IFEC เดินมาถึงจุดจบต้องเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย เป็นบทเรียนสำคัญสำหรับนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ทุกราย
ฉากสุดท้าย IFEC / สุนันท์ ศรีจันทรา
ความหวังในการฟื้นฟูกิจการบริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ IFEC ริบหรี่เต็มที หลังจากวันที่ 15 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของเจ้าหนี้บริษัทจดทะเบียนแห่งนี้
แม้ผู้บริหาร IFEC จะประกาศยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลล้มละลายกลาง แต่ไม่มีหลักประกันว่าคำร้องอุทธรณ์จะพลิกชะตากรรมของ IFEC ได้หรือไม่
หุ้น IFEC เริ่มต้นสู่วิกฤตเมื่อเกิดปัญหาผิดนัดชำระหนี้ตั๋วแลกเงิน หรือตั๋วบี/อี เมื่อปลายปี 2559 โดยหุ้นถูกขึ้นเครื่องหมาย SP พักการซื้อขายเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2560 เนื่องจากไม่ส่งงบการเงินตามระยะเวลาที่กำหนด
บริษัทจดทะเบียนแห่งนี้มีปัญหาทุจริตภายใน ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของความล่มสลาย โดยอดีตผู้บริหารบริษัทมีคดีถูกฟ้องร้องนับไม่ถ้วน ทั้งทางแพ่งและอาญา และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้กล่าวโทษในความผิดทุจริตอดีตผู้บริหาร IFEC หลายคดี
แม้ว่าต้นปี 2562 ที่ประชุมผู้ถือหุ้น IFEC จะลงมติเลือกกรรมการชุดใหม่ โดยมีนายทวิช เตชะนาวากุล เป็นประธานกรรมการ และเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ แต่ตลอด 2 ปี การแก้ปัญหาไม่มีความคืบหน้ามากนัก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ
บริษัทแทบไม่มีเงินทุนหมุนเวียน เอกสารสำคัญถูกทำลาย ที่ตั้งสำนักงานถูกปล่อยรกร้าง โดยไม่มีพนักงานทำงานแม้แต่คนเดียว เช่นเดียวกับบริษัท โพลาริส แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ POLAR ซึ่งล่มสลายเพราะการทุจริตภายใน และอยู่ระหว่างการฟื้นฟูการดำเนินงานเหมือนกัน
IFEC เคยเป็นหุ้นเก็งกำไรยอดนิยม มีโครงการลงทุนมากมาย โดยเฉพาะโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นจุดขายและกระตุ้นการเก็งกำไรหุ้น
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์หลายคน เคยเชียร์ให้นักลงทุนเก็งกำไรหุ้น IFEC อย่างสุดลิ่มทิ่มประตู เหมือนกับ “รับงาน” จากเจ้ามือหรือขาใหญ่มาหลอกให้แมลงเม่าบินเข้ากองไฟ
แต่ไม่มีนักวิเคราะห์ที่หลับหูหลับตาเชียร์หุ้น IFEC คนใดต้องรับผิดจากการพานักลงทุนไปตาย
IFEC เคยมีมาร์เกตแคป หรือมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวมหลายหมื่นล้านบาท ปัจจุบันตกอยู่ในสภาพล้มละลาย หนี้สินล้นพ้นตัว ราคาหุ้นซื้อขายครั้งสุดท้ายเหลือเพียง 35 สตางค์ แต่มูลค่าหุ้นที่แท้จริงถูกตีเป็นศูนย์ไปแล้ว
นักลงทุนจำนวนเกือบ 3 หมื่นรายต้องหมดเนื้อหมดตัว สังเวยความฟอนเฟะในการบริหารงานภายใน IFEC
การยกคำร้องขอฟื้นฟูจะทำให้ IFEC เข้าสู่กระบวนการล้มละลาย โดยเจ้าหน้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะเข้ามาจัดการประมูลขายทอดตลอดทรัพย์สินที่เหลือ เพื่อนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินมาชำระบัญชีให้เจ้าหนี้ทั้งหมด ถ้าเหลือจะเฉลี่ยให้ผู้ถือหุ้น
แต่เชื่อว่าทรัพย์สินทั้งหมดที่เหลืออยู่ขายทอดตลาดแล้วยังไม่เพียงพอที่จะชำระคนให้เจ้าหนี้ได้อย่างทั่วถึง ผู้ถือหุ้นจำนวนเกือบ 3 หมื่นราย จึงหมดสิทธิที่จะได้รับส่วนแบ่ง ซึ่งหมายถึงเงินที่ลงทุนไว้กับหุ้น IFEC สูญทั้งจำนวน
ใบหุ้นที่ถือไว้จะกลายเป็นเศษกระดาษที่ไร้ค่า
4 ปีของความพยายามในการฟื้นคืนชีพของใกล้จะปิดฉากลงอย่างสมบูรณ์แล้ว พร้อมมหากาพย์แห่งการโกง ทำให้ผู้ลงทุนต้องเซ่นสังเวย โดยไม่ได้รับการเยียวยาใดๆ
ผู้ถือหุ้นจำนวนเกือบ 3 หมื่นราย คงได้แต่เฝ้ารอคอยว่าจะมีอดีตผู้บริหาร IFEC ที่ร่วมสร้างความล่มสลายให้บริษัทจดทะเบียนแห่งนี้ ต้องชดใช้กรรมหรือไม่
https://mgronline.com/stockmarket/detail/9640000016250
ฉากสุดท้าย IFEC สุนันท์ ศรีจันทรา
ฉากสุดท้าย IFEC / สุนันท์ ศรีจันทรา
ความหวังในการฟื้นฟูกิจการบริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ IFEC ริบหรี่เต็มที หลังจากวันที่ 15 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของเจ้าหนี้บริษัทจดทะเบียนแห่งนี้
แม้ผู้บริหาร IFEC จะประกาศยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลล้มละลายกลาง แต่ไม่มีหลักประกันว่าคำร้องอุทธรณ์จะพลิกชะตากรรมของ IFEC ได้หรือไม่
หุ้น IFEC เริ่มต้นสู่วิกฤตเมื่อเกิดปัญหาผิดนัดชำระหนี้ตั๋วแลกเงิน หรือตั๋วบี/อี เมื่อปลายปี 2559 โดยหุ้นถูกขึ้นเครื่องหมาย SP พักการซื้อขายเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2560 เนื่องจากไม่ส่งงบการเงินตามระยะเวลาที่กำหนด
บริษัทจดทะเบียนแห่งนี้มีปัญหาทุจริตภายใน ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของความล่มสลาย โดยอดีตผู้บริหารบริษัทมีคดีถูกฟ้องร้องนับไม่ถ้วน ทั้งทางแพ่งและอาญา และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้กล่าวโทษในความผิดทุจริตอดีตผู้บริหาร IFEC หลายคดี
แม้ว่าต้นปี 2562 ที่ประชุมผู้ถือหุ้น IFEC จะลงมติเลือกกรรมการชุดใหม่ โดยมีนายทวิช เตชะนาวากุล เป็นประธานกรรมการ และเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ แต่ตลอด 2 ปี การแก้ปัญหาไม่มีความคืบหน้ามากนัก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ
บริษัทแทบไม่มีเงินทุนหมุนเวียน เอกสารสำคัญถูกทำลาย ที่ตั้งสำนักงานถูกปล่อยรกร้าง โดยไม่มีพนักงานทำงานแม้แต่คนเดียว เช่นเดียวกับบริษัท โพลาริส แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ POLAR ซึ่งล่มสลายเพราะการทุจริตภายใน และอยู่ระหว่างการฟื้นฟูการดำเนินงานเหมือนกัน
IFEC เคยเป็นหุ้นเก็งกำไรยอดนิยม มีโครงการลงทุนมากมาย โดยเฉพาะโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นจุดขายและกระตุ้นการเก็งกำไรหุ้น
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์หลายคน เคยเชียร์ให้นักลงทุนเก็งกำไรหุ้น IFEC อย่างสุดลิ่มทิ่มประตู เหมือนกับ “รับงาน” จากเจ้ามือหรือขาใหญ่มาหลอกให้แมลงเม่าบินเข้ากองไฟ
แต่ไม่มีนักวิเคราะห์ที่หลับหูหลับตาเชียร์หุ้น IFEC คนใดต้องรับผิดจากการพานักลงทุนไปตาย
IFEC เคยมีมาร์เกตแคป หรือมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวมหลายหมื่นล้านบาท ปัจจุบันตกอยู่ในสภาพล้มละลาย หนี้สินล้นพ้นตัว ราคาหุ้นซื้อขายครั้งสุดท้ายเหลือเพียง 35 สตางค์ แต่มูลค่าหุ้นที่แท้จริงถูกตีเป็นศูนย์ไปแล้ว
นักลงทุนจำนวนเกือบ 3 หมื่นรายต้องหมดเนื้อหมดตัว สังเวยความฟอนเฟะในการบริหารงานภายใน IFEC
การยกคำร้องขอฟื้นฟูจะทำให้ IFEC เข้าสู่กระบวนการล้มละลาย โดยเจ้าหน้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะเข้ามาจัดการประมูลขายทอดตลอดทรัพย์สินที่เหลือ เพื่อนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินมาชำระบัญชีให้เจ้าหนี้ทั้งหมด ถ้าเหลือจะเฉลี่ยให้ผู้ถือหุ้น
แต่เชื่อว่าทรัพย์สินทั้งหมดที่เหลืออยู่ขายทอดตลาดแล้วยังไม่เพียงพอที่จะชำระคนให้เจ้าหนี้ได้อย่างทั่วถึง ผู้ถือหุ้นจำนวนเกือบ 3 หมื่นราย จึงหมดสิทธิที่จะได้รับส่วนแบ่ง ซึ่งหมายถึงเงินที่ลงทุนไว้กับหุ้น IFEC สูญทั้งจำนวน
ใบหุ้นที่ถือไว้จะกลายเป็นเศษกระดาษที่ไร้ค่า
4 ปีของความพยายามในการฟื้นคืนชีพของใกล้จะปิดฉากลงอย่างสมบูรณ์แล้ว พร้อมมหากาพย์แห่งการโกง ทำให้ผู้ลงทุนต้องเซ่นสังเวย โดยไม่ได้รับการเยียวยาใดๆ
ผู้ถือหุ้นจำนวนเกือบ 3 หมื่นราย คงได้แต่เฝ้ารอคอยว่าจะมีอดีตผู้บริหาร IFEC ที่ร่วมสร้างความล่มสลายให้บริษัทจดทะเบียนแห่งนี้ ต้องชดใช้กรรมหรือไม่
https://mgronline.com/stockmarket/detail/9640000016250