สำหรับ SET บริษัทจะต้องมีกำไรสุทธิ 2 - 3 ปีล่าสุด รวมกันมากกว่า 50 ล้านบาท
โดยในปีล่าสุดกำไรสุทธิจะต้องเกิน 30 ล้านบาท
และมีกำไรสุทธิในงวดสะสมล่าสุดเป็นบวก
ส่วนทุนชำระแล้วหลัง IPO ต้องมีมากกว่า 300 ล้านบาท
ส่วนตลาด mai บริษัทจะต้องมีกำไรสุทธิในปีล่าสุดมากกว่า 10 ล้านบาท
และมีกำไรสุทธิในงวดสะสมล่าสุดเป็นบวก
ส่วนทุนชำระแล้วหลัง IPO ต้องมีมากกว่า 50 ล้านบาท
แต่ถ้าบริษัทที่ต้องการจะ IPO ไม่มีกำไร บริษัทสามารถเลือกใช้อีกเกณฑ์ได้ ซึ่งก็คือเกณฑ์ของมูลค่าตลาด
สำหรับ SET บริษัทจะต้องมีมูลค่าตลาดตอน IPO มากกว่า 7,500 ล้านบาท โดยต้องมีกำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี (EBIT) ในปีล่าสุด และงวดสะสมล่าสุดเป็นบวก
ส่วน mai บริษัทจะต้องมีมูลค่าตลาดตอน IPO มากกว่า 1,000 ล้านบาท โดยต้องมีกำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี (EBIT) ในปีล่าสุด และงวดสะสมล่าสุดเป็นบวก
คำว่า SPAC ย่อมาจาก “Special Purpose Acquisition Companies”
ซึ่งแปลตรงๆ ว่า บริษัทที่ก่อตั้งขึ้น เพื่อนำเงินไปซื้อกิจการของบริษัทอื่น
โดยตอนแรก SPAC จะจดทะเบียน IPO บริษัทตัวเองเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ เพื่อระดมเงินทุนสำหรับใช้ซื้อกิจการอื่นในอนาคต
นักลงทุนที่ซื้อหุ้น SPAC อาจยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าบริษัทมีแผนนำเงินไปซื้ออะไร หรืออาจจะรู้เพียงคร่าวๆ ว่าเป้าหมายที่บริษัทจะเข้าไปซื้อกิจการอยู่ในอุตสาหกรรมไหน เพราะข้อมูลลักษณะนี้เป็นความลับที่ส่งผลต่อการเจรจาซื้อขายกิจการ
ดังนั้น เพื่อจะดึงให้นักลงทุนมาถือหุ้นบริษัท SPAC
ผู้ก่อตั้งบริษัท SPAC จึงต้องเป็นผู้ที่มีความน่าเชื่อถือ และมีชื่อเสียงพอสมควร เช่น สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ หรือนักลงทุนที่มีชื่อเสียง
หลังจากเข้าตลาดหลักทรัพย์แล้ว
SPAC จะมีเวลาประมาณ 2 ปี เพื่อค้นหาดีลที่น่าสนใจ
ซึ่งหากเลยกำหนดแล้วยังดำเนินการไม่สำเร็จ
บริษัทก็จะต้องปิดตัวลงและคืนเงินที่ระดมมาได้กลับไปให้กับนักลงทุน
แต่ถ้า SPAC สามารถเจรจาขอซื้อหุ้นบริษัท A ได้สำเร็จ สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ
1. SPAC จะควบรวมตัวเองเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท A
2. ผู้ถือหุ้น SPAC จะได้ถือหุ้นบริษัท A ตามสัดส่วนโครงสร้างใหม่
3. หุ้น SPAC ที่ซื้อขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ จะถูกเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท A แทน
สรุปง่ายๆ คือ บริษัท A ก็จะกลายเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ได้โดยไม่ต้อง IPO โดยผ่านการขายหุ้นให้กับบริษัท SPAC ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ก่อนแล้วนั่นเอง
หลักการแบบนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1990 แต่เริ่มเป็นที่ยอมรับและแพร่หลายมากขึ้นหลังจากนั้น โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา
และช่วงหลายปีที่ผ่านมา การเกิดบริษัทสตาร์ตอัปที่มีศักยภาพสูงขึ้นมากมาย ก็เริ่มทำให้มีดีลประเภทนี้มากขึ้น
ปี 2018
มีบริษัท SPAC เข้าตลาดหลักทรัพย์ 46 ราย
มูลค่าเงินระดมทุนทั้งหมด 340,000 ล้านบาท
ปี 2019
มีบริษัท SPAC เข้าตลาดหลักทรัพย์ 59 ราย
มูลค่าเงินระดมทุนทั้งหมด 430,000 ล้านบาท
ปี 2020 (มกราคม-กันยายน)
มีบริษัท SPAC เข้าตลาดหลักทรัพย์ 125 ราย
มูลค่าเงินระดมทุนทั้งหมด 1,500,000 ล้านบาท
โดยเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
Bill Ackman เจ้าของกองทุน Hedge Fund ชื่อดัง
ก็ได้ตั้งบริษัท SPAC ที่มีชื่อว่า Pershing Square Tontine
ซึ่งถือเป็นบริษัท SPAC ที่ใหญ่สุดในประวัติศาสตร์ ที่มีมูลค่าเงินระดมทุนสูงถึง 126,000 ล้านบาท
ตอนนี้คำถามที่ทุกคนสงสัยก็คือ
แล้วตัวอย่างบริษัทที่เข้าตลาดหุ้นผ่าน SPAC มีอะไรบ้าง?
บริษัทที่มีชื่อเสียงโด่งดังสุด และหลายคนอาจจะเคยคุ้นชื่อ คือ “Virgin Galactic” ธุรกิจเที่ยวบินท่องอวกาศของมหาเศรษฐี ริชาร์ด แบรนสัน
ในปี 2019 บริษัท SPAC ชื่อว่า Social Capital Hedosophia ได้ประกาศซื้อหุ้น 49% ของ Virgin Galactic มูลค่าราว 25,000 ล้านบาท ซึ่งทำให้ Virgin Galactic กลายเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กทันที
นอกจากกรณีของ Virgin Galactic ก็ยังมีอีกหลายบริษัทที่ใช้วิธีนี้ ตัวอย่างเช่น
Nikola บริษัทผลิตยานยนต์ด้วยแบตเตอรี่ไฟฟ้าและไฮโดรเจน ที่เพิ่งมีข่าวอื้อฉาวว่าไม่ได้ครอบครองเทคโนโลยีดังที่โฆษณาไว้ ก็ได้เข้าตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ผ่านการขายหุ้นบางส่วน มูลค่าราว 22,000 ล้านบาท ให้บริษัท SPAC ชื่อว่า VectoIQ Acquisition Corp.
DraftKings บริษัทเกมและความบันเทิงด้านกีฬาออนไลน์ ได้เข้าตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ผ่านการขายหุ้นบางส่วน มูลค่าราว 9,600 ล้านบาท ให้บริษัท SPAC ชื่อว่า Diamond Eagle Acquisition Corp.
Burger King แบรนด์ร้านเบอร์เกอร์ ได้เข้าตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ผ่านการขายหุ้น 29% มูลค่าราว 44,000 ล้านบาท ให้บริษัท SPAC ชื่อว่า Justice Holdings ซึ่งมีเจ้าของคือ Bill Ackman และต่อมาได้ควบรวมกิจการกับ Tim Hortons ธุรกิจร้านกาแฟจากประเทศแคนาดา
อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนคงตั้งคำถามว่า
ทำไมบางบริษัทถึงเลือกเข้าตลาดหุ้นผ่านการขายหุ้นให้บริษัท SPAC แทนที่จะ IPO ตามปกติ?
ปัจจัยแรกคือ กระบวนการขายกิจการให้ SPAC ใช้เวลาสั้นกว่าและมีการเจรจาต่อรองราคากับผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น โดยโยนภาระหน้าที่การระดมทุนที่มาซื้อให้แก่ SPAC ซึ่งส่วนใหญ่ SPAC จะเป็นสถาบัน หรือนักลงทุนที่มีชื่อเสียงที่มีความสามารถในการระดมทุน
ขณะที่การเสนอขายหุ้น IPO ต้องผ่านขั้นตอนตรวจสอบของหลายฝ่าย และต้องสำรวจความต้องการของนักลงทุนมากมาย เพื่อมากำหนดช่วงราคา IPO
อีกปัจจัยคือ ความไม่แน่นอนของตลาด อาจทำให้ในบางครั้ง การ IPO มีความไม่แน่นอน และต้องถูกเลื่อนออกไป ยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 หรือแม้แต่ความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างสหรัฐอเมริกา-จีน
ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Airbnb เจ้าของแพลตฟอร์มที่พักชื่อดัง ที่แต่เดิมจะ IPO ในปี 2020 แต่พอมีเรื่อง COVID-19 ก็ทำให้ต้องเลื่อนการ IPO ออกไป
ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับการนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ผ่านบริษัท SPAC อาจมีความแน่นอนกว่า ทั้งในเรื่องจำนวนเงินระดมทุน และการประเมินมูลค่าบริษัท รวมไปถึงการมีผู้ซื้อรายใหญ่ที่เป็นคนเจรจากับผู้ขายอย่างชัดเจน
แต่ข้อจำกัดของบริษัท SPAC ก็มีเช่นกัน คือ
1. บริษัท SPAC ส่วนใหญ่จะถูกกำหนดให้มีอายุเพียง 2 ปี
ซึ่งอาจทำให้ค้นหาดีลได้ค่อนข้างลำบาก เนื่องจากสตาร์ตอัปบางแห่งยังไม่รีบร้อนนำบริษัทเข้าตลาดหุ้น เพราะไม่อยากให้นโยบายบริษัทได้รับผลกระทบจากการมีผู้ถือหุ้นเป็นคนนอก
2. เจ้าของบริษัท SPAC จะต้องมีเครดิตและชื่อเสียงพอสมควร เพราะบริษัทที่ตกเป็นเป้าหมาย คงไม่ยอมปล่อยให้บริษัทที่ไม่มีชื่อเสียงเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
สรุปแล้ว การที่บริษัทหนึ่งจะเข้าตลาดหลักทรัพย์
นอกจากการเสนอขายหุ้นครั้งแรกต่อสาธารณะ หรือ IPO แล้ว
ยังมีวิธีอื่นอีก เช่น กรณีขายหุ้นให้บริษัท SPAC อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าบริษัทจะเสนอขายหุ้นด้วยวิธีการใด
“มูลค่าที่แท้จริง” ของบริษัทนั้นก็ควรเป็นสิ่งที่นักลงทุนควรที่จะคาดการณ์
เพื่อให้เปรียบเทียบกับราคาที่เสนอขายว่ามันสูงหรือต่ำกว่าความจริง
และทำให้เราตัดสินใจได้ถูกต้องว่า ควรจะเข้าลงทุนหรือไม่..
เข้าตลาดหุ้น
โดยในปีล่าสุดกำไรสุทธิจะต้องเกิน 30 ล้านบาท
และมีกำไรสุทธิในงวดสะสมล่าสุดเป็นบวก
ส่วนทุนชำระแล้วหลัง IPO ต้องมีมากกว่า 300 ล้านบาท
ส่วนตลาด mai บริษัทจะต้องมีกำไรสุทธิในปีล่าสุดมากกว่า 10 ล้านบาท
และมีกำไรสุทธิในงวดสะสมล่าสุดเป็นบวก
ส่วนทุนชำระแล้วหลัง IPO ต้องมีมากกว่า 50 ล้านบาท
แต่ถ้าบริษัทที่ต้องการจะ IPO ไม่มีกำไร บริษัทสามารถเลือกใช้อีกเกณฑ์ได้ ซึ่งก็คือเกณฑ์ของมูลค่าตลาด
สำหรับ SET บริษัทจะต้องมีมูลค่าตลาดตอน IPO มากกว่า 7,500 ล้านบาท โดยต้องมีกำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี (EBIT) ในปีล่าสุด และงวดสะสมล่าสุดเป็นบวก
ส่วน mai บริษัทจะต้องมีมูลค่าตลาดตอน IPO มากกว่า 1,000 ล้านบาท โดยต้องมีกำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี (EBIT) ในปีล่าสุด และงวดสะสมล่าสุดเป็นบวก
คำว่า SPAC ย่อมาจาก “Special Purpose Acquisition Companies”
ซึ่งแปลตรงๆ ว่า บริษัทที่ก่อตั้งขึ้น เพื่อนำเงินไปซื้อกิจการของบริษัทอื่น
โดยตอนแรก SPAC จะจดทะเบียน IPO บริษัทตัวเองเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ เพื่อระดมเงินทุนสำหรับใช้ซื้อกิจการอื่นในอนาคต
นักลงทุนที่ซื้อหุ้น SPAC อาจยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าบริษัทมีแผนนำเงินไปซื้ออะไร หรืออาจจะรู้เพียงคร่าวๆ ว่าเป้าหมายที่บริษัทจะเข้าไปซื้อกิจการอยู่ในอุตสาหกรรมไหน เพราะข้อมูลลักษณะนี้เป็นความลับที่ส่งผลต่อการเจรจาซื้อขายกิจการ
ดังนั้น เพื่อจะดึงให้นักลงทุนมาถือหุ้นบริษัท SPAC
ผู้ก่อตั้งบริษัท SPAC จึงต้องเป็นผู้ที่มีความน่าเชื่อถือ และมีชื่อเสียงพอสมควร เช่น สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ หรือนักลงทุนที่มีชื่อเสียง
หลังจากเข้าตลาดหลักทรัพย์แล้ว
SPAC จะมีเวลาประมาณ 2 ปี เพื่อค้นหาดีลที่น่าสนใจ
ซึ่งหากเลยกำหนดแล้วยังดำเนินการไม่สำเร็จ
บริษัทก็จะต้องปิดตัวลงและคืนเงินที่ระดมมาได้กลับไปให้กับนักลงทุน
แต่ถ้า SPAC สามารถเจรจาขอซื้อหุ้นบริษัท A ได้สำเร็จ สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ
1. SPAC จะควบรวมตัวเองเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท A
2. ผู้ถือหุ้น SPAC จะได้ถือหุ้นบริษัท A ตามสัดส่วนโครงสร้างใหม่
3. หุ้น SPAC ที่ซื้อขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ จะถูกเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท A แทน
สรุปง่ายๆ คือ บริษัท A ก็จะกลายเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ได้โดยไม่ต้อง IPO โดยผ่านการขายหุ้นให้กับบริษัท SPAC ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ก่อนแล้วนั่นเอง
หลักการแบบนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1990 แต่เริ่มเป็นที่ยอมรับและแพร่หลายมากขึ้นหลังจากนั้น โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา
และช่วงหลายปีที่ผ่านมา การเกิดบริษัทสตาร์ตอัปที่มีศักยภาพสูงขึ้นมากมาย ก็เริ่มทำให้มีดีลประเภทนี้มากขึ้น
ปี 2018
มีบริษัท SPAC เข้าตลาดหลักทรัพย์ 46 ราย
มูลค่าเงินระดมทุนทั้งหมด 340,000 ล้านบาท
ปี 2019
มีบริษัท SPAC เข้าตลาดหลักทรัพย์ 59 ราย
มูลค่าเงินระดมทุนทั้งหมด 430,000 ล้านบาท
ปี 2020 (มกราคม-กันยายน)
มีบริษัท SPAC เข้าตลาดหลักทรัพย์ 125 ราย
มูลค่าเงินระดมทุนทั้งหมด 1,500,000 ล้านบาท
โดยเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
Bill Ackman เจ้าของกองทุน Hedge Fund ชื่อดัง
ก็ได้ตั้งบริษัท SPAC ที่มีชื่อว่า Pershing Square Tontine
ซึ่งถือเป็นบริษัท SPAC ที่ใหญ่สุดในประวัติศาสตร์ ที่มีมูลค่าเงินระดมทุนสูงถึง 126,000 ล้านบาท
ตอนนี้คำถามที่ทุกคนสงสัยก็คือ
แล้วตัวอย่างบริษัทที่เข้าตลาดหุ้นผ่าน SPAC มีอะไรบ้าง?
บริษัทที่มีชื่อเสียงโด่งดังสุด และหลายคนอาจจะเคยคุ้นชื่อ คือ “Virgin Galactic” ธุรกิจเที่ยวบินท่องอวกาศของมหาเศรษฐี ริชาร์ด แบรนสัน
ในปี 2019 บริษัท SPAC ชื่อว่า Social Capital Hedosophia ได้ประกาศซื้อหุ้น 49% ของ Virgin Galactic มูลค่าราว 25,000 ล้านบาท ซึ่งทำให้ Virgin Galactic กลายเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กทันที
นอกจากกรณีของ Virgin Galactic ก็ยังมีอีกหลายบริษัทที่ใช้วิธีนี้ ตัวอย่างเช่น
Nikola บริษัทผลิตยานยนต์ด้วยแบตเตอรี่ไฟฟ้าและไฮโดรเจน ที่เพิ่งมีข่าวอื้อฉาวว่าไม่ได้ครอบครองเทคโนโลยีดังที่โฆษณาไว้ ก็ได้เข้าตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ผ่านการขายหุ้นบางส่วน มูลค่าราว 22,000 ล้านบาท ให้บริษัท SPAC ชื่อว่า VectoIQ Acquisition Corp.
DraftKings บริษัทเกมและความบันเทิงด้านกีฬาออนไลน์ ได้เข้าตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ผ่านการขายหุ้นบางส่วน มูลค่าราว 9,600 ล้านบาท ให้บริษัท SPAC ชื่อว่า Diamond Eagle Acquisition Corp.
Burger King แบรนด์ร้านเบอร์เกอร์ ได้เข้าตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ผ่านการขายหุ้น 29% มูลค่าราว 44,000 ล้านบาท ให้บริษัท SPAC ชื่อว่า Justice Holdings ซึ่งมีเจ้าของคือ Bill Ackman และต่อมาได้ควบรวมกิจการกับ Tim Hortons ธุรกิจร้านกาแฟจากประเทศแคนาดา
อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนคงตั้งคำถามว่า
ทำไมบางบริษัทถึงเลือกเข้าตลาดหุ้นผ่านการขายหุ้นให้บริษัท SPAC แทนที่จะ IPO ตามปกติ?
ปัจจัยแรกคือ กระบวนการขายกิจการให้ SPAC ใช้เวลาสั้นกว่าและมีการเจรจาต่อรองราคากับผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น โดยโยนภาระหน้าที่การระดมทุนที่มาซื้อให้แก่ SPAC ซึ่งส่วนใหญ่ SPAC จะเป็นสถาบัน หรือนักลงทุนที่มีชื่อเสียงที่มีความสามารถในการระดมทุน
ขณะที่การเสนอขายหุ้น IPO ต้องผ่านขั้นตอนตรวจสอบของหลายฝ่าย และต้องสำรวจความต้องการของนักลงทุนมากมาย เพื่อมากำหนดช่วงราคา IPO
อีกปัจจัยคือ ความไม่แน่นอนของตลาด อาจทำให้ในบางครั้ง การ IPO มีความไม่แน่นอน และต้องถูกเลื่อนออกไป ยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 หรือแม้แต่ความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างสหรัฐอเมริกา-จีน
ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Airbnb เจ้าของแพลตฟอร์มที่พักชื่อดัง ที่แต่เดิมจะ IPO ในปี 2020 แต่พอมีเรื่อง COVID-19 ก็ทำให้ต้องเลื่อนการ IPO ออกไป
ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับการนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ผ่านบริษัท SPAC อาจมีความแน่นอนกว่า ทั้งในเรื่องจำนวนเงินระดมทุน และการประเมินมูลค่าบริษัท รวมไปถึงการมีผู้ซื้อรายใหญ่ที่เป็นคนเจรจากับผู้ขายอย่างชัดเจน
แต่ข้อจำกัดของบริษัท SPAC ก็มีเช่นกัน คือ
1. บริษัท SPAC ส่วนใหญ่จะถูกกำหนดให้มีอายุเพียง 2 ปี
ซึ่งอาจทำให้ค้นหาดีลได้ค่อนข้างลำบาก เนื่องจากสตาร์ตอัปบางแห่งยังไม่รีบร้อนนำบริษัทเข้าตลาดหุ้น เพราะไม่อยากให้นโยบายบริษัทได้รับผลกระทบจากการมีผู้ถือหุ้นเป็นคนนอก
2. เจ้าของบริษัท SPAC จะต้องมีเครดิตและชื่อเสียงพอสมควร เพราะบริษัทที่ตกเป็นเป้าหมาย คงไม่ยอมปล่อยให้บริษัทที่ไม่มีชื่อเสียงเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
สรุปแล้ว การที่บริษัทหนึ่งจะเข้าตลาดหลักทรัพย์
นอกจากการเสนอขายหุ้นครั้งแรกต่อสาธารณะ หรือ IPO แล้ว
ยังมีวิธีอื่นอีก เช่น กรณีขายหุ้นให้บริษัท SPAC อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าบริษัทจะเสนอขายหุ้นด้วยวิธีการใด
“มูลค่าที่แท้จริง” ของบริษัทนั้นก็ควรเป็นสิ่งที่นักลงทุนควรที่จะคาดการณ์
เพื่อให้เปรียบเทียบกับราคาที่เสนอขายว่ามันสูงหรือต่ำกว่าความจริง
และทำให้เราตัดสินใจได้ถูกต้องว่า ควรจะเข้าลงทุนหรือไม่..