ไม่แน่ใจเข้าข่ายมีลูกยากหรือเปล่า ต้องทำอย่างไร?

.
ภาวะมีลูกยาก เป็นปัญหาที่หลายคู่ที่สร้างครอบครัว ไม่ได้คิดถึงหรือกังวลในช่วงแรก กว่าจะรู้ตัวก็พยายามมีลูกกันมาหลายปี มาดูกันดีกว่าว่า แบบไหนถึงเรียกว่ามีลูกยาก แล้วถ้าเกิดคุณเข้าข่ายมีลูกยาก ต้องทำอย่างไร
.
คำว่า “มีลูกยาก” หรือเข้าข่าย “ภาวะมีลูกยาก” หมายถึง ชายหญิงที่แต่งงานกัน มีเพศสัมพันธ์กันอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 3 ครั้ง/สัปดาห์ โดยไม่ได้คุมกำเนิด เป็นระยะเวลานาน 1 ปี แต่ยังไม่สามารถตั้งครรภ์เองได้ ภาวะมีลูกยาก อาจจะเกิดจากฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิง หรือเกิดจากทั้งผู้ชายและผู้หญิงร่วมกันก็ได้
.
โดยสัญญาณเบื้องต้น ที่อาจทำให้ผู้หญิงและผู้ชาย ที่เข้าข่ายภาวะมีลูกยาก จับสังเกตตัวเองได้ เช่น ผู้หญิงอาจมีประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือประจำเดือนไม่มาเป็นเวลานาน หรือมีภาวะปวดระดูรุนแรง ส่วนผู้ชายอาจพบปัญหาทางเพศ เช่นปัญหาในการมีเพศสัมพันธ์ หรือพบว่าลูกอัณฑะมีขนาดเล็กผิดปกติ เป็นต้น

ผู้หญิงที่เข้าข่ายภาวะมีลูกยาก
- ผู้ที่พยายามมีเพศสัมพันธ์กับคู่รักเพื่อตั้งครรภ์เป็นเวลา 6 เดือนหรือมากกว่านั้น แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ
- อายุ 40 ปีขึ้นไป
- ประจำเดือนมาไม่ปกติหรือประจำเดือนไม่มา ซึ่งอาจจะเกิดจากปัญหารังไข่ที่ผิดปกติ จึงไม่มีการตกไข่ ซึ่งเป็นสาเหตุของการมีลูกยาก
- ปวดท้องประจำเดือนอย่างรุนแรง หรือมีประจำเดือนมากผิดปกติ เพราะอาจเสี่ยงต่อการเป็นเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) 
- มีคนในครอบครัวมีภาวะมีลูกยาก
- ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน (Pelvic Inflammatory Disease: PID)
- เคยแท้งมาแล้วหลายครั้ง
- มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ เช่น เข้ารับการรักษาโรคมะเร็ง อ้วนเกินไป หรือผอมเกินไป
- สูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์หนักมาก
.
ผู้ชายที่เข้าข่ายมีลูกยาก
- มีจำนวนอสุจิน้อย มีปัญหาเกี่ยวกับอสุจิ หรือ ไม่มีอสุจิ 
- มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับอัณฑะ ต่อมลูกหมาก 
- มีปัญหาทางเพศ เช่น ไม่มีความต้องการทางเพศ หรือ ความต้องการทางเพศลดลง หรือพบปัญหาหลั่งเร็ว 
- เป็นโรคหลอดเลือดอัณฑะขอด (Varicocele) โดยอัณฑะจะมีขนาดเล็กหรือถุงอัณฑะบวมขึ้น
- มีบุคคลในครอบครัวที่ประสบภาวะมีลูกยาก
- มีปัญหาสุขภาพ เช่น เข้ารับการรักษาโรคมะเร็ง เป็นโรคเบาหวาน โรคหนองใน โรคคางทูม เป็นโรคอ้วน หรือมีน้ำหนักตัวมากเกินไป
- สูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์หนักมาก
.
ลองเช็คตัวเองดูเบื้องต้นนะคะ หากคุณเข้าเกณฑ์ และอยากมีลูกแนะนำให้ปรึกษาคุณหมอ เพื่อหาสาเหตุของการมีบุตรยาก และรักษาต่อไปค่ะ แต่หากใครยังไม่เข้าเกณฑ์ แต่ต้องการปรึกษาคุณหมอเพื่อตรวจเพิ่มเติม ว่าคู่ของเรามีปัญหาในการมีลูกหรือเปล่า เพื่อเป็นการวางแผนมีลูกล่างหน้า ก็สามารถทำได้เช่นกันค่ะ 
.
มีลูกยาก อยากมีลูก แก้ไขได้ เพียงได้รับคำแนะนำที่ถูกต้อง
และมีการวางแผนที่เหมาะสมค่ะ
 พบกับบทความที่เป็นประโยชน์ สำหรับคนมีลูกยาก
จากศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากอัครบุตร ในบทความถัดไปค่ะ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่