🔴มาลาริน/14 ม.ค.พบโควิด 271ราย หายป่วย 717ราย เสียชีวิต 2ราย/หมอ ยง หนุนฉีดวัคซีนปลอดภัย/ศบค.จับตา17-31 ม.ค.อาจผ่อนปรน

🔴โควิดวันนี้ดับเพิ่ม 2 ราย! ศบค.แถลงยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ป่วยเพิ่ม 271 ราย



วันนี้ (14 ม.ค.) เมื่อเวลา 11.30 น. นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โฆษก ศบค.) แถลงถึงสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ว่า..🔻

ล่าสุด สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ โควิด-19 ในไทยวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 271 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 11,262 ราย หายป่วยแล้ว 7,660 ราย ยังรักษาใน รพ. 3,533 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 2 ราย ยอดเสียชีวิตสะสม 69 ราย

รายละเอียดผู้เสียชีวิตมีดังนี้....⚡

รายที่ 68 ชายสัญชาติอังกฤษอายุ 72 ปี เป็นเบาหวาน ไทรอยด์ และมะเร็งปอด
รายที่ 69 ชายไทย อายุ 53 ปี มีโรคประจำตัวเป็นโรคเบาหวาน มีประวัติเดินทางไปหลายจังหวัดภาคตะวันออกโดยรถยนต์ส่วนตัว

รายละเอียดผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ วันที่ 14 ม.ค. 2564 จำนวน 271 ราย มีดังนี้
1.ติดเชื้อในประเทศ 259 ราย
1.1 ผู้ป่วยรายใหม่ จากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 78 ราย
1.2 ค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในชุมชน 181 ราย
 
2. ผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศและเข้าสถานกักกันโรค (State Quarantine) 12 ราย

https://www.sanook.com/news/8337174/



https://covid-19.kapook.com/view236342.html



🔴จากกรณีประเทศไทยเตรียมนำเข้าวัคซีนโควิด-19 จากบริษัทผู้ผลิตจากประเทศจีน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขโดยกรมควบคุมโรค กำหนดจะขึ้นทะเบียนวัคซีนตัวดังกล่าว ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์นี้ และพร้อมฉีดวัคซีนในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ จนทำให้มีกระแสความเป็นห่วงถึงประสิทธิภาพของวัคซีน และผลข้างเคียงที่อาจเป็นอันตรายกับผู้ที่ได้รับ

ล่าสุด ศาสตราจารย์นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว เกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 โดยได้ยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต ที่มีกลุ่มที่ต่อต้านวัคซีน เผยแพร่ข้อมูลผลวิจัยปลอม จนทำให้มีเด็กจำนวนมากเสียโอกาสในการได้รับวัคซีน และทำให้เกิดการเสียชีวิต ซึ่งต้องมีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ ซ้ำหลายครั้งนับ 10 ปี จึงจะได้ข้อพิสูจน์ถูกต้องและชัดเจน ซึ่งเมื่อเทียบกับการสูญเสียจากเชื้อโควิด-19 ในปัจจุบัน เทียบกับอาการข้างเคียงของวัคซีน ถือเป็นเหตุผลที่ควรนำวัคซีนมาพิจารณาใช้ในกรณีฉุกเฉิน และเมื่อมีข้อมูลยืนยันที่มากพอ จึงจะอนุญาตให้ใช้ หรือขึ้นทะเบียนในภาวะปกติ

ศาสตราจารย์นายแพทย์ยง บอกว่า การประเมินวัคซีนในการนำมาใช้ อันดับแรก คือ ช่วยให้ไม่ติดเชื้อเลย รองลงมา คือ ติดเชื้อแต่ไม่เป็นโรค และอันดับสุดท้าย คือ ติดเชื้อแล้วอาการไม่รุนแรงถึงขนาดเข้า ICU หรือเสียชีวิต การศึกษาต้องดูทุกองค์ประกอบเพื่อนำมาประเมินกับสถานการณ์ภาพรวม

นอกจากนี้ศาสตราจารย์นายแพทย์ยง ยังทิ้งท้ายว่า ถ้าเป็นโรคที่ป้องกันได้ควรป้องกัน และวัคซีนก็เป็นวิธีหนึ่ง แต่ก็ต้องมั่นใจว่าวัคซีนมีความปลอดภัย



ขอบคุณภาพ Facebook : Yong Poovorawan

https://news.ch7.com/detail/461322

🔴ศบค.จับตา 17-31 ม.ค. ประเมินสถานการณ์ผ่อนปรน 28 จังหวัดควบคุมสูงสุด ลุ้นยอดติดเชื้อลดลง



ศบค.เผยไทยติดเชื้อใหม่เพิ่ม 271 ราย ในประเทศ 259 ราย เสียชีวิต 2 ราย ข่าวดีวันนี้! จันทบุรี-นครปฐมไม่พบรายงานผู้ป่วย พร้อมเปิดตัว “หมอเบิร์ท” ช่วยงานทีมโฆษก ศบค. จับตา 17-31 ม.ค. นี้ ประเมินสถานการณ์ผ่อน 28 จังหวัดควบคุมสูงสุด หากตัวเลขลดลงเรื่อยๆ ก็เท่ากับว่าเราใช้ยาได้ผล

นพ.ทวีศิลป์กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ผู้ติดเชื้อภายในประเทศระหว่างวันที่ 15 ธ.ค. - 14 ม.ค. มียอดรวม 7,025 ราย แต่เมื่อแยกย่อยเป็นรายสัปดาห์จะเห็นว่า สัปดาห์แรกของปี 64 กราฟยังพุ่งสูงขึ้น มีผู้ติดเชื้อทั้งสิ้น 2,674 ราย แต่สัปดาห์นี้กราฟลดลงมา ขณะนี้เหลืออีก 2 วัน แต่ผู้ติดเชื้ออยู่ที่ 1,209 ราย ถือว่าวางใจได้ระดับหนึ่ง แต่ยังกลัววันเดียวพรวดขึ้นมาแล้วช็อก เราจึงต้องช่วยกันเพื่อลดกราฟลงมาให้ได้ ส่วนสถานการณ์โลกมีผู้ติดเชื้อสะสม 92,767,845 ราย เสียชีวิตสะสม 1,986,696 ราย

นพ.ทวีศิลป์กล่าวต่อว่า ขณะนี้มีผู้ติดเชื้อกระจายอยู่ใน 60 จังหวัด เท่ากับวันที่ 13 ม.ค.ที่ผ่านมา และมี 17 จังหวัดที่ยังไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อเลย จึงอยากให้เป็นศูนย์ไปตลอด ขณะที่จังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 50 ราย ยังอยู่ที่ 10 จังหวัด ซึ่งในวันเดียวกันนี้ 2 ใน 10 จังหวัด คือ จันทบุรี และนครปฐม ไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อเพิ่ม และมี 4 จังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อลดลง คือ ชลบุรี ระยอง กทม. และสมุทรปราการ จึงขอขอบคุณที่ช่วยกันทำให้ตัวเลขดีขึ้น แต่ไม่ได้ตำหนิจังหวัดที่มีรายงานผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น เพราะเป็นผลมาจากการค้นหาเชิงรุก หาก 10 จังหวัดนี้ตัวเลขลดลงมาได้จะทำให้ตัวเลขของทั้งประเทศลดลงมาอย่างเห็นได้ชัด

นพ.ทวีศิลป์กล่าวด้วยว่า ขณะนี้มียอดดาวน์โหลดแอปพลิเคชันหมอชนะ 7.18 ล้านเครื่อง มียอดลงทะเบียนสะสม 5.05 ล้านคน เป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นมาภายในไม่กี่วัน แต่อยากให้มีผู้ลงทะเบียนเพิ่มขึ้นให้ได้ 40 ล้านคนเพื่อเป็นเครื่องมือหนึ่งในการรับมือโควิด-19 ก่อนที่จะมีวัคซีนมา ส่วนที่หลายคนตั้งข้อสังเกตว่าแอปพลิเคชันหมอชนะดูนิ่งๆ ไม่เห็นมีการเคลื่อนไหวอะไร และกินแบตเตอรี่ เปลืองอินเทอร์เน็ต ตอนนี้ทางทีมงานที่รับผิดชอบดูแลแอปพลิเคชันดังกล่าวกำลังแก้ไขอยู่ ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ที่มีข่าวพบผู้ติดเชื้อในโรงงานแห่งเดียวที่ จ.สมุทรสาคร ถึง 900 คนนั้น เป็นการติดเชื้อในโรงงานพัทยาฟู้ด ที่เขาประสานขอตรวจเอง 2 รอบจนได้ตัวเลขดังกล่าว และแยกผู้ติดเชื้อออกมา อีกทั้งยังขอใช้พื้นที่ของตัวเองและออกค่าใช้จ่ายเองในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม มีที่นอนถึง 600 เตียง เราจึงต้องขอขอบคุณความคิดสร้างสรรค์และการร่วมแรงร่วมใจในการรับมือการแพร่ระบาด การระบาดรอบนี้เพียงไม่กี่เดือนก็มีภาพความร่วมมือร่วมใจเกิดขึ้น

นพ.ทวีศิลป์กล่าวอีกว่า ตั้งแต่วันเดียวกันนี้เวลา 14.00 น. ในช่วงของรายการเอ็นบีทีรวมใจสู้ภัยโควิด-19 ซึ่งถ่ายทอดสดจากทำเนียบรัฐบาล จะมี นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมาพูดคุยในหัวข้อเรื่องความหวังคนไทยกับวัคซีนโควิด-19 อย่างไรก็ตาม ในช่วงท้ายของการแถลงข่าวทุกวันในเวลา 14.00 น.จะมีการถ่ายทอดสดในเรื่องโควิด-19 โดยเฉพาะโดยจะเจาะจงประเด็นเฉพาะเรื่องที่จะนำมาพูดคุยโดยผู้เชี่ยวชาญจะมาให้ข้อมูล ในภาพรวมของประเทศดังนั้นขอให้ร่วมกันติดตาม

อย่างไรก็ตาม ขอแนะนำทีมโฆษก ศบค.ที่จะเข้ามาช่วยกัน คือ แพทย์หญิงอภิสมัย ศรีรังสรรค์ หรือหมอเบิร์ท โดยจะเข้ามาร่วมทำงาน ให้รายละเอียด ข้อมูล โดย นพ.ทวีศิลป์ระบุว่า แพทย์หญิงอภิสมัยเคยเป็นจิตแพทย์ โรงพยาบาลศรีธัญญา ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการศูนย์จิตรักษ์ โรงพยาบาลกรุงเทพ เป็นอดีตนางสาวไทย อดีตผู้ประกาศข่าว มีทักษะในการสื่อสาร จะได้มามีส่วนช่วยทำความเข้าใจในเรื่องต่างๆ กับประชาชน ในส่วนที่ตนจะได้รับผิดชอบภาระต่างๆ เพิ่มขึ้น อาจจะต้องออกภาคสนาม ไปสัมผัสปัญหาจริงมาช่วยทำให้เติมเต็ม อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ขอเวลาแพทย์หญิงอภิสมัยได้ศึกษารายละเอียดชุดข้อมูลต่างๆ ก่อน

เมื่อถามถึงการออกมาตรการครั้งนี้จะมีการประเมินสถานการณ์อีกครั้งเมื่อไหร่ เพื่อเข้าสู่มาตรการผ่อนคลาย นพ.ทวีศิลป์กล่าวว่า ล่าสุดมีการประกาศมาตรการออกมาในวันที่ 4 ม.ค. 64 ดังนั้น ที่ประชุม ศบค.จึงนับเป็นวันแรกของการออกมาตรการที่สั่งกันทั่วประเทศ หากนับ 14 วันที่ปลอดภัยจากโรคโควิด-19 จะครบในวันที่ 17 ม.ค. โดย พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)

ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ขอให้ทุกจังหวัดสั่งเข้มออกข้อกำหนดทั้งหลายให้เต็มที่ถึงวันที่ 17 ม.ค. และจะต้องประเมินกันอีกครั้งในอีก 2 สัปดาห์ถัดไป ซึ่งการสิ้นสุดการใช้มาตรการชุดนี้ในวันที่ 31 ม.ค. จึงจะเป็นช่วงการดูผลของการออกฤทธิ์ ฉะนั้น หากตัวเลขลดลงเรื่อยๆ ก็เท่ากับว่าเราใช้ยาได้ผล อย่างไรก็ตาม ตลอดเดือน ม.ค.นี้ขอแรงกายแรงใจกับทุกคนให้ช่วยกันทำให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 ลดลง จะได้ไม่ต้องเห็นภาพจากการใช้ยาแรง

https://mgronline.com/politics/detail/9640000003731

มองในด้านดีค่ะ รักษาหายมากกว่าติดเชื้อ....นานาเยี่ยม

วัคซีนโควิดเป็นการป้องกันในระดับหนึ่ง ควรมีความปลอดภัย
การฉีดดีกว่าไม่ฉีด

ศบค.เปรยถึงมาตรการผ่อนปรน น่าจะมีอะไรดีขึ้นนะคะ

ไม่ประมาท การ์ดอย่าตกค่ะ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่