“คุณเคยเป็นแบบนี้ไหม?”
นอนหลับยาก
หลับไม่สนิท / ตื่นกลางดึกบ่อย
ตื่นเช้ากว่าปกติ / นอนไม่หลับเรื้อรัง
รู้สึกไม่สดชื่นเมื่อตื่นนอน
ในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต หลายท่านอาจเคยประสบปัญหาการนอนไม่หลับ ผู้ที่เคยประสบปัญหานี้คงทราบถึงความทุกข์ทรมานของภาวะดังกล่าวเป็นอย่างดี หากการนอนไม่หลับเกิดขึ้นเพียงชั่วครั้งชั่วคราวก็คงไม่เป็นเรื่องสำคัญ แต่ถ้าหากนอนไม่หลับบ่อย ๆ หรือเกิดขึ้นเป็นเวลานาน ย่อมมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและกระทบต่อสุขภาพกายและใจ ยิ่งในสภาวะปัจจุบันที่หลายคนต้องเจอกับความเครียดต่าง ๆ อาจเกิดความสงสัยว่า “เมื่อไหร่ต้องไปหาหมอ?” “นอนไม่หลับนาน ๆ เป็นอะไรไหม?” บทความนี้จะเป็นข้อมูลหนึ่งที่ทำให้รู้จักกับปัญหาการนอนไม่หลับมากขึ้น
โรคนอนไม่หลับคืออะไร?
อาการนอนไม่หลับเป็นปัญหาที่พบบ่อยถึงร้อยละ 30 ของประชากรทั้งหมด 1 ใน 3 เป็นการนอนไม่หลับเรื้อรัง คือ มีอาการนอนไม่หลับอย่างน้อย 1 เดือน หากปล่อยให้เกิดขึ้นเป็นเวลานานอาจเกิดเป็นโรคนอนไม่หลับได้
โรคนอนไม่หลับ (Insomnia disorder) มักพบแพทย์ด้วยอาการ เข้านอนแล้วหลับยาก หลับแล้วตื่นบ่อย ตื่นเร็วกว่าปกติและไม่สามารถหลับต่อได้ กลางวันมีอาการง่วงเหงาหาวนอน อ่อนเพลียมาก ไม่สดชื่น ไม่มีเรี่ยวแรง และสมาธิลดลงอย่างมาก โดยอาการเกิดขึ้นต่อเนื่องอย่างน้อย 3 เดือน จนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน เช่น ทำให้เกิดบกพร่องในหน้าที่การงานหรือการเรียน
สาเหตุของการนอนไม่หลับ
อาการนอนไม่หลับอาจเป็นอาการจากปัญหาอื่น ๆ ทั้งปัญหาจากสิ่งแวดล้อมภายนอกหรือเกิดจากปัญหาภายในร่างกายและจิตใจของผู้นั้น สาเหตุของการนอนไม่หลับที่พบบ่อย ได้แก่...
>> ปัญหาจากสิ่งแวดล้อม
สภาพแวดล้อมขณะเข้านอนเป็นสิ่งหนึ่งที่มักทำให้นอนไม่หลับ เช่น ความสว่าง เสียงรบกวน อุณหภูมิ เป็นต้น
>>ปัญหาจากอาการทางร่างกาย
การเจ็บป่วยทางร่างกาย เช่น อาการปวดท้อง ปวดศีรษะ คันตามตัว หายใจขัด ปวดข้อ ปวดปัสสาวะบ่อย อาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการนอนไม่หลับได้ ซึ่งอาการต่าง ๆ เหล่านี้อาจเป็นอาการหนึ่งของโรคทางกาย อาทิเช่น โรคทางระบบประสาท โรคการนอนหลับที่สัมพันธ์กับการหายใจ โรคภูมิแพ้ เป็นต้น อาการและโรคเหล่านี้ล้วนมีผลกระทบกับการนอนทั้งสิ้น
>>ปัญหาด้านจิตใจ
ความเครียดจากการทำงาน ความวิตกกังวล หรือแม้แต่โรคทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์
สองขั้ว โรควิตกกังวล อาจเป็นสาเหตุของการนอนไม่หลับได้เช่นกัน
>>สาเหตุจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ถูกสุขลักษณะ
การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินไป การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การปล่อยให้หิวหรืออิ่ม
มากจนเกินไป พฤติกรรมการนอนที่ไม่เป็นเวลา นอนหลับกลางวันมากเกินไป ก่อให้เกิดปัญหาการนอนหลับได้
✦ ผลกระทบของการนอนไม่หลับ ✦
นอกจากโรคทางกายและโรคทางจิตใจจะเป็นสาเหตุหนึ่งของการนอนไม่หลับ ในทางกลับกันการนอนไม่หลับเองก็ย่อมมีผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจด้วยเช่นกัน รวมทั้งยังกระทบไปถึงการใช้ชีวิตประจำวันอีกด้วย
ผลกระทบของการนอนไม่หลับ ได้แก่
➤ มีอาการง่วงตอนกลางวัน
➤ สมาธิลดลง
➤ ความจำลดลง
➤ ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
➤ การร่วมกิจกรรมทางสังคมลดลง
➤ ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ความรู้สึก เช่น หงุดหงิด เบื่อหน่าย ท้อแท้ เป็นต้น
ผลกระทบเหล่านี้ หากเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานานอาจก่อให้เกิดเป็นโรคอื่น ๆ ตามมาได้ ทั้งโรคทาง
ร่างกาย และโรคทางจิตใจ
ดังนั้น หากท่านมีอาการนอนไม่หลับ และไม่สามารถกลับสู่การนอนหลับตามปกติได้ด้วยตัวเอง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก่อนที่ปัญหาการนอนจะมีผลกระทบในด้านอื่น ๆ ตามมา
การรักษาอาการนอนไม่หลับ
เนื่องจากอาการนอนไม่หลับอาจเป็นอาการของโรคอื่น ๆ ได้ ดังนั้นจึงต้องวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุของการนอนไม่หลับ และรักษาตามสาเหตุที่ค้นพบ หากอาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยมีสาเหตุมาจากโรคนอนไม่หลับโดยตรง มีวิธีการรักษาอยู่หลายวิธีด้วยกัน ดังนี้
1.ปรับพฤติกรรมการนอนให้ถูกสุขอนามัย
อาทิเช่น การเข้านอนให้ตรงเวลา การจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะแก่การนอนหลับ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่
มีส่วนผสมของคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์ เป็นต้น
2. เทคนิควิธีการผ่อนคลายความเครียด (Relaxation technique)
ผู้ที่นอนไม่หลับเรื้อรัง มักมีความวิตกกังวลสูง การเรียนรู้เรื่องวิธีการผ่อนคลายจะทำให้หลับได้ดีขึ้น
เทคนิคการผ่อนคลาย อาทิเช่น การผ่อนคลายด้วยฝึกการหายใจ เทคนิคการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น
3. การรักษาด้วยยา
เป้าหมายในการรักษาด้วยยา คือ เพื่อช่วยให้วงจรการนอนกลับสู่ภาวะปกติ การใช้ยาช่วยนอนอย่าง
ถูกวิธีจะช่วยให้การนอนกลับสู่วงจรปกติได้ดีขึ้น และเมื่อการนอนกลับสู่ภาวะปกติการใช้ยาช่วยนอนไม่ได้มีความจำเป็นอีกต่อไป
อย่างไรก็ตามการรักษาอาการนอนไม่หลับที่ดีที่สุดไม่ใช่วิธีการใดวิธีการหนึ่งเพียงอย่างเดียว แต่ควรใช้หลายวิธีควบคู่กันไปจะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เนื่องจากการนอนหลับเป็นกลไกเพื่อฟื้นฟูซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ รวมทั้งคงความสมดุลในการทำงานส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
ดังนั้นการนอนหลับจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้มนุษย์อยู่ในภาวะสมดุลของร่างกายและจิตใจ ไม่ควรปล่อยให้อาการนอนไม่หลับคงอยู่เป็นเวลานาน หากได้รับผลกระทบจากการนอนไม่หลับควรรีบปรึกษาแพทย์
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้บทความโดย : พญ.พรทิพย์ ศรีโสภิต โรงพยาบาลพระรามเก้า
ใครนอนไม่หลับ ฟังทางนี้! โรคนอนไม่หลับ (Insomnia disorder)
นอนหลับยาก
โรคนอนไม่หลับคืออะไร?
>> ปัญหาจากสิ่งแวดล้อม
สภาพแวดล้อมขณะเข้านอนเป็นสิ่งหนึ่งที่มักทำให้นอนไม่หลับ เช่น ความสว่าง เสียงรบกวน อุณหภูมิ เป็นต้น
>>ปัญหาจากอาการทางร่างกาย
การเจ็บป่วยทางร่างกาย เช่น อาการปวดท้อง ปวดศีรษะ คันตามตัว หายใจขัด ปวดข้อ ปวดปัสสาวะบ่อย อาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการนอนไม่หลับได้ ซึ่งอาการต่าง ๆ เหล่านี้อาจเป็นอาการหนึ่งของโรคทางกาย อาทิเช่น โรคทางระบบประสาท โรคการนอนหลับที่สัมพันธ์กับการหายใจ โรคภูมิแพ้ เป็นต้น อาการและโรคเหล่านี้ล้วนมีผลกระทบกับการนอนทั้งสิ้น
>>ปัญหาด้านจิตใจ
ความเครียดจากการทำงาน ความวิตกกังวล หรือแม้แต่โรคทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์
สองขั้ว โรควิตกกังวล อาจเป็นสาเหตุของการนอนไม่หลับได้เช่นกัน
>>สาเหตุจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ถูกสุขลักษณะ
การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินไป การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การปล่อยให้หิวหรืออิ่ม
มากจนเกินไป พฤติกรรมการนอนที่ไม่เป็นเวลา นอนหลับกลางวันมากเกินไป ก่อให้เกิดปัญหาการนอนหลับได้
✦ ผลกระทบของการนอนไม่หลับ ✦
นอกจากโรคทางกายและโรคทางจิตใจจะเป็นสาเหตุหนึ่งของการนอนไม่หลับ ในทางกลับกันการนอนไม่หลับเองก็ย่อมมีผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจด้วยเช่นกัน รวมทั้งยังกระทบไปถึงการใช้ชีวิตประจำวันอีกด้วย
ผลกระทบของการนอนไม่หลับ ได้แก่
➤ มีอาการง่วงตอนกลางวัน
➤ สมาธิลดลง
➤ ความจำลดลง
➤ ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
➤ การร่วมกิจกรรมทางสังคมลดลง
➤ ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ความรู้สึก เช่น หงุดหงิด เบื่อหน่าย ท้อแท้ เป็นต้น
ผลกระทบเหล่านี้ หากเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานานอาจก่อให้เกิดเป็นโรคอื่น ๆ ตามมาได้ ทั้งโรคทาง
ร่างกาย และโรคทางจิตใจ
ดังนั้น หากท่านมีอาการนอนไม่หลับ และไม่สามารถกลับสู่การนอนหลับตามปกติได้ด้วยตัวเอง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก่อนที่ปัญหาการนอนจะมีผลกระทบในด้านอื่น ๆ ตามมา
การรักษาอาการนอนไม่หลับ
1.ปรับพฤติกรรมการนอนให้ถูกสุขอนามัย
อาทิเช่น การเข้านอนให้ตรงเวลา การจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะแก่การนอนหลับ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่
มีส่วนผสมของคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์ เป็นต้น
2. เทคนิควิธีการผ่อนคลายความเครียด (Relaxation technique)
ผู้ที่นอนไม่หลับเรื้อรัง มักมีความวิตกกังวลสูง การเรียนรู้เรื่องวิธีการผ่อนคลายจะทำให้หลับได้ดีขึ้น
เทคนิคการผ่อนคลาย อาทิเช่น การผ่อนคลายด้วยฝึกการหายใจ เทคนิคการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น
3. การรักษาด้วยยา
เป้าหมายในการรักษาด้วยยา คือ เพื่อช่วยให้วงจรการนอนกลับสู่ภาวะปกติ การใช้ยาช่วยนอนอย่าง
ถูกวิธีจะช่วยให้การนอนกลับสู่วงจรปกติได้ดีขึ้น และเมื่อการนอนกลับสู่ภาวะปกติการใช้ยาช่วยนอนไม่ได้มีความจำเป็นอีกต่อไป
อย่างไรก็ตามการรักษาอาการนอนไม่หลับที่ดีที่สุดไม่ใช่วิธีการใดวิธีการหนึ่งเพียงอย่างเดียว แต่ควรใช้หลายวิธีควบคู่กันไปจะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เนื่องจากการนอนหลับเป็นกลไกเพื่อฟื้นฟูซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ รวมทั้งคงความสมดุลในการทำงานส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
ดังนั้นการนอนหลับจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้มนุษย์อยู่ในภาวะสมดุลของร่างกายและจิตใจ ไม่ควรปล่อยให้อาการนอนไม่หลับคงอยู่เป็นเวลานาน หากได้รับผลกระทบจากการนอนไม่หลับควรรีบปรึกษาแพทย์
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้