เสียงระฆังย่ำห่าง ถี่ขึ้น ดังชัดมาจากวัดตลิ่งชัน ‘ตี ๕ แล้วสินะ’ จันนวลตื่นแต่ย่ำรุ่งเสมอมา ไม่ว่าจะที่เยอรมนี ฝรั่งเศส ไทย ด้วยติดนิสัย ‘ตื่นสายหยิบจับอะไรไม่ถูก’ เธอบอกไฮน์ริชอย่างนี้เสมอ และไฮน์ริชก็ไม่เคยเข้าใจว่าทำไมจันนวลต้องตื่นเช้าขนาดนั้น
ผลักหน้าต่างบานกระทุ้งออกไป แสงโคมส่องปากคลองซอยฝั่งตรงข้ามยังส่องสว่าง แนวไม้ร่มครึ้มฝั่งบ้านท่านขุนบริรักษ์ บังเรือนปั้นหยาสวยงามเสียสิ้น แต่ก็เป็นส่วนตัวดี ‘โอย ขโมยขโจรที่ไหนมันจะกล้าขึ้นบ้านท่านขุนฯ ผีดุออกจะตาย ผีก็ดุ หมาก็ดุ’ ยายอ่อนผู้ประสบมากับตัวยังเอ่ยเมื่อวันก่อน
“จริงๆ นะคะ ตอนนั้นคุณหนูยังเล็ก ท่านขุนฯ เพิ่งเสียไปได้ไม่นาน สมัยก่อนท่านมักเอามะพร้าวมาฝากขายบ้านเรา มะพร้าวฝั่งนั้น เนื้อดี ขูดเนื้อแกงอร่อย” ยายอ่อนว่า
จันนวลมักจะมองเลยเข้าไปในคลองซอย สงสัยอยู่ในทีว่าจะไปออกที่ไหน เดียวนี้ ถนนหนทางตัดซ้อนทับกันไปหมด
“สมัยก่อน ไปได้ถึงวัดไชยทิศเลยครับคุณหนู เดี๋ยวนี้ตื้นเขินหมดแล้ว เข้าไปได้หน่อยก็ติดหมู่บ้าน สมัยก่อนพ่อกระผมเคยพายเรือพาคุณหนูไปเก็บกะท้อนในสวนฝั่งนั้น จำได้ไหมครับ” นายศุขฟื้นความจำเมื่อวันก่อน
‘จริงสินะ ตาชดเคยพายเรือพาจันนวลและพี่ๆ ไปเที่ยวเล่นเก็บกะท้อน กล้วย หรือแม้แต่ทุเรียน’
กลิ่นเตาฟืนโชยล้อลมมา ยายอ่อนคงติดเตาต้มน้ำอย่างเคย
‘เข้าปลายฝน สงสารหมาแมวค่ะ อากาศค่ำ น้ำค้างจัด เย็นชื้น ให้พวกมันซุกใกล้ได้ไออุ่น น้ำต้มไว้ก็ได้กิน’
เสียงโทรศัพท์ดังขึ้นแต่เช้า จันนวลยิ้มเมื่อเห็นชื่อ
“Bonjour Madame” เสียงปลายสาย ไม่ใช่ใครอื่น นัยน์ สหายหนุ่มใหญ่
จันนวลเอ่ยทักทายอารมณ์ดี
“นวล สนไหม เราจะพานักศึกษาโบราณคดีและจิตรกรรมขึ้นเมืองเหนือ เมืองเหนือ แบบ Upper Siam นะ จะพาไปดูงานศิลปะที่อุทยานศรีสัชนาลัย นั่งรถไฟไปสวรรคโลก บ้านนวลไงล่ะ”
จันนวลตื่นเต้นยิ่งกว่านักศึกษาเสียอีก
“อะไรนะ รถไฟเหรอ โอยกี่ชั่วโมงถึงอะ ถึงสวรรคโลกเลยหรือ ตื่นเต้นจัง”
“ราว ๗ ชั่วโมงน่ะ นวล มันมีจอดด้วยไง เราจะจองเหมาตู้เลยนะ เขามีบริการลากตู้เพิ่มด้วยนะ” นัยน์พยายามชักชวนล่อใจ
“เอาสิ น่าสนุกนะ ฟังนัยน์บรรยายไปตลอดทางก็สนุกแล้ว”
แสงเช้าสาดทาบสถานีรถไฟหัวลำโพง ‘Hauptbahnhof’ สถานีรถไฟกลางประจำเมืองช่างงามสง่า คลุ้ายสถานีรถไฟเมือง Frankfurt
“พี่ศุขจอดข้างๆ สถานีก็ได้คะ นวลเดินเข้าไปเอง” นายศุขคนรถมองหาที่จอดรถ
“เดี๋ยวผมเดินไปด้วยดีกว่า มีคนเดินเกะกะ ปะปนกัน คุณหนูจะไม่คุ้น”
ความจน ความรวยอยู่ซ้อนกันแค่พื้นกั้น ด้านล่างเป็นระบบรถไฟใต้ดินทันสมัย ที่คนจนก้าวลงไปไม่ถึง ด้านบนเป็นระบบรถไฟบนดิน เร็วบ้าง ช้าบ้างตามกำลัง และผู้มีอันจะกินไม่คิดจะขึ้น ชาวบ้านในเสื้อเก่าคร่ำคร่า บ้างนั่ง บ้างนอน บนม้านั่งไม้ ใบหน้าคร้ามแดด สายตาเป็นมิตร ไม่เมินเฉย
“รถไฟเที่ยวกี่โมงครับ” นายศุขเอ่ยถาม
“เห็น นัยน์ว่า ๑๐ โมงกว่าค่ะ พี่ศุข อ้าวนั่น ค่ะ นัยน์อยู่นั่น”
นายศุขลากลับเมื่อจันนวลพบนัยน์แล้ว
ร่างสูงโปร่ง เกล้ามวยต่ำหลวม สวมเสื้อป่านเขียวตอง รับกับกางเกงยาวสีกากี จันนวลดูทมัดแทมง ยิ่งสวมหมวกปีก ยิ่งทำให้ดูระหงแปลกตา ต่างจากหญิงไทยทั่วไป นัยน์โบกมือทักทาย เมื่อเห็นจันนวล
“ถึงก่อนเวลา เธอนี่เลือดเยอรมันแรง” นัยน์แซว ทว่ากลับสอึกไป กลัวว่าจะไปสะกิดแผลเรื่องไฮน์ริชซึ่งเสียชีวิตไปด้วยอุบัติเหตุแข่งรถ
“จันนวล ‘รู้’ กลัวนัยน์จะเสียหน้า จึงหัวเราะรับ ยิ่งทำให้เธอดูอ่อนวัยลงกว่าเดิม
“นี่ นวล มาทางนี้ ผมจะพาเดินดูของสวยของงาม” นัยน์เอ่ย
“มีอะไรน่าดู คนนอนบนเก้าอี้ ลังกระดาษ ถุงสีรุ้งนี่นะ” นวลเอ่ยแซว
“เฮ้ย มีอะไรน่าดูกว่านั้น”
จันนวลเดินเคียงนัยน์ไปทางหน้าสถานี ชี้ให้ดูอาคารฝรั่งเก่าคร่ำ รับกับโค้งถนน
“นวลเห็นไหม คนสมัยก่อนมีรสนิยมเป็นเลิศ สร้างตึกรามบ้านช่องให้รับกับสถานี โค้งนี่เป็นชุมทางเลยนะนวล สมัยก่อนตลอด ถนนพระราม ๔ นี่เป็นทางรถไฟสายปากน้ำ เลยนะ สร้างก่อนรถไฟสายเหนือที่เรากำลังจะไปอีกนะ
เล่ากันว่า พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ท่านเสด็จฯ รถไฟสายนี้ไปปากน้ำบ่อย ช่วงก่อนเกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒” นัยน์เล่า
นัยน์ดูดื่มด่ำเรื่องราวในอดีต “เพราะ เรื่อง ร.ศ. ๑๑๒ นี่ล่ะ ทำให้สยามตอนนั้น ต้องเร่งสร้างทางรถไฟ ไม่อย่างนั้น โดนฝรั่งงาบไม่เหลือ”
“ถัดจาก ถนนพระราม ๔ ด้านหลังตึกแถว ฝั่งนั้นเป็นคลองหัวลำโพง ผ่านคลองเตย ไปออกแม่น้ำเจ้าพระยาอีกด้านได้ สมัยก่อน รถไฟ เรือ เป็นหัวใจการขนส่งเดินทางเลย” นัยน์เล่าด้วยน้ำเสียงชื่นชม
อนุสาวรีย์ช้าง ๓ เศียร ขนาดไม่ใหญ่นัก ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ตรงหน้าจันนวล น้ำพุรอบฐานพุ่งเข้า ดูคล้ายน้ำดื่มบนถนนต่างๆ ในปารีส โลซานน์ ซูริก
“นี่อนุสาวรีย์ตราแผ่นดินสมัยรัชกาลที่ ๕ คงสร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์แด่พระองค์ท่าน ทรงเอาจริงเอาจังมากเรื่องกิจการรถไฟ สร้างเป็นท่อน้ำประปาให้ประชาชนในสมัยสักประมาณ รัชกาลที่ ๖ ได้มีน้ำสะอาดใช้ ไม่ไปกินใช้นำ้คลอง สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ หน้าสถานีนี่เป็นหลุมหลบภัยด้วยนะ แข็งแรงใช้ได้ทีเดียว” นัยน์เล่าเพลิน
“เธอนี่ช่างรู้ช่างเล่านะ นัยน์” จันนวลเอ่ย ขณะเดินกลับเข้าตัวสถานี เมื่อเดินเข้าใกล้ถึงทางเข้า จึงสะดุดเข้ากับภาพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เด่นเป็นสง่าเหนือโค้งประตู
‘หากแผ่นดินนี้ไม่มีท่าน จะเป็นอย่างไรนะ’ จันนวลคิดพลาง
บรรดานักศึกษาโบราณคดีและมัณฑณศิลป์ทยอยมากันครบ ๒๕ คน นัยน์แนะนำให้ทุกคนรู้จักจันนวล สักพักเจ้าหน้าที่การรถไฟจึงนำไปยังขบวนรถไฟ ตู้พิเศษ
“เอาล่ะ นี่เป็นขบวนรถไฟสายเหนือ ที่ไม่ได้ไปเชียงใหม่ เอ คงต้องเรียกว่า สายเมืองเหนือสินะ ชื่อ สายกรุงเทพ สวรรคโลก ศิลาอาสน์ จุดหมายของเรา คือ สวรรคโลก นะพวกเรา !
จันนวลรู้สึกผ่อนคลาย สบายทุกครั้งเมื่อได้นั่งรถไฟ ไม่ว่าจะที่ไหนๆ ในยุโรป ผู้คนมักจะเดินทางด้วยรถไฟเป็นส่วนมาก ในไทย รถไฟทำให้จันนวลคิดถึง แม่ แม่หอม ที่มักจะนั่งปักผ้าในขบวนรถไฟ พร้อมตะกร้าของกินใบใหญ่ จันนวลมักจะนั่งพิงแม่จนหลับไป เมื่อต้องนั่งรถไฟไปหาพ่อ ที่รับราชการที่พิษณุโลก
รถไฟสปรินเตอร์แล่นด้วยความเร็วพอตัว ผ่านทุ่งนาเขียวสุดตา ‘ทรัพย์ในดินสินในน้ำ’ อย่างที่พ่อเคยพูดเสมอ ‘บ้านเมืองเรา อยากปลูกอะไรก็โยนเม็ดลงไปบินดิน เดี๋ยวก็งอก’
นัยน์คุยกับนักศึกษาเพลิน ตอบคำถามต่างๆ ดูไม่เหน็ดเหนื่อย
“เอาล่ะ เด็กๆ เรากำลังจะถึง สถานีสำคัญ ใครรู้บ้างว่าสถานีอะไร” นัยน์ถาม
เสียงนักศึกษา แย่งกันตอบ ถูกบ้างผิดบ้าง เสียงหนึ่งดังขึ้น “บ้านภาชี”
“ถูกต้อง ทำไมถึงรู้จัก” นัยน์ถามต่อ
“ทางผ่านบ้านครับ บ้านผมอยู่อุดร ผ่านสถานีนี้ทุกครั้งที่นั่งรถไฟกลับบ้าน”
“แหม เจอตัวจริง สถานีบ้านภาชีนี้เป็น ชุมทางรถไฟใหญ่ทีเดียวในสมัยก่อน สายหนึ่งแยกไป อิสาน ส่วนอีกสายขึ้นไปทางเหนือ สุดทางที่เชียงใหม่ ๒ สายนี้เป็นหัวใจการเดินรถไฟเลยทีเดียว”
นัยน์เล่นถาม-ตอบกับนักศึกษากันเพลิน
“เบื่อไหมนวล” นัยน์เอ่ยถามขณะรถไฟแล่นขึ้นเหนือไปเรื่อย ผ่านกลางเมืองจังหวัดต่างๆ ที่น่าตื่นตาตื่นใจคือ พระปรางค์สามยอด ลพบุรี
“งามจริง ปราสาทเขมร” จันนวลเอ่ยขึ้น
“ไม่เบื่อ ฉันนั่งรถไฟแต่เด็ก สมัยก่อนแม่พาขึ้นไปเยี่ยมพ่อที่พิษณุโลกบ่อยๆ อยู่ในยุโรป ก็นั่งจนปรุแล้ว” จันนวล
“เธอนี่ ยังหลงใหลศิลปะเขมรไม่เปลี่ยนเลยนะ” นัยน์เอ่ย
“นั่นสินะ ไม่รู้ทำไม ฉันว่าปราสาทเขมรดูสง่า แต่ของไทยเราดูอ่อนหวาน”
“ก็จริงอย่างเธอว่า ไม่อย่างนั้นจะยิ่งใหญ่มาเป็นพันปีเหรอ อีกสักพักก็จะถึงนครสวรรค์ละ ปากน้ำโพ ชุมแสง” นัยน์ว่า
ใจของจันนวลอยากจะหยิบบันทึกของพระยาสววรครักษราชโยธาขึ้นมาอ่าน แต่ก็ยังไม่อยากให้นัยน์เห็น บันทึกเก่ามาก ต้องมือเบา อีว่าเป็นกระดาษยุโรปโบราณ สีหมึกยังไม่ซีดมากนัก
จันนวลพักสายตาจากการอ่านวรรณกรรมเล่มเล็กที่ติดกระเป๋าไว้ ไพล่ไปสนใจชื่อสถานีต่างๆ การเดินทางคราวนี้ ทับกฤช คลองปลากด ชุมแสง บางมูลนาก ตะพานหิน วังกรด พิจิตร ฯลฯ
เผลอหลับไปเมื่อไรไม่รู้ เสียงนัยน์ดังแว่ว
“เอาล่ะ เด็กๆ ใกล้ถึงแล้วนะครับ เราอยู่พิษณุโลกแล้ว สักพัก อย่าตกใจไปหากได้ยินเสียงดัง หึ่งๆ นั่นคือ เรากำลัง ข้ามสะพานปรมินทร์ สะพานโครงเหล็กที่ทันสมัยมาก เมื่อ ๑๐๐ กว่าปีที่แล้วสมัยนั้นชาวบ้านตื่นเต้นกันมาก ใครรู้บ้างครับว่า สถานีที่อยู่ตรงสะพานปรมินทร์ชื่ออะไร
เงียบไม่มีเสียงตอบ !
จันนวลเองก็ไม่เคยนั่งรถไฟเลยพิษณุโลกสักครั้ง นับว่าคราวนี้เป็นครั้งแรก
“สถานี ชุมทางบ้านดารา การข้ามแม่น้ำน่านบริเวณนี้ ถือว่าสำคัญมาก เพราะหมายความว่าเรากำลังขึ้นสูงไปเรื่อยๆ โดยมีเป้าหมายอยู่ที่เชียงใหม่ เด็กๆ ลองคิดสิครับว่า ดารา หมายถึงอะไร”นัยน์ถามนักศึกษา
เงียบ!
“ดารารัศมี ครับ ฝ่าพระบาทนายหลวงรัชกาลที่ ๕ ทรงตั้งชื่อสถานีนี้เป็นเกียรติแด่ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี แห่งเชียงใหม่ จากสถานีนี้ รถไฟขบวนที่เรานั่งอยู่นี้จะเลี้ยวไปทางซ้าย ปลายทางสวรรคโลก ที่พวกเราจะลงกันที่นั่น จากนั้นจะวิ่งกลับไปยังบ้านดาราตามเส้นทางเดิม แล้ววิ่งขึ้นไปสถานีปลายทาง ศิลาอาสน์ แล้วกลับกรุงเทพทันที” นักศึกษาคนหนึ่งตอบขึ้น
เสียงคนตะโกนแย่งกันถามจุดหมายปลายทางต่างๆ “วังไม้ขอน คุ้งวารี ตลาดเทศบาล” พร้อมยานพาหนะคู่ใจ สามล้อเบาะหน้า เมื่อคุยราคากันได้ ก็ตกลงไปกัน พักเดียวสถานีรถไฟสวรรคโลกก็ร้างคน มีก็แต่ชาวบ้านละแวกนั้น จูงลูกหลานมาเดินเล่นรับลม
ร่างสูงใหญ่ แต่งตัวดูทะมัดทะแมง เสื้อเชิ้ตพับแขนกลางเก่ากลางใหญ่ กางเกงยีนส์ตัวเก่งซีดจางยืนรอรับคณะของนัยน์
“นั่น เพื่อนครูเอง เสือสวรรคโลก เด็กๆ สวัสดีคุณ กรัน” นัยน์เอ่ยแซว
กรันรับไหว้ ทั้งหัวเราะรับคำแซวของเพื่อน แล้วหันมาทางจันนวล
“ผมชวนน้ามั่นมารับคุณด้วย”
นายมั่นรับกระเป๋าจากจันนวลไป จันนวลจึงนึกได้ว่าลืมบอกคนที่บ้านว่าจะมาสวรรคโลก
“ขอบคุณคะ ลืมเสียสนิทเลย”
ชั่ววินาทีขณะจันนวลเบือนหน้าไป กรันเห็นภาพซ้อนอีกครั้ง หญิงเกล้ามวยต่ำปักปิ่นเงิน คนเดียวกับที่เห็นในโบสถ์พราหมณ์
ทั้งหมดไปพักที่บ้านกรัน
“นวล จะออกมาหาอะไรกินตอนค่ำด้วยกันไหม ไอ้กรันมันบอกซอย 8 มีของกินเยอะแยะ ค่ำๆ” นัยน์เอ่ยชวน
“ไม่ล่ะ ฉันไม่กินเย็น ขอพักยืดขาหน่อย นั่งรถไฟมานานเหลือเกิน” จันนวลเอ่ยขอตัว เมื่อเห็นสายตาที่คอยมองมา ทำให้จันนวลรู้สึกประหม่าอยู่บ้าง
แม่ลำพากับบรรดาลูกหลานตัวเล็กตัวน้อย มายืนรอรับยิ้มแย้ม
“เหนื่อยไหมคะ คุณหนู นึกยังไงกันคะนี่ นั่งรถไฟกันมาคะนี่” แม่ลำพาถาม
“นัยน์ค่ะ เพื่อนสมัยเรียน รับราชการกรมศิลปากร พานักศึกษาลงพื้นที่ เลยตามเขาขึ้นมาเที่ยว ตื่นเต้นดี ไม่ได้นั่งรถไฟนานมากแล้วค่ะ แม่ลำพา สมัยก่อนก็นั่งไปหาคุณพ่อบ่อยๆ แต่ก็ขึ้นมาแค่ พิษณุโลก จำไม่ได้ว่าวกเข้ามาบ้านเราด้วย” จันนวลตอบ ชวนคุย
“คุณหนูจะทานอะไรหน่อยไหมคะ เดี๋ยวป้าเตรียมให้ มียำตะไคร้นะคะ ไม่อ้วนคะ ทานพอแก้หิว”
“ก็ดีนะคะ ฟังน่ากินทีเดียว ไม่เคยเห็นว่าเอาตะไคร้มายำได้” จันนวลรับคำ
ยำตะไคร้ ดูแล้วอยากจะเรียกว่า ยำกุ้งเสียมากกว่า ดูตัวโตบังตะไคร้เสียหมด แม่ลำพายังจำได้ดีว่าจันนวลไม่ทานผักสด เพราะเหม็นกลิ่นเขียว ถั่วฝักยาวหั่นแฉลบบางแบบนี้ คือ ฝีมือคุณหอมนวล ที่ถ่ายทอดให้คนในบ้าน ซึ่งก็รับมาจาก คุณท่าน หรือคุณหญิงเดชาสวรรคโยธิน วาด อีกชั้นหนึ่ง
“กุ้งตัวโตจังคะ สดอีกต่างหาก กุ้งแม่น้ำหรือคะ แต่รสไม่ใช่” จันนวลเอ่ยทัก
“กุ้งน้ำเค็มค่ะ มาทางเมืองตากนู่นค่ะ เห็นว่าข้ามจากทางฝั่งพม่า ไม่แพงด้วย กุ้งทางเมืองมอญตัวใหญ่ค่ะ คุณหนู” แม่ลำพาตอบ
รสยำกลมกล่อม หอมตะไคร้ หอมเจียว ใบคะน้าฝอยขมออกฝาด ตัดรสกับพริกทอด พริกสด หวานแปล่มด้วยน้ำตาลอ้อย เค็มด้วยปลาเนื้ออ่อนแห้ง
‘ตำรับแม่ แม่ไม่ค่อยใช้เครื่องปรุง แต่ใช้รสจากส่วนผสมต่างๆ ให้ตัดรสกัน’
เสียงดังเฮฮามาจากทางบ้านกรัน นี่คงมีดื่มกันแน่ๆ พลางมองไปทางตึกใหญ่ เรือนท่านเจ้าคุณสรวง พระยาสวรรครักษราชโยธา ความคิดหนึ่งผุดขึ้น
‘เราจะรักษาเรือนนี้ไว้ได้นานสักเท่าไร จะดูแลก็คงจะเกินสติปัญญา จะขายเอาตัวรอด แจกเงินให้ไปตั้งตัวกันเอง อาจจะพอช่วยได้สักระยะ ความเจริญ เทคโนโลยีรุกคืบเข้ามาทุกที’
จันนวลชอบ “ตักน้ำอาบ” มากกว่าใช้ฝัก
ตอนที่ ๘ รถไฟสายเมืองเหนือ
ผลักหน้าต่างบานกระทุ้งออกไป แสงโคมส่องปากคลองซอยฝั่งตรงข้ามยังส่องสว่าง แนวไม้ร่มครึ้มฝั่งบ้านท่านขุนบริรักษ์ บังเรือนปั้นหยาสวยงามเสียสิ้น แต่ก็เป็นส่วนตัวดี ‘โอย ขโมยขโจรที่ไหนมันจะกล้าขึ้นบ้านท่านขุนฯ ผีดุออกจะตาย ผีก็ดุ หมาก็ดุ’ ยายอ่อนผู้ประสบมากับตัวยังเอ่ยเมื่อวันก่อน
“จริงๆ นะคะ ตอนนั้นคุณหนูยังเล็ก ท่านขุนฯ เพิ่งเสียไปได้ไม่นาน สมัยก่อนท่านมักเอามะพร้าวมาฝากขายบ้านเรา มะพร้าวฝั่งนั้น เนื้อดี ขูดเนื้อแกงอร่อย” ยายอ่อนว่า
จันนวลมักจะมองเลยเข้าไปในคลองซอย สงสัยอยู่ในทีว่าจะไปออกที่ไหน เดียวนี้ ถนนหนทางตัดซ้อนทับกันไปหมด
“สมัยก่อน ไปได้ถึงวัดไชยทิศเลยครับคุณหนู เดี๋ยวนี้ตื้นเขินหมดแล้ว เข้าไปได้หน่อยก็ติดหมู่บ้าน สมัยก่อนพ่อกระผมเคยพายเรือพาคุณหนูไปเก็บกะท้อนในสวนฝั่งนั้น จำได้ไหมครับ” นายศุขฟื้นความจำเมื่อวันก่อน
‘จริงสินะ ตาชดเคยพายเรือพาจันนวลและพี่ๆ ไปเที่ยวเล่นเก็บกะท้อน กล้วย หรือแม้แต่ทุเรียน’
กลิ่นเตาฟืนโชยล้อลมมา ยายอ่อนคงติดเตาต้มน้ำอย่างเคย
‘เข้าปลายฝน สงสารหมาแมวค่ะ อากาศค่ำ น้ำค้างจัด เย็นชื้น ให้พวกมันซุกใกล้ได้ไออุ่น น้ำต้มไว้ก็ได้กิน’
เสียงโทรศัพท์ดังขึ้นแต่เช้า จันนวลยิ้มเมื่อเห็นชื่อ
“Bonjour Madame” เสียงปลายสาย ไม่ใช่ใครอื่น นัยน์ สหายหนุ่มใหญ่
จันนวลเอ่ยทักทายอารมณ์ดี
“นวล สนไหม เราจะพานักศึกษาโบราณคดีและจิตรกรรมขึ้นเมืองเหนือ เมืองเหนือ แบบ Upper Siam นะ จะพาไปดูงานศิลปะที่อุทยานศรีสัชนาลัย นั่งรถไฟไปสวรรคโลก บ้านนวลไงล่ะ”
จันนวลตื่นเต้นยิ่งกว่านักศึกษาเสียอีก
“อะไรนะ รถไฟเหรอ โอยกี่ชั่วโมงถึงอะ ถึงสวรรคโลกเลยหรือ ตื่นเต้นจัง”
“ราว ๗ ชั่วโมงน่ะ นวล มันมีจอดด้วยไง เราจะจองเหมาตู้เลยนะ เขามีบริการลากตู้เพิ่มด้วยนะ” นัยน์พยายามชักชวนล่อใจ
“เอาสิ น่าสนุกนะ ฟังนัยน์บรรยายไปตลอดทางก็สนุกแล้ว”
แสงเช้าสาดทาบสถานีรถไฟหัวลำโพง ‘Hauptbahnhof’ สถานีรถไฟกลางประจำเมืองช่างงามสง่า คลุ้ายสถานีรถไฟเมือง Frankfurt
“พี่ศุขจอดข้างๆ สถานีก็ได้คะ นวลเดินเข้าไปเอง” นายศุขคนรถมองหาที่จอดรถ
“เดี๋ยวผมเดินไปด้วยดีกว่า มีคนเดินเกะกะ ปะปนกัน คุณหนูจะไม่คุ้น”
ความจน ความรวยอยู่ซ้อนกันแค่พื้นกั้น ด้านล่างเป็นระบบรถไฟใต้ดินทันสมัย ที่คนจนก้าวลงไปไม่ถึง ด้านบนเป็นระบบรถไฟบนดิน เร็วบ้าง ช้าบ้างตามกำลัง และผู้มีอันจะกินไม่คิดจะขึ้น ชาวบ้านในเสื้อเก่าคร่ำคร่า บ้างนั่ง บ้างนอน บนม้านั่งไม้ ใบหน้าคร้ามแดด สายตาเป็นมิตร ไม่เมินเฉย
“รถไฟเที่ยวกี่โมงครับ” นายศุขเอ่ยถาม
“เห็น นัยน์ว่า ๑๐ โมงกว่าค่ะ พี่ศุข อ้าวนั่น ค่ะ นัยน์อยู่นั่น”
นายศุขลากลับเมื่อจันนวลพบนัยน์แล้ว
ร่างสูงโปร่ง เกล้ามวยต่ำหลวม สวมเสื้อป่านเขียวตอง รับกับกางเกงยาวสีกากี จันนวลดูทมัดแทมง ยิ่งสวมหมวกปีก ยิ่งทำให้ดูระหงแปลกตา ต่างจากหญิงไทยทั่วไป นัยน์โบกมือทักทาย เมื่อเห็นจันนวล
“ถึงก่อนเวลา เธอนี่เลือดเยอรมันแรง” นัยน์แซว ทว่ากลับสอึกไป กลัวว่าจะไปสะกิดแผลเรื่องไฮน์ริชซึ่งเสียชีวิตไปด้วยอุบัติเหตุแข่งรถ
“จันนวล ‘รู้’ กลัวนัยน์จะเสียหน้า จึงหัวเราะรับ ยิ่งทำให้เธอดูอ่อนวัยลงกว่าเดิม
“นี่ นวล มาทางนี้ ผมจะพาเดินดูของสวยของงาม” นัยน์เอ่ย
“มีอะไรน่าดู คนนอนบนเก้าอี้ ลังกระดาษ ถุงสีรุ้งนี่นะ” นวลเอ่ยแซว
“เฮ้ย มีอะไรน่าดูกว่านั้น”
จันนวลเดินเคียงนัยน์ไปทางหน้าสถานี ชี้ให้ดูอาคารฝรั่งเก่าคร่ำ รับกับโค้งถนน
“นวลเห็นไหม คนสมัยก่อนมีรสนิยมเป็นเลิศ สร้างตึกรามบ้านช่องให้รับกับสถานี โค้งนี่เป็นชุมทางเลยนะนวล สมัยก่อนตลอด ถนนพระราม ๔ นี่เป็นทางรถไฟสายปากน้ำ เลยนะ สร้างก่อนรถไฟสายเหนือที่เรากำลังจะไปอีกนะ
เล่ากันว่า พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ท่านเสด็จฯ รถไฟสายนี้ไปปากน้ำบ่อย ช่วงก่อนเกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒” นัยน์เล่า
นัยน์ดูดื่มด่ำเรื่องราวในอดีต “เพราะ เรื่อง ร.ศ. ๑๑๒ นี่ล่ะ ทำให้สยามตอนนั้น ต้องเร่งสร้างทางรถไฟ ไม่อย่างนั้น โดนฝรั่งงาบไม่เหลือ”
“ถัดจาก ถนนพระราม ๔ ด้านหลังตึกแถว ฝั่งนั้นเป็นคลองหัวลำโพง ผ่านคลองเตย ไปออกแม่น้ำเจ้าพระยาอีกด้านได้ สมัยก่อน รถไฟ เรือ เป็นหัวใจการขนส่งเดินทางเลย” นัยน์เล่าด้วยน้ำเสียงชื่นชม
อนุสาวรีย์ช้าง ๓ เศียร ขนาดไม่ใหญ่นัก ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ตรงหน้าจันนวล น้ำพุรอบฐานพุ่งเข้า ดูคล้ายน้ำดื่มบนถนนต่างๆ ในปารีส โลซานน์ ซูริก
“นี่อนุสาวรีย์ตราแผ่นดินสมัยรัชกาลที่ ๕ คงสร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์แด่พระองค์ท่าน ทรงเอาจริงเอาจังมากเรื่องกิจการรถไฟ สร้างเป็นท่อน้ำประปาให้ประชาชนในสมัยสักประมาณ รัชกาลที่ ๖ ได้มีน้ำสะอาดใช้ ไม่ไปกินใช้นำ้คลอง สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ หน้าสถานีนี่เป็นหลุมหลบภัยด้วยนะ แข็งแรงใช้ได้ทีเดียว” นัยน์เล่าเพลิน
“เธอนี่ช่างรู้ช่างเล่านะ นัยน์” จันนวลเอ่ย ขณะเดินกลับเข้าตัวสถานี เมื่อเดินเข้าใกล้ถึงทางเข้า จึงสะดุดเข้ากับภาพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เด่นเป็นสง่าเหนือโค้งประตู
‘หากแผ่นดินนี้ไม่มีท่าน จะเป็นอย่างไรนะ’ จันนวลคิดพลาง
บรรดานักศึกษาโบราณคดีและมัณฑณศิลป์ทยอยมากันครบ ๒๕ คน นัยน์แนะนำให้ทุกคนรู้จักจันนวล สักพักเจ้าหน้าที่การรถไฟจึงนำไปยังขบวนรถไฟ ตู้พิเศษ
“เอาล่ะ นี่เป็นขบวนรถไฟสายเหนือ ที่ไม่ได้ไปเชียงใหม่ เอ คงต้องเรียกว่า สายเมืองเหนือสินะ ชื่อ สายกรุงเทพ สวรรคโลก ศิลาอาสน์ จุดหมายของเรา คือ สวรรคโลก นะพวกเรา !
จันนวลรู้สึกผ่อนคลาย สบายทุกครั้งเมื่อได้นั่งรถไฟ ไม่ว่าจะที่ไหนๆ ในยุโรป ผู้คนมักจะเดินทางด้วยรถไฟเป็นส่วนมาก ในไทย รถไฟทำให้จันนวลคิดถึง แม่ แม่หอม ที่มักจะนั่งปักผ้าในขบวนรถไฟ พร้อมตะกร้าของกินใบใหญ่ จันนวลมักจะนั่งพิงแม่จนหลับไป เมื่อต้องนั่งรถไฟไปหาพ่อ ที่รับราชการที่พิษณุโลก
รถไฟสปรินเตอร์แล่นด้วยความเร็วพอตัว ผ่านทุ่งนาเขียวสุดตา ‘ทรัพย์ในดินสินในน้ำ’ อย่างที่พ่อเคยพูดเสมอ ‘บ้านเมืองเรา อยากปลูกอะไรก็โยนเม็ดลงไปบินดิน เดี๋ยวก็งอก’
นัยน์คุยกับนักศึกษาเพลิน ตอบคำถามต่างๆ ดูไม่เหน็ดเหนื่อย
“เอาล่ะ เด็กๆ เรากำลังจะถึง สถานีสำคัญ ใครรู้บ้างว่าสถานีอะไร” นัยน์ถาม
เสียงนักศึกษา แย่งกันตอบ ถูกบ้างผิดบ้าง เสียงหนึ่งดังขึ้น “บ้านภาชี”
“ถูกต้อง ทำไมถึงรู้จัก” นัยน์ถามต่อ
“ทางผ่านบ้านครับ บ้านผมอยู่อุดร ผ่านสถานีนี้ทุกครั้งที่นั่งรถไฟกลับบ้าน”
“แหม เจอตัวจริง สถานีบ้านภาชีนี้เป็น ชุมทางรถไฟใหญ่ทีเดียวในสมัยก่อน สายหนึ่งแยกไป อิสาน ส่วนอีกสายขึ้นไปทางเหนือ สุดทางที่เชียงใหม่ ๒ สายนี้เป็นหัวใจการเดินรถไฟเลยทีเดียว”
นัยน์เล่นถาม-ตอบกับนักศึกษากันเพลิน
“เบื่อไหมนวล” นัยน์เอ่ยถามขณะรถไฟแล่นขึ้นเหนือไปเรื่อย ผ่านกลางเมืองจังหวัดต่างๆ ที่น่าตื่นตาตื่นใจคือ พระปรางค์สามยอด ลพบุรี
“งามจริง ปราสาทเขมร” จันนวลเอ่ยขึ้น
“ไม่เบื่อ ฉันนั่งรถไฟแต่เด็ก สมัยก่อนแม่พาขึ้นไปเยี่ยมพ่อที่พิษณุโลกบ่อยๆ อยู่ในยุโรป ก็นั่งจนปรุแล้ว” จันนวล
“เธอนี่ ยังหลงใหลศิลปะเขมรไม่เปลี่ยนเลยนะ” นัยน์เอ่ย
“นั่นสินะ ไม่รู้ทำไม ฉันว่าปราสาทเขมรดูสง่า แต่ของไทยเราดูอ่อนหวาน”
“ก็จริงอย่างเธอว่า ไม่อย่างนั้นจะยิ่งใหญ่มาเป็นพันปีเหรอ อีกสักพักก็จะถึงนครสวรรค์ละ ปากน้ำโพ ชุมแสง” นัยน์ว่า
ใจของจันนวลอยากจะหยิบบันทึกของพระยาสววรครักษราชโยธาขึ้นมาอ่าน แต่ก็ยังไม่อยากให้นัยน์เห็น บันทึกเก่ามาก ต้องมือเบา อีว่าเป็นกระดาษยุโรปโบราณ สีหมึกยังไม่ซีดมากนัก
จันนวลพักสายตาจากการอ่านวรรณกรรมเล่มเล็กที่ติดกระเป๋าไว้ ไพล่ไปสนใจชื่อสถานีต่างๆ การเดินทางคราวนี้ ทับกฤช คลองปลากด ชุมแสง บางมูลนาก ตะพานหิน วังกรด พิจิตร ฯลฯ
เผลอหลับไปเมื่อไรไม่รู้ เสียงนัยน์ดังแว่ว
“เอาล่ะ เด็กๆ ใกล้ถึงแล้วนะครับ เราอยู่พิษณุโลกแล้ว สักพัก อย่าตกใจไปหากได้ยินเสียงดัง หึ่งๆ นั่นคือ เรากำลัง ข้ามสะพานปรมินทร์ สะพานโครงเหล็กที่ทันสมัยมาก เมื่อ ๑๐๐ กว่าปีที่แล้วสมัยนั้นชาวบ้านตื่นเต้นกันมาก ใครรู้บ้างครับว่า สถานีที่อยู่ตรงสะพานปรมินทร์ชื่ออะไร
เงียบไม่มีเสียงตอบ !
จันนวลเองก็ไม่เคยนั่งรถไฟเลยพิษณุโลกสักครั้ง นับว่าคราวนี้เป็นครั้งแรก
“สถานี ชุมทางบ้านดารา การข้ามแม่น้ำน่านบริเวณนี้ ถือว่าสำคัญมาก เพราะหมายความว่าเรากำลังขึ้นสูงไปเรื่อยๆ โดยมีเป้าหมายอยู่ที่เชียงใหม่ เด็กๆ ลองคิดสิครับว่า ดารา หมายถึงอะไร”นัยน์ถามนักศึกษา
เงียบ!
“ดารารัศมี ครับ ฝ่าพระบาทนายหลวงรัชกาลที่ ๕ ทรงตั้งชื่อสถานีนี้เป็นเกียรติแด่ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี แห่งเชียงใหม่ จากสถานีนี้ รถไฟขบวนที่เรานั่งอยู่นี้จะเลี้ยวไปทางซ้าย ปลายทางสวรรคโลก ที่พวกเราจะลงกันที่นั่น จากนั้นจะวิ่งกลับไปยังบ้านดาราตามเส้นทางเดิม แล้ววิ่งขึ้นไปสถานีปลายทาง ศิลาอาสน์ แล้วกลับกรุงเทพทันที” นักศึกษาคนหนึ่งตอบขึ้น
เสียงคนตะโกนแย่งกันถามจุดหมายปลายทางต่างๆ “วังไม้ขอน คุ้งวารี ตลาดเทศบาล” พร้อมยานพาหนะคู่ใจ สามล้อเบาะหน้า เมื่อคุยราคากันได้ ก็ตกลงไปกัน พักเดียวสถานีรถไฟสวรรคโลกก็ร้างคน มีก็แต่ชาวบ้านละแวกนั้น จูงลูกหลานมาเดินเล่นรับลม
ร่างสูงใหญ่ แต่งตัวดูทะมัดทะแมง เสื้อเชิ้ตพับแขนกลางเก่ากลางใหญ่ กางเกงยีนส์ตัวเก่งซีดจางยืนรอรับคณะของนัยน์
“นั่น เพื่อนครูเอง เสือสวรรคโลก เด็กๆ สวัสดีคุณ กรัน” นัยน์เอ่ยแซว
กรันรับไหว้ ทั้งหัวเราะรับคำแซวของเพื่อน แล้วหันมาทางจันนวล
“ผมชวนน้ามั่นมารับคุณด้วย”
นายมั่นรับกระเป๋าจากจันนวลไป จันนวลจึงนึกได้ว่าลืมบอกคนที่บ้านว่าจะมาสวรรคโลก
“ขอบคุณคะ ลืมเสียสนิทเลย”
ชั่ววินาทีขณะจันนวลเบือนหน้าไป กรันเห็นภาพซ้อนอีกครั้ง หญิงเกล้ามวยต่ำปักปิ่นเงิน คนเดียวกับที่เห็นในโบสถ์พราหมณ์
ทั้งหมดไปพักที่บ้านกรัน
“นวล จะออกมาหาอะไรกินตอนค่ำด้วยกันไหม ไอ้กรันมันบอกซอย 8 มีของกินเยอะแยะ ค่ำๆ” นัยน์เอ่ยชวน
“ไม่ล่ะ ฉันไม่กินเย็น ขอพักยืดขาหน่อย นั่งรถไฟมานานเหลือเกิน” จันนวลเอ่ยขอตัว เมื่อเห็นสายตาที่คอยมองมา ทำให้จันนวลรู้สึกประหม่าอยู่บ้าง
แม่ลำพากับบรรดาลูกหลานตัวเล็กตัวน้อย มายืนรอรับยิ้มแย้ม
“เหนื่อยไหมคะ คุณหนู นึกยังไงกันคะนี่ นั่งรถไฟกันมาคะนี่” แม่ลำพาถาม
“นัยน์ค่ะ เพื่อนสมัยเรียน รับราชการกรมศิลปากร พานักศึกษาลงพื้นที่ เลยตามเขาขึ้นมาเที่ยว ตื่นเต้นดี ไม่ได้นั่งรถไฟนานมากแล้วค่ะ แม่ลำพา สมัยก่อนก็นั่งไปหาคุณพ่อบ่อยๆ แต่ก็ขึ้นมาแค่ พิษณุโลก จำไม่ได้ว่าวกเข้ามาบ้านเราด้วย” จันนวลตอบ ชวนคุย
“คุณหนูจะทานอะไรหน่อยไหมคะ เดี๋ยวป้าเตรียมให้ มียำตะไคร้นะคะ ไม่อ้วนคะ ทานพอแก้หิว”
“ก็ดีนะคะ ฟังน่ากินทีเดียว ไม่เคยเห็นว่าเอาตะไคร้มายำได้” จันนวลรับคำ
ยำตะไคร้ ดูแล้วอยากจะเรียกว่า ยำกุ้งเสียมากกว่า ดูตัวโตบังตะไคร้เสียหมด แม่ลำพายังจำได้ดีว่าจันนวลไม่ทานผักสด เพราะเหม็นกลิ่นเขียว ถั่วฝักยาวหั่นแฉลบบางแบบนี้ คือ ฝีมือคุณหอมนวล ที่ถ่ายทอดให้คนในบ้าน ซึ่งก็รับมาจาก คุณท่าน หรือคุณหญิงเดชาสวรรคโยธิน วาด อีกชั้นหนึ่ง
“กุ้งตัวโตจังคะ สดอีกต่างหาก กุ้งแม่น้ำหรือคะ แต่รสไม่ใช่” จันนวลเอ่ยทัก
“กุ้งน้ำเค็มค่ะ มาทางเมืองตากนู่นค่ะ เห็นว่าข้ามจากทางฝั่งพม่า ไม่แพงด้วย กุ้งทางเมืองมอญตัวใหญ่ค่ะ คุณหนู” แม่ลำพาตอบ
รสยำกลมกล่อม หอมตะไคร้ หอมเจียว ใบคะน้าฝอยขมออกฝาด ตัดรสกับพริกทอด พริกสด หวานแปล่มด้วยน้ำตาลอ้อย เค็มด้วยปลาเนื้ออ่อนแห้ง
‘ตำรับแม่ แม่ไม่ค่อยใช้เครื่องปรุง แต่ใช้รสจากส่วนผสมต่างๆ ให้ตัดรสกัน’
เสียงดังเฮฮามาจากทางบ้านกรัน นี่คงมีดื่มกันแน่ๆ พลางมองไปทางตึกใหญ่ เรือนท่านเจ้าคุณสรวง พระยาสวรรครักษราชโยธา ความคิดหนึ่งผุดขึ้น
‘เราจะรักษาเรือนนี้ไว้ได้นานสักเท่าไร จะดูแลก็คงจะเกินสติปัญญา จะขายเอาตัวรอด แจกเงินให้ไปตั้งตัวกันเอง อาจจะพอช่วยได้สักระยะ ความเจริญ เทคโนโลยีรุกคืบเข้ามาทุกที’
จันนวลชอบ “ตักน้ำอาบ” มากกว่าใช้ฝัก