ในเชิงประวัติศาสตร์ เราทราบกันดีกว่ามีบันทึกถึงความวิปริตของภูมิอากาศในปี คศ 535-536 กันอย่างกว้างขวาง โดยสาเหตุนั้นนักวิทยาศาสตร์ยังพิสูจน์แน่ชัดไม่ได้ แต่คาดว่าน่าจะเกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟขนาดใหญ่ในทวีปอเมริกาเหนือ ทำให้เกิดการพ่นหมอกควันและเถ้าภูเขาไฟจำนวนมากขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ (เชื่อกันว่าเป็นการระเบิดที่ใหญ่กว่าการะกาตัวเสียอีก)
เถ้าภูเขาไฟนี้ปกคลุมไปทั่วซีกโลกเหนือ ทำให้ในปี 535-536 ท้องฟ้ามืดมิดและขมุกขมัวแม้ในเวลากลางวัน อากาศก็วิปริตหนาวเย็นผิดปกติ พืชผลก็ล้มตายและเกิดความอดอยากไปทั่ว ซึ่งเหตุการณ์นี้กินเวลายาวนานถึง 4 ปี กว่าที่ท้องฟ้าจะกลับมาสดใสในราวๆปี 539 ครับ
นักวิชาการศึกษาเรื่องราวของเหตุการณ์นี้จากบันทึกไบแซไทน์เป็นหลัก แต่เรื่องราวดังกล่าวก็พบในบันทึกของจีน ทั้งในเป่ยสือ และ หนานสือ เช่นกัน
เริ่มจากบันทึกหนานสือ (หรือพงศาวดารราชวงศ์ฝ่ายใต้) ที่บอกถึงการเรียงตัวของหมู่ดาวบนฟ้าในปี 534 ซึ่งจักรพรรดิเหลียงอู่ตี้ทรงวิตกมากว่าจะเกิดเหตุเพศภัย แต่พอพระองค์ได้ยินข่าวว่า จักรพรรดิเว่ยเซียวอู่ตี้ทรงเสด็จออกจากลั่วหยางไปฉางอาน และตามด้วยการแตกเป็นตงเว่ยกับซีเว่ย พระองค์ก็เลยคิดว่าน่าจะเป็นลางบอกเหตุการพินาศของราชสำนักเป่ยเว่ย
ในปี 535 มีบันทึกว่า เกิดเสียงฟ้าคำรามดังก้องปฐพีมาจากทั่วสารทิศ
ในปี 536 เกิดเหตุพิสดาร พบเห็นหมอกสีเหลืองเข้าปกคลุมท้องฟ้าและตกลงมาราวกับหิมะ
ในปี 537 เกิดอากาศวิปริต หิมะตกในฤดูร้อนที่แคว้นชิงโจว (ตอนนั้นราชวงศ์เหลียงยังคงปกครองตอนใต้ของซานตงและมีเขตปกครองชิงโจวอยู่) พบว่าฤดูร้อนปีนั้น อากาศเย็นดั่งปลายฤดูใบไม้ร่วงในนครเจี้ยนคัง และดินแดนตอนใต้ของไหวเหอ
การเก็บเกี่ยวพืชผลในชิงโจวและสวีโจวเสียหายยับเยิน เกิดความอดอยากไปทั่ว
สำหรับบันทึกเป่ยสือ (พงศาวดารราชวงศ์เหนือ) ก็บันทึกเหตุการณ์เดียวกันว่า ในศักราชต้าถงปีที่ 2 เกิดเหตุฟ้าคะนองเสียงก้องสะท้านปฐพี และตามมาด้วยฤดูร้อนที่เย็นยะเยือก พืชผลและสัตว์เลี้ยงล้วนแข็งตายในแคว้นเปียนโจวและกวานจง
ปีต่อมาเกิดภัยแล้งแสนสาหัส ผู้คนในกวานจงอดอยากล้อมตายเสียเจ็ดหรือแปดในสิบส่วน ราชสำนักจึงตั้งผู้ตรวจการออกไปสำรวจความเสียหายและให้ความช่วยเหลือชาวบ้านในแคว้นต่างๆ
กลับมาที่ราชวงศ์เหลียง ความอดอยากแพร่ออกไปทั่วทั้ง 12 มณฑลยาวนานต่อเนื่องจนถึงปี 539 จนจักรพรรดิเหลียงอู่ตี้ต้องทรงออกราชโองการลดภาษีทั่วจักรวรรรดิ
ปี 541 จักรพรรดิเหลียงอู่ตี้ทรงออกราชโองการพระราชทานที่ดินทำกินขนานใหญ่ ให้แก่ครอบครัวที่ยากจนหรือพลัดถิ่นจากภัยแล้งและความอดอยาก เพื่อให้ราษฏรกลับมาทำนาอีกครั้ง
ปี 545 เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ที่นครเจี้ยนคัง ตามด้วยหิมะตกหนักในฤดูหนาว ทำให้ชาวบ้านอดอยากหนักขึ้นไปอีก ความอดอยากยาวนานจนถึงปี 548 เกิดเหตุอาเพศ ท้องฟ้าปั่นป่วน เกิดเสียงกัมปนาทก้องไปทั่ว และท้องฟ้าแยกออก ทำให้ชาวบ้านมองว่าฟ้าพิฆาตเหลียงแล้ว แต่นั้นมาก็เกิดกบฏชาวนาและขุนศึกทั่วแผ่นดินจนแผ่นดินเหลียงต้องล่มสลายครับ
เหตุการณ์ภูมิอากาศวิปริตในปี คศ 535-536 เป็นจุดหักเหที่ทำให้ราชวงศ์เหลียงล่มสลายหรือไม่?
เถ้าภูเขาไฟนี้ปกคลุมไปทั่วซีกโลกเหนือ ทำให้ในปี 535-536 ท้องฟ้ามืดมิดและขมุกขมัวแม้ในเวลากลางวัน อากาศก็วิปริตหนาวเย็นผิดปกติ พืชผลก็ล้มตายและเกิดความอดอยากไปทั่ว ซึ่งเหตุการณ์นี้กินเวลายาวนานถึง 4 ปี กว่าที่ท้องฟ้าจะกลับมาสดใสในราวๆปี 539 ครับ
นักวิชาการศึกษาเรื่องราวของเหตุการณ์นี้จากบันทึกไบแซไทน์เป็นหลัก แต่เรื่องราวดังกล่าวก็พบในบันทึกของจีน ทั้งในเป่ยสือ และ หนานสือ เช่นกัน
เริ่มจากบันทึกหนานสือ (หรือพงศาวดารราชวงศ์ฝ่ายใต้) ที่บอกถึงการเรียงตัวของหมู่ดาวบนฟ้าในปี 534 ซึ่งจักรพรรดิเหลียงอู่ตี้ทรงวิตกมากว่าจะเกิดเหตุเพศภัย แต่พอพระองค์ได้ยินข่าวว่า จักรพรรดิเว่ยเซียวอู่ตี้ทรงเสด็จออกจากลั่วหยางไปฉางอาน และตามด้วยการแตกเป็นตงเว่ยกับซีเว่ย พระองค์ก็เลยคิดว่าน่าจะเป็นลางบอกเหตุการพินาศของราชสำนักเป่ยเว่ย
ในปี 535 มีบันทึกว่า เกิดเสียงฟ้าคำรามดังก้องปฐพีมาจากทั่วสารทิศ
ในปี 536 เกิดเหตุพิสดาร พบเห็นหมอกสีเหลืองเข้าปกคลุมท้องฟ้าและตกลงมาราวกับหิมะ
ในปี 537 เกิดอากาศวิปริต หิมะตกในฤดูร้อนที่แคว้นชิงโจว (ตอนนั้นราชวงศ์เหลียงยังคงปกครองตอนใต้ของซานตงและมีเขตปกครองชิงโจวอยู่) พบว่าฤดูร้อนปีนั้น อากาศเย็นดั่งปลายฤดูใบไม้ร่วงในนครเจี้ยนคัง และดินแดนตอนใต้ของไหวเหอ
การเก็บเกี่ยวพืชผลในชิงโจวและสวีโจวเสียหายยับเยิน เกิดความอดอยากไปทั่ว
สำหรับบันทึกเป่ยสือ (พงศาวดารราชวงศ์เหนือ) ก็บันทึกเหตุการณ์เดียวกันว่า ในศักราชต้าถงปีที่ 2 เกิดเหตุฟ้าคะนองเสียงก้องสะท้านปฐพี และตามมาด้วยฤดูร้อนที่เย็นยะเยือก พืชผลและสัตว์เลี้ยงล้วนแข็งตายในแคว้นเปียนโจวและกวานจง
ปีต่อมาเกิดภัยแล้งแสนสาหัส ผู้คนในกวานจงอดอยากล้อมตายเสียเจ็ดหรือแปดในสิบส่วน ราชสำนักจึงตั้งผู้ตรวจการออกไปสำรวจความเสียหายและให้ความช่วยเหลือชาวบ้านในแคว้นต่างๆ
กลับมาที่ราชวงศ์เหลียง ความอดอยากแพร่ออกไปทั่วทั้ง 12 มณฑลยาวนานต่อเนื่องจนถึงปี 539 จนจักรพรรดิเหลียงอู่ตี้ต้องทรงออกราชโองการลดภาษีทั่วจักรวรรรดิ
ปี 541 จักรพรรดิเหลียงอู่ตี้ทรงออกราชโองการพระราชทานที่ดินทำกินขนานใหญ่ ให้แก่ครอบครัวที่ยากจนหรือพลัดถิ่นจากภัยแล้งและความอดอยาก เพื่อให้ราษฏรกลับมาทำนาอีกครั้ง
ปี 545 เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ที่นครเจี้ยนคัง ตามด้วยหิมะตกหนักในฤดูหนาว ทำให้ชาวบ้านอดอยากหนักขึ้นไปอีก ความอดอยากยาวนานจนถึงปี 548 เกิดเหตุอาเพศ ท้องฟ้าปั่นป่วน เกิดเสียงกัมปนาทก้องไปทั่ว และท้องฟ้าแยกออก ทำให้ชาวบ้านมองว่าฟ้าพิฆาตเหลียงแล้ว แต่นั้นมาก็เกิดกบฏชาวนาและขุนศึกทั่วแผ่นดินจนแผ่นดินเหลียงต้องล่มสลายครับ