RCB Film Club: Degas: Passion for Perfection
ความยาว 91 นาที พร้อมคำบรรยายภาษาไทย
ฉายวันเสาร์ที่ 13, 27 มีนาคม 2564 เวลา 14.00 น.
ที่ RCB Forum ชั้น 2 ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก
บัตรราคา 150 บาท ทาง
www.ticketmelon.com/rivercitybangkok/degas
ตัวอย่างภาพยนตร์สารคดี ‘Degas: Passion for Perfection’
ภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้กำกับโดย เดวิด บิคเคอร์สตาฟ (David Bickerstaff) ซึ่งจะนำผู้ชมไปทำความรู้จักกับจิตรกรอิมเพรสชั่นนิสต์ชาวฝรั่งเศสนาม เอ็ดการ์ เดอกาส์ (Edgar Degas) ผู้มีผลงานจัดแสดงที่นิทรรศการซึ่งจัดขึ้นในพิพิธภัณฑ์ฟิตซ์วิลเลียม (The Fitzwilliam Museum) เมืองเคมบริดจ์ สถานที่ที่รวบรวมผลงานของศิลปินท่านนี้ไว้หลายชิ้น นอกจากนี้ภาพยนตร์ได้พาเราเดินทางไปยังกรุงปารีสและอิตาลี สถานที่ที่เดอกาส์ใช้เวลาหลายปีและเรียนรู้การวาดภาพด้วยตนเอง
ภาพยนตร์สารคดี ‘Degas: Passion for Perfection’ เผยถึงเรื่องราวของศิลปินท่านนี้ในเชิงลึกทั้งในแง่ชีวิตส่วนตัวและด้านความคิดสร้างสรรค์ นอกจากนี้ยังเผยให้เห็นถึงความสำคัญของเดอกาส์ต่อศิลปะอิมเพรสชั่นนิสม์ด้วยความที่เขาหลงใหลในการเต้นถึงแม้จะมีปัญหาด้านสายตาซึ่งอาจเป็นอุปสรรคให้เขาทำงานศิลปะ
เรื่องราวอีกด้านหนึ่งที่น่าสนใจคือเดอกาส์เป็นผู้แสวงหาความสมบูรณ์แบบด้วยการทดลองเทคนิคใหม่ๆ และศึกษาผลงานของศิลปินชั้นครูในอดีต รวมถึงศิลปินชาวอิตาเลียนจากยุคเรอเนสซองส์ (Renaissance) และศิลปินร่วมสมัยอย่างแอ็งกร์ (Ingres) และเดอลาครัวซ์ (Delacroix) นักประวัติศาสตร์ศิลป์ชาวฝรั่งเศสนาม ดานิเอล อาเลวีย์ (Daniel Halévy) พรรณนาถึงเดอกาส์ไว้ว่า “เขาเป็นผู้ที่ทำงาน แสวงหา และรู้สึกไม่พอใจอยู่เสมอ”
เดอกาส์สร้างสรรค์รูปปั้นชิ้นเล็กๆ ไว้หลายชิ้นซึ่งสร้างสรรค์จากขี้ผึ้งและดินเหนียวเพียงเท่านั้น ซึ่งเขาอธิบายว่าหากจากโลกใบนี้ไป เขาจะไม่ทิ้งอะไรไว้กับสำริดเพราะ “โลหะจะอยู่ไปชั่วนิรันดร์”
อ็องบรัวส์ วอลลาด์ (Ambroise Vollard) ผู้ค้างานศิลปะหวนคิดถึงเมื่อครั้งที่เดอกาส์เอาภาพนักเต้นมาให้เขาดูซึ่งวาดเป็นครั้งที่ 20 พร้อมกับกล่าวออกมาดังๆ ว่า “ผมไม่เก็บทองคำเป็นถังๆ ไว้เพื่อความพอใจหรอก แต่ผมทำลายมันและทำขึ้นมาใหม่อีกครั้ง” เมื่อเดอกาส์เสียชีวิตในปี 1917 งานประติมากรรมมากกว่า 150 ชิ้นซึ่งทำจากขี้ผึ้ง ดินเหนียว และดินน้ำมันถูกค้นพบในสตูดิโอของเขา ชิ้นที่ยังคงหลงเหลืออยู่ถูกเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ฟิตซ์วิลเลียมแห่งเดียวในประเทศอังกฤษที่มีตัวอย่างของชิ้นงานหายากและแสนเปราะบางนี้
ในแง่ความละเอียดในผลงานของเดอกาส์ที่ได้เขียนไว้โดยเหล่ามิตรสหาย นักวิจารณ์ รวมถึงจดหมายส่วนตัวของเดอกาส์เปิดเผยถึงความละเอียดซับซ้อนที่แฝงอยู่ในผลงานของหนึ่งในศิลปินฝรั่งเศสที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดท่านนี้
ฟิล แกร็บสกี (Phil Grabsky) เอ็กเซ็คคูทีฟโปรดิวเซอร์ของ EXHIBITION ON SCREEN วิจารณ์ว่า “เดอกาส์คือหนึ่งในศิลปินโมเดิร์นอาร์ตผู้ยิ่งใหญ่และยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก ยกเว้นก็แต่จิตรกรรมภาพสาวนักบัลเล่ต์ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด ในบรรดาศิลปินร่วมสมัยเดียวกับเขา เดอกาส์ถือเป็นผู้ยิ่งใหญ่ที่ชอบอยู่ในเงาเสียมากกว่า
เดวิด บิคเคอร์สตาฟ (David Bickerstaff) ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ กล่าวว่า “ในบรรดาศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล เดอกาส์เผยให้เราเห็นถึงวิถีชีวิตประจำวันอย่างร้านกาแฟ การแข่งม้า นักเต้นบัลเล่ต์ ภาพพอร์ตเทรตครอบครัว และภาพผู้หญิงเปลือยกาย เดอกาส์เป็นที่เคารพในหมู่ศิลปินและมีอิทธิพลต่อประวัติศาสตร์ศิลปะอันเป็นที่มาของศิลปะอิมเพรสชั่นนิสม์และศิลปะสมัยใหม่”
ข้อมูลเพิ่มเติมทาง
www.rivercitybangkok.com และ Facebook :
River City Bangkok
ขอเชิญชมภาพยนตร์สารคดีเรื่อง ‘Degas: Passion for Perfection’
ฉายวันเสาร์ที่ 13, 27 มีนาคม 2564 เวลา 14.00 น.
ที่ RCB Forum ชั้น 2 ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก
บัตรราคา 150 บาท ทาง www.ticketmelon.com/rivercitybangkok/degas
ภาพยนตร์สารคดี ‘Degas: Passion for Perfection’ เผยถึงเรื่องราวของศิลปินท่านนี้ในเชิงลึกทั้งในแง่ชีวิตส่วนตัวและด้านความคิดสร้างสรรค์ นอกจากนี้ยังเผยให้เห็นถึงความสำคัญของเดอกาส์ต่อศิลปะอิมเพรสชั่นนิสม์ด้วยความที่เขาหลงใหลในการเต้นถึงแม้จะมีปัญหาด้านสายตาซึ่งอาจเป็นอุปสรรคให้เขาทำงานศิลปะ
เรื่องราวอีกด้านหนึ่งที่น่าสนใจคือเดอกาส์เป็นผู้แสวงหาความสมบูรณ์แบบด้วยการทดลองเทคนิคใหม่ๆ และศึกษาผลงานของศิลปินชั้นครูในอดีต รวมถึงศิลปินชาวอิตาเลียนจากยุคเรอเนสซองส์ (Renaissance) และศิลปินร่วมสมัยอย่างแอ็งกร์ (Ingres) และเดอลาครัวซ์ (Delacroix) นักประวัติศาสตร์ศิลป์ชาวฝรั่งเศสนาม ดานิเอล อาเลวีย์ (Daniel Halévy) พรรณนาถึงเดอกาส์ไว้ว่า “เขาเป็นผู้ที่ทำงาน แสวงหา และรู้สึกไม่พอใจอยู่เสมอ”
เดอกาส์สร้างสรรค์รูปปั้นชิ้นเล็กๆ ไว้หลายชิ้นซึ่งสร้างสรรค์จากขี้ผึ้งและดินเหนียวเพียงเท่านั้น ซึ่งเขาอธิบายว่าหากจากโลกใบนี้ไป เขาจะไม่ทิ้งอะไรไว้กับสำริดเพราะ “โลหะจะอยู่ไปชั่วนิรันดร์”
อ็องบรัวส์ วอลลาด์ (Ambroise Vollard) ผู้ค้างานศิลปะหวนคิดถึงเมื่อครั้งที่เดอกาส์เอาภาพนักเต้นมาให้เขาดูซึ่งวาดเป็นครั้งที่ 20 พร้อมกับกล่าวออกมาดังๆ ว่า “ผมไม่เก็บทองคำเป็นถังๆ ไว้เพื่อความพอใจหรอก แต่ผมทำลายมันและทำขึ้นมาใหม่อีกครั้ง” เมื่อเดอกาส์เสียชีวิตในปี 1917 งานประติมากรรมมากกว่า 150 ชิ้นซึ่งทำจากขี้ผึ้ง ดินเหนียว และดินน้ำมันถูกค้นพบในสตูดิโอของเขา ชิ้นที่ยังคงหลงเหลืออยู่ถูกเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ฟิตซ์วิลเลียมแห่งเดียวในประเทศอังกฤษที่มีตัวอย่างของชิ้นงานหายากและแสนเปราะบางนี้
ในแง่ความละเอียดในผลงานของเดอกาส์ที่ได้เขียนไว้โดยเหล่ามิตรสหาย นักวิจารณ์ รวมถึงจดหมายส่วนตัวของเดอกาส์เปิดเผยถึงความละเอียดซับซ้อนที่แฝงอยู่ในผลงานของหนึ่งในศิลปินฝรั่งเศสที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดท่านนี้
ฟิล แกร็บสกี (Phil Grabsky) เอ็กเซ็คคูทีฟโปรดิวเซอร์ของ EXHIBITION ON SCREEN วิจารณ์ว่า “เดอกาส์คือหนึ่งในศิลปินโมเดิร์นอาร์ตผู้ยิ่งใหญ่และยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก ยกเว้นก็แต่จิตรกรรมภาพสาวนักบัลเล่ต์ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด ในบรรดาศิลปินร่วมสมัยเดียวกับเขา เดอกาส์ถือเป็นผู้ยิ่งใหญ่ที่ชอบอยู่ในเงาเสียมากกว่า
เดวิด บิคเคอร์สตาฟ (David Bickerstaff) ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ กล่าวว่า “ในบรรดาศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล เดอกาส์เผยให้เราเห็นถึงวิถีชีวิตประจำวันอย่างร้านกาแฟ การแข่งม้า นักเต้นบัลเล่ต์ ภาพพอร์ตเทรตครอบครัว และภาพผู้หญิงเปลือยกาย เดอกาส์เป็นที่เคารพในหมู่ศิลปินและมีอิทธิพลต่อประวัติศาสตร์ศิลปะอันเป็นที่มาของศิลปะอิมเพรสชั่นนิสม์และศิลปะสมัยใหม่”