โบสถ์ยุคใหม่ที่สร้างเสร็จภายในวันเดียว
ที่ Chersonesus ใกล้ Sevastopol
แคว้น Crimea ในปี 2015
ที่สร้างตามประเเพณีโบราณ
.
ในยุคกลางชุมชนรัสเซียหลายแห่ง
โดยเฉพาะในภูมิภาค Novgorod และ Pskov
เชื่อกันว่าการสร้างโบสถ์เสร็จภายในวันเดียว
จะป้องกันภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในเวลานั้น
ส่วนใหญ่มักจะเป็นโรคระบาด
ประเพณีที่เรียกว่า obydennye khramy
กำหนดให้ชาวบ้านคริสต์ต้องร่วมมือกัน
สร้างโบสถ์ให้เสร็จภายในวันเดียว
ตามคำปฏิญาณของชุมชมร่วมกัน
การก่อสร้างใช้แรงงานชาวบ้านในชุมชน
โดยมีการออกแบบโบสถ์ที่เรียบง่าย
และมีขนาดเล็ก สร้างด้วยไม้
การก่อสร้างจะเริ่มในเวลากลางคืนหลังเที่ยงคืน
และสิ้นสุดก่อนพระอาทิตย์ตกของวันรุ่งขึ้น
เมื่อถึงเวลาค่ำคริสตจักรจะต้องได้รับการถวายโบสถ์
โบสถ์ดังกล่าวมักจะมีอายุใช้งานราว 40-50 ปี
โบสถ์แรกสุดที่สร้างแบบนี้
ตามที่มีการบันทึกไว้เรื่อง obydennye khramy
ต้องย้อนกลับไปในปีค.ศ. 1390
เมื่อหมู่บ้านใน Novgorod ได้สร้างโบสถ์ไม้เล็ก ๆ
เพื่อปัองกัน Black Plague ไข้กาฬโรค
ที่กำลังโหมกระหน่ำทั่วยุโรป
ตามจดหมายเหต Novgorod Chronicle
“ ในวันพุธที่ผ่านมา พวกชาวนาได้สร้าง
โบสถ์คริสตจักรเสร็จภายในวันเดียว
พวกเขานำท่อนไม้มาจากป่า
ถวายให้ Saint Afanasii
และอีกที่หนึ่งสร้างโบสถ์ถวาย Saint Sophia
ที่เป็นเมืองข้างเคียงก็สร้างโบสถ์วันเดียวด้วยเช่นกัน
ขอให้ Saint Afanasii อำนวยพร
ตามคำเทศนาของ Bishop Ioann
และภายในวันเดียวกันก็มีการฉลองพิธีสวดฉลองโบสถ์ใหม่ทั้ง 2 แห่ง
ด้วยความเมตตาของพระเจ้า
และการขอร้อง Saint Sophia
และคำอำนวยพรของ Bishop Ioann
ทำให้โรคระบาดสิ้นสุดลง ”
.
.
ในช่วงศตวรรษที่ 15 และครึ่งแรกของศตวรรษที่ 16
โบสถ์ที่สร้างเสร็จภายในหนึ่งวันตามคำปฏิญาณ
ปรากฏขึ้นเป็นประจำในภูมิภาค Pskov และภูมิภาค Novgorod
โบสถ์ที่สร้างขึ้นทั้งหมดนี้มีสาเหตุมาจากโรคระบาดบางอย่าง
ที่คุกคามชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่คือ กาฬโรค
หรืออาการร่วมกันของกาฬโรคและโรคปอดบวม
ซึ่งทำให้ชาวบ้านต้องมารวมตัวกันสร้างโบสถ์
ในปี 1552 มีโบสถ์อย่างน้อย 2 แห่งใน Pskov
ที่สร้างขึ้นเพื่อปัองกันโรคระบาดลึกลับที่มาจากอังกฤษ
หนึ่งทศวรรษต่อมามีการระบาดของไข้ทรพิษ
ทั้งใน Novgorod และ Pskov
ส่งผลให้มีการสร้างโบสถ์เพิ่มขึ้นอีกมากมายในทั้ง 2 เมือง
การสร้างโบสถ์คริสตจักรภายในหนึ่งวัน
มักจะเป็นการตัดสินใจของชุมชน
แต่บางครั้งพระเจ้าซาร์ก็สั่งให้สร้างขึ้นมาเอง
ในปี 1522 หลังจากการก่อสร้างโบสถ์หนึ่งวัน
ที่อุทิศให้กับ
Saint Varlam Khutynskii
.
.
แต่ก็ล้มเหลวในการหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโรคใน Pskov
พระเจ้าซาร์
Vasilii III จึงสั่งให้สร้างโบสถ์หลังที่ 2
เพื่อเป็นเกียรติคุณและการขอร้องพระแม่มารี
ด้วยเงินจากท้องพระคลังของพระองค์เอง
.
.
และอีกครั้งในปี 1532
เมื่อ Pskov ตกอยู่ท่ามกลางการแพร่ระบาดของไข้ทรพิษ
พระองค์ยังได้จ่ายค่าก่อสร้างโบสถ์วันเดียว
อุทิศให้กับหัวหน้าทูตสวรรค์
Archangel Gabriel
.
.
2 ทศวรรษต่อมา พระเจ้าซาร์
Ivan IV
สั่งให้สร้างโบสถ์วันเดียว 2 แห่ง
ด้วยความพยายามอย่างยิ่งยวด
เพื่อทำให้พระเจ้าพอใจและทรงโปรด
บรรเทาความทุกข์ทรมานอย่างกว้างขวาง
จากการระบาดของกาฬโรคในเมือง
.
.
.
ในปี 1654 โบสถ์ obydennyi khram
ที่รู้จักกันล่าสุด สร้างขึ้นในเมือง Vologda
มีบันทึกรายละเอียดที่ทำให้ทราบสาเหตุ
และวิธีการสร้างโบสถ์วันเดียวมากขึ้น
ในปีนั้นเกิดโรคระบาดร้ายแรงทั่วรัสเซียตอนกลาง
คร่าชีวิตผู้คนในเมืองไปหลายพันคน
" ซากศพเกลื่อนถนนเหมือนสายระโยงระยาง
ศพมากกว่าสิบสองศพที่ต้องแบ่งปันหลุมศพเดียวกัน
และถือว่าศพเหล่านี้ช่างโชคดีเสียเหลือกัน
เพราะศพหลายศพไม่ได้รับการฝังศพ
และศพเหล่านั้นกองอยู่บนถนนและถูกสุนัขกัดกิน "
นักเขียนร่วมสมัยกล่าว
เมื่อถึงเดือนสิงหาคม 1654
โรคระบาดได้มาถึงเมือง Vologda
และหลายคนเสียชีวิตภายในไม่กี่ชั่วโมง
หลังจากที่โรคนี้ระบาดมาถึงเมืองแล้ว
ด้วยความกลัวหลายคนจึงหันมานับถือ
ลัทธิผีปิศาจถวายการสวดอ้อนวอน
และอดอาหารเพื่อชดใช้บาป แต่ก็ไม่ได้ผล
จากนั้นพวกเขาสาบานว่าจะสร้างโบสถ์วันเดียว
โดยสัญญาว่าจะสร้างให้เสร็จภายใน 24 ชั่วโมง
ในวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 1654 เวลา 1 น.
มีการวางรากฐานสำหรับโบสถ์
บางคนดูแลแผนงานภาคพื้นดิน
บางดูแลการชักลากไม้
บางคนทำคบเพลิงจากเปลือกไม้เบิร์ช
ที่วางรอบ ๆ สถานที่ก่อสร้าง
เพื่อให้แสงสว่างสำหรับผู้ที่สร้างโบสถ์
ในตอนค่ำของวันเดียวกันงานก็เสร็จสิ้น
ยกเว้นผนังด้านในที่หยาบกร้านและไม่ได้รับการตกแต่ง
สัญลักษณ์และอุปกรณ์ประกอบพิธีศาสนา
ถูกหยิบยืมมาจากคริสตจักรใกล้เคียงหลายแห่ง
เพื่อถวายอย่างเป็นทางการในวันรุ่งขึ้น
โบสถ์แห่งใหม่นี้อุทิศแด่พระผู้ช่วยให้รอด
5 วันหลังจากสร้างเสร็จแล้ว
ศิลปินท้องถิ่นได้วาดรูปสัญลักษณ์
ของพระผู้ช่วยให้รอดสำหรับโบสถ์สร้างเสร็จในวันเดียว
ในบันทึกระบุว่าการสร้างโบสถ์ให้เสร็จสมบูรณ์วันเดียว
นำมาซึ่งการหยุดยั้งความตาย ให้ทุกคนมีชีวิตรอด
เรื่องนี้กลายเป็นเรื่องน่าทึ่งสำหรับชาวบ้าน
แม้ว่านักวิจัยสมัยใหม่ต้องการชี้ให้เห็นว่า
การแพร่ระบาดได้ลดลงแล้ว
เมื่อโบสถ์วันเดียว Vologda เริ่มสร้างขึ้น
สถานที่ตั้งทางตอนเหนือของ Vologda
เริ่มมีอากาศหนาวเย็นทำให้โรคเริ่มชะลอตัว
ไม่ส่งผลกระทบต่อประชากรในเมืองนี้
เพราะแบคทีเรียที่เป็นโรคระบาด
มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิสูง
ทุกวันนี้ไม่มีโบสถ์สร้างเสร็จในวันเดียว
obydennye khramy ที่คงอยู่ในสภาพดั้งเดิม
แม้ว่าหลายแห่งจะถูกสร้างขึ้นใหม่ด้วยหิน
และยังอยู่จนถึงทุกวันนี้
ซึ่งรวมถึงโบสถ์ Spaso-Vsegradsky ใน Vologda
.
.
ซึ่งเป็นโบสถ์ตั้งในที่เดียวกับที่สร้างขึ้นในปี 1654
มีการสร้างขึ้นใหม่ด้วยหินในอีกประมาณ 30 ปีต่อมา
ตัวอย่างอื่น ๆ ได้แก่ :
.
Church of Varlaam Khutynsky ใน Pskov
.
Church of Simeon ใน Veliky Novgorod
.
Church of the Anastasia Uzoreshitelnitsa ใน Pskov
.
เมื่อไม่นานมานี้ชุมชนออร์โธดอกซ์หลายแห่ง
พยายามที่จะฟื้นฟูประเพณีโบราณสร้างโบสถ์เสร็จในวันเดียว
ตัวอย่างเช่นในปี 2011 มีการสร้างโบสถ์ภายในวันเดียว
โบสถ์ใหม่ 7 แห่งใน 7 เมือง ภายในวันเดียวกัน
เพื่อเฉลิมฉลองวันประสูติของ
Theotokos ผู้ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด
ก่อนหน้านี้มีการดำเนินโครงการที่คล้ายกันใน
Kemerovo, Moscow, Minsk, Kiev และที่อื่น ๆ
.
.
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/34V8sZB
https://bit.ly/3nYsMRz
https://bit.ly/2MiO4LH
.
.
ภาพวาด-การสร้างโบสถถ์ภายในวันเดียว
.
.
.
.
.
.
Sunomata Castle
.
หมายเหตุ
พิธีทางศาสนาพุทธ ที่ตัองทำให้เสร็จภายในวันเดียว
คือ กรานกฐิน ขึงไม้สะดึง
คือ เอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึงที่ไม้สะดึง
เย็บเสร็จแล้วบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ร่วมใจกัน
ยกผ้าให้ในนามของสงฆ์เพื่ออนุโมทนา
ภิกษุผู้เย็บจีวรเช่นนั้นเรียกว่า ผู้กราน
พิธีทำในบัดนี้คือ ภิกษุซึ่งจำพรรษาครบ ๓ เดือน
ในวัดเดียวกัน (ต้องมีจำนวน ๕ รูปขึ้นไป)
ประชุมกันในอุโบสถ พร้อมใจกันยกผ้ากฐิน
ให้แก่ภิกษุรูปหนึ่งในหมู่พวกเธอ
ภิกษุรูปนั้นทำกิจตั้งแต่ ซัก กะตัด เย็บ ย้อม ให้เสร็จในวันนั้น
ทำพินทุกัปปะอธิษฐานเป็นจีวรครองผืนใดผืนหนึ่งในไตรจีวร
แล้วบอกแก่ภิกษุสงฆ์ผู้ยกผ้าให้ เพื่ออนุโมทนา
และภิกษุสงฆ์นั้นได้อนุโมทนาแล้ว เรียกว่า กรานกฐิน
ถ้าผ้ากฐินเป็นจีวรสำเร็จรูป กิจที่จะต้อง
ซัก กะ ตัด เย็บย้อม ก็ไม่มี
(กราน เป็นภาษาเขมร แปลว่า ขึง คือทำให้ตึง
กฐิน เป็นภาษาบาลี แปลว่า ไม้สะดึง
กรานกฐินก็คือขึงไม้สะดึง คือเอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึงที่ไม้สะดึง)
เขียน กราลกฐิน บ้างก็มี
©
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
©
การกรานกฐิน/ทอดกฐิน มีมาตั้งแต่พุทธกาลแล้ว
©
ประวัติกฐิน
ชาวรัสเซียยุคกลางสร้างโบสถ์เสร็จภายในวันเดียวเพื่อป้องกันโรคระบาด
ในยุคกลางชุมชนรัสเซียหลายแห่ง
โดยเฉพาะในภูมิภาค Novgorod และ Pskov
เชื่อกันว่าการสร้างโบสถ์เสร็จภายในวันเดียว
จะป้องกันภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในเวลานั้น
ส่วนใหญ่มักจะเป็นโรคระบาด
ประเพณีที่เรียกว่า obydennye khramy
กำหนดให้ชาวบ้านคริสต์ต้องร่วมมือกัน
สร้างโบสถ์ให้เสร็จภายในวันเดียว
ตามคำปฏิญาณของชุมชมร่วมกัน
การก่อสร้างใช้แรงงานชาวบ้านในชุมชน
โดยมีการออกแบบโบสถ์ที่เรียบง่าย
และมีขนาดเล็ก สร้างด้วยไม้
การก่อสร้างจะเริ่มในเวลากลางคืนหลังเที่ยงคืน
และสิ้นสุดก่อนพระอาทิตย์ตกของวันรุ่งขึ้น
เมื่อถึงเวลาค่ำคริสตจักรจะต้องได้รับการถวายโบสถ์
โบสถ์ดังกล่าวมักจะมีอายุใช้งานราว 40-50 ปี
โบสถ์แรกสุดที่สร้างแบบนี้
ตามที่มีการบันทึกไว้เรื่อง obydennye khramy
ต้องย้อนกลับไปในปีค.ศ. 1390
เมื่อหมู่บ้านใน Novgorod ได้สร้างโบสถ์ไม้เล็ก ๆ
เพื่อปัองกัน Black Plague ไข้กาฬโรค
ที่กำลังโหมกระหน่ำทั่วยุโรป
ตามจดหมายเหต Novgorod Chronicle
“ ในวันพุธที่ผ่านมา พวกชาวนาได้สร้าง
โบสถ์คริสตจักรเสร็จภายในวันเดียว
พวกเขานำท่อนไม้มาจากป่า
ถวายให้ Saint Afanasii
และอีกที่หนึ่งสร้างโบสถ์ถวาย Saint Sophia
ที่เป็นเมืองข้างเคียงก็สร้างโบสถ์วันเดียวด้วยเช่นกัน
ขอให้ Saint Afanasii อำนวยพร
ตามคำเทศนาของ Bishop Ioann
และภายในวันเดียวกันก็มีการฉลองพิธีสวดฉลองโบสถ์ใหม่ทั้ง 2 แห่ง
ด้วยความเมตตาของพระเจ้า
และการขอร้อง Saint Sophia
และคำอำนวยพรของ Bishop Ioann
ทำให้โรคระบาดสิ้นสุดลง ”
.
.
ในช่วงศตวรรษที่ 15 และครึ่งแรกของศตวรรษที่ 16
โบสถ์ที่สร้างเสร็จภายในหนึ่งวันตามคำปฏิญาณ
ปรากฏขึ้นเป็นประจำในภูมิภาค Pskov และภูมิภาค Novgorod
โบสถ์ที่สร้างขึ้นทั้งหมดนี้มีสาเหตุมาจากโรคระบาดบางอย่าง
ที่คุกคามชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่คือ กาฬโรค
หรืออาการร่วมกันของกาฬโรคและโรคปอดบวม
ซึ่งทำให้ชาวบ้านต้องมารวมตัวกันสร้างโบสถ์
ในปี 1552 มีโบสถ์อย่างน้อย 2 แห่งใน Pskov
ที่สร้างขึ้นเพื่อปัองกันโรคระบาดลึกลับที่มาจากอังกฤษ
หนึ่งทศวรรษต่อมามีการระบาดของไข้ทรพิษ
ทั้งใน Novgorod และ Pskov
ส่งผลให้มีการสร้างโบสถ์เพิ่มขึ้นอีกมากมายในทั้ง 2 เมือง
การสร้างโบสถ์คริสตจักรภายในหนึ่งวัน
มักจะเป็นการตัดสินใจของชุมชน
แต่บางครั้งพระเจ้าซาร์ก็สั่งให้สร้างขึ้นมาเอง
ในปี 1522 หลังจากการก่อสร้างโบสถ์หนึ่งวัน
ที่อุทิศให้กับ Saint Varlam Khutynskii
.
แต่ก็ล้มเหลวในการหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโรคใน Pskov
พระเจ้าซาร์ Vasilii III จึงสั่งให้สร้างโบสถ์หลังที่ 2
เพื่อเป็นเกียรติคุณและการขอร้องพระแม่มารี
ด้วยเงินจากท้องพระคลังของพระองค์เอง
.
เมื่อ Pskov ตกอยู่ท่ามกลางการแพร่ระบาดของไข้ทรพิษ
พระองค์ยังได้จ่ายค่าก่อสร้างโบสถ์วันเดียว
อุทิศให้กับหัวหน้าทูตสวรรค์ Archangel Gabriel
.
2 ทศวรรษต่อมา พระเจ้าซาร์ Ivan IV
สั่งให้สร้างโบสถ์วันเดียว 2 แห่ง
ด้วยความพยายามอย่างยิ่งยวด
เพื่อทำให้พระเจ้าพอใจและทรงโปรด
บรรเทาความทุกข์ทรมานอย่างกว้างขวาง
จากการระบาดของกาฬโรคในเมือง
.
.
ในปี 1654 โบสถ์ obydennyi khram
ที่รู้จักกันล่าสุด สร้างขึ้นในเมือง Vologda
มีบันทึกรายละเอียดที่ทำให้ทราบสาเหตุ
และวิธีการสร้างโบสถ์วันเดียวมากขึ้น
ในปีนั้นเกิดโรคระบาดร้ายแรงทั่วรัสเซียตอนกลาง
คร่าชีวิตผู้คนในเมืองไปหลายพันคน
" ซากศพเกลื่อนถนนเหมือนสายระโยงระยาง
ศพมากกว่าสิบสองศพที่ต้องแบ่งปันหลุมศพเดียวกัน
และถือว่าศพเหล่านี้ช่างโชคดีเสียเหลือกัน
เพราะศพหลายศพไม่ได้รับการฝังศพ
และศพเหล่านั้นกองอยู่บนถนนและถูกสุนัขกัดกิน "
นักเขียนร่วมสมัยกล่าว
เมื่อถึงเดือนสิงหาคม 1654
โรคระบาดได้มาถึงเมือง Vologda
และหลายคนเสียชีวิตภายในไม่กี่ชั่วโมง
หลังจากที่โรคนี้ระบาดมาถึงเมืองแล้ว
ด้วยความกลัวหลายคนจึงหันมานับถือ
ลัทธิผีปิศาจถวายการสวดอ้อนวอน
และอดอาหารเพื่อชดใช้บาป แต่ก็ไม่ได้ผล
จากนั้นพวกเขาสาบานว่าจะสร้างโบสถ์วันเดียว
โดยสัญญาว่าจะสร้างให้เสร็จภายใน 24 ชั่วโมง
ในวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 1654 เวลา 1 น.
มีการวางรากฐานสำหรับโบสถ์
บางคนดูแลแผนงานภาคพื้นดิน
บางดูแลการชักลากไม้
บางคนทำคบเพลิงจากเปลือกไม้เบิร์ช
ที่วางรอบ ๆ สถานที่ก่อสร้าง
เพื่อให้แสงสว่างสำหรับผู้ที่สร้างโบสถ์
ในตอนค่ำของวันเดียวกันงานก็เสร็จสิ้น
ยกเว้นผนังด้านในที่หยาบกร้านและไม่ได้รับการตกแต่ง
สัญลักษณ์และอุปกรณ์ประกอบพิธีศาสนา
ถูกหยิบยืมมาจากคริสตจักรใกล้เคียงหลายแห่ง
เพื่อถวายอย่างเป็นทางการในวันรุ่งขึ้น
โบสถ์แห่งใหม่นี้อุทิศแด่พระผู้ช่วยให้รอด
5 วันหลังจากสร้างเสร็จแล้ว
ศิลปินท้องถิ่นได้วาดรูปสัญลักษณ์
ของพระผู้ช่วยให้รอดสำหรับโบสถ์สร้างเสร็จในวันเดียว
ในบันทึกระบุว่าการสร้างโบสถ์ให้เสร็จสมบูรณ์วันเดียว
นำมาซึ่งการหยุดยั้งความตาย ให้ทุกคนมีชีวิตรอด
เรื่องนี้กลายเป็นเรื่องน่าทึ่งสำหรับชาวบ้าน
แม้ว่านักวิจัยสมัยใหม่ต้องการชี้ให้เห็นว่า
การแพร่ระบาดได้ลดลงแล้ว
เมื่อโบสถ์วันเดียว Vologda เริ่มสร้างขึ้น
สถานที่ตั้งทางตอนเหนือของ Vologda
เริ่มมีอากาศหนาวเย็นทำให้โรคเริ่มชะลอตัว
ไม่ส่งผลกระทบต่อประชากรในเมืองนี้
เพราะแบคทีเรียที่เป็นโรคระบาด
มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิสูง
ทุกวันนี้ไม่มีโบสถ์สร้างเสร็จในวันเดียว
obydennye khramy ที่คงอยู่ในสภาพดั้งเดิม
แม้ว่าหลายแห่งจะถูกสร้างขึ้นใหม่ด้วยหิน
และยังอยู่จนถึงทุกวันนี้
ซึ่งรวมถึงโบสถ์ Spaso-Vsegradsky ใน Vologda
.
มีการสร้างขึ้นใหม่ด้วยหินในอีกประมาณ 30 ปีต่อมา
ตัวอย่างอื่น ๆ ได้แก่ :
.
เมื่อไม่นานมานี้ชุมชนออร์โธดอกซ์หลายแห่ง
พยายามที่จะฟื้นฟูประเพณีโบราณสร้างโบสถ์เสร็จในวันเดียว
ตัวอย่างเช่นในปี 2011 มีการสร้างโบสถ์ภายในวันเดียว
โบสถ์ใหม่ 7 แห่งใน 7 เมือง ภายในวันเดียวกัน
เพื่อเฉลิมฉลองวันประสูติของ Theotokos ผู้ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด
ก่อนหน้านี้มีการดำเนินโครงการที่คล้ายกันใน
Kemerovo, Moscow, Minsk, Kiev และที่อื่น ๆ
.
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/34V8sZB
https://bit.ly/3nYsMRz
https://bit.ly/2MiO4LH
.
.
หมายเหตุ
พิธีทางศาสนาพุทธ ที่ตัองทำให้เสร็จภายในวันเดียว
คือ กรานกฐิน ขึงไม้สะดึง
คือ เอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึงที่ไม้สะดึง
เย็บเสร็จแล้วบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ร่วมใจกัน
ยกผ้าให้ในนามของสงฆ์เพื่ออนุโมทนา
ภิกษุผู้เย็บจีวรเช่นนั้นเรียกว่า ผู้กราน
พิธีทำในบัดนี้คือ ภิกษุซึ่งจำพรรษาครบ ๓ เดือน
ในวัดเดียวกัน (ต้องมีจำนวน ๕ รูปขึ้นไป)
ประชุมกันในอุโบสถ พร้อมใจกันยกผ้ากฐิน
ให้แก่ภิกษุรูปหนึ่งในหมู่พวกเธอ
ภิกษุรูปนั้นทำกิจตั้งแต่ ซัก กะตัด เย็บ ย้อม ให้เสร็จในวันนั้น
ทำพินทุกัปปะอธิษฐานเป็นจีวรครองผืนใดผืนหนึ่งในไตรจีวร
แล้วบอกแก่ภิกษุสงฆ์ผู้ยกผ้าให้ เพื่ออนุโมทนา
และภิกษุสงฆ์นั้นได้อนุโมทนาแล้ว เรียกว่า กรานกฐิน
ถ้าผ้ากฐินเป็นจีวรสำเร็จรูป กิจที่จะต้อง
ซัก กะ ตัด เย็บย้อม ก็ไม่มี
(กราน เป็นภาษาเขมร แปลว่า ขึง คือทำให้ตึง
กฐิน เป็นภาษาบาลี แปลว่า ไม้สะดึง
กรานกฐินก็คือขึงไม้สะดึง คือเอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึงที่ไม้สะดึง)
เขียน กราลกฐิน บ้างก็มี
© พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
© การกรานกฐิน/ทอดกฐิน มีมาตั้งแต่พุทธกาลแล้ว
© ประวัติกฐิน