เทือกเขาที่ไม่มีอยู่จริงแต่ปรากฏอยู่ในแผนที่แอฟริกานานเกือบ 1 ศตวรรษ




(เทือกเขาคอง (Mountains of Kong) บนแผนที่แอฟริกาตะวันตกตั้งแต่ปี 1839 
Cr.จาก Milner's Descriptive Atlas, 1850THOMAS MILNER, WIKIMEDIA COMMONS // CC BY-SA 3.0


ยอดเขาสูงหลายแห่งของเทือกเขา Kong ที่สูงเสียดฟ้า ที่หลายคนเล่าว่า ยอดเขาเหล่านี้มีหิมะปกคลุมอยู่เกือบตลอดปี  เทือกเขาอันโดดเด่นนี้ปรากฏอยู่บนแผนที่แอฟริกาตะวันตกในศตวรรษที่ 19 เกือบทุกฉบับ ซึ่งมันขวางกั้นและเปลี่ยนทางเดินของแม่น้ำหลายสาย  แต่เทือกเขาซึ่งอยู่ในจินตนาการของนักเดินทางจากโลกตะวันตกมานานหลายสิบปีนี้ ไม่เคยปรากฏว่ามีอยู่จริง

Simon Garfield นักข่าวและผู้เขียนหนังสือเรื่อง On the Map ที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างแผนที่และมุมมองต่อโลกของผู้คนในสังคมต่าง ๆ กล่าวว่า
เทือกเขาในตำนานแห่งนี้คือ "ผี" ในประวัติศาสตร์ของการทำแผนที่  โดยเทือกเขา Kong ได้รับการพูดถึงเป็นครั้งแรกในโลกตะวันตกโดย Mungo Park
นักสำรวจชาวสก็อตซึ่งเดินทางเข้าไปในเซเนกัลและมาลีระหว่างปี 1795-1797 เพื่อสำรวจหาแหล่งกำเนิดของแม่น้ำไนเจอร์

เรื่องราวการเดินทางของเขาได้รับการตีพิมพ์ในกรุงลอนดอนในปี 1799 โดยมี  James Rennell นักวาดแผนที่ชาวอังกฤษ วาดภาพประกอบใส่ไว้ในภาคผนวก  ซึ่งภาพนี้เผยให้เห็นเทือกเขา Kong ทอดตัวข้ามแอฟริกาตะวันตกไปตามเส้นขนานที่ 10 (ละติจูด 10 องศาเหนือเส้นศูนย์สูตร) ขนานจาก Tambacounda (วันนี้ในภาคตะวันออกของประเทศเซเนกัล) ต่อเนื่องเชื่อมต่อกับเทือกเขาแห่งดวงจันทร์ (Mountains of the Moon) ในภาคกลางของแอฟริกา แต่ไม่มีช่วงใดที่เป็นจริง สิ่งเดียวที่ทั้งคู่พิสูจน์ได้ก็คือจินตนาการทางภูมิศาสตร์นั้นเพื่อทำลายความสูญญากาศของพื้นที่ว่างบนแผนที่ 

โดยระบุว่า เทือกเขาได้รับการตั้งชื่อตามเมือง Kong  เมืองหลวงของอาณาจักร Kong หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า วาตทารา (Wattara สะกดอีกแบบคือ Ouattara) มีศูนย์กลางอยู่ในไอวอรีโคสต์ และพื้นที่โดยรอบบูร์กินาฟาโซในปัจจุบัน



ภาพของ Mungo Park นักสำรวจชาวสก็อต ที่บรรยายถึงเทือกเขา Kong ในช่วงทศวรรษสุดท้ายของศตวรรษที่ 18
Cr.GETTY IMAGES


ส่วนเทือกเขาแห่งดวงจันทร์ได้รับการรายงานครั้งแรกเมื่อประมาณ 50 AD โดย Diogenes พ่อค้าชาวกรีกที่อ้างว่าพบแหล่งที่มาของแม่น้ำไนล์หลังจากเดินทางเข้าประเทศจากเมือง Rhapta ซึ่งเป็นเมืองตลาดที่มีที่ตั้งไม่ชัดเจน แต่เชื่อว่ามีอยู่นี้ในแทนซาเนีย 
 
Diogenes บอกว่าแม่น้ำไนล์ลอยขึ้นมาจากเทือกเขาที่เต็มไปด้วยหิมะซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับทะเลสาบใหญ่สองแห่ง เขาตั้งชื่อยอดเขาที่เต็มไปด้วยหิมะเหล่านี้ว่าเทือกเขาแห่งดวงจันทร์  ปัจจุบันทะเลสาบที่ยิ่งใหญ่สองแห่งของเขาถูกคิดว่าเป็นทะเลสาบวิกตอเรียและทะเลสาบ Nyassa และเทือกเขาแห่งดวงจันทร์น่าจะเป็นช่วงหนึ่งของทิวเขา Rwenzori ที่กั้นชายแดนระหว่างยูกันดากับคองโก

Thomas Bassett ศาสตราจารย์กิตติคุณ มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิศาสตร์แอฟริกาตะวันตก กล่าวว่า เป็นเรื่องยากที่สรุปได้ว่า Park เห็นเทือกเขานั้นจริง ๆ หรือว่าเขาแต่งเรื่องขึ้น
"เขาอาจจะเห็นภาพลวงตา หรือบางทีอาจจะเป็นกลุ่มเมฆที่ดูเหมือนเทือกเขา"
"จากนั้นเขาได้ถามนักเดินทางและพ่อค้าว่า มีแนวเทือกเขาอยู่ในทิศทางนั้นหรือไม่ แล้วพวกเขาก็ตอบว่า มี" 

Prof. Bassett บอกกับบีบีซีเพิ่มเติมว่า เรื่องนี้มีอะไรมากกว่าเพียงแค่ความสับสน และบอกว่าทฤษฎีที่เกี่ยวกับเทือกเขา ต้องมีการศึกษาให้เข้าใจในบริบทที่กว้างเกี่ยวกับการถกเถียงกันทางทฤษฎีเรื่องเส้นทางการไหลของแม่น้ำไนเจอร์  ซึ่งเป็นหนึ่งในเรื่องราวลี้ลับที่สุดสำหรับนักภูมิศาสตร์ที่ศึกษาแอฟริกาตะวันตกในขณะนั้น
ซึ่งเขาเชื่อว่า การเกิดขึ้นมาของเทือกเขา Kong ที่มีทฤษฎีที่ขัดแย้งกันหลายทฤษฎี น่าจะมาจาก James Rennell  วาดแผนที่เทือกเขา Kong เพื่อสนับสนุนทฤษฎีของเขาเองเกี่ยวกับแม่น้ำไนเจอร์


 
James Rennell นักวาดแผนที่ชาวอังกฤษ Cr.GETTY IMAGES



การค้นพบเทือกเขา Kong ทำให้เกิดการอภิปรายกันถึงต้นกำเนิดของแม่น้ำไนเจอร์


Rennell  เป็นหนึ่งในนักภูมิศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในยุคสมัยของเขาที่เชื่อว่า แม่น้ำไนเจอร์ไหลไปทางทิศตะวันออก จากมหาสมุทรแอตแลนติกลงสู่ทวีปแอฟริกา จากนั้นก็ระเหยกลายเป็นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำในแผ่นดิน  และการมีอยู่ของเทือกเขา Kong สอดคล้องกับแนวคิดของเขาที่ว่ามันเป็น
" อุปสรรคอันยิ่งใหญ่ที่ไม่มีใครอาจเอาชนะได้ " ซึ่งทำให้แม่น้ำไนเจอร์ไม่สามารถไหลไปทางทิศใต้เพื่อไปลงอ่าวเบนินได้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว แม่น้ำสายนี้ไหลไปที่นั่น

เทือกเขา Kong ที่ปรากฏอยู่บนแผนที่แอฟริกาเกือบทุกฉบับตลอดศตวรรษที่ 19  ด้วยรูปร่างและการทอดตัวที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับจินตนาการของนักวาดแผนที่แต่ละคน แต่ภาพวาดประกอบของ Rennell มีอิทธิพลอย่างมากที่สุด

ในแผนที่บางฉบับ เทือกเขานี้ทอดข้ามทวีปแอฟริกาทั้งทวีปจากตะวันตกสู่ตะวันออก เหมือนเป็นกำแพงกั้นระหว่างทะเลทรายซาฮาราและแอฟริกากลาง
มีการพรรณนาถึงเทือกเขานี้อีกหลายอย่าง ทั้งการมีการลงสีซึ่งอธิบายถึงความสูงเสียดฟ้าที่น่าเกรงขาม  และบริเวณไหล่เขาที่ลาดชันมีความแห้งแล้งมาก แต่อุดมไปด้วยทองคำ  ซึ่งชาวยุโรปบางส่วนเชื่อว่า เทือกเขานี้เป็นเหมือน "เอลโดราโดของแอฟริกาตะวันตก" เป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่โลหะมีค่าของอาณาจักรอาชานติ หรือกานาในปัจจุบัน

ในที่สุดภูเขาก็ได้รับการพิสูจน์ในปี 1889  โดย Louis-Gustave Binger เจ้าหน้าที่และนักสำรวจชาวฝรั่งเศส ได้รายงานการเดินทางไปตามแนวแม่น้ำไนเจอร์ของเขา  โดยให้ข่าวกับสมาคมภูมิศาสตร์ปารีส (Paris Geographical Society) ว่า เทือกเขา Kong ไม่มีอยู่จริง จากนั้น เทือกเขานี้ก็หายไปในทันทีไม่ต่างไปจากตอนที่มันถูกทำให้ปรากฏขึ้นมา




แต่ Prof. Bassett ได้กล่าวว่า เทือกเขา Kong ในตำนานเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า แม้แต่แผนที่ซึ่งเราเชื่อว่ามีความเป็นภววิสัย ก็ยังถูกสร้างขึ้นมาจากอคติส่วนตัวและมุมมองที่มีต่อโลกของแต่ละคนได้  ซึ่งเขาได้เขียนไว้ในบทความชิ้นหนึ่งที่ร่วมกับ Philip W. Porter ศาสตราจารย์กิตติคุณที่วิทยาลัยศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมินเนโซตา 

โดยช่วงก่อนศตวรรษที่ 18 Prof.Bassett ระบุว่า แผนที่ในสมัยนั้นแสดงถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่อยู่ในจินตนาการและมีความอัศจรรย์พันลึกทุกประเภท
ยกตัวอย่างในสมัยศตวรรษที่ 16 นักวาดแผนที่ที่ชื่อว่า Abraham Ortelius ที่บรรยายไว้ว่าต้นกำเนิดของแม่น้ำไนล์มาจากทะเลสาบ 2 แห่งในแอฟริกาใต้
ซึ่ง Prof.Bassett  ตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมถึงกรณีของเทือกเขา Kong  ที่มีความพิเศษตรงที่มันปรากฏอยู่ในแผนที่ต่าง ๆ ตลอดช่วงศตวรรษที่ 19 ได้อย่างไรทั้งที่ช่วงนั้นถือว่ามีความเป็นวิทยาศาสตร์แล้ว

ด้วยความที่ชื่อเสียงของ Rennell  และสายสัมพันธ์ที่มีกับสำนักพิมพ์ในยุโรปหลายแห่ง ทำให้เรื่องเล่าขานนี้ถูกเผยแพร่ต่อกันไปโดยไม่มีใครโต้แย้ง
แต่การปฏิเสธว่าเทือกเขา Kong  ไม่มีอยู่จริงอย่างเป็นทางการจากรายงานของ Binger  ก็มีผลประโยชน์ทางการเมืองแอบแฝงอยู่เช่นกัน  นั่นคือ
การไม่มีอยู่ของเทือกเขานี้จะเป็นการสนับสนุนนโยบายแผ่ขยายอาณาเขตเข้าไปในแอฟริกาตะวันตกของฝรั่งเศส

และในช่วงศตวรรษที่ 19 สำหรับรัฐบาลยุโรปหลายๆประเทศแล้ว แผนที่ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องที่นำมาซึ่งการถกเถียงกันทางภูมิศาสตร์เท่านั้น แต่ยังเป็นสิ่งที่แสดงถึงแรงปรารถนาในการล่าอาณานิคมด้วย



การเดินทางสำรวจที่นำโดย Louis-Gustave Binger นักสำรวจชาวฝรั่งเศส ทำให้ตำนานเกี่ยวกับเทือกเขา Kong สิ้นสุดลง



แผนที่โดย John Cary แสดง "Kong Mountains" ที่ 10 ° North, 1805 - ที่มา: WikiCommons



หนึ่งในภาพวาดการ์ตูนล้อเลียนที่มีชื่อเสียงที่สุดในศตวรรษที่ 19
 เป็นภาพที่ นายกรัฐมนตรี William Pitt ของอังกฤษ และจักรพรรดินโปเลียน ตัดแบ่งโลกบนโต๊ะอาหาร






(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)


แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่