้ “ตัวเลขลดลง” ถือเป็นสิ่งที่แปลกประหลาดมาก จึงมีการตรวจสอบกับประเทศอื่นๆ ก็พบว่า “จำนวนฆ่าตัวตายลดลง” เช่นกัน
ย้อนมา...“ยุควิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ปี 2540” ที่มีสถิติการฆ่าตัวตายค่อนข้างสูง โดยเฉพาะในช่วงปี 2542 มีอัตราตัวเลขจุดสูงสุดของไทยอยู่ที่ 8.6 ต่อประชากรหนึ่งแสนคน ด้วยเหตุนี้ในช่วงโควิด-19 ระบาด ย่อมมีแนวโน้มตัวเลขการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นได้ แต่อาจต้องใช้เวลาการเดินทางไปถึงจุดสูงสุดราวๆ 1-2 ปี
นั่นหมายความว่า...ในช่วงโรคระบาดอยู่ย่อมมี “การฆ่าตัวตาย” ต่อเนื่อง ในจำนวนนี้ยังไม่ใช่ตัวเลขจุดสูงสุด ที่ต้องใช้เวลาบ่มเพาะไล่ระดับไปเรื่อยๆ ในทางกลับกัน “รัฐบาล” ต่างก็พยายามออกมาช่วยเหลือเยียวยา ในส่วน “ฝ่ายสาธารณสุข” มีมาตรการป้องกันด้วยการบำบัดรักษาเช่นกัน เหตุนี้ “ตัวเลข” อาจไม่เป็นตามคาดการณ์ก็ได้
เพราะมีตัวกระตุ้นเข้าไปแทรกแซง “กดตัวเลขต่ำลง” ทำให้ไม่เป็นไปตามคาดการณ์ด้วยพยากรณ์ อย่างเช่น...“ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย” ถ้าหากไม่มีมาตรการเฝ้าระวังป้องกัน ย่อมส่งผลให้ตัวเลขการติดเชื้อพุ่งทะยานสูงขึ้น แต่พอดี “ภาครัฐบาล” มีมาตรการป้องกันอย่างเข้มงวดก็สามารถกดการติดเชื้อให้ต่ำลงตามมา...
ทว่า...“สาเหตุการฆ่าตัวตายดูผิวเผินภายนอก” มักถูกมองว่า “ภาครัฐบาล” ช่วยเหลือเยียวยาไม่ทั่วถึงทันท่วงที แต่ความจริงแล้วในช่วง 5-10 ปีนี้มีตัวเลขราว 4,000-5,000 รายต่อปี หรือเฉลี่ย 10 รายต่อวันมาอยู่ตลอด มีทั้งเป็นข่าวและไม่เป็นข่าว ด้วยเหตุนี้ “การฆ่าตัวตาย” จึงกลายเป็นปัญหาสังคมไทยมาเนิ่นนานแล้วด้วยซ้ำ
ดังนั้นแม้ไม่มีโรคระบาด “ตัวเลขฆ่าตัวตาย” คงที่อยู่เช่นนี้ แต่ก็ปฏิเสธได้ยากในปี 2563-2564 อาจมีแนวโน้มฆ่าตัวตายสูงกว่าปี 2562 ในส่วนจะเกิดจากสาเหตุใดคงต้องรอผลสรุปแถลงการณ์ประจำปีอีกครั้งหนึ่งด้วยและคิดว่า “ตัวเลขการฆ่าตัวตาย” จะเกิดจากปัจจัยปัญหาเศรษฐกิจ หรือมีสิ่งอื่นเข้ามาแทรกซ้อนรุมเร้าร่วมด้วยเสมอ
สะท้อนให้เห็นถึง “กลุ่มเปราะบางทางเศรษฐกิจ” ที่ไม่ว่าจะมีมากขึ้นหรือน้อยลง เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ต้องให้การช่วยเหลือเร่งด่วน “ไม่ต้องรอตัวเลข” เพราะความเปราะบางนี้มีความสัมพันธ์กับ “การฆ่าตัวตาย” สามารถเกิดขึ้นได้ไม่มากก็น้อย ที่ไม่ใช่ปัญหาของระบบสาธารณสุข แต่เป็นปัญหาทางสังคมเกี่ยวพันกับทุกภาคส่วนด้วยซ้ำ
เหตุนี้การแก้ปัญหาฆ่าตัวตายย่อมเกี่ยวพันหน่วยงานทุกภาคส่วนราชการ และภาคเอกชน
ในเรื่อง “การฆ่าตัวตายมักนำมาผูกมัดสัมพันธ์กับโรคซึมเศร้า” มักไม่ใช่สาเหตุหลักเสมอไป แต่อาจมีปัจจัยอื่นเข้ามาแทรกแซงเกี่ยวข้องด้วยก็ได้ เช่น โรคเบาหวาน ความดัน หลอดเลือดสมอง และโรคไต เป็นต้น
โดยเฉพาะ “รมควันฆ่าตัวตาย และใช้โซเชียลฯเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย” ที่เกิดขึ้นมาได้ระยะหนึ่งแล้วจากอิทธิพลการเลียนแบบตาม “สื่อ” ทำให้การเสนอข่าวต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะที่ผ่านมา “สื่อออนไลน์” นำเสนออุปกรณ์ วิธีการละเอียดสูง ทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และตัวหนังสือ ทำให้สุ่มเสี่ยงต่อการเลียนแบบได้
สุดท้าย “การฆ่าตัวตาย” มักมีผลจากความสัมพันธ์จาก “คนใกล้ชิด และสมาชิกในครอบครัว” ดังนั้นต้องทำ “บรรยากาศภายในครอบครัวที่ดี” ที่จะมีความสำคัญอย่างมาก ด้วยมีการพูดคุยกันอย่างสม่ำเสมอ
ขอย้ำว่า... “นี่ไม่ใช่ชี้โพรงให้กระรอก” แต่เป็นการฝากเตือนให้เฝ้าระวัง “คนใกล้ชิด” สถานการณ์เช่นนี้อาจกำลังเจอ “ปัญหาถาโถมขนาดใหญ่” ที่รอใครสักคนมาซักถามช่วยหาทางออกร่วมกันอยู่ก็ได้...
อธิบดีคพ.โพสต์เอง ขรก.เห็นแก่นายทุน ต้องปรับทัศนคติใหม่
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_2587842
อธิบดีคพ.โพสต์เอง ขรก.เห็นแก่นายทุน ต้องปรับทัศนคติใหม่
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ(คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โพสต์เฟสบุ๊ก ระบุว่า
“อุปสรรคใหญ่ของการแก้ไขปัญหามลพิษ…คือขรก.ผู้รับผิดชอบกม.โดยตรง มีอำนาจหน้าที่ที่ต้องทำ..แต่ไม่ใช้อำนาจหน้าที่ตนทำอย่างสุดความสามารถเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อน ซ้ำร้ายกลับรักษาผลประโยชน์ของนายทุน..ขรก.หน่วยงานอย่างนี้ต้องปรับทัศนคติใหม่ครับ”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากข้อความดังกล่าว มีเจ้าหน้าที่ของคพ.ทุกระดับ เข้ามาแสดงความคิดเห็น และให้กำลังใจ พร้อมทั้งตั้งคำถามว่า สิ่งที่นายอรรถพลกำลังพูดถึงมีความหมายแอบปฝงเรื่องอะไร หรือหมายถึงใครหรือไม่
โดย 1 ในผู้ที่ร่วมแสดงความคิดเห็นคือ ศ.ธงชัย พรรณสวัสดิ์ อดีตที่ปรึกษากรมควบคุมมลพิษ ที่ระบุว่า
ตรงใจเลย
พูดมานานแล้ว
ดีใจที่คนคพ.กล้าออกมาพูดแบบนี้บ้าง ซึ่งมีน้ำหนักกว่าคนทั่วไปพูด เขาจะได้รู้บ้างว่าคนอื่นคิดกับเขาอย่างไร
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=4030646350334035&id=100001661307060
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=4030646350334035&id=100001661307060&comment_id=4030670776998259