Vaccine Diplomacy เพื่อภูมิภาคที่ปลอดภัย
โดย ณัฐภาณุ นพคุณ รองอธิบดีกรมสารนิเทศ ทวิตเตอร์ @NatapanuN
ในภูมิภาคอาเซียน มาเลเซียและเมียนมายังคงเป็นประเทศที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 มากที่สุด ส่วนสำหรับไทย กำลังไต่ขึ้น ranking ทุกวันอย่างน่าใจหาย อยู่ประมาณลำดับที่ 130 กว่าๆ ออกจากเกือบ 200 ประเทศทั่วโลก แต่สำหรับทุกประเทศทั่วโลก ประเด็นที่สำคัญที่สุดในการแก้ไขปัญหาการระบาดของโควิด-19 ณ วันนี้ คือ การสรรหาวัคซีนคุณภาพ ซึ่งในปัจจุบันมีการวิจัยที่หลากหลายและมีบริษัทที่ผลิตวัคซีนจำนวนหนึ่ง วัคซีนต้านโควิด-19 ควรเป็น global public goods หรือสินค้าสาธารณะตามหลักเศรษฐศาสตร์ที่เป็นประโยชน์ต่อทุกคนและมีโอกาสการนำมาใช้อย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งองค์การอนามัยโลก และผู้นำหลายประเทศ รวมทั้งนายกรัฐมนตรีของไทยก็ได้ย้ำในสิ่งนี้
ประเด็น global public goods เป็นเรื่องที่ถกเถียงมาหลายปีในเวทีสหประชาชาติว่าอะไรควรรวมอยู่ไหนกลุ่มนี้หรือไม่ บทบาทของสหประชาชาติจึงมีความสำคัญ และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการโอนถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการผลิตวัคซีน รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากบริษัทเอกชนด้วย
ประเทศไทยเองไม่ได้ปิดกั้นว่าวัคซีนต้องมียี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่ง และเปิดโอกาสในการเจรจากับรัฐบาล บริษัทเอกชน และสถาบันวัคซีนในหลายประเทศ เพื่อนำมาซึ่งการจัดซื้อในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการและได้มาในช่วงเวลาที่เหมาะสม ใช้ได้ทันการ ทางกระทรวงการต่างประเทศเองได้มีส่วนช่วยในการ “เปิดประตู” การเจรจากับองค์กรต่างๆ หลายภาคส่วน โดยสถานทูตไทยในต่างประเทศใช้เครือข่ายที่มีเพื่อเริ่มการพูดคุย ซึ่งเกิดขึ้นในหลายประเทศ เช่น อินเดีย รัสเซีย เยอรมัน และจีน เป็นต้น ไม่ใช่เพียงในยุโรป โดยคาดว่าไทยจะได้รับวัคซีน ซึ่งผ่านมาตรฐานอาหารและยาของประเทศต้นทางและในไทยเอง เริ่มต้นเดือนกุมภาพันธ์ต่อถึงพฤษภาคม 2564
นอกจากการเจรจาแล้ว Vaccine Diplomacy หรือ “การทูตเพื่อวัคซีน” ในวันนี้ รวมถึงการให้ความช่วยเหลือ โดยความต้องการวัคซีนของทุกประเทศทั่วโลกได้เปิดประตูสู่การให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ปัจจัยความสามารถในการผลิต ซื้อ และแจกจ่าย เพื่อส่งมอบเป็นความช่วยเหลือด้านความมั่นคงทางสาธารณสุข เป็นปัจจัยหลัก ไทยเองเชื่อในความร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และมีแผนที่จะให้ความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านด้านวัคซีน โดยเฉพาะประเทศที่มีแรงงานเข้ามาทำงานในไทย ส่วนประเทศเพื่อนบ้านของไทยก็มีความร่วมมือกับประเทศอื่นๆ ด้วย เช่นอินเดียและจีน
ไทยเองก็ได้รับความช่วยเหลือในระดับภูมิภาค แม้ไม่ใช่ในเรื่องวัคซีน โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประสานงานกับศูนย์ประสานงานอาเซียนเพื่อความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการจัดการภัพิบัติ (ASEAN Coordinating Centre for Humanitarian Assistance on Disaster Management: AHA Center) กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย เพื่อรับสิ่งของช่วยเหลือของอาเซียนในคลังเก็บสิ่งของช่วยเหลือทางไกลของอาเซียน (DELSA Satellite Warehouse) ที่ตั้งอยู่ที่จังหวัดชัยนาท เพื่อสนับสนุนการบริหารสถานการณ์แพร่ระบาด รวมถึงจังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อและกลุ่มเสี่ยงเป็นจำนวนมาก เช่น เต็นท์สำหรับครอบครัวและชุดสุขอนามัยส่วนบุคคล ทั้งนี้ คลังสิ่งของช่วยเหลือทางไกลของอาเซียนสามารถส่งสิ่งของช่วยเหลือไปยัง 4 ประเทศสมาชิกอาเซียน ได้แก่ เมียนมา กัมพูชา ลาว และเวียดนามได้ภายใน 24 ชั่วโมง
Vaccine Diplomacy เพื่อภูมิภาคที่ปลอดภัย
โดย ณัฐภาณุ นพคุณ รองอธิบดีกรมสารนิเทศ ทวิตเตอร์ @NatapanuN
ในภูมิภาคอาเซียน มาเลเซียและเมียนมายังคงเป็นประเทศที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 มากที่สุด ส่วนสำหรับไทย กำลังไต่ขึ้น ranking ทุกวันอย่างน่าใจหาย อยู่ประมาณลำดับที่ 130 กว่าๆ ออกจากเกือบ 200 ประเทศทั่วโลก แต่สำหรับทุกประเทศทั่วโลก ประเด็นที่สำคัญที่สุดในการแก้ไขปัญหาการระบาดของโควิด-19 ณ วันนี้ คือ การสรรหาวัคซีนคุณภาพ ซึ่งในปัจจุบันมีการวิจัยที่หลากหลายและมีบริษัทที่ผลิตวัคซีนจำนวนหนึ่ง วัคซีนต้านโควิด-19 ควรเป็น global public goods หรือสินค้าสาธารณะตามหลักเศรษฐศาสตร์ที่เป็นประโยชน์ต่อทุกคนและมีโอกาสการนำมาใช้อย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งองค์การอนามัยโลก และผู้นำหลายประเทศ รวมทั้งนายกรัฐมนตรีของไทยก็ได้ย้ำในสิ่งนี้
ประเด็น global public goods เป็นเรื่องที่ถกเถียงมาหลายปีในเวทีสหประชาชาติว่าอะไรควรรวมอยู่ไหนกลุ่มนี้หรือไม่ บทบาทของสหประชาชาติจึงมีความสำคัญ และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการโอนถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการผลิตวัคซีน รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากบริษัทเอกชนด้วย
ประเทศไทยเองไม่ได้ปิดกั้นว่าวัคซีนต้องมียี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่ง และเปิดโอกาสในการเจรจากับรัฐบาล บริษัทเอกชน และสถาบันวัคซีนในหลายประเทศ เพื่อนำมาซึ่งการจัดซื้อในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการและได้มาในช่วงเวลาที่เหมาะสม ใช้ได้ทันการ ทางกระทรวงการต่างประเทศเองได้มีส่วนช่วยในการ “เปิดประตู” การเจรจากับองค์กรต่างๆ หลายภาคส่วน โดยสถานทูตไทยในต่างประเทศใช้เครือข่ายที่มีเพื่อเริ่มการพูดคุย ซึ่งเกิดขึ้นในหลายประเทศ เช่น อินเดีย รัสเซีย เยอรมัน และจีน เป็นต้น ไม่ใช่เพียงในยุโรป โดยคาดว่าไทยจะได้รับวัคซีน ซึ่งผ่านมาตรฐานอาหารและยาของประเทศต้นทางและในไทยเอง เริ่มต้นเดือนกุมภาพันธ์ต่อถึงพฤษภาคม 2564
นอกจากการเจรจาแล้ว Vaccine Diplomacy หรือ “การทูตเพื่อวัคซีน” ในวันนี้ รวมถึงการให้ความช่วยเหลือ โดยความต้องการวัคซีนของทุกประเทศทั่วโลกได้เปิดประตูสู่การให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ปัจจัยความสามารถในการผลิต ซื้อ และแจกจ่าย เพื่อส่งมอบเป็นความช่วยเหลือด้านความมั่นคงทางสาธารณสุข เป็นปัจจัยหลัก ไทยเองเชื่อในความร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และมีแผนที่จะให้ความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านด้านวัคซีน โดยเฉพาะประเทศที่มีแรงงานเข้ามาทำงานในไทย ส่วนประเทศเพื่อนบ้านของไทยก็มีความร่วมมือกับประเทศอื่นๆ ด้วย เช่นอินเดียและจีน
ไทยเองก็ได้รับความช่วยเหลือในระดับภูมิภาค แม้ไม่ใช่ในเรื่องวัคซีน โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประสานงานกับศูนย์ประสานงานอาเซียนเพื่อความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการจัดการภัพิบัติ (ASEAN Coordinating Centre for Humanitarian Assistance on Disaster Management: AHA Center) กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย เพื่อรับสิ่งของช่วยเหลือของอาเซียนในคลังเก็บสิ่งของช่วยเหลือทางไกลของอาเซียน (DELSA Satellite Warehouse) ที่ตั้งอยู่ที่จังหวัดชัยนาท เพื่อสนับสนุนการบริหารสถานการณ์แพร่ระบาด รวมถึงจังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อและกลุ่มเสี่ยงเป็นจำนวนมาก เช่น เต็นท์สำหรับครอบครัวและชุดสุขอนามัยส่วนบุคคล ทั้งนี้ คลังสิ่งของช่วยเหลือทางไกลของอาเซียนสามารถส่งสิ่งของช่วยเหลือไปยัง 4 ประเทศสมาชิกอาเซียน ได้แก่ เมียนมา กัมพูชา ลาว และเวียดนามได้ภายใน 24 ชั่วโมง