แดดเช้าสาดกระทบกำแพงอิฐหนา มีป้ายบอก “ประตูรามณรงค์” ไม้ใหญ่ข้างประตูแผ่ร่มเงา ให้ความร่มรื่น แม้แดดจะแรงอยู่ แต่กลับไม่ร้อน จันนวลรู้สึกคุ้นเคยกับทางเดินผ่านเข้าประตูนี้
รถรางประจำอุทยานประวัติศาสตร์ ศรีสัชนาลัย พร้อมคนบังคับรถ แต่ผู้นำชม “ไม่จำเป็น”
เสียงนัยน์เรียกเด็กนักศึกษาให้เดินมาขึ้นรถราง พร้อมบอก
“เด็กๆ ข้าวต้มหมูเค็มเมื่อเช้าอร่อยไหม เอ้าขอบคุณเจ้ามือหน่อย มาดามจันนวลเป็นผู้อุปถัมภ์ ฝีมือแม่ลำพา”
เด็กๆ นักศึกษาแข่งกันตะเบ็งเสียงขอบคุณ
จันนวลยิ้ม พร้อมรับไหว้ และรู้สึกมีคนยืนอยู่ด้านหลัง
“เหนื่อยไหมครับ เมื่อวานนั่งรถไฟทั้งวัน” กรันเอ่ยถาม
“ไม่เลยค่ะ สนุกมาก ฉันชอบนั่งรถไฟอยู่ก่อนแล้ว ในยุโรปไปไหนมาไหน ก็ต้องรถไฟ เครื่องบินเป็นเรื่องเสียเวลา” จันนวลตอบ เก้อเขิน
“บัว ไหว้คุณน้าจันนวลคะ ลูก” กรันเอ่ย เด็กญิงหน้าตาน่ารัก พนมมือ พูดพร้อม “สวัสดีค่ะ คุณน้า”
“ลูกสาวครับ ตามยุคตามสมัย พ่อเลี้ยงเดี่ยว” กรันเอ่ยบอกความครบ เพราะคาดในใจว่า จันนวลคงสงสัย
“Guten Morgen สวัสดีค่ะ สาวน้อย” จันนวล รับไหว้ ตอบคำ
“คุณพ่อคะ คุณน้าพูดภาษาอะไรคะ พูดภาษาไทยด้วย”
กรันเชยตามาที่จันนวล
“ภาษาเยอรมันค่ะ น้าติดพูดภาษาเยอรมันค่ะ โตขึ้นบัวก็เรียนได้นะคะ”
สาวน้อยยิ้มกว้างรับเพื่อนใหม่
เสื้อเชิ้ตลายทาง และกางเกงยีนส์สีเขียวเข้ม ทำให้จันนวลดูทะมัดทแมง กรันยกตัวลูกสาวขึ้นรถราง แล้วก้าวนำจันนวลขึ้นไปก่อน ส่งมือรับจันนวล
ในวัย 37 ปี จันนวลไม่เก้อเขินใดๆ อีกต่อไป หนุ่มใหญ่อย่างกรันเองกลับเขิน และทึ่งจันนวลอยู่ในที
“ขอต้อนรับทุกๆ ท่านสู่ ๑ ในนคร ๒ อัน ศรีสัชนาลัย สุโขทัย ครับผม” นัยน์เริ่มบรรยาย
“จริงๆ แล้ว เราน่าจะไปเริ่มที่ พระบรมธาตุเชลียงก่อน เพราะจุดนั้นมีมาก่อนบริเวณอุทยาน ประวัติศาสตร์ที่เราอยู่นี่ แต่ผมอยากให้ทุกคนได้มารับแดดเช้า และความร่มรื่นที่นี่ และอยากให้ได้เห็นกับตา อย่างเราเคยได้อ่านได้เรียนกันมา”
“สูเจ้าเอาพนมเพลิงเข้าไว้ในเมือง เป็นที่สร้างพรตบูชากูณฑ์”
จากจุดนี้ หน้าพระเจดีย์ช้างล้อม มองไปรอบๆ เราเห็นอะไรกันบ้าง
เด็กๆ นั่งศึกษาชิงกันตอบ “ภูเขาครับ หน้าก็เขา ข้างก็เขา”
“เจดีย์ดอกบัวค่ะ”
“วัดค่ะ เสาพระวิหารค่ะ”
แล้วบนเขามีอะไร พระเจดีย์ใช่ไหม? เอ้าใครคิดอะไรต่อได้บ้าง
“คติการสร้างศาสนสถานบนเขา แบบนี้ก็คติทางเขมร ใช่ไหมคะ อาจารย์” นักศึกษาสาวแววตาใฝ่รู้ชิงตอบ
ใช่แล้วครับ “เขา” เป็นที่สถิตยของเทพยดา ศรีสัชนาลัย สุโขทัย จัดเป็นชายขอบอารยธรรมเขมรโบราณ เพราะเหนือบริเวณนี้ขึ้นไป ก็จะเข้าสู่ดินแดนล้านนาแล้ว
“นี่ล่ะ เขาพนมเพลิง” นัยน์เฉลย
จันนวลคิดพลางรวมความรู้เดิม ‘พนม ก็เป็นภาษาเขมร หมายถึง เขา เพลิงก็ เขมร คือ ไฟ สมัยก่อนคงมีการบูชาไฟ ถวายเทพเจ้าแน่ๆ’
“คุณจันนวลมีอะไรเสริมไหมครับ” นัยน์เอ่ยแซว
“กำลังคิดเล่นๆ เรื่อง คำ น่ะ นัยน์ พนมเพลิง ก็เป็นคำเขมร หมายถึง ภูเขาไฟ แต่คงไม่ได้หมายถึง volcano นะ ฉันว่า คงเป็นภูเขาที่ไว้สำหรับบูชาไฟถวายเทพเจ้ามากกว่า” จันนวลตอบ
ความรู้ทางภาษาของจันนวลช่วยไขความได้อีกโสดหนึ่ง
นัยน์ยิ้มรับ สายตาอีกคู่หนึ่งลอบมองด้วยความชื่นชม
“เอาล่ะ เดี๋ยวเราเราจะนั่งรถไปที่เชิงเขา และเดินขึ้นไปชมพระเจดีย์กัน” นัยน์เอ่ยนำ
ทางขึ้นเขาลาดเอียง พอได้ออกกำลัง ไม่เหนื่อยนักทีเดียว บัว สนุกกับพี่ๆ ที่ชวนกันวิ่งขึ้นเขา จันนวลรู้สึก “ร่มเย็น” อยากบอกเป็นคำได้ยาก พระเจดีย์ทรงระฆังตั้งเด่นตรงหน้า บ่งความเก่าแก่ผ่านร้อนหนาวมากว่า ๗๐๐ ปี ความรู้สึกคล้ายว่าผู้ใหญ่มองลงมายังเด็กคนหนึ่งซึ่งจากบ้านไปนาน
“มาถึงที่ทั้งที คงต้องฟังเจ้าถิ่นบรรยายหน่อยแล้ว” นัยน์ส่งไม้ต่อให้กรัน
กรันออกตัวทันควัน “ข้อมูลทางวิชาการผมอาจไม่แม่นนักนะครับ อย่างที่ทราบกันว่า เจดีย์ทรงระฆังนี้ เป็นเอกในศิลปะแบบสุโขทัยแท้ เรียกว่า ต้นตำรับดั้งเดิม ได้รับอิทธิพลจากศิลปะสังกา ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่านี้มาก
ในความคิดผม ขนาดขององค์ระฆัง สะท้อนถึงขนาดของบ้านเมือง ศรีสัชนาลัยคงเป็นบ้านเมืองขนาดย่อม ผู้คนไม่มากนัก กำลังคนย่อมน้อยตาม ความที่เป็นเมืองเล็ก ย่อมต้อง “ถ่อมตัว” แต่ก็มีลายละเอียดมาก แสดงให้เห็นความละเมียดละไม” กรันเริ่มบรรยาย
“แนวคิดนี้น่าสนใจมาก นายกรัน ความถ่อมตัวสะท้อนผ่านงานเชิงศิลป์” นัยน์เสริม
“ผมอยากให้ดูที่ฐานรับ เขียงไม้ซ้อนกัน นี่อาจสะท้อนแนวคิดไตรภูมิก็เป็นได้” กรันต่อ
“เขาพระสุเมรุ” จันนวลเอ่ยทันควัน
“นั่นล่ะครับ ศูนย์กลางจักรวาล คือ พุทธศาสนาลังกาวงศ์ ที่เข้ามาทับซ้อนคติพราหมณ์ฮินดู ฐาน องค์ระฆัง ก้านสถูป ปล้อง ปลี ลำดับกันขึ้น ในสัดส่วนพอเหมาะ” กรันตอบรับ
“นั่นล่ะ ตรงใจข้านัก นายกรัน เพราะทรงลังกาเดิมนั้นองค์พระเจดีย์ใหญ่มาก เหมือนส้มโอผ่าซีกคว่ำ” นัยน์เสริม
ภาพนักศึกษายืนเรียงแถวเป็นแนว ชวนให้จันนวลคิดถึงขบวนแห่บูชาพระธาตุ
“พระเจดีย์องค์นี้ สภาพค่อนข้างสมบูรณ์ แค่ปลียอดเท่านั้นที่หักไป” นัยน์เสริม
“มีชื่อไหมคะ อาจารย์” นักศึกษาถามขึ้น
“เรียกกันว่า พะรเจดีย์เขาสุวรรณคีรี แต่คงเป็นชื่อมาตอนหลัง เพราะเขานี่ชื่อ พนมเพลิง แต่สุวรรณคีรี หมายถึง ภูเขาทอง มันคนละ เขา กันเลยนะ อาจเป็นชื่อในสมัยที่อยุธยาผนวกสวรรคโลกแล้วก็ได้” นัยน์ตอบ
“ผมเองลืมเล่าไปว่า ศรีสัชนาลัยนี่ มีชื่อเรียกต่างกันไปตามยุคตามสมัย ศรีสัชนาลัย เป็นชื่อเก่าแก่สุด สมัยเชียงใหม่เข้ามายึด เรียก เชียงชื่น ซึ่งตรงกับช่วงอยุธยาตอนต้น สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ตีคืนมาได้ เรียก สวรรคโลก” นัยน์เสริม
“ศรีสัชนาลัย แปลว่าอะไรครับอาจารย์” นักศึกษาถามขึ้น
“เออ เว้ย ไม่เคยคิดถึงเรื่องนี้เลย ไม่แม่นภาษาด้วยสิ ต้องถามสาวอักษรศาสตร์แล้วกระมัง ว่าไงล่ะ นวล พอรู้ไหม” นัยน์โยนคำถามต่อ
“นี่ ฉันเรียนภาษาตะวันตกนะ แต่ก็จะพยายามตอบเท่าที่เดาได้นะ นัยน์ว่า ศรีสัชนาลัย เป็นบ้านเมืองชายขอบของเขมรใช่ไหม เออ .. คำ “ศรี” นี่เขมรก็ใช้อยู่ไม่น้อย มักใช้แสดงความ สวยงาม อ่อนหวาน สูงส่ง ละเอียด คำหลัง อลัย นี่น่าจะหมายถึง สถานที่ ได้ แบบ วิทยาลัย แต่ สัชน นี่เกินจะเดา อาจแผลงจากคำว่า สัตต ที่แปลว่า ดีงาม ก็ได้นะ จะลองถามพรรคพวกดู แต่ฟังความหมายรวมๆ มันดีนะ นัยน์ อาจหมายถึง ที่อยู่แห่งคนดีงาม ก็ได้นะ”
จันนวล ตอบ
“ไหมล่ะ ถามเด็กอักษร ไม่ผิดทางจริงๆ”
จันนวลครุ่นคิด ชื่อทั้ง ๓ ‘ศรีสัชนาลัย เชียงชื่น สวรรคโลก’ พลันเอ่ย
“อีกอย่างนะ นัยน์ น่าแปลกไม่ว่าจะชื่ออะไร ศรีสัชนาลัย เชียงชื่น สวรรคโลก ทั้ง ๓ คำนี่ ความหมายดีทุกคำเลย
กรันฟังทั้ง ๒ คนคุยกันเพลินไปเรื่อยๆ พลางยิ้ม เอ่ยขึ้น
“ด้านข้างนั่น มีเจดีย์อีกองค์ครับ สภาพไม่สมบูรณ์เท่าองค์นี้ เรียกกันว่าวัดเขาพนมเพลิง”
“เอ แล้วนี่ไม่ใช่เขาพนมเพลิงหรือคะ คุณกรัน” จันนวลเอ่ยถาม
“จริงๆ มันเป็นเขาเดียวกันล่ะนวล แต่มี ๒ ยอด เรียก พนมเพลิง ทั้งแนวนี่ล่ะ หลังๆ คงเรียกชื่อต่างๆ กัน เลยจับเขาแยกไปด้วย เจดีย์องค์นั้นดูจะเล็กกว่าด้วยนะ” นัยน์แทรก
“อย่างที่ไอ้นัยน์มันบอกล่ะครับ ผมเองไม่ค่อยรู้ประวัติสักเท่าไร สนใจแต่งานศิลปขององค์เจดีย์ จำได้เลาๆว่าน่าจะสร้างหลังจากพระเจดีย์สุวรรณคีรีนี้ มีรายละเอียดที่ฐานต่างกันเล็กน้อย อาจเป็นแนวสร้างเพื่อเป็นที่ระลึกถึงบรรพบุรุษก็เป็นได้ เพราะยอดพนมเพลิงด้านนั้นจะต่ำกว่าด้านนี้ ผมวิ่งเล่นแถวนี้แต่เด็ก จริงๆ มีทางเดินเชื่อมถึงกัน แต่ผมว่าไม่ค่อยสะอาดเท่าไร มีขี้นกเยอะมาก ไม่อยากให้เสี่ยงเชื้อ” กรันบอก
“เดี๋ยวเราจะไป ดูงานศิลปะ ทรงระฆัง ที่สุดยอดอีกองค์ พระเจดีย์ช้างล้อม
รถรางแล่นเรื่อย ปล่อยเขาพนมเพลิงไว้เบื้องหลัง แดดสายสาดอ่อนทั่วแคว้นศรีสัชนาลัยเดิม ไม้ใหญ่ร่มครึ้ม กรองแดดให้นวลตา มองไปทางใด ก็เขียวครึ้ม คงเป็นอย่างนายมั่นเคยพูดไว้ “ดินแถบนี้ อิ่มน้ำยมครับ”
รถรางจอดเทียบข้าง พระเจดีย์ช้างล้อม ขณะก้าวเท้าลงจากรถราง แล้วมองขึ้นไป ‘งามดั่งวาด’ จันนวลรู้สึกอบอุ่นอย่างประหลาด เหมือน ‘กลับบ้าน’
“คุณนวลครับ ไปครับเข้าไปชมพระเจดีย์กัน” กรันแตะที่หลังจันนวล เบามือ ไม่น่าเกลียดอย่างไร
“กำลังซึมซับความงาม รมรื่น ค่ะ เพลินมากทีเดียว อากาศก็ดี” จันนวลเอ่ย พร้อมก้าวเท้าเคียงไปกับกรัน
นัยน์ร่ายต่อ เมื่อเข้าใกล้พระเจดีย์ “สังเกตุดูรอบนอกนี่นะ จะเห็นว่ามีร่องรอยคูน้ำล้อมรอบ พระเจดีย์ ลักษณะแบบนี้ ในระดับบ้านเมือง เราเรียกว่า ...”
“เวียง” เสียงนักศึกษาดังขึ้น
“ถูกต้อง ดีนะ ไม่เสียแรงสอน” นัยน์รับคำตอบ
“แต่ตรงนี้ เป็นศาสนสถาน การขุดคูน้ำล้อมรอบก็แสดงให้เห็นถึงศูนย์กลางของจักรวาล คือ เขาพระสุเมรุนั่นไงล่ะ”
“คงรับคตินี้จากเขมรด้วยมั้ง นัยน์” จันนวลเสริม
“แน่น่อนเลย นวล คล้ายบารายไงล่ะ นี่ล่ะวิธีการเก็บกักน้ำของคนโบราณล่ะ”
เบื้องหน้า เจดีย์ทรงระฆังตั้งเด่นสง่า ลดหลั่นชั้นลงมา ที่ระเบียงมองเห็นพระพุทธรูปรายเรียงรอบพระเจดีย์ อยู่ไกลๆ
‘ผ่านมาได้อย่างไร ตั้ง ๗๐๐-๘๐๐ ปี รอดมือพวกงัดแงะมาได้อย่างไร’ จันนวลอดแปลกใจไม่ได้ เหมือนเทวดารักษา
“นักศึกษาครับ ลองนับดูไหมครับว่ามีช้างทั้งหมดกี่เชือก เชือกไหนมีสภาพสมบูรณ์ที่สุด และต่างจากเชือกอื่นอย่างไร ใครมือเร็ว จะเขียนรูปก็ได้นะคะ ร่างๆ เอา ผมว่ามีเสน่หฺ์ดี” กรันอารมณ์ดีทุกครั้ง เมื่อได้มาเที่ยวเล่นในอุทยานฯ
พลันเสียง อาจารย์สอนวิชาประวัติศาสตร์สมัยเรียน ก็แว่วขึ้นในหัวจันนวล
‘ศาสนาพุทธนี่เกิดในอินเดีย มาเบ่งบานเติบโตในลังกา ครั้งหนึ่งพระเจ้าอโศกได้พระราชทานพระไตรปิฎกเพื่อให้ไปเผยแผ่ในลังกา อัญเชิญพระไตรปิฎกไว้บนหลังช้าง แล้วลงเรือไป ระหว่างทางเจอมรสุมซัดเรือแตกแต่ช้างเหล่านั้นก็ตะเกียกตะกายว่ายน้ำไปจนถึงลังกา โดยพระไตรปิฎกไม่เสียหายแม้แต่น้อย ไงน่ะหรือ แม่นวล ช้างขึ้นฝั่งก็ขาดใจตายลงทันที เลยเป็นประเพณีนิยมเมื่อสร้างพระสถูปเจดีย์ ก็ช้างล้อมฐานสื่อว่า ช้างเป็นสัตว์ที่คำ้จุนพระพุทธศาสนา’
“นัยน์ เธอจำที่ อาจารย์บรรยายได้ไหม สมัยก่อนนั่งฟ้ากันปากค้างตาค้าง เรียนไม่มีเบื่อ!”
นักศึกษา บ้างก็วิ่งรอบพระเจดีย์ สังเกตสังกาช้างแต่เชือก หาข้อต่างข้อเหมือน บ้างนั่งลงร่างภาพ เพียงพริบตาก็เสร็จ วันนี้ แคว้นศรีสัชนาลัยดูมีชีวิตขึ้นมาอีกครั้ง เหล่าช้างล้อม คงมีความสุขพลอยยิ้งเล่นหัวไปกับนักศึกษาด้วย
“ผมว่าช้างที่มุมทั้งสี่ ตัวใหญ่กว่าช้างที่ล้อมรอบพระเจดีย์ครับ มีเครื่องประดับด้วย” นักศึกษาเอ่ยขึ้น
“ใช่ครับ ช้างประจำทิศทั้ง ๔ จะใหญ่กว่าและมีรายละเอียดตกแต่งมากกว่า เพราะอยู่ประจำทิศ และช้างทั้งหมดไม่ได้มีลำตัวติดกับพระเจดีย์ และ “ลอยตัว” จึงเป็นไปได้ว่า ช้างล้อม นี่เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นตกแต่งในภายหลัง” กรันบรรยายต่อ
‘เสียงนายกรัน มีเสน่ห์ชวนฟัง การทอด เว้น จังหวะ ทำให้เดาได้ว่าเป็นคน “มั่นใจ” ติดจะดื้อรั้นด้วยซ้ำ’
เสียงเด็กหญิง บัว หัวเราะร่วน เล่นไปกับพี่ๆ มีความสุข ‘วัยเด็กช่างขาวสะอาด’
“ตำแหน่งที่เรายืนกันอยู่นี่ เรียกกันว่าลานประทักษิณ คาดเดากันว่าคงเคยมีหลังคาคุ้มแดดคุ้มฝน เพราะยังมีเสาหินเหลือให้เห็นอยู่” นัยน์บรรยาย รับไม้ส่งจากกรัน
เมื่อยิ่งเข้าใกล้ จันนวลยิ่งหลงใหลความงามของพระพุทธรูป ‘นวลตา’ คงต้องใช้คำนี้ ทุกองค์ประกอบดูกลมกลืน บ่า แขน ตัก ใบหน้า และรอยยิ้มที่ไม่ใช่ยินดีในความสงบ แต่คือ การไม่ยินดีและยินร้าย ต่อความสงบหรือไม่สงบ
“พระพุทธรูปนี้ จัดอยู่ในกลุ่มหลักครับ ปรับมาจากพระพุทธรูปแบบลังกา ทรงจะดูกลมกลึงกว่าทางลังกามาก” กรันอยู่ประชิดจนจันนวลรู้สึกถึงแรงหายใจ
“กี่ปีแล้วคะ นี่ จะมีใครเห็นความงามองค์ท่านบ้างไหม ฉันอยากสรงน้ำท่าน คราวหน้าหากมีโอกาสมาอีก จะเตรียมน้ำอบมาสรงให้ครบทุกองค์เลยค่ะ” จันนวลเอ่ย
“หากเรามองขึ้นไป จะเห็นว่าองค์ระฆังไม่ได้ใหญ่โตเกินไป แต่จะได้สัดส่วนกับฐานและปลียอด นี่ละ คือ ความงามอย่างสุโขทัยแท้ ไม่เน้นความหรูหรา แต่ใช้ประโยชน์จากความสมส่วนให้เข้ากับธรรมชาติโดยรอบ เด็กๆ เห็นไหมว่า ในอุทยานนี่ร่มรื่นมาก ย้อนกลับไปสัก ๗-๘๐๐ ปีก่อน หากจะมีพระราชวังตั้งอยู่ ก็คงจะไม่ใหญ่โตมาก เพราะศิลปในบริเวณนี้เน้นความอ่อนโยน มากกว่าความอลังการ” เสียงนัยน์บรรยายต่อเนื่อง
นักศึกษา
ตอนที่ 9 : คุ้นเคยดั่งเก่าก่อน (1)
รถรางประจำอุทยานประวัติศาสตร์ ศรีสัชนาลัย พร้อมคนบังคับรถ แต่ผู้นำชม “ไม่จำเป็น”
เสียงนัยน์เรียกเด็กนักศึกษาให้เดินมาขึ้นรถราง พร้อมบอก
“เด็กๆ ข้าวต้มหมูเค็มเมื่อเช้าอร่อยไหม เอ้าขอบคุณเจ้ามือหน่อย มาดามจันนวลเป็นผู้อุปถัมภ์ ฝีมือแม่ลำพา”
เด็กๆ นักศึกษาแข่งกันตะเบ็งเสียงขอบคุณ
จันนวลยิ้ม พร้อมรับไหว้ และรู้สึกมีคนยืนอยู่ด้านหลัง
“เหนื่อยไหมครับ เมื่อวานนั่งรถไฟทั้งวัน” กรันเอ่ยถาม
“ไม่เลยค่ะ สนุกมาก ฉันชอบนั่งรถไฟอยู่ก่อนแล้ว ในยุโรปไปไหนมาไหน ก็ต้องรถไฟ เครื่องบินเป็นเรื่องเสียเวลา” จันนวลตอบ เก้อเขิน
“บัว ไหว้คุณน้าจันนวลคะ ลูก” กรันเอ่ย เด็กญิงหน้าตาน่ารัก พนมมือ พูดพร้อม “สวัสดีค่ะ คุณน้า”
“ลูกสาวครับ ตามยุคตามสมัย พ่อเลี้ยงเดี่ยว” กรันเอ่ยบอกความครบ เพราะคาดในใจว่า จันนวลคงสงสัย
“Guten Morgen สวัสดีค่ะ สาวน้อย” จันนวล รับไหว้ ตอบคำ
“คุณพ่อคะ คุณน้าพูดภาษาอะไรคะ พูดภาษาไทยด้วย”
กรันเชยตามาที่จันนวล
“ภาษาเยอรมันค่ะ น้าติดพูดภาษาเยอรมันค่ะ โตขึ้นบัวก็เรียนได้นะคะ”
สาวน้อยยิ้มกว้างรับเพื่อนใหม่
เสื้อเชิ้ตลายทาง และกางเกงยีนส์สีเขียวเข้ม ทำให้จันนวลดูทะมัดทแมง กรันยกตัวลูกสาวขึ้นรถราง แล้วก้าวนำจันนวลขึ้นไปก่อน ส่งมือรับจันนวล
ในวัย 37 ปี จันนวลไม่เก้อเขินใดๆ อีกต่อไป หนุ่มใหญ่อย่างกรันเองกลับเขิน และทึ่งจันนวลอยู่ในที
“ขอต้อนรับทุกๆ ท่านสู่ ๑ ในนคร ๒ อัน ศรีสัชนาลัย สุโขทัย ครับผม” นัยน์เริ่มบรรยาย
“จริงๆ แล้ว เราน่าจะไปเริ่มที่ พระบรมธาตุเชลียงก่อน เพราะจุดนั้นมีมาก่อนบริเวณอุทยาน ประวัติศาสตร์ที่เราอยู่นี่ แต่ผมอยากให้ทุกคนได้มารับแดดเช้า และความร่มรื่นที่นี่ และอยากให้ได้เห็นกับตา อย่างเราเคยได้อ่านได้เรียนกันมา”
“สูเจ้าเอาพนมเพลิงเข้าไว้ในเมือง เป็นที่สร้างพรตบูชากูณฑ์”
จากจุดนี้ หน้าพระเจดีย์ช้างล้อม มองไปรอบๆ เราเห็นอะไรกันบ้าง
เด็กๆ นั่งศึกษาชิงกันตอบ “ภูเขาครับ หน้าก็เขา ข้างก็เขา”
“เจดีย์ดอกบัวค่ะ”
“วัดค่ะ เสาพระวิหารค่ะ”
แล้วบนเขามีอะไร พระเจดีย์ใช่ไหม? เอ้าใครคิดอะไรต่อได้บ้าง
“คติการสร้างศาสนสถานบนเขา แบบนี้ก็คติทางเขมร ใช่ไหมคะ อาจารย์” นักศึกษาสาวแววตาใฝ่รู้ชิงตอบ
ใช่แล้วครับ “เขา” เป็นที่สถิตยของเทพยดา ศรีสัชนาลัย สุโขทัย จัดเป็นชายขอบอารยธรรมเขมรโบราณ เพราะเหนือบริเวณนี้ขึ้นไป ก็จะเข้าสู่ดินแดนล้านนาแล้ว
“นี่ล่ะ เขาพนมเพลิง” นัยน์เฉลย
จันนวลคิดพลางรวมความรู้เดิม ‘พนม ก็เป็นภาษาเขมร หมายถึง เขา เพลิงก็ เขมร คือ ไฟ สมัยก่อนคงมีการบูชาไฟ ถวายเทพเจ้าแน่ๆ’
“คุณจันนวลมีอะไรเสริมไหมครับ” นัยน์เอ่ยแซว
“กำลังคิดเล่นๆ เรื่อง คำ น่ะ นัยน์ พนมเพลิง ก็เป็นคำเขมร หมายถึง ภูเขาไฟ แต่คงไม่ได้หมายถึง volcano นะ ฉันว่า คงเป็นภูเขาที่ไว้สำหรับบูชาไฟถวายเทพเจ้ามากกว่า” จันนวลตอบ
ความรู้ทางภาษาของจันนวลช่วยไขความได้อีกโสดหนึ่ง
นัยน์ยิ้มรับ สายตาอีกคู่หนึ่งลอบมองด้วยความชื่นชม
“เอาล่ะ เดี๋ยวเราเราจะนั่งรถไปที่เชิงเขา และเดินขึ้นไปชมพระเจดีย์กัน” นัยน์เอ่ยนำ
ทางขึ้นเขาลาดเอียง พอได้ออกกำลัง ไม่เหนื่อยนักทีเดียว บัว สนุกกับพี่ๆ ที่ชวนกันวิ่งขึ้นเขา จันนวลรู้สึก “ร่มเย็น” อยากบอกเป็นคำได้ยาก พระเจดีย์ทรงระฆังตั้งเด่นตรงหน้า บ่งความเก่าแก่ผ่านร้อนหนาวมากว่า ๗๐๐ ปี ความรู้สึกคล้ายว่าผู้ใหญ่มองลงมายังเด็กคนหนึ่งซึ่งจากบ้านไปนาน
“มาถึงที่ทั้งที คงต้องฟังเจ้าถิ่นบรรยายหน่อยแล้ว” นัยน์ส่งไม้ต่อให้กรัน
กรันออกตัวทันควัน “ข้อมูลทางวิชาการผมอาจไม่แม่นนักนะครับ อย่างที่ทราบกันว่า เจดีย์ทรงระฆังนี้ เป็นเอกในศิลปะแบบสุโขทัยแท้ เรียกว่า ต้นตำรับดั้งเดิม ได้รับอิทธิพลจากศิลปะสังกา ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่านี้มาก
ในความคิดผม ขนาดขององค์ระฆัง สะท้อนถึงขนาดของบ้านเมือง ศรีสัชนาลัยคงเป็นบ้านเมืองขนาดย่อม ผู้คนไม่มากนัก กำลังคนย่อมน้อยตาม ความที่เป็นเมืองเล็ก ย่อมต้อง “ถ่อมตัว” แต่ก็มีลายละเอียดมาก แสดงให้เห็นความละเมียดละไม” กรันเริ่มบรรยาย
“แนวคิดนี้น่าสนใจมาก นายกรัน ความถ่อมตัวสะท้อนผ่านงานเชิงศิลป์” นัยน์เสริม
“ผมอยากให้ดูที่ฐานรับ เขียงไม้ซ้อนกัน นี่อาจสะท้อนแนวคิดไตรภูมิก็เป็นได้” กรันต่อ
“เขาพระสุเมรุ” จันนวลเอ่ยทันควัน
“นั่นล่ะครับ ศูนย์กลางจักรวาล คือ พุทธศาสนาลังกาวงศ์ ที่เข้ามาทับซ้อนคติพราหมณ์ฮินดู ฐาน องค์ระฆัง ก้านสถูป ปล้อง ปลี ลำดับกันขึ้น ในสัดส่วนพอเหมาะ” กรันตอบรับ
“นั่นล่ะ ตรงใจข้านัก นายกรัน เพราะทรงลังกาเดิมนั้นองค์พระเจดีย์ใหญ่มาก เหมือนส้มโอผ่าซีกคว่ำ” นัยน์เสริม
ภาพนักศึกษายืนเรียงแถวเป็นแนว ชวนให้จันนวลคิดถึงขบวนแห่บูชาพระธาตุ
“พระเจดีย์องค์นี้ สภาพค่อนข้างสมบูรณ์ แค่ปลียอดเท่านั้นที่หักไป” นัยน์เสริม
“มีชื่อไหมคะ อาจารย์” นักศึกษาถามขึ้น
“เรียกกันว่า พะรเจดีย์เขาสุวรรณคีรี แต่คงเป็นชื่อมาตอนหลัง เพราะเขานี่ชื่อ พนมเพลิง แต่สุวรรณคีรี หมายถึง ภูเขาทอง มันคนละ เขา กันเลยนะ อาจเป็นชื่อในสมัยที่อยุธยาผนวกสวรรคโลกแล้วก็ได้” นัยน์ตอบ
“ผมเองลืมเล่าไปว่า ศรีสัชนาลัยนี่ มีชื่อเรียกต่างกันไปตามยุคตามสมัย ศรีสัชนาลัย เป็นชื่อเก่าแก่สุด สมัยเชียงใหม่เข้ามายึด เรียก เชียงชื่น ซึ่งตรงกับช่วงอยุธยาตอนต้น สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ตีคืนมาได้ เรียก สวรรคโลก” นัยน์เสริม
“ศรีสัชนาลัย แปลว่าอะไรครับอาจารย์” นักศึกษาถามขึ้น
“เออ เว้ย ไม่เคยคิดถึงเรื่องนี้เลย ไม่แม่นภาษาด้วยสิ ต้องถามสาวอักษรศาสตร์แล้วกระมัง ว่าไงล่ะ นวล พอรู้ไหม” นัยน์โยนคำถามต่อ
“นี่ ฉันเรียนภาษาตะวันตกนะ แต่ก็จะพยายามตอบเท่าที่เดาได้นะ นัยน์ว่า ศรีสัชนาลัย เป็นบ้านเมืองชายขอบของเขมรใช่ไหม เออ .. คำ “ศรี” นี่เขมรก็ใช้อยู่ไม่น้อย มักใช้แสดงความ สวยงาม อ่อนหวาน สูงส่ง ละเอียด คำหลัง อลัย นี่น่าจะหมายถึง สถานที่ ได้ แบบ วิทยาลัย แต่ สัชน นี่เกินจะเดา อาจแผลงจากคำว่า สัตต ที่แปลว่า ดีงาม ก็ได้นะ จะลองถามพรรคพวกดู แต่ฟังความหมายรวมๆ มันดีนะ นัยน์ อาจหมายถึง ที่อยู่แห่งคนดีงาม ก็ได้นะ”
จันนวล ตอบ
“ไหมล่ะ ถามเด็กอักษร ไม่ผิดทางจริงๆ”
จันนวลครุ่นคิด ชื่อทั้ง ๓ ‘ศรีสัชนาลัย เชียงชื่น สวรรคโลก’ พลันเอ่ย
“อีกอย่างนะ นัยน์ น่าแปลกไม่ว่าจะชื่ออะไร ศรีสัชนาลัย เชียงชื่น สวรรคโลก ทั้ง ๓ คำนี่ ความหมายดีทุกคำเลย
กรันฟังทั้ง ๒ คนคุยกันเพลินไปเรื่อยๆ พลางยิ้ม เอ่ยขึ้น
“ด้านข้างนั่น มีเจดีย์อีกองค์ครับ สภาพไม่สมบูรณ์เท่าองค์นี้ เรียกกันว่าวัดเขาพนมเพลิง”
“เอ แล้วนี่ไม่ใช่เขาพนมเพลิงหรือคะ คุณกรัน” จันนวลเอ่ยถาม
“จริงๆ มันเป็นเขาเดียวกันล่ะนวล แต่มี ๒ ยอด เรียก พนมเพลิง ทั้งแนวนี่ล่ะ หลังๆ คงเรียกชื่อต่างๆ กัน เลยจับเขาแยกไปด้วย เจดีย์องค์นั้นดูจะเล็กกว่าด้วยนะ” นัยน์แทรก
“อย่างที่ไอ้นัยน์มันบอกล่ะครับ ผมเองไม่ค่อยรู้ประวัติสักเท่าไร สนใจแต่งานศิลปขององค์เจดีย์ จำได้เลาๆว่าน่าจะสร้างหลังจากพระเจดีย์สุวรรณคีรีนี้ มีรายละเอียดที่ฐานต่างกันเล็กน้อย อาจเป็นแนวสร้างเพื่อเป็นที่ระลึกถึงบรรพบุรุษก็เป็นได้ เพราะยอดพนมเพลิงด้านนั้นจะต่ำกว่าด้านนี้ ผมวิ่งเล่นแถวนี้แต่เด็ก จริงๆ มีทางเดินเชื่อมถึงกัน แต่ผมว่าไม่ค่อยสะอาดเท่าไร มีขี้นกเยอะมาก ไม่อยากให้เสี่ยงเชื้อ” กรันบอก
“เดี๋ยวเราจะไป ดูงานศิลปะ ทรงระฆัง ที่สุดยอดอีกองค์ พระเจดีย์ช้างล้อม
รถรางแล่นเรื่อย ปล่อยเขาพนมเพลิงไว้เบื้องหลัง แดดสายสาดอ่อนทั่วแคว้นศรีสัชนาลัยเดิม ไม้ใหญ่ร่มครึ้ม กรองแดดให้นวลตา มองไปทางใด ก็เขียวครึ้ม คงเป็นอย่างนายมั่นเคยพูดไว้ “ดินแถบนี้ อิ่มน้ำยมครับ”
รถรางจอดเทียบข้าง พระเจดีย์ช้างล้อม ขณะก้าวเท้าลงจากรถราง แล้วมองขึ้นไป ‘งามดั่งวาด’ จันนวลรู้สึกอบอุ่นอย่างประหลาด เหมือน ‘กลับบ้าน’
“คุณนวลครับ ไปครับเข้าไปชมพระเจดีย์กัน” กรันแตะที่หลังจันนวล เบามือ ไม่น่าเกลียดอย่างไร
“กำลังซึมซับความงาม รมรื่น ค่ะ เพลินมากทีเดียว อากาศก็ดี” จันนวลเอ่ย พร้อมก้าวเท้าเคียงไปกับกรัน
นัยน์ร่ายต่อ เมื่อเข้าใกล้พระเจดีย์ “สังเกตุดูรอบนอกนี่นะ จะเห็นว่ามีร่องรอยคูน้ำล้อมรอบ พระเจดีย์ ลักษณะแบบนี้ ในระดับบ้านเมือง เราเรียกว่า ...”
“เวียง” เสียงนักศึกษาดังขึ้น
“ถูกต้อง ดีนะ ไม่เสียแรงสอน” นัยน์รับคำตอบ
“แต่ตรงนี้ เป็นศาสนสถาน การขุดคูน้ำล้อมรอบก็แสดงให้เห็นถึงศูนย์กลางของจักรวาล คือ เขาพระสุเมรุนั่นไงล่ะ”
“คงรับคตินี้จากเขมรด้วยมั้ง นัยน์” จันนวลเสริม
“แน่น่อนเลย นวล คล้ายบารายไงล่ะ นี่ล่ะวิธีการเก็บกักน้ำของคนโบราณล่ะ”
เบื้องหน้า เจดีย์ทรงระฆังตั้งเด่นสง่า ลดหลั่นชั้นลงมา ที่ระเบียงมองเห็นพระพุทธรูปรายเรียงรอบพระเจดีย์ อยู่ไกลๆ
‘ผ่านมาได้อย่างไร ตั้ง ๗๐๐-๘๐๐ ปี รอดมือพวกงัดแงะมาได้อย่างไร’ จันนวลอดแปลกใจไม่ได้ เหมือนเทวดารักษา
“นักศึกษาครับ ลองนับดูไหมครับว่ามีช้างทั้งหมดกี่เชือก เชือกไหนมีสภาพสมบูรณ์ที่สุด และต่างจากเชือกอื่นอย่างไร ใครมือเร็ว จะเขียนรูปก็ได้นะคะ ร่างๆ เอา ผมว่ามีเสน่หฺ์ดี” กรันอารมณ์ดีทุกครั้ง เมื่อได้มาเที่ยวเล่นในอุทยานฯ
พลันเสียง อาจารย์สอนวิชาประวัติศาสตร์สมัยเรียน ก็แว่วขึ้นในหัวจันนวล
‘ศาสนาพุทธนี่เกิดในอินเดีย มาเบ่งบานเติบโตในลังกา ครั้งหนึ่งพระเจ้าอโศกได้พระราชทานพระไตรปิฎกเพื่อให้ไปเผยแผ่ในลังกา อัญเชิญพระไตรปิฎกไว้บนหลังช้าง แล้วลงเรือไป ระหว่างทางเจอมรสุมซัดเรือแตกแต่ช้างเหล่านั้นก็ตะเกียกตะกายว่ายน้ำไปจนถึงลังกา โดยพระไตรปิฎกไม่เสียหายแม้แต่น้อย ไงน่ะหรือ แม่นวล ช้างขึ้นฝั่งก็ขาดใจตายลงทันที เลยเป็นประเพณีนิยมเมื่อสร้างพระสถูปเจดีย์ ก็ช้างล้อมฐานสื่อว่า ช้างเป็นสัตว์ที่คำ้จุนพระพุทธศาสนา’
“นัยน์ เธอจำที่ อาจารย์บรรยายได้ไหม สมัยก่อนนั่งฟ้ากันปากค้างตาค้าง เรียนไม่มีเบื่อ!”
นักศึกษา บ้างก็วิ่งรอบพระเจดีย์ สังเกตสังกาช้างแต่เชือก หาข้อต่างข้อเหมือน บ้างนั่งลงร่างภาพ เพียงพริบตาก็เสร็จ วันนี้ แคว้นศรีสัชนาลัยดูมีชีวิตขึ้นมาอีกครั้ง เหล่าช้างล้อม คงมีความสุขพลอยยิ้งเล่นหัวไปกับนักศึกษาด้วย
“ผมว่าช้างที่มุมทั้งสี่ ตัวใหญ่กว่าช้างที่ล้อมรอบพระเจดีย์ครับ มีเครื่องประดับด้วย” นักศึกษาเอ่ยขึ้น
“ใช่ครับ ช้างประจำทิศทั้ง ๔ จะใหญ่กว่าและมีรายละเอียดตกแต่งมากกว่า เพราะอยู่ประจำทิศ และช้างทั้งหมดไม่ได้มีลำตัวติดกับพระเจดีย์ และ “ลอยตัว” จึงเป็นไปได้ว่า ช้างล้อม นี่เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นตกแต่งในภายหลัง” กรันบรรยายต่อ
‘เสียงนายกรัน มีเสน่ห์ชวนฟัง การทอด เว้น จังหวะ ทำให้เดาได้ว่าเป็นคน “มั่นใจ” ติดจะดื้อรั้นด้วยซ้ำ’
เสียงเด็กหญิง บัว หัวเราะร่วน เล่นไปกับพี่ๆ มีความสุข ‘วัยเด็กช่างขาวสะอาด’
“ตำแหน่งที่เรายืนกันอยู่นี่ เรียกกันว่าลานประทักษิณ คาดเดากันว่าคงเคยมีหลังคาคุ้มแดดคุ้มฝน เพราะยังมีเสาหินเหลือให้เห็นอยู่” นัยน์บรรยาย รับไม้ส่งจากกรัน
เมื่อยิ่งเข้าใกล้ จันนวลยิ่งหลงใหลความงามของพระพุทธรูป ‘นวลตา’ คงต้องใช้คำนี้ ทุกองค์ประกอบดูกลมกลืน บ่า แขน ตัก ใบหน้า และรอยยิ้มที่ไม่ใช่ยินดีในความสงบ แต่คือ การไม่ยินดีและยินร้าย ต่อความสงบหรือไม่สงบ
“พระพุทธรูปนี้ จัดอยู่ในกลุ่มหลักครับ ปรับมาจากพระพุทธรูปแบบลังกา ทรงจะดูกลมกลึงกว่าทางลังกามาก” กรันอยู่ประชิดจนจันนวลรู้สึกถึงแรงหายใจ
“กี่ปีแล้วคะ นี่ จะมีใครเห็นความงามองค์ท่านบ้างไหม ฉันอยากสรงน้ำท่าน คราวหน้าหากมีโอกาสมาอีก จะเตรียมน้ำอบมาสรงให้ครบทุกองค์เลยค่ะ” จันนวลเอ่ย
“หากเรามองขึ้นไป จะเห็นว่าองค์ระฆังไม่ได้ใหญ่โตเกินไป แต่จะได้สัดส่วนกับฐานและปลียอด นี่ละ คือ ความงามอย่างสุโขทัยแท้ ไม่เน้นความหรูหรา แต่ใช้ประโยชน์จากความสมส่วนให้เข้ากับธรรมชาติโดยรอบ เด็กๆ เห็นไหมว่า ในอุทยานนี่ร่มรื่นมาก ย้อนกลับไปสัก ๗-๘๐๐ ปีก่อน หากจะมีพระราชวังตั้งอยู่ ก็คงจะไม่ใหญ่โตมาก เพราะศิลปในบริเวณนี้เน้นความอ่อนโยน มากกว่าความอลังการ” เสียงนัยน์บรรยายต่อเนื่อง
นักศึกษา