สรุปมาตราการช่วยเหลือลูกหนี้จากธนาคารกสิกรไทย 2564 | ลดดอกเบี้ย พักชำระหนี้

กสิกรพักชำระหนี้
มาตราการช่วยเหลือ 2564
มาตราการช่วยเหลือจากธนาคารกสิกรไทย ต้นปี 2564
 มาตรการช่วยเหลือลูกค้ารายย่อย ภายใต้โครงการ #รวมใจไม่ทิ้งกัน 

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ประเภทที่ 1 มาตรการช่วยเหลือที่ไม่ต้องลงทะเบียน
ประเภทที่ 2 มาตรการช่วยเหลือที่ต้องลงทะเบียน

2021 มาตราการพักชำระหนี้ช่วยเราจริงหรือเปล่า? 
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ประเภทที่ 1 มาตรการช่วยเหลือที่ไม่ต้องลงทะเบียน

ลดอัตราดอกเบี้ยให้อัตโนมัติ โดยไม่ต้องติดต่อธนาคาร มีผลตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2563

1.บัตรเครดิตกสิกรไทย  จาก 18% เป็น 16%
2.บัตรเงินด่วน  Xpress Cash จาก 28% เป็น 25%
3.สินเชื่อเงินด่วน Xpress Loan จาก 28% เป็น 25% (*มีผลเฉพาะสินเชื่อที่อนุมัติ ตั้งแต่ 1 ส.ค. 2563 เป็นต้นไป)
4.สินเชื่อรถ (K Leasing)  จาก 28% เป็น 24%* *มีผลเฉพาะสินเชื่อที่อนุมัติ ตั้งแต่ 1 ส.ค. 2563 เป็นต้นไป

ประเภทที่ 2 มาตรการช่วยเหลือที่ต้องลงทะเบียน
คุณสมบัติของลูกค้าที่สามารถเข้าร่วม
1.ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากสถานการณ์ COVID-19 เช่น ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม สายการบิน หรือธุรกิจที่ปิดบริการชั่วคราวตามประกาศทางราชการ 
2.ลูกค้าต้องไม่ค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเกินกว่า 90 วัน หรือ 3 เดือน นับแต่วันครบกำหนดชำระ (NPL) ณ วันที่ 1 มีนาคม 2563 
3.ลูกค้าที่ได้รับการอนุมัติก่อน วันที่ 1 มกราคม 2564 หมายเหตุ : สำหรับลูกค้าสินเชื่อบ้าน ต้องเป็นลูกค้าที่จดทะเบียนจำนองหลักประกัน ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2564


หลักเกณฑ์ทั่วไป 
การเข้ามาตรการไม่ถือว่าผิดนัดชำระหนี้ และไม่คิดค่าปรับการชำระหนี้ก่อนกำหนด หากลูกหนี้ชำระหนี้ไม่ได้ให้เข้ามาปรึกษาธนาคารเพื่อเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับธนาคาร

สินเชื่อบ้าน  ปรับปรุงโครงสร้างหนี้

มาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 มาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ด้วยการรวมหนี้ประเภทต่าง ๆ ที่ธนาคารกำหนด เพื่อแบ่งเบาภาระในการชำระหนี้ของลูกค้า โดยที่ลูกค้ายังสามารถใช้วงเงินบัตรที่เหลือได้ และจะไม่เสียประวัติข้อมูลเครดิตกับธนาคาร ทั้งนี้ ลูกค้าต้องใช้ที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันในการเข้าร่วม ระยะเวลาการขอเข้าร่วมมาตรการ ตั้งแต่ วันนี้ - 31 ธันวาคม 2564

ข้อดีสำหรับการเข้าร่วมมาตราการ
1.ลดยอดผ่อนชำระรายเดือน
2.ลดดอกเบี้ยที่ต้องชำระ
3.ไม่เสียประวัติข้อมูลเครดิต

ข้อควรพิจารณาในการเข้าร่วมมาตรการ
-ต้องมีการจำนองหลักประกันที่เป็นประกันหนี้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเดิม 
-มีค่าใช้จ่ายในการจดจำนองและค่าอากรแสตมป์ 
-ต้องปิดบัตร หรือวงเงินสินเชื่อเดิม หรือถูกลดวงเงินบัตรเดิมลง 
-มีประวัติปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับธนาคาร กรณีไม่สามารถชำระหนี้วงเงินสินเชื่อใหม่จากการรวมหนี้ได้ อาจถูกดำเนินการทางกฎหมายกับหลักประกันที่อยู่อาศัย 
-ระยะเวลาในการผ่อนชำระยาวขึ้น

สินเชื่อบ้านที่สามารถเข้าโ๕รงการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้

วันที่ 1/03/2563 ต้องไม่เป็นหนี้ NPL รือไม่ค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเกินกว่า 90 วัน

อัตราดอกเบี้ยที่ปรับใหม่จะคิดยังไง
สำหรับวงเงินที่เกิดจากการรวมหนี้ ดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน MRR ของธนาคาร (ปัจจุบัน ณ วันที่ 26 ก.ย. 2563 MRR = 5.97%) หากลูกค้ามีการผิดนัดชำระหนี้ ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยตามประกาศ สำหรับสินเชื่อบ้านเดิม จะคงอัตราดอกเบี้ยเดิมตามเงื่อนไขในสัญญาที่ลูกค้าได้รับ ไม่มีการปรับอัตราดอกเบี้ยในส่วนของสินเชื่อบ้าน’

หลังจากปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้ว

งวดที่ 1-12 ผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ย  พักชำระเงินต้น
หลังจากงวดที่ 12 ผ่อนชำระรายเดือนเท่ากันทุกงวด (เงินต้น + ดอกเบี้ย)
อัตราดอกเบี้ยคิด MRR ต่อปี  MRR = 5.97%
ระยะเวลาผ่อนสูงสุด 84 งวด

ค่าใช้จ่าย 
ค่าใช้จ่ายหลัก ค่าจดทะเบียนจำนอง (สำนักงานที่ดินเรียกเก็บ) ร้อยละ 1 ของวงเงินทั้งหมดที่เข้ามาตรการรวมหนี้ส่วนที่รวมเข้ามาใหม่เท่านั้น ไม่นับรวมหนี้สินเชื่อบ้านเดิมที่ได้มีการจดจำนองไปแล้ว

ลงทะเบียน
สามารถลงทะเบียนได้ โดยพิมพ์ @Help ผ่าน Line KBank Live โดยลูกค้าสามารถเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่ 1 ก.ย. 63 - 31 ธ.ค. 64

#กสิกร #กสิกรพักชำระหนี้ #หนี้บ้านกสิกร #KBANK
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่