เกาะกระแสงานบุญ "ทอดกฐิน"กฐิน คืออะไร?
อยากเชิญชวนชาวพุทธทุกท่านได้สัมผัสกับเทศกาล"ทอดกฐิน"
การทอดกฐิน
เป็นประเพณีที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนอย่างหนึ่ง
นิยมทำกันตั้งแต่วันแรมค่ำเดือน 11 ไปจนถึงกลางเดือน 12
บุญจากการทอดกฐิน ถือเป็นบุญใหญ่ที่มีอานิสงส์มากเป็นอย่างยิ่ง
เพราะเป็นบุญที่ทำได้ยากและมีข้อจำกัดหลายประการ
อีกทั้งการทำบุญทอดกฐินจะมีเฉพาะในพระพุทธศาสนาเท่านั้น
“การทอดกฐิน” เป็นอริยะประเพณี ที่สืบทอดมานับตั้งแต่ครั้งที่พระพุทธองค์
ยังทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ มีต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน ถือเป็นประเพณีที่พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย
มีความศรัทธาเลื่อมใสว่า เป็น “ยอดของมหากุศล”
ผู้ที่ได้มีส่วนร่วมในการทอดกฐินนั้น จะได้มหานิสงค์อันยิ่งใหญ่สุดประมาณ
การทำบุญทอดกฐิน จึงเป็นบุญในหนึ่งปีที่จะพลาดไม่ได้
หากการทำบุญทอดกฐินของท่านดำเนินอยู่บนรากฐานของความมีศรัทธา เต็มใจ และ สุขใจ
ที่ได้ทำบุญ มิใช่สักแต่ว่าทำบุญ ด้วยความหน้าที่และความเกรงใจ
การทำบุญทอดกฐินนั้น เป็นการทำบุญตามพุทธประสงค์ คือ ทำบุญอย่างผู้รู้ ผู้ที่เข้าใจคุณค่า
และ ความหมายของบุญที่กระทำ นั้นๆด้วย
การทอดกฐิน คือ การนำผ้ากฐินไปวางไว้ต่อหน้าพระสงฆ์อย่างต่ำห้ารูป
และพระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งที่ได้รับมอบหมาย จากคณะสงฆ์ทั้งนั้นเป็นเอกฉันท์ให้เป็นผู้รับกฐินนั้น
กฐิน นัยหนึ่ง หมายถึง ชื่อของกรอบไม้ อันเป็นแม่แบบสำหรับทำจีวรที่อาจเรียกว่า " สะดึง "
เนื่องจากสมัยพุทธกาลการทำจีวรให้มีลักษณะตามกำหนดกระทำได้โดยยาก
จึงต้องทำกรอบไม้สำเร็จรูปไว้ให้เป็นอุปกรณ์ในการทำผ้านุ่ง / ผ้าห่ม / ผ้าห่มซ้อน
ที่รวมเรียกว่า จีวร ( ผ้านุ่งพระ เรียกสบง / ผ้าห่ม เรียกจีวร / ผ้าห่มซ้อน เรียกสังฆาฎิ )
เมื่อทำเสร็จและพ้นกำหนดกาลแล้วก็จะรื้อไม้แม่แบบที่เรียกว่า"สะดึง"นี้เก็บไว้ใช้ในปีต่อ ๆ ไป
การรื้อไม้แม่แบบหรือ "สะดึง" เพื่อเก็บไว้ใช้ในโอกาสหน้านี้เรียกว่า " เดาะ " หรือ " กฐินเดาะ "
กฐิน นัยหนึ่ง หมายถึง ชื่อของผ้า ที่ถวายแก่สงฆ์เพื่อทำจีวรตามแบบหรือกรอบไม้นั้น
และต้องถวายตามกำหนดเวลา 1 เดือนดังกล่าว ซึ่งผ้านี้จะเป็นผ้าใหม่ หรือ ผ้าเก่าฟอกสะอาด
หรือผ้าบังสุกุล ( ผ้าที่เขาทิ้งแล้ว ) ก็ได้
ผู้ถวายจะเป็นคฤหัสถ์หรือภิกษุสามเณรก็ได้ ถวายแก่สงฆ์แล้วเป็นอันใช้ได้
กฐิน นัยหนึ่ง หมายถึง ชื่อของบุญกิริยา คือ การทำบุญถวายผ้ากฐินเพื่อให้สงฆ์ทำเป็นจีวร
ซึ่งต้องเป็นพระสงฆ์ผู้จำพรรษาอยู่ในวัดใดวัดหนึ่งครบ 3 เดือน
เพื่อสงเคราะห์ผู้ประพฤติชอบให้มีผ้านุ่งหรือผ้าใหม่ผลัดเปลี่ยนของเก่าที่จะขาดหรือชำรุด
การทำบุญถวายผ้ากฐินหรือที่เรียกกันติดปากว่า " ทอดกฐิน "
ก็คือการทอดหรือวางผ้าลงไปแล้วกล่าวคำถวายในท่ามกลางสงฆ์ และต้องทำในเวลาที่กำหนด 1 เดือน
กฐิน นัยหนึ่ง หมายถึง ชื่อของสังฆกรรม คือ กิจกรรมของสงฆ์ที่จะต้องมีการ
สวดประกาศขอรับความเห็นชอบจากที่ประชุมสงฆ์ในการมอบผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
"ไม้สะดึง" หรือกรอบไม้ชนิดหนึ่งสำหรับขึงผ้าให้ตึง สะดวกแก่การเย็บ
ในสมัยโบราณเย็บผ้าต้องเอาไม้สะดึงมาขึงผ้าให้ตึงเสียก่อนแล้วจึงเย็บ
เพราะช่างยังไม่มีความชำนาญเหมื่อนสมัยปัจจุบัน
เครื่องมือในการเย็บก็ยังไม่เพียงพอ เหมือนจักรเย็บผ้าในปัจจุบัน
การทำจีวรในสมัยโบราณจะเป็น"ผ้ากฐิน"หรือแม้แต่จีวรอันมิใช่"ผ้ากฐิน" ถ้าภิกษุทำเอง
ตำนานกล่าวไว้ว่า การเย็บจีวรนั้น พระเถรานุเถระต่างมาช่วยกัน เป็นต้นว่า
พระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ แม้สมเด็จพระบรมศาสดาก็เสด็จลงมาช่วย
ภิกษุสามเณรอื่น ๆ ก็ช่วยในการเย็บจีวร อุบาสกอุบาสิกาก็จัดหาน้ำดื่มเป็นต้น มาถวายพระภิกษุสงฆ์
อันมีองค์พระสัมมาสัมพุทธะเป็นประธาน
โดยสนัยนี้ การเย็บจีวรแม้โดยธรรมดา ก็เป็นการต้องช่วยกันทำหลายผู้ หลายองค์
เพียงแต่ปัจจุบัน มีจีวรสำเร็จรูปแล้ว จึงง่ายขึ้น
การนำกฐินไปทอด
ทำได้ 2 อย่าง อย่างหนึ่งคือนำผ้ากฐินทานกับเครื่องบริวารที่จะถวายไปตั้งไว้ ณ วัดที่จะทอดก่อน
เรียกว่าวันลงบุญ พอถึงวันกำหนดเจ้าภาพผู้เป็นเจ้าของกฐินซึ่งก็จะเป็นเช้าในวันต่อมา จึงพากันไปยังวัดเพื่อทำพิธีถวาย
อีกอย่างหนึ่ง ตามคติที่ถือว่าการทอดกฐินเป็นการถวายทานพิเศษแก่พระสงฆ์ที่ได้จำพรรษาครบไตรมาส นับว่าได้กุศลแรง
จึงได้มีการฉลองกฐินก่อนนำไปวัดเป็นงานใหญ่ มีการทำบุญเลี้ยงพระที่บ้านของผู้เป็นเจ้าของกฐิน และเลี้ยงผู้คน มีมหรสพสมโภช
และบางงานอาจมีการรวบรวมปัจจัยไปวัดถวายพระอีกด้วยเช่น ในกรณีกฐินสามัคคี
พอถึงกำหนดวันทอดก็จะมีการแห่แหนเป็นกระบวนไปยังวัดที่จะทอด
มีเครื่องบรรเลงกลองยาวมีการฟ้อนรำแห่นำขบวนเป็นที่สนุกสนาน
ผู้ประสงค์จะทอดกฐินจะทอดจะทำอย่างไร
ส่วนใหญ่พุทธศาสนิกชน ถือกันว่า การทำบุญทอดกฐินเป็นกุศลแรง เพราะเป็น"กาลทาน"
ทำได้เพียงปีละ 1 ครั้ง และต้องทำในกำหนดเวลาที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้
ดังนั้นถ้ามีความเลื่อมใสใคร่จะทอดกฐินบ้างแล้ว พึ่งปฏิบัติดังต่อไปนี้
จองกฐิน เมื่อจะไปจองกฐิน ณ วัดใด พอเข้าพรรษาแล้ว พึงไปมนัสการสมภารเจ้าวัดนั้น
กราบเรียนแก่ท่านว่าตนมีความประสงค์จะขอทอดกฐิน แล้วเขียนหนังสือปิดประกาศไว้ ณ วัดนั้น เพื่อให้รู้ทั่ว ๆ กัน
การที่ต้องไปจองก่อนแต่เนิ่นนานพอสมควรเพื่อจะได้ไม่มีการจองซ้อนกัน ซึ่งราษฎรมีสิทธิจองได้ทุกวัด
แต่ถ้าวัดนั้นเป็นวัดหลวง อันมีธรรมเนียมว่าต้องได้รับกฐินหลวงแล้ว ทายกนั้น ครั้นกราบเรียนเจ้าอาวาสท่านแล้ว
ต้องทำหนังสือยื่นต่อกองสัมฆการีกรมการศาสนา ครั้นคำอนุญาตตกไปถึงแล้ว จึงจะจองได้
พิธีทอดกฐินเป็นบุญใหญ่ ดังนั้น จึงจัดเป็น 2 วัน ดังได้กล่าวมา
วันต้นตั้งองค์พระกฐินที่บ้านของเจ้าภาพก็ได้ จะไปตั้งที่วัดก็ได้
กลางคืนมีการมหรสพครึกครื้นสนุกสนาน ญาติพี่น้องและมิตรสหายก็มักจะมาร่วมอนุโมทนา
รุ่งขึ้นเป็นที่วัดทอด เป็นการครึกครื้น โดยมากมักแห่ไปตอนเช้า และเลี้ยงพระเพลต่อ
" การทอดกฐิน " จะทอดในตอนเช้านั้นก็ได้ ทอดเพลแล้วก็ได้ สุดแล้วแต่สะดวก
การเลี้ยงพระ ถ้าเป็นอย่างในชนบท ชาวบ้านจัดภัตตาหารเลี้ยงด้วย เจ้าของงานกฐินก็จัดไปด้วย
ปัจจุบันง่ายหน่อยก็จะเป็ยโต๊ะจีน เลี้ยงทั้งพระ และผู้มาร่วมบุญ
การถวายผ้ากฐิน
เมื่อพระสงฆ์ประชุมพร้อมกันแล้ว เจ้าภาพอุ้มผ้ากฐินนั่งหันหน้าตรงต่อพระประธาน
ตั้งนะโม 3 จบ
แล้วหันหน้ามาทางพระสงฆ์ กล่าวคำถวายผ้ากฐิน 3 จบ
**หากเป็นกฐินสามัคคีก็มักนำสายสิญจน์โยงผ้ากฐิน
เพื่อจับได้ทั่วถึงกันถือเป็นการถวานร่วมกัน แล้วหัวหน้านำว่าคำถวาย
ครั้นจบแล้ว พระสงฆ์รับว่า "สาธุ"
เจ้าภาพก็ประเคนผาไตรกฐินแก่ภิกษุผู้เถระ และประเคนเครื่องบริขารทั้งหลายตามลำดับ
จนเสร็จสิ้น แล้วพระสงฆ์ก็ทำพิธีมอบผ้าให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
ซึ่งเป็นพระเถระ อันมีจีวรเก่าและรู้ธรรมวินัย
ครั้นเสร็จสิ้น พระสงฆ์อนุโมทนา เจ้าภาพกรวดน้ำรับพร ก็เป็นอันเสร็จพิธีการทอดกฐินเพียงนี้
ลำดับนี้คือ
"พิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์"
มิใช่เป็นที่สำคัญแต่ประการใดในการทอด"กฐิน" แต่ พิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ หรือ สั้นๆที่เราๆท่านๆเรียกว่า”น้ำมนต์”
น้ำมนต์ คือ นํ้าสะอาดที่เข้าพิธีทางพระพุทธศาสนาเพื่อให้อาบ กิน แต่โดยส่วนใหญ่นิยมประพรม
แก่พุทธศาสนิกชนที่มาร่วมงาน ถือกันว่าเป็นมงคล #น้ำพระพุทธมนต์ #มหากฐิน#จุลกฐิน
อนิสงส์กฐิน
การทอดกฐินเป็น"กาลทาน" ปีหนึ่งทำได้ครั้งเดียว วัดหนึ่งรับ"กฐิน" ได้ครั้งเดียว
จักต้องทำภายในระยะกำหนดเวลา และผู้ทอดก็ต้องตระเตรียมจัดทำเป็นงานใหญ่
ต้องมีผู้ช่วยเหลือร่วมมือร่วมใจ ร่วมศัทธาหลายคนต่อหลายคน จึงเรียกได้ว่าเป็นพิธีบุญ
ที่อานิสงส์แรง และส่วนสมคัญนอกเหนือจากนี้ อีกทางหนึ่งว่าได้ว่า พิธีเช่นนี้ได้ทั้งโภคสมบัติ
เพราะเราเองบริจาค ได้ทั้งบริวารสมบัติ เพราะได้บอกบุญแก่ญาติมิตร
เพื่อให้ได้มีโอกาสมาร่วมการทำกุศล "กาลทาน" เช่นนี้
เรียกว่า ทานทางพระวินัย มิผิดแน่
ขอให้ท่านทราบถึงอานิสงส์ และความตั้งใจในการทอดกฐิน
คนที่เคยตั้งใจทอดกฐินแล้วแต่ละครั้ง
ถ้ายังไม่ถึงพระนิพพาน
" คำว่า ยากจนเข็ญใจจะไม่มีแก่ท่านต่อไปทั้งชาตินี้และชาติหน้า"
จะว่าเกาะกระแสก็ใช่! แต่เราทำจริง