พิษโควิดระลอกสอง ร้านอาหารวูบ 90% เจ๊ง 3 แสนต่อวัน
https://www.matichon.co.th/economy/news_2506575
พิษโควิดระลอกสอง ร้านอาหารวูบ 90% เจ๊ง 3 แสนต่อวัน จัดสังสรรค์เหลือไม่เกิน 20 คน ท่องเที่ยวไม่ฟื้นปี64 จองห้องพักฮวบ 30%
เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19ในประเทศระลอกสองใน 40กว่าจังหวัดทั่วประเทศ เริ่มส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจที่ถูกคุมเข้มลดการแพ่ระบาด นางฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม ว่า ภาพรวมการจองร้านอาหาร หรือจองอาหารเพื่อจัดเลี้ยง ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ย้อนกลับไปในช่วง 1-2 สัปดาห์ก่อนพบการระบาดโควิด-19 ในจังหวัดสมุทรสาคร ยอดจองเข้ามาดีมาก อยู่ในระดับที่สูงกว่าการประกอบธุรกิจมาทั้งปี 2563 แต่พอเจอการระบาด พบว่า ยอดยกเลิกสูงมาก เทียบการยกเลิกไปกว่า 90% โดยในจำนวนร้านอาหารภายใต้สมาคมกว่า 200-300 ราย ถูกยกเลิกการจองจัดงานแทบทั้งหมด ซึ่งในวันที่ 21 ธันวาคมที่ผ่านมา มีร้านค้าภายใต้สมาคม เปิดเผยยอดขายหายไปกว่า 3 แสนบาทต่อวัน
นาง
ฐนิวรรณกล่าวว่า ความน่ากลัวในตอนนี้ คือยังไม่สามารถรู้ได้ว่าบุคคลใดรับเชื้อโควิด-19 เข้ามาบ้าง ทำให้การใช้ชีวิตในขณะนี้ มีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะหากมีการรวมตัวกันในจำนวนมาก และไม่มีมาตรการรองรับที่เคร่งครัดมากพอ อาทิ การเว้นระยะห่างระหว่างกัน การล้างมือบ่อยๆ การทำความสะอาดสิ่งของสาธารณะที่ต้องใช้ร่วมกัน อาทิ ห้องน้ำ เก้าอี้ โต๊ะ โดยขณะนี้ในบางร้านอาหาร หรือภัตตาคารขนาดใหญ่ เริ่มมีการกำหนดการทำความสะอาดที่รัดกุมมากขึ้น อาทิ หากมีเมนูอาหาร 9 รายการ รับประทานเสร็จแล้ว 1 รายการ จะต้องเก็บภาชนะทุกอย่างและทำความสะอาดทั้งหมด ก่อนจะนำเมนูอื่นๆ มาให้บริการเพิ่ม
• จัดสังสรรค์เหลือไม่เกิน20คน
“ขณะนี้หากประเมินตัวเลขการจองร้านอาหาร ถือว่ายังมีอยู่บ้าง ในส่วนของงานเลี้ยงขนาดเล็ก จำนวนไม่เกิน 20 คน ส่วนยอดจองสำหรับ 50 คนขึ้นไป ถูกยกเลิกหมดแล้ว เพราะความกังวลในการรวมตัวกันจำนวนมากเกินไป” นาง
ฐนิวรรณกล่าว
นาง
ฐนิวรรณกล่าวว่า ความกังวลในตอนนี้มีเรื่องเดียวคือ กลัวการกลับมาล็อกดาวน์อีกครั้ง เพราะผู้ประกอบการบางรายไม่สามารถไปไหวแล้ว เนื่องจากต้นทุนของพนักงานและค่าใช้จ่ายอื่นๆ บางรายมีสูงถึง 1 ล้านบาทต่อเดือน ซึ่งร้านอาหาร หากมองในส่วนของกำไรจริงๆ จะอยู่ที่เครื่องดื่ม ไม่ใช่อาหารเป็นหลัก ส่วนการย้ายไปสู่ออนไลน์ หรือการส่งดิลิเวอรี ก็จะตัดกำไรในส่วนนี้ออก และออนไลน์มีการแข่งขันสูง ทำให้การล็อกดาวน์อีกรอบจึงถือเป็นการเร่งให้ผู้ประกอบการปิดตัวลงเร็วขึ้น ซึ่งหากมีการปิดตัวลง ลูกจ้างก็จะตกงาน ภาระจะอยู่ที่รัฐบาลว่ามีเงินสมทบในประกันสังคมมากเพียงพอหรือไม่
หลังจากปลดล็อกดาวน์ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา จนถึงเดือนพฤศจิกายน เป็นเวลาเพียง 5 เดือนเท่านั้น ที่ร้านอาหารกลับมาเปิดใหม่อีกครั้ง ซึ่งต้นทุนที่ลงไปใหม่ ยังไม่ได้คืน ก็มีความเสี่ยงต้องปิดชั่วคราวอีกรอบ ซึ่งถือว่ามีผลกระทบมาก โดยความจริงในช่วง 10-20 วัน ก่อนเข้าสู่ปีใหม่ ถือเป็นช่วงที่ร้านอาหารมีรายได้เข้ามาสูงมาก ซึ่งอาจมากกว่าช่วง 5 เดือนที่กลับมาเปิดใหม่ แต่พอเจอโควิด-19 ระบาดอีกรอบ ทุกอย่างก็หยุดชะงักไปอีก ขณะนี้จึงขอแค่อย่าเพิ่งล็อกดาวน์ และขอให้ยืดเวลาการล็อกดาวน์ร้านอาหารให้นานที่สุด
• สทท.ชี้โควิดฉุดเที่ยวปี64ไม่ฟื้น
นาย
ชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์โควิด-19 ที่กลับมาแพร่ระบาดอีกครั้ง ส่งผลให้ทิศทางภาคการท่องเที่ยวปี 2564 ยอมรับยังไม่ฟื้นตัว เพราะสถานการณ์การท่องเที่ยวจะไม่เหมือนเดิม เนื่องจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ไม่สามารถเข้ามาเที่ยวได้เป็นจำนวนมากเหมือนที่ผ่านมา ทำให้ปี 2564 จะเป็นปีที่ภาคเอกชนและภาครัฐต้องร่วมมือกัน ในการพยุงธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องให้เดินหน้าต่อไปได้
นาย
ชำนาญกล่าวว่า การที่จะทำให้ภาคการท่องเที่ยวกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งนั้น ขึ้นอยู่กับมาตรการของทางภาครัฐในการควบคุมสถานการณ์ไม่ให้มีการแพร่เชื้อไปในวงกว้าง และหยุดการแพร่กระจาย เร่งทำให้สถานการณ์คลี่คลายได้โดยเร็ว ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวนั้นได้เตรียมความพร้อมทุกด้านสำหรับการกลับมาเดินทางท่องเที่ยวของคนไทยอีกครั้ง
• ยอดจองพักฮวบ30%
นาย
ชำนาญกล่าวว่า สำหรับการแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ที่ขยายวงกว้างไปหลายจังหวัด ได้ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนในการท่องเที่ยวสร้างความวิตกกังวลว่าจะได้รับเชื้อ และยกเลิกการเดินทางท่องเที่ยวในหลายจังหวัด ทำให้ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบ โดยขณะนี้พบว่ายอดจองที่พักถูกยกเลิกกว่า 20-30% จากที่เคยมียอดจองที่พักประมาณ 80% ส่งผลให้บรรยากาศการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2564 ในปี 2563 แต่ละพื้นที่ค่อนข้างจะเงียบเหงาไม่คึกคัก แม้จะไม่มีการล็อกดาวน์ก็ตาม แต่ประชาชนส่วนใหญ่มีการระมัดระวังตัวมากขึ้นไม่ออกจากบ้าน เพื่อลดความเสี่ยงลง
ศบค.ผวามกราคม ป่วยโควิดพุ่งวัน 1.8หมื่นคน ถ้ายังไร้มาตรการเข้ม ขู่ 7 วันถ้าย่อหย่อนใช้ยาแรง
https://www.matichon.co.th/covid19/news_2506573
เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิดรอบ 2 ในประเทศไทยยังต้องเฝ้าระวังและคุมเข้มมาตรการอย่างใกล้ชิด หลังยอดผู้ติดเชื่อรายใหม่ยังเพิ่มขึ้น หลายจังหวัดออกมาตรการล็อกดาวน์จุดเสี่ยง ล่าสุด นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 หรือโควิด-19 (ศบค.) แถลงรายงานสถานการณ์โควิด19 ในประเทศไทยเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม ว่าขณะนี้ประเทศไทยพบผู้ป่วยใน 45 จังหวัด จะเห็นว่าแต่ละช่วงเวลา ตั้งแต่วันที่ 18-20 ธันวาคม พบเพียง 6 จังหวัด วันที่ 21-23 ธันวาคม เพิ่มเป็น 26 จังหวัด วันที่ 24-26 ธันวาคม เป็น 37 จังหวัด และวันที่ 27-29 ธันวาคม เพิ่มขึ้นมาเป็น 45 จังหวัด ถือว่าค่อนข้างเร็ว ทีมระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค จึงทำฉากทัศน์ของการระบาดระลอกใหม่ใน 3 ฉากทัศน์
นพ.
ทวีศิลป์ กล่าวว่า ฉากทัศน์ที่ 1 หากไม่มีการควบคุมหรือมาตรการใด จะเกิดเป็นเส้นสีแดง เป็นกราฟระฆังคว่ำ จะพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นวันละ 1,000-2,000 ราย ไปจนถึงวันที่ 14 มกราคม จะพบเพิ่มขึ้น 18,000 รายต่อวัน ฉากทัศน์ที่ 2 เส้นสีเหลือง ใช้มาตรการปานกลาง จะพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเกือบ 4,000 รายต่อวัน โดยกลางเดือนหน้าจะพบผู้ป่วยรายใหม่ 8,000 รายต่อวัน ซึ่งกำลังดำเนินการระดับนี้อยู่และเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้น หากระยะสั้นๆ พบผู้ป่วยสะสมหลักหมื่นราย และ ฉากทัศน์ที่ 3 เส้นสีเขียว เป็นมาตรการเข้มข้นที่เราเคยทำได้ เช่น การสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ ก็จะพบผู้ป่วยน้อยกว่า 1,000 รายต่อวัน
“
ระลอกสอง ระลอกใหม่ แล้วแต่คนจะใช้ เราไม่อยากเห็นภาพเส้นสีแดง หากพูดถึงเราพบรายใหม่หลักร้อย เราอยู่ในเส้นสีเหลืองอยู่ ซึ่งน่ากังวลใจมาก หากเราไม่ทำอะไร กราฟจะยิ่งชันขึ้น จะพบผู้ป่วยหลักหลายพัน สะสมเป็นหลักหมื่นราย ดังนั้นหากเราร่วมมือกันในวันนี้ ตัวเลขผู้ติดเชื้อเราจะไม่เยอะเหมือนต่างประเทศ ซึ่งขณะนี้ทั่วโลกพบผู้ป่วยรายใหม่รอบ 24 ชั่วโมง 487,273 ราย สะสมที่ 81,669,521 ราย พบเสียชีวิต 9,105 ราย อัตราเสียชีวิตร้อยละ 2.2 โดยวันนี้เราก็พบผู้เสียชีวิตใหม่ 1 ราย ก็หมายความว่า ถ้าเราสะสมหลายวันก็จะมีผู้เสียชีวิตตามมา เหมือนกับสถานการณ์ของโลกตอนนี้” นพ.
ทวีศิลป์ กล่าว
• สั่งผวจ.แบ่ง4พื้นที่ตามศบค.
นพ.
ทวีศิลป์ กล่าวถึงมาตรการควบคุมป้องกันการระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยว่า ที่ประชุมศบค.ชุดเล็ก มีการวิเคราะห์สถานการณ์ขณะนี้ จำนวนเพิ่มขึ้น แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ 1.การติดเชื้อจากบุคคลถึงบุคคล ซึ่งเกิดขึ้น 2 แบบ แบบที่ 1 การเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงมีกิจกรรมเสี่ยง จะติดเป็นรายบุคคล เช่นที่ จ.สมุทรสาคร ที่ทำงานในพื้นที่เสี่ยง มีโอกาสติดอยู่แล้ว แบบที่ 2 ไม่ทราบและไม่ระวังการสัมผัสผู้ติดเชื้อ ซึ่งจะต้องดูแลตนเอง
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า 2.การติดเชื้อแบบกลุ่มก้อน มีสาเหตุจากการเข้าไปร่วมกิจกรรมต่างๆ หากเป็นกิจกรรมที่ถูกต้อง เช่น การประชุม งานเลี้ยงสังสรรค์ แต่อาจจะถอยทิศทางลงให้ปลอดภัยขึ้น และกิจกรรมที่ลักลอบ เป็นเรื่องที่ปวดหัวใจคนไทย เช่น การเล่นพนัน มั่วสุม ปาร์ตี้ ที่ซึ่งมาแล้วเป็นภาพสีเทาๆ ดำๆ เกิดเป็นตัวเลขติดเชื้อ 2-3 หลัก เพราะตรงนี้เป็นส่วนใหญ่ แต่เป็นสิ่งที่ป้องกันได้แต่ต้องควบคุม
เรายังใช้มาตรการเดิมที่นายกฯ ประกาศออกมา คือ 4 พื้นที่เสี่ยง ได้แก่ พื้นที่ควบคุมสูงสุด พื้นที่ควบคุม พื้นที่เฝ้าระวังสูงสุดและพื้นที่เฝ้าระวัง แต่สิ่งสำคัญที่สุด แปลงไปสู่การปฏิบัติ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ประชุมผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะผู้ที่ได้รับมอบอำนาจตาม พ.ร.บ.ฉุกเฉิน และพ.ร.บ.โรคติดต่อ ให้แบ่งส่วนพื้นที่ต่างๆ เหล่านี้ ภายในวันพรุ่งนี้และจะต้องประกาศออกมาในระดับของอำเภอ ตำบล ให้ได้นพ.ทวีศิลป์ กล่าว
• ขู่7วันถ้าย่อหย่อนใช้ยาแรง
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า การดำเนินการในโครงข่ายเฝ้าระวัง รังผึ้ง มอบให้ ศบค.มท. ขับเคลื่อน ศปก.จังหวัด ศปก.กทม. ให้มีกลไกเฝ้าระวังถึงระดับ ศปก.ตำบล โดยใช้กลไกการปกครองและสาธารณสุข คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด จะรับผิดชอบประเมิน กำหนดระดับพื้นที่สถานการณ์ โดยเน้นที่จังหวัดหรืออำเภอขึ้นมา โดยผู้ว่าราชการจังหวัดจะประกาศให้ประชาชนรับทราบ
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ขอความร่วมมือประชาชน เน้นย้ำมาตรการที่จะออกจากทางจังหวัดอย่างเข้มข้น โดยจะใช้เวลานี้นับไปอีก 7 วัน ในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่เราเคยนับ 7 วันอันตราย นอกจากอุบัติเหตุแล้วการติดเชื้อก็เป็นความสำคัญ หากควบคุมจำนวนผู้ติดเชื้อได้อยู่ในขีดความสามารถที่มีทรัพยากรรองรับ เรายังคงใช้มาตรการ 4 พื้นที่ แต่หากประชาชนไม่ให้ความร่วมมือ เอกชนย่อหย่อน จะทบทวนมาตรการทั้งหมด
• ปรับ1แสนรพ.เปิดจองวัคซีน
นพ.
ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่าตามที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งเปิดบริการรับจองวัคซีนป้องกันโรค โควิด-19 ที่นำเข้าจากต่างประเทศนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอชี้แจงว่า วัคซีนจัดเป็นยาตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ยา พ.ศ.2510 ซึ่งการผลิตหรือนำเข้าวัคซีนเพื่อใช้ในประเทศไทยจะต้องขึ้นทะเบียนกับ อย. ก่อน แม้ว่าจะผ่านการขึ้นทะเบียนจากต่างประเทศแล้วก็ตาม เนื่องจาก อย.ต้องประเมินทางวิชาการว่าวัคซีนนั้นมีคุณภาพ ปลอดภัย และป้องกันโรคได้
ด้าน ภญ.
สุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า จากกรณีที่โรงพยาบาลเอกชนโฆษณาเปิดจองวัคซีนทางเว็บไซต์ เข้าข่ายกระทำผิดตามพ.ร.บ.ยาฯ ฐานโฆษณาขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งขณะนี้ อย.ได้สั่งระงับการโฆษณาขายยาดังกล่าว และมีหนังสือแจ้งทางโรงพยาบาลมาเปรียบเทียบปรับเป็นเงิน 100,000 บาท แล้ว
ทั้งนี้ วัคซีนไม่ใช่สินค้าทั่วไปที่ประชาชนจะหาซื้อมาใช้เอง การพิจารณาว่าผู้ใดควรฉีดวัคซีนหรือไม่ ต้องดำเนินการอย่างระมัดระวังโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะมีโอกาสที่จะเกิดการแพ้ อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ และต้องมีการประเมินความปลอดภัยของวัคซีนอย่างรอบด้านทั้งก่อนและหลังการฉีด ดังนั้น ประชาชนโปรดอย่าหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 มาใช้เอง ขณะนี้ภาครัฐได้ทำทุกวิถีทางเพื่อให้คนไทยได้เข้าถึงวัคซีนที่มีคุณภาพโดยเร็วที่สุด ขอให้ประชาชนเชื่อมั่นและรับข่าวสารที่ถูกต้องจากภาครัฐเท่านั้น
JJNY : ร้านอาหารวูบ 90% เจ๊ง3แสนต่อวัน/ศบค.ผวามค.ป่วยพุ่งวัน1.8หมื่นคน/ชัชชาติอวยพรปีใหม่/ฝุ่นกรุงเกินค่าติดอันดับ10โลก
https://www.matichon.co.th/economy/news_2506575
พิษโควิดระลอกสอง ร้านอาหารวูบ 90% เจ๊ง 3 แสนต่อวัน จัดสังสรรค์เหลือไม่เกิน 20 คน ท่องเที่ยวไม่ฟื้นปี64 จองห้องพักฮวบ 30%
เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19ในประเทศระลอกสองใน 40กว่าจังหวัดทั่วประเทศ เริ่มส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจที่ถูกคุมเข้มลดการแพ่ระบาด นางฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม ว่า ภาพรวมการจองร้านอาหาร หรือจองอาหารเพื่อจัดเลี้ยง ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ย้อนกลับไปในช่วง 1-2 สัปดาห์ก่อนพบการระบาดโควิด-19 ในจังหวัดสมุทรสาคร ยอดจองเข้ามาดีมาก อยู่ในระดับที่สูงกว่าการประกอบธุรกิจมาทั้งปี 2563 แต่พอเจอการระบาด พบว่า ยอดยกเลิกสูงมาก เทียบการยกเลิกไปกว่า 90% โดยในจำนวนร้านอาหารภายใต้สมาคมกว่า 200-300 ราย ถูกยกเลิกการจองจัดงานแทบทั้งหมด ซึ่งในวันที่ 21 ธันวาคมที่ผ่านมา มีร้านค้าภายใต้สมาคม เปิดเผยยอดขายหายไปกว่า 3 แสนบาทต่อวัน
นางฐนิวรรณกล่าวว่า ความน่ากลัวในตอนนี้ คือยังไม่สามารถรู้ได้ว่าบุคคลใดรับเชื้อโควิด-19 เข้ามาบ้าง ทำให้การใช้ชีวิตในขณะนี้ มีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะหากมีการรวมตัวกันในจำนวนมาก และไม่มีมาตรการรองรับที่เคร่งครัดมากพอ อาทิ การเว้นระยะห่างระหว่างกัน การล้างมือบ่อยๆ การทำความสะอาดสิ่งของสาธารณะที่ต้องใช้ร่วมกัน อาทิ ห้องน้ำ เก้าอี้ โต๊ะ โดยขณะนี้ในบางร้านอาหาร หรือภัตตาคารขนาดใหญ่ เริ่มมีการกำหนดการทำความสะอาดที่รัดกุมมากขึ้น อาทิ หากมีเมนูอาหาร 9 รายการ รับประทานเสร็จแล้ว 1 รายการ จะต้องเก็บภาชนะทุกอย่างและทำความสะอาดทั้งหมด ก่อนจะนำเมนูอื่นๆ มาให้บริการเพิ่ม
• จัดสังสรรค์เหลือไม่เกิน20คน
“ขณะนี้หากประเมินตัวเลขการจองร้านอาหาร ถือว่ายังมีอยู่บ้าง ในส่วนของงานเลี้ยงขนาดเล็ก จำนวนไม่เกิน 20 คน ส่วนยอดจองสำหรับ 50 คนขึ้นไป ถูกยกเลิกหมดแล้ว เพราะความกังวลในการรวมตัวกันจำนวนมากเกินไป” นางฐนิวรรณกล่าว
นางฐนิวรรณกล่าวว่า ความกังวลในตอนนี้มีเรื่องเดียวคือ กลัวการกลับมาล็อกดาวน์อีกครั้ง เพราะผู้ประกอบการบางรายไม่สามารถไปไหวแล้ว เนื่องจากต้นทุนของพนักงานและค่าใช้จ่ายอื่นๆ บางรายมีสูงถึง 1 ล้านบาทต่อเดือน ซึ่งร้านอาหาร หากมองในส่วนของกำไรจริงๆ จะอยู่ที่เครื่องดื่ม ไม่ใช่อาหารเป็นหลัก ส่วนการย้ายไปสู่ออนไลน์ หรือการส่งดิลิเวอรี ก็จะตัดกำไรในส่วนนี้ออก และออนไลน์มีการแข่งขันสูง ทำให้การล็อกดาวน์อีกรอบจึงถือเป็นการเร่งให้ผู้ประกอบการปิดตัวลงเร็วขึ้น ซึ่งหากมีการปิดตัวลง ลูกจ้างก็จะตกงาน ภาระจะอยู่ที่รัฐบาลว่ามีเงินสมทบในประกันสังคมมากเพียงพอหรือไม่
หลังจากปลดล็อกดาวน์ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา จนถึงเดือนพฤศจิกายน เป็นเวลาเพียง 5 เดือนเท่านั้น ที่ร้านอาหารกลับมาเปิดใหม่อีกครั้ง ซึ่งต้นทุนที่ลงไปใหม่ ยังไม่ได้คืน ก็มีความเสี่ยงต้องปิดชั่วคราวอีกรอบ ซึ่งถือว่ามีผลกระทบมาก โดยความจริงในช่วง 10-20 วัน ก่อนเข้าสู่ปีใหม่ ถือเป็นช่วงที่ร้านอาหารมีรายได้เข้ามาสูงมาก ซึ่งอาจมากกว่าช่วง 5 เดือนที่กลับมาเปิดใหม่ แต่พอเจอโควิด-19 ระบาดอีกรอบ ทุกอย่างก็หยุดชะงักไปอีก ขณะนี้จึงขอแค่อย่าเพิ่งล็อกดาวน์ และขอให้ยืดเวลาการล็อกดาวน์ร้านอาหารให้นานที่สุด
• สทท.ชี้โควิดฉุดเที่ยวปี64ไม่ฟื้น
นายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์โควิด-19 ที่กลับมาแพร่ระบาดอีกครั้ง ส่งผลให้ทิศทางภาคการท่องเที่ยวปี 2564 ยอมรับยังไม่ฟื้นตัว เพราะสถานการณ์การท่องเที่ยวจะไม่เหมือนเดิม เนื่องจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ไม่สามารถเข้ามาเที่ยวได้เป็นจำนวนมากเหมือนที่ผ่านมา ทำให้ปี 2564 จะเป็นปีที่ภาคเอกชนและภาครัฐต้องร่วมมือกัน ในการพยุงธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องให้เดินหน้าต่อไปได้
นายชำนาญกล่าวว่า การที่จะทำให้ภาคการท่องเที่ยวกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งนั้น ขึ้นอยู่กับมาตรการของทางภาครัฐในการควบคุมสถานการณ์ไม่ให้มีการแพร่เชื้อไปในวงกว้าง และหยุดการแพร่กระจาย เร่งทำให้สถานการณ์คลี่คลายได้โดยเร็ว ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวนั้นได้เตรียมความพร้อมทุกด้านสำหรับการกลับมาเดินทางท่องเที่ยวของคนไทยอีกครั้ง
• ยอดจองพักฮวบ30%
นายชำนาญกล่าวว่า สำหรับการแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ที่ขยายวงกว้างไปหลายจังหวัด ได้ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนในการท่องเที่ยวสร้างความวิตกกังวลว่าจะได้รับเชื้อ และยกเลิกการเดินทางท่องเที่ยวในหลายจังหวัด ทำให้ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบ โดยขณะนี้พบว่ายอดจองที่พักถูกยกเลิกกว่า 20-30% จากที่เคยมียอดจองที่พักประมาณ 80% ส่งผลให้บรรยากาศการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2564 ในปี 2563 แต่ละพื้นที่ค่อนข้างจะเงียบเหงาไม่คึกคัก แม้จะไม่มีการล็อกดาวน์ก็ตาม แต่ประชาชนส่วนใหญ่มีการระมัดระวังตัวมากขึ้นไม่ออกจากบ้าน เพื่อลดความเสี่ยงลง
ศบค.ผวามกราคม ป่วยโควิดพุ่งวัน 1.8หมื่นคน ถ้ายังไร้มาตรการเข้ม ขู่ 7 วันถ้าย่อหย่อนใช้ยาแรง
https://www.matichon.co.th/covid19/news_2506573
เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิดรอบ 2 ในประเทศไทยยังต้องเฝ้าระวังและคุมเข้มมาตรการอย่างใกล้ชิด หลังยอดผู้ติดเชื่อรายใหม่ยังเพิ่มขึ้น หลายจังหวัดออกมาตรการล็อกดาวน์จุดเสี่ยง ล่าสุด นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 หรือโควิด-19 (ศบค.) แถลงรายงานสถานการณ์โควิด19 ในประเทศไทยเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม ว่าขณะนี้ประเทศไทยพบผู้ป่วยใน 45 จังหวัด จะเห็นว่าแต่ละช่วงเวลา ตั้งแต่วันที่ 18-20 ธันวาคม พบเพียง 6 จังหวัด วันที่ 21-23 ธันวาคม เพิ่มเป็น 26 จังหวัด วันที่ 24-26 ธันวาคม เป็น 37 จังหวัด และวันที่ 27-29 ธันวาคม เพิ่มขึ้นมาเป็น 45 จังหวัด ถือว่าค่อนข้างเร็ว ทีมระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค จึงทำฉากทัศน์ของการระบาดระลอกใหม่ใน 3 ฉากทัศน์
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ฉากทัศน์ที่ 1 หากไม่มีการควบคุมหรือมาตรการใด จะเกิดเป็นเส้นสีแดง เป็นกราฟระฆังคว่ำ จะพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นวันละ 1,000-2,000 ราย ไปจนถึงวันที่ 14 มกราคม จะพบเพิ่มขึ้น 18,000 รายต่อวัน ฉากทัศน์ที่ 2 เส้นสีเหลือง ใช้มาตรการปานกลาง จะพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเกือบ 4,000 รายต่อวัน โดยกลางเดือนหน้าจะพบผู้ป่วยรายใหม่ 8,000 รายต่อวัน ซึ่งกำลังดำเนินการระดับนี้อยู่และเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้น หากระยะสั้นๆ พบผู้ป่วยสะสมหลักหมื่นราย และ ฉากทัศน์ที่ 3 เส้นสีเขียว เป็นมาตรการเข้มข้นที่เราเคยทำได้ เช่น การสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ ก็จะพบผู้ป่วยน้อยกว่า 1,000 รายต่อวัน
“ระลอกสอง ระลอกใหม่ แล้วแต่คนจะใช้ เราไม่อยากเห็นภาพเส้นสีแดง หากพูดถึงเราพบรายใหม่หลักร้อย เราอยู่ในเส้นสีเหลืองอยู่ ซึ่งน่ากังวลใจมาก หากเราไม่ทำอะไร กราฟจะยิ่งชันขึ้น จะพบผู้ป่วยหลักหลายพัน สะสมเป็นหลักหมื่นราย ดังนั้นหากเราร่วมมือกันในวันนี้ ตัวเลขผู้ติดเชื้อเราจะไม่เยอะเหมือนต่างประเทศ ซึ่งขณะนี้ทั่วโลกพบผู้ป่วยรายใหม่รอบ 24 ชั่วโมง 487,273 ราย สะสมที่ 81,669,521 ราย พบเสียชีวิต 9,105 ราย อัตราเสียชีวิตร้อยละ 2.2 โดยวันนี้เราก็พบผู้เสียชีวิตใหม่ 1 ราย ก็หมายความว่า ถ้าเราสะสมหลายวันก็จะมีผู้เสียชีวิตตามมา เหมือนกับสถานการณ์ของโลกตอนนี้” นพ.ทวีศิลป์ กล่าว
• สั่งผวจ.แบ่ง4พื้นที่ตามศบค.
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวถึงมาตรการควบคุมป้องกันการระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยว่า ที่ประชุมศบค.ชุดเล็ก มีการวิเคราะห์สถานการณ์ขณะนี้ จำนวนเพิ่มขึ้น แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ 1.การติดเชื้อจากบุคคลถึงบุคคล ซึ่งเกิดขึ้น 2 แบบ แบบที่ 1 การเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงมีกิจกรรมเสี่ยง จะติดเป็นรายบุคคล เช่นที่ จ.สมุทรสาคร ที่ทำงานในพื้นที่เสี่ยง มีโอกาสติดอยู่แล้ว แบบที่ 2 ไม่ทราบและไม่ระวังการสัมผัสผู้ติดเชื้อ ซึ่งจะต้องดูแลตนเอง
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า 2.การติดเชื้อแบบกลุ่มก้อน มีสาเหตุจากการเข้าไปร่วมกิจกรรมต่างๆ หากเป็นกิจกรรมที่ถูกต้อง เช่น การประชุม งานเลี้ยงสังสรรค์ แต่อาจจะถอยทิศทางลงให้ปลอดภัยขึ้น และกิจกรรมที่ลักลอบ เป็นเรื่องที่ปวดหัวใจคนไทย เช่น การเล่นพนัน มั่วสุม ปาร์ตี้ ที่ซึ่งมาแล้วเป็นภาพสีเทาๆ ดำๆ เกิดเป็นตัวเลขติดเชื้อ 2-3 หลัก เพราะตรงนี้เป็นส่วนใหญ่ แต่เป็นสิ่งที่ป้องกันได้แต่ต้องควบคุม
เรายังใช้มาตรการเดิมที่นายกฯ ประกาศออกมา คือ 4 พื้นที่เสี่ยง ได้แก่ พื้นที่ควบคุมสูงสุด พื้นที่ควบคุม พื้นที่เฝ้าระวังสูงสุดและพื้นที่เฝ้าระวัง แต่สิ่งสำคัญที่สุด แปลงไปสู่การปฏิบัติ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ประชุมผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะผู้ที่ได้รับมอบอำนาจตาม พ.ร.บ.ฉุกเฉิน และพ.ร.บ.โรคติดต่อ ให้แบ่งส่วนพื้นที่ต่างๆ เหล่านี้ ภายในวันพรุ่งนี้และจะต้องประกาศออกมาในระดับของอำเภอ ตำบล ให้ได้นพ.ทวีศิลป์ กล่าว
• ขู่7วันถ้าย่อหย่อนใช้ยาแรง
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า การดำเนินการในโครงข่ายเฝ้าระวัง รังผึ้ง มอบให้ ศบค.มท. ขับเคลื่อน ศปก.จังหวัด ศปก.กทม. ให้มีกลไกเฝ้าระวังถึงระดับ ศปก.ตำบล โดยใช้กลไกการปกครองและสาธารณสุข คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด จะรับผิดชอบประเมิน กำหนดระดับพื้นที่สถานการณ์ โดยเน้นที่จังหวัดหรืออำเภอขึ้นมา โดยผู้ว่าราชการจังหวัดจะประกาศให้ประชาชนรับทราบ
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ขอความร่วมมือประชาชน เน้นย้ำมาตรการที่จะออกจากทางจังหวัดอย่างเข้มข้น โดยจะใช้เวลานี้นับไปอีก 7 วัน ในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่เราเคยนับ 7 วันอันตราย นอกจากอุบัติเหตุแล้วการติดเชื้อก็เป็นความสำคัญ หากควบคุมจำนวนผู้ติดเชื้อได้อยู่ในขีดความสามารถที่มีทรัพยากรรองรับ เรายังคงใช้มาตรการ 4 พื้นที่ แต่หากประชาชนไม่ให้ความร่วมมือ เอกชนย่อหย่อน จะทบทวนมาตรการทั้งหมด
• ปรับ1แสนรพ.เปิดจองวัคซีน
นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่าตามที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งเปิดบริการรับจองวัคซีนป้องกันโรค โควิด-19 ที่นำเข้าจากต่างประเทศนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอชี้แจงว่า วัคซีนจัดเป็นยาตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ยา พ.ศ.2510 ซึ่งการผลิตหรือนำเข้าวัคซีนเพื่อใช้ในประเทศไทยจะต้องขึ้นทะเบียนกับ อย. ก่อน แม้ว่าจะผ่านการขึ้นทะเบียนจากต่างประเทศแล้วก็ตาม เนื่องจาก อย.ต้องประเมินทางวิชาการว่าวัคซีนนั้นมีคุณภาพ ปลอดภัย และป้องกันโรคได้
ด้าน ภญ.สุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า จากกรณีที่โรงพยาบาลเอกชนโฆษณาเปิดจองวัคซีนทางเว็บไซต์ เข้าข่ายกระทำผิดตามพ.ร.บ.ยาฯ ฐานโฆษณาขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งขณะนี้ อย.ได้สั่งระงับการโฆษณาขายยาดังกล่าว และมีหนังสือแจ้งทางโรงพยาบาลมาเปรียบเทียบปรับเป็นเงิน 100,000 บาท แล้ว
ทั้งนี้ วัคซีนไม่ใช่สินค้าทั่วไปที่ประชาชนจะหาซื้อมาใช้เอง การพิจารณาว่าผู้ใดควรฉีดวัคซีนหรือไม่ ต้องดำเนินการอย่างระมัดระวังโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะมีโอกาสที่จะเกิดการแพ้ อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ และต้องมีการประเมินความปลอดภัยของวัคซีนอย่างรอบด้านทั้งก่อนและหลังการฉีด ดังนั้น ประชาชนโปรดอย่าหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 มาใช้เอง ขณะนี้ภาครัฐได้ทำทุกวิถีทางเพื่อให้คนไทยได้เข้าถึงวัคซีนที่มีคุณภาพโดยเร็วที่สุด ขอให้ประชาชนเชื่อมั่นและรับข่าวสารที่ถูกต้องจากภาครัฐเท่านั้น