กฐิน ตามที่เค้าว่ากันว่า บอกว่า
การทอดกฐิน เป็นประเพณีที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนอย่างหนึ่ง นิยมทำกันตั้งแต่วันแรมค่ำเดือนสิบเอ็ด ไปจนถึงกลางเดือนสิบสอง
คำว่า กฐิน แปลว่า ไม้สะดึง คือกรอบไม้ชนิดหนึ่งสำหรับขึงผ้าให้ตึง สะดวกแก่การเย็บ ในสมัยโบราณเย็บผ้าต้องเอาไม้สะดึงมาขึงผ้าให้ตึงเสียก่อน แล้วจึงเย็บเพราะช่างยังไม่มีความชำนาญเหมื่อนสมัยปัจจุบันนี้ และเครื่องมือในการเย็บก็ยังไม่เพียงพอ เหมือนจักรเย็บผ้าในปัจจุบัน การทำจีวรในสมัยโบราณจะเป็นผ้ากฐินหรือแม้แต่จีวรอันมิใช่ผ้ากฐิน ถ้าภิกษุทำเอง ก็จัดเป็นงานเอิกเกริกทีเดียว เช่นตำนานกล่าวไว้ว่า การเย็บจีวรนั้น พระเถรานุเถระต่างมาช่วยกัน เป็นต้นว่า พระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ แม้สมเด็จพระบรมศาสดาก็เสด็จลงมาช่วย ภิกษุสามเณรอื่น ๆ ก็ช่วยขวนขวายในการเย็บจีวร อุบาสกอุบาสิกาก็จัดหาน้ำดื่มเป็นต้น มาถวายพระภิกษุสงฆ์ มีองค์พระสัมมาสัมพุทธะเป็นประธาน โดยนัยนี้ การเย็บจีวรแม้โดยธรรมดา ก็เป็นการต้องช่วยกันทำหลายผู้หลายองค์ (ไม่เหมือนในปัจจุบัน ซึ่งมีจีวรสำเร็จรูปแล้ว)
แต่กฐินของที่นี่ "กฐินแห่งบุญญพลัง"
เป็นการรวมตัวของเหล่าพี่น้อง มาช่วยกัน เย็บ ปะ ชุน จีวรของพระอาจารย์ธรรมกะ แห่งเกาะกลางน้ำบุญญพลัง
โดยเราจะเดินทางมาจากทุกๆที่ มารวมตัวกัน ณที่แห่งนี้ ในวันเสาร์ ปีนี้ 2559 จะตรงกับวันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม 2559
ปีที่แล้ว ก้อจะเป็นวันเสาร์-อาทิตย์เช่นกัน เพราะหลายๆคนสะดวกในช่วงนี้ นี่จะขอเล่าคร่าวๆ ในปีที่แล้วให้ฟังก่อนนะคะ
เมื่อมาถึงในวันเสาร์ก็จะมีจีวร กางที่บนศาลา พวกพี่ๆน้องๆ ก็มาช่วยกันเย็บ ในส่วนที่ขาด ตลอดวัน ใครมาตอนไหน ก็มาเย็บตอนนั้น
บางส่วน ก็มาข่วยกันจัดดอกไม้ บางส่วนก็ช่วยกันไปแบกหิน แบกทราย !! ใช่ ต้องไปแบกหิน แบกทรายด้วย เพราะที่นี่ เรา กำลังสร้างพระองค์ใหญ่ ขนาดหน้าตักกว่า 35 เมตร สูงกว่า 60 เมตร
เราทุกคน ไม่ว่าจะยากดี มี จน เป็นเจ้าของกิจการ เป็นวิศวะกร เป็นทหารตำรวจ เป็นหมอ พยาบาล เภสัช พนักงานกินเงินเดือน พระ นิสิต นักศึกษา หรือแม้แต่ เด็กๆ 8-9 ขวบ ยันคนแก่ๆ 85 ขวบ ก็มาช่วยกัน แบกหินทราย สร้างพระ ด้วยสองมือเรา นี่ สิ่งเหล่านี้อาจเป็นหนึ่งในความแตกต่างจากหลายๆสถานที่ ที่เวลาทำบุญ จะเน้นที่ปัจจัย และความสะดวกสบาย แต่ที่นี่เราเน้นเรื่องความเข้าใจในธรรมชาติ และการถอดถอนตัวตน
เรามาเล่ากฐินกันต่อดีกว่า ...
ถ้านับเฉพาะในส่วนของจีวรเนี่ย หลังจากเย็นในตอนกลางวันแล้ว เราจะมาย้อมในตอนกลางคืน ก็พวกเราเองเนี่ยแหละ ช่วยกัน ตั้งเตา ตั้งกาละมัง ใส่สี ใส่เกลือ เข้าไป ย้อมๆๆๆกี่ชั่วโมงไม่รู้จำไม่ได้ นานละ แล้วก้อล้างๆๆๆหลายรอบมากๆ ถึงได้นำมาตาก
พอตอนเช้า ก็นำมาเข้าพิธี กฐินอีกครั้ง
นี่จะเป็นกำหนดคร่าวๆ ของกฐินทุกปี
และปีนี้ จะเป็นยังไงบ้างนะ ไว้จะเอามาเล่าให้ฟัง ใครสนใจรอติดตามกัน นะ
[SR] กฐินแห่งบุญญพลัง
กฐิน ตามที่เค้าว่ากันว่า บอกว่า
การทอดกฐิน เป็นประเพณีที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนอย่างหนึ่ง นิยมทำกันตั้งแต่วันแรมค่ำเดือนสิบเอ็ด ไปจนถึงกลางเดือนสิบสอง
คำว่า กฐิน แปลว่า ไม้สะดึง คือกรอบไม้ชนิดหนึ่งสำหรับขึงผ้าให้ตึง สะดวกแก่การเย็บ ในสมัยโบราณเย็บผ้าต้องเอาไม้สะดึงมาขึงผ้าให้ตึงเสียก่อน แล้วจึงเย็บเพราะช่างยังไม่มีความชำนาญเหมื่อนสมัยปัจจุบันนี้ และเครื่องมือในการเย็บก็ยังไม่เพียงพอ เหมือนจักรเย็บผ้าในปัจจุบัน การทำจีวรในสมัยโบราณจะเป็นผ้ากฐินหรือแม้แต่จีวรอันมิใช่ผ้ากฐิน ถ้าภิกษุทำเอง ก็จัดเป็นงานเอิกเกริกทีเดียว เช่นตำนานกล่าวไว้ว่า การเย็บจีวรนั้น พระเถรานุเถระต่างมาช่วยกัน เป็นต้นว่า พระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ แม้สมเด็จพระบรมศาสดาก็เสด็จลงมาช่วย ภิกษุสามเณรอื่น ๆ ก็ช่วยขวนขวายในการเย็บจีวร อุบาสกอุบาสิกาก็จัดหาน้ำดื่มเป็นต้น มาถวายพระภิกษุสงฆ์ มีองค์พระสัมมาสัมพุทธะเป็นประธาน โดยนัยนี้ การเย็บจีวรแม้โดยธรรมดา ก็เป็นการต้องช่วยกันทำหลายผู้หลายองค์ (ไม่เหมือนในปัจจุบัน ซึ่งมีจีวรสำเร็จรูปแล้ว)
แต่กฐินของที่นี่ "กฐินแห่งบุญญพลัง"
เป็นการรวมตัวของเหล่าพี่น้อง มาช่วยกัน เย็บ ปะ ชุน จีวรของพระอาจารย์ธรรมกะ แห่งเกาะกลางน้ำบุญญพลัง
โดยเราจะเดินทางมาจากทุกๆที่ มารวมตัวกัน ณที่แห่งนี้ ในวันเสาร์ ปีนี้ 2559 จะตรงกับวันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม 2559
ปีที่แล้ว ก้อจะเป็นวันเสาร์-อาทิตย์เช่นกัน เพราะหลายๆคนสะดวกในช่วงนี้ นี่จะขอเล่าคร่าวๆ ในปีที่แล้วให้ฟังก่อนนะคะ
เมื่อมาถึงในวันเสาร์ก็จะมีจีวร กางที่บนศาลา พวกพี่ๆน้องๆ ก็มาช่วยกันเย็บ ในส่วนที่ขาด ตลอดวัน ใครมาตอนไหน ก็มาเย็บตอนนั้น
บางส่วน ก็มาข่วยกันจัดดอกไม้ บางส่วนก็ช่วยกันไปแบกหิน แบกทราย !! ใช่ ต้องไปแบกหิน แบกทรายด้วย เพราะที่นี่ เรา กำลังสร้างพระองค์ใหญ่ ขนาดหน้าตักกว่า 35 เมตร สูงกว่า 60 เมตร
เราทุกคน ไม่ว่าจะยากดี มี จน เป็นเจ้าของกิจการ เป็นวิศวะกร เป็นทหารตำรวจ เป็นหมอ พยาบาล เภสัช พนักงานกินเงินเดือน พระ นิสิต นักศึกษา หรือแม้แต่ เด็กๆ 8-9 ขวบ ยันคนแก่ๆ 85 ขวบ ก็มาช่วยกัน แบกหินทราย สร้างพระ ด้วยสองมือเรา นี่ สิ่งเหล่านี้อาจเป็นหนึ่งในความแตกต่างจากหลายๆสถานที่ ที่เวลาทำบุญ จะเน้นที่ปัจจัย และความสะดวกสบาย แต่ที่นี่เราเน้นเรื่องความเข้าใจในธรรมชาติ และการถอดถอนตัวตน
เรามาเล่ากฐินกันต่อดีกว่า ...
ถ้านับเฉพาะในส่วนของจีวรเนี่ย หลังจากเย็นในตอนกลางวันแล้ว เราจะมาย้อมในตอนกลางคืน ก็พวกเราเองเนี่ยแหละ ช่วยกัน ตั้งเตา ตั้งกาละมัง ใส่สี ใส่เกลือ เข้าไป ย้อมๆๆๆกี่ชั่วโมงไม่รู้จำไม่ได้ นานละ แล้วก้อล้างๆๆๆหลายรอบมากๆ ถึงได้นำมาตาก
พอตอนเช้า ก็นำมาเข้าพิธี กฐินอีกครั้ง
นี่จะเป็นกำหนดคร่าวๆ ของกฐินทุกปี
และปีนี้ จะเป็นยังไงบ้างนะ ไว้จะเอามาเล่าให้ฟัง ใครสนใจรอติดตามกัน นะ