"การทอดกฐิน" บุญประเพณีเป็นของพุทธศาสนิกชนไทยมีมาช้านาน สันนิษฐานว่าเริ่มมีมาแต่แรกที่รับพระพุทธศาสนาเถรวาทเข้ามาในดินแดนประเทศไทย ซึ่งอาจมีปฏิบัติประเพณีนี้มาตั้งแต่สมัยทวาราวดี แต่มาปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าชาวไทยได้ถือปฏิบัติในการบำเพ็ญกุศลในเทศกาลกฐินในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี โดยมีทั้งพิธีหลวงและพิธีราษฎร์ มีกำหนดระยะเวลาถวายเพียง ๑ เดือน คือตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ไปจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ (วันลอยกระทง) ระยะเวลานี้เรียกว่า กฐินกาล คือระยะเวลา ทอดกฐิน หรือ เทศกาลทอดกฐิน
ในปัจจุบันถวายผ้ากฐินในแง่การสนับสนุนผ้าไตรจีวรเพื่อใช้ในสังฆกรรมสำคัญของคณะสงฆ์ได้ถูกลดความสำคัญลงไป แต่กลับให้ความสำคัญกับบริวารของกฐินทานแทน เช่น เงิน หรือวัตถุสิ่งของ เพื่อนำสิ่งเหล่านี้มาพัฒนาถาวรวัตถุและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ซึ่งจัดเป็นสังฆทานอย่างหนึ่งเช่นเดียวกัน
กฐินในประเทศไทยมีหลายประเภท เช่น กฐินหลวงหรือกฐินพระราชทาน กฐินต้น กฐินราษฎร์ กฐินโจร
ส่วน
กฐินโจรนั้น เป็นสำนวนพูด หมายถึง
กฐินที่ไปทอดโดยไม่ได้จองล่วงหน้า ไปทอดแบบจู่โจม เรีรยกว่า "กฐินจร" ก็มี ทั้งนี้ในการทอดกฐินทั่วๆ ไป มีธรรมเนียมว่าต้องจองกฐินล่วงหน้า การที่จัดเครื่องกฐินพร้อมสรรพแล้วนำไปทอดที่วัดยังไม่มีผู้จองกฐินทันทีทันใดแบบจู่โจม หรือบอกกะทันหันแบบตั้งตัวไม่ทันเหมือนโจรบุกขึ้นบ้าน จึงเรียกว่า "กฐินโจร" หรือ "กฐินจร" เพราะเป็นกฐินที่จรมาโดยไม่มีการนัดหมาย
กฐินโจร คำนี้อาจเกิดจากการล้อคำที่ว่า "กฐินโจล" ซึ่งแปลว่า ผ้ากฐิน เพราะมีเสียงคล้ายกัน จึงขอยืมมาล้อในกรณีที่มีการทอดกฐินแบบจู่โจม
กฐินโจร คือ..???
"การทอดกฐิน" บุญประเพณีเป็นของพุทธศาสนิกชนไทยมีมาช้านาน สันนิษฐานว่าเริ่มมีมาแต่แรกที่รับพระพุทธศาสนาเถรวาทเข้ามาในดินแดนประเทศไทย ซึ่งอาจมีปฏิบัติประเพณีนี้มาตั้งแต่สมัยทวาราวดี แต่มาปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าชาวไทยได้ถือปฏิบัติในการบำเพ็ญกุศลในเทศกาลกฐินในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี โดยมีทั้งพิธีหลวงและพิธีราษฎร์ มีกำหนดระยะเวลาถวายเพียง ๑ เดือน คือตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ไปจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ (วันลอยกระทง) ระยะเวลานี้เรียกว่า กฐินกาล คือระยะเวลา ทอดกฐิน หรือ เทศกาลทอดกฐิน
ในปัจจุบันถวายผ้ากฐินในแง่การสนับสนุนผ้าไตรจีวรเพื่อใช้ในสังฆกรรมสำคัญของคณะสงฆ์ได้ถูกลดความสำคัญลงไป แต่กลับให้ความสำคัญกับบริวารของกฐินทานแทน เช่น เงิน หรือวัตถุสิ่งของ เพื่อนำสิ่งเหล่านี้มาพัฒนาถาวรวัตถุและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ซึ่งจัดเป็นสังฆทานอย่างหนึ่งเช่นเดียวกัน
กฐินในประเทศไทยมีหลายประเภท เช่น กฐินหลวงหรือกฐินพระราชทาน กฐินต้น กฐินราษฎร์ กฐินโจร
ส่วนกฐินโจรนั้น เป็นสำนวนพูด หมายถึงกฐินที่ไปทอดโดยไม่ได้จองล่วงหน้า ไปทอดแบบจู่โจม เรีรยกว่า "กฐินจร" ก็มี ทั้งนี้ในการทอดกฐินทั่วๆ ไป มีธรรมเนียมว่าต้องจองกฐินล่วงหน้า การที่จัดเครื่องกฐินพร้อมสรรพแล้วนำไปทอดที่วัดยังไม่มีผู้จองกฐินทันทีทันใดแบบจู่โจม หรือบอกกะทันหันแบบตั้งตัวไม่ทันเหมือนโจรบุกขึ้นบ้าน จึงเรียกว่า "กฐินโจร" หรือ "กฐินจร" เพราะเป็นกฐินที่จรมาโดยไม่มีการนัดหมาย
กฐินโจร คำนี้อาจเกิดจากการล้อคำที่ว่า "กฐินโจล" ซึ่งแปลว่า ผ้ากฐิน เพราะมีเสียงคล้ายกัน จึงขอยืมมาล้อในกรณีที่มีการทอดกฐินแบบจู่โจม