เมกะเทรด์ประเทศไทย
ณัฐภาณุ นพคุณ รองอธิบดีกรมสารนิเทศ และรองโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ทวิตเตอร์ @NatapanuN
เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2563 ในการเสวนา Forbes Thailand 2020 Forum ประเด็นหลักที่ผู้ร่วมเสวนาได้ฟังคือ “อะไรคือเมกะเทรด์ในไทยและมีผลกระทบอย่างไร” ซึ่งท่านรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศดอน ปรมัตถ์วินัย ได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ในฐานะ Keynote Speaker ว่า ในปัจจุบัน เราได้เห็นการมาบรรจบกันของเมกะเทรนด์สองสิ่ง ได้แก่ การแพร่ระบาดของโควิด-19 และการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ซึ่งไม่ว่าเราจะพร้อมรับมือมันหรือไม่ เราก็กำลังใช้ชีวิตผ่านห้องเรียนวิชาประวัติศาสตร์ของอนาคต และในประเทศไทยและส่วนอื่น ๆ ของโลก โควิด-19 ได้ชี้ให้เห็นความจริงว่า ไม่มีบุคคลหรือสถาบันใด ที่สามารถรับมือกับความท้าทายทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม และเทคโนโลยี ในโลกที่มีความซับซ้อนและเชื่อมโยงกันโดยเพียงลำพังได้ โรคระบาดครั้งนี้เป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางระบบจากผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ความท้าทายเหล่านี้ ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ชัดตั้งแต่ก่อนที่จะมีการระบาดของโควิด-19 ทำให้รัฐบาลไทยต้องเร่งดำเนินการและหาแนวทางที่เหมาะสมในการรับมือและเตรียมความพร้อมกับความท้าทายทั้งสองประการ
ท่านรองนายกรัฐมนตรีเน้นว่า รัฐบาลไทยตระหนักดีว่า แนวทางการรับมือโควิด-19 ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ การจัดหาวัคซีนที่มีราคาที่ จับต้องได้ และประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกัน รัฐบาลได้กำหนดให้การจัดหาวัคซีนเป็นวาระแห่งชาติที่สำคัญที่สุด โดยจะดำเนินการอย่างเต็มที่เพื่อไม่ให้คนไทยเป็นกลุ่มท้ายแถวในการเข้าถึงวัคซีน รัฐบาลได้สนับสนุนการสร้างความเป็นหุ้นส่วนกันระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้องในประเทศกับองค์กรด้านการวิจัยและผลิตยาและเวชภัณฑ์ในต่างประเทศ และได้เข้าร่วมในข้อริเริ่มขององค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แก่ โครงการจัดหาวัคซีนล่วงหน้าเพื่อส่งเสริมการเข้าถึง หรือ โคแว็กซ์ และ ACT Accelerator (โครงการส่งเสริมการเข้าถึงเครื่องมือและนวัตกรรมในการต่อสู้กับโควิด-19) ซึ่งเป็นความร่วมมือสำคัญระดับโลก เพื่อเร่งการพัฒนา การผลิต และเข้าถึงการทดสอบ การรักษา และวัคซีนอย่างเท่าเทียม นอกจากนั้น ยังมีความพยายามในการวิจัยและพัฒนาโดยมหาวิทยาลัยของไทย คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีความคืบหน้าเป็นที่ดี ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินการเองของรัฐบาลหรือผ่านความร่วมมือกับฝ่ายต่าง ๆ รัฐบาลไทยสามารถรับประกันได้ว่า ประเทศไทยจะอยู่ในแถวหน้าของประเทศที่จะได้รับวัคซีนโควิด-19 และเรายังได้แสดงตนในฐานะสมาชิกประชาคมโลกที่มีความรับผิดชอบ ภายใต้หลักการที่ว่า “ภายใต้สถานการณ์โรคระบาดนี้ ไม่มีใครปลอดภัยจนกว่าทุกคนจะปลอดภัย”
เศรษฐกิจของไทยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากสถานการณ์การแพร่ระบาดนี้ เนื่องจากต้องพึ่งพาปัจจัยภายนอกอย่างมาก แต่รัฐบาลไทยตระหนักดีว่า ถึงเวลาที่ต้องตัดสินใจครั้งสำคัญในการจัดลำดับความสำคัญและความเร่งด่วนในการปฏิรูป เพื่อสร้างอนาคตที่ครอบคลุม มุ่งไปในทิศทางที่สอดคล้อง มั่นคงและยั่งยืน ซึ่งความยืดหยุ่น ความโปร่งใส และความน่าเชื่อถือ จะเป็นสามเสาหลักที่สำคัญในความพยายามของรัฐบาลในการฟื้นฟูการเติบโตของเศรษฐกิจ และพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชน
เมกะเทรด์ประเทศไทย บทความโดย ณัฐภาณุ นพคุณ รองอธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
ณัฐภาณุ นพคุณ รองอธิบดีกรมสารนิเทศ และรองโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ทวิตเตอร์ @NatapanuN
เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2563 ในการเสวนา Forbes Thailand 2020 Forum ประเด็นหลักที่ผู้ร่วมเสวนาได้ฟังคือ “อะไรคือเมกะเทรด์ในไทยและมีผลกระทบอย่างไร” ซึ่งท่านรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศดอน ปรมัตถ์วินัย ได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ในฐานะ Keynote Speaker ว่า ในปัจจุบัน เราได้เห็นการมาบรรจบกันของเมกะเทรนด์สองสิ่ง ได้แก่ การแพร่ระบาดของโควิด-19 และการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ซึ่งไม่ว่าเราจะพร้อมรับมือมันหรือไม่ เราก็กำลังใช้ชีวิตผ่านห้องเรียนวิชาประวัติศาสตร์ของอนาคต และในประเทศไทยและส่วนอื่น ๆ ของโลก โควิด-19 ได้ชี้ให้เห็นความจริงว่า ไม่มีบุคคลหรือสถาบันใด ที่สามารถรับมือกับความท้าทายทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม และเทคโนโลยี ในโลกที่มีความซับซ้อนและเชื่อมโยงกันโดยเพียงลำพังได้ โรคระบาดครั้งนี้เป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางระบบจากผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ความท้าทายเหล่านี้ ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ชัดตั้งแต่ก่อนที่จะมีการระบาดของโควิด-19 ทำให้รัฐบาลไทยต้องเร่งดำเนินการและหาแนวทางที่เหมาะสมในการรับมือและเตรียมความพร้อมกับความท้าทายทั้งสองประการ
ท่านรองนายกรัฐมนตรีเน้นว่า รัฐบาลไทยตระหนักดีว่า แนวทางการรับมือโควิด-19 ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ การจัดหาวัคซีนที่มีราคาที่ จับต้องได้ และประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกัน รัฐบาลได้กำหนดให้การจัดหาวัคซีนเป็นวาระแห่งชาติที่สำคัญที่สุด โดยจะดำเนินการอย่างเต็มที่เพื่อไม่ให้คนไทยเป็นกลุ่มท้ายแถวในการเข้าถึงวัคซีน รัฐบาลได้สนับสนุนการสร้างความเป็นหุ้นส่วนกันระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้องในประเทศกับองค์กรด้านการวิจัยและผลิตยาและเวชภัณฑ์ในต่างประเทศ และได้เข้าร่วมในข้อริเริ่มขององค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แก่ โครงการจัดหาวัคซีนล่วงหน้าเพื่อส่งเสริมการเข้าถึง หรือ โคแว็กซ์ และ ACT Accelerator (โครงการส่งเสริมการเข้าถึงเครื่องมือและนวัตกรรมในการต่อสู้กับโควิด-19) ซึ่งเป็นความร่วมมือสำคัญระดับโลก เพื่อเร่งการพัฒนา การผลิต และเข้าถึงการทดสอบ การรักษา และวัคซีนอย่างเท่าเทียม นอกจากนั้น ยังมีความพยายามในการวิจัยและพัฒนาโดยมหาวิทยาลัยของไทย คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีความคืบหน้าเป็นที่ดี ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินการเองของรัฐบาลหรือผ่านความร่วมมือกับฝ่ายต่าง ๆ รัฐบาลไทยสามารถรับประกันได้ว่า ประเทศไทยจะอยู่ในแถวหน้าของประเทศที่จะได้รับวัคซีนโควิด-19 และเรายังได้แสดงตนในฐานะสมาชิกประชาคมโลกที่มีความรับผิดชอบ ภายใต้หลักการที่ว่า “ภายใต้สถานการณ์โรคระบาดนี้ ไม่มีใครปลอดภัยจนกว่าทุกคนจะปลอดภัย”
เศรษฐกิจของไทยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากสถานการณ์การแพร่ระบาดนี้ เนื่องจากต้องพึ่งพาปัจจัยภายนอกอย่างมาก แต่รัฐบาลไทยตระหนักดีว่า ถึงเวลาที่ต้องตัดสินใจครั้งสำคัญในการจัดลำดับความสำคัญและความเร่งด่วนในการปฏิรูป เพื่อสร้างอนาคตที่ครอบคลุม มุ่งไปในทิศทางที่สอดคล้อง มั่นคงและยั่งยืน ซึ่งความยืดหยุ่น ความโปร่งใส และความน่าเชื่อถือ จะเป็นสามเสาหลักที่สำคัญในความพยายามของรัฐบาลในการฟื้นฟูการเติบโตของเศรษฐกิจ และพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชน