.
.
Magic mushrooms & Reindeer -
Weird Nature - BBC animals
1.
.
.
สัตว์บางชนิด เช่น
Box Turtles
มีภูมิคุ้มกันสารพิษจากเห็ดเกือบทุกชนิด
สัตว์ป่าที่กินเห็ด ต่างเรียนรู้/สอนกันเองว่า
เห็ดอะไรที่ควรกิน เห็ดอะไรที่ไม่ควรกิน
แต่สัตว์ป่าจะกินเห็ดก็ต่อเมื่อหิวมากเท่านั้น
สัตว์ที่อาศัยอยู่ในถิ่นกำเนิด/พื้นเมือง
มักจะคุ้นเคยกับพืชที่เติบโตในบริเวณนั้น
กับรู้มากพอที่จะหลีกเลี่ยงการกินเห็ดพิษ
แต่สัตว์ที่ไม่ใช่สัตว์ประจำถิ่น
เช่น สุนัขบ้าน มักจะเป็นคนละเรื่องเดียวกัน
เพราะหลายตัวมักจะกินเห็ดพิษเข้าไป
กวางก็ชอบกินพืช
แต่จะกินเห็ดเป็นอาหารบ้างเล็กน้อย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูหนาว ที่ไร้พืชให้กิน
กวางเป็นสัตว์แทะเล็มพืชเหมือนกับพวกแพะ
พวกมันจึงกินได้ทีละเล็กทีละน้อย
ดังนั้น กวางจึงมักจะหลีกเลี่ยงการกินเห็ดพิษ
ด้วยการกินแต่พอเหมาะไม่มากจนเกินไป
ทั้วนี้ กวางยังมีกระเพาะอาหารที่ทนทาน
จึงกินเห็ดเห็ดส่วนใหญ่ได้มากกว่าคน
คนเรากินเห็ดได้เพียงไม่กี่สายพันธุ์
และจะเลือกกินเห็ดที่มีรสชาติอร่อยเป็นพิเศษ
แต่เห็ดป่าขนิดอื่น ๆ
ถ้าคนกินมักจะปวดท้องได้ง่าย ๆ
แต่สำหรับกวางแล้วกินเข้าไปเพียงเล็กน้อย
ท้องกวางไม่รู้สึกรู้สาแต่อย่างใดต่างกับคน
แต่กวางรู้ว่าควรจะหลีกเลี่ยงเห็ดพิษไม่กี่ชนิด
เห็ดพิษที่พิษร้ายแรงมาก
ประเภท
Destroying Angel
.
.
สุนัขจิ้งจอกก็กินเห็ด
เพราะมันเป็นสัตว์กินพืชทุกชนิด
แม้ว่าจะชอบล่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก
แต่พวกมันก็ยังกิน ผลเบอร์รี่ รากไมั เห็ด ฯลฯ
สุนัขจิ้งจอกตัวนี้กำลังกินเห็ด
Amanita muscaria
เห็ดชนิดนี้จัดว่าเป็นพิษต่อคนบางคน
แต่บางคนรู้วิธีที่จะปรุงเป็นอาหารได้
.
6.
7.
.
Amanita muscaria
8.
9.
10.
.
.
เต่า Box Turtles กินเห็ดพิษได้โดยไร้ปัญหา
ทั้งยังกินพืชทุกชนิด และกินเพ(ทุกอย่าง)
ตั้งแต่หนอน ซากกวาง ผลไม้ชนิดต่าง ๆ
และที่พวกมันชอบมากที่สุดคือ เห็ด
เพราะพวกมันเคลื่อนไหวได้อย่างช้า ๆ
พวกมันจึงต้องกินอะไรก็ได้ที่เจอ/ขวางหน้า
แต่พวกมันมีภูมิคุ้มกันสารพิษจากเห็ดส่วนใหญ่
ดังนั้น ถ้าพวกมันกินเห็ดพิษเข้าไปแล้ว
สารพิษจากเห็ดจะค่อย ๆ สะสมไว้ในเนื้อเยื่อ
ทำให้หลายคนกินเต่า Box Turtles แล้วชักตาตั้ง
เพราะเจอสารพิษจากเห็ดที่สะสมอยู่ในเนื้อเต่า
หรือที่เรียกว่า Chelotoxicity สารพิษจากเต่า
(Chelo=เต่า รากศัพท์ภาษาละติน)
เต่าทะเลสามารถกินแมงกะพรุนพิษได้
.
11.
12.
.
.
กระแต กระรอก ต่างกินเห็ดด้วย
เพราะมีคนเห็นว่า พวกมันกินเห็ด
Russulas
ซึ่งขึ้นได้เองตามเรือกสวนไร่นา
กินแล้วไม่เป็นพิษร้ายกับพวกมันแต่อย่างใด
แต่ถ้าคนเจอเห็ดชนิดนึ้จะโยนทิ้ง ไม่กล้ากิน
กระแตเป็นสัตว์กินพืชทุกชนิด
รวมทั้งพืชที่มีธาตุอาหารสูงมาก
ทั้งยังกินแมลงและเห็ด
กระรอกก็เช่นเดียวกัน
บางครั้งพวกมันก็กินลูกนกด้วยซ้ำ
ดังนั้นถ้าพวกมันจะกินเห็ดบ้าง
ก็เป็นเรื่องธรรมดาเช่นกัน
กระรอกแดงกินเห็ดด้วย
แต่พวกมันมักจะทดสอบก่อน
แน่นอน พวกมันเจ๋งมาก
แม้ว่าเห็ดจะดูเหมือนไม่มีพิษก็ตาม
.
13.
.
กระแต
14.
.
กระรอก
15.
.
กระรอกแดง
16.
17.
.
The sickener (R. emetica group)
18.
.
R. flavida, Mexico
19.
.
Lobster mushroom
20.
.
R. chloroides
21.
22.
.
Blue jay
23.
.
Jungle crow
.
.
นกบางชนิดก็กินเห็ดเป็นอาหาร
แต่ส่วนใหญ่มักจะเป็น Jays and Crows (
Corvidae)
นก
Siberian Jays ก็กินเห็ดเช่นกัน
เพราะพบเห็ดส่วนใหญ่ในกระเพาะอาหาร
ในช่วงต้นฤดูหนาว ทำให้สัตว์ที่กล่าวมานี้
เรียกได้ว่า พวกกินเห็ดรา
Fungivore
.
24.
.
Siberian Jays
25.
26.
.
.
พวกกินเห็ดรา
Fungivore
ยังมีพวกแมลงที่มักจะกินเห็ดเป็นส่วนใหญ่
และเป็นกำลังสำคัญในการช่วยสลายเห็ด
เพราะเห็ดจะมีหน้าที่ปล่อยสปอร์ออกมา
ด้วง มด และ
Earwigs
ก็มักจะเห็นว่าพวกมันกำลังกินเห็ด
เพราะแมลงพวกนี้มีภูมิคุ้มกันสารพิษจากเห็ด
จึงกินเข้าไปแล้วไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด
.
27.
.
มดสายพันธุ์
Euprenolepis procera
กำลังเก็บเกี่ยวเห็ด
Pleurotus
.
.
แมวไม่ชอบกินอะไรที่ไม่ใช่สัตว์
ดังนั้นจึงปล่อยผ่านไปได้เลย
เพราะแมวคงไม่ไปกินเห็ดแน่
แต่สุนัขมีความเสี่ยงที่จะกินเห็ด
โดยเฉพาะสุนัขที่อายุน้อย
ที่ชอบคาบ/งับอะไรกับปาก
เพราะพวกมันยังไม่ได้เรียนรู้ว่า
มีอะไรบ้างที่เป็นอันตรายกับพวกมัน
คนมักจะตายง่ายถ้ากินเห็ดพิษ
เพราะถ้าท้องคนเราเคยชินกับ
อาหารป่าที่ไม่ได้ปรุงสุกเหมือนทุกวันนี้
คนเราคงจะมีภูมิคุ้มกันสารพิษได้เช่นกัน
แต่มีเพียงคนไม่กี่คนในยุคปัจจุบัน
ที่ขึ้นมาด้วยการเสาะหาอาหารใส่ท้องเข้าไว้
ทำให้กระเพาะอาหารของคนพวกนี้
สามารถจัดการกับสารพิษที่ไม่รุนแรงนักได้
เห็ดหลายชนิดที่คนเราคิดว่ากินไม่ได้นั้น
อาจจะไม่ได้อร่อยเลยจริง ๆ ก็ได้
อาจจะทำให้บางคนปวดท้องเล็กน้อย
และมีคนไม่กี่คนที่กินเห็ดพิษเข้าไปแล้ว
กลายเป็นว่ากินพิษที่ร้ายแรงมาก
ดังนั้น อย่าเสี่ยงชีวิตด้วยการกินเห็ดป่า
เว้นแต่จะมั่นใจได้ 100%
เพราะมีประสบการณ์และระบุชนิดเห็ดได้
สัตว์ป่าต่างเติบโตในสภาพแวดล้อม
ที่มีเงื่อนไขให้ต้องดิ้นรนหากินเพื่อยังชีพ
โดยปกติแล้ว ส้ตว์ป่าจะทดสอบ
ด้วยการกินในปริมาณเล็กน้อย
/เรียนรู้จากเพื่อน ๆ ส้ตว์ป่าด้วยกัน
การกินอาหารหลากหลายในปริมาณเล็กน้อย
ทำให้พวกมันจึงสามารถกินเห็ดได้หลายชนิด
ที่ค่อย ๆ สร้างภูมิคุ้มกันเห็ดพิษให้พวกมัน
แต่คนเรากินเข้าไปแล้วอาจจะชักตาตั้งเลยได้
แน่นอนว่าสัตว์บางชนิดเรียนรู้
ด้วยการผ่านประสบการณ์ที่ยากลำบาก
ดังนั้น จึงไม่แปลกใจเลยว่า
ถ้าบางครั้งกระรอกหรือกวาง
กว่าจะรู้เดียงสาจากเห็ดพิษ
แต่สัตว์บางตัวอาจจะตั้งใจกินเห็ดพิษ
เพราะกินแล้วดีด เหมือนคนที่ชอบกินเห็ดพิษ
ปลาโลมาบางตัวก็ชอบกินปลาปักเป้า
เพื่อให้ดีดจากสารพิษของปลาปักเป้า
กระรอกตัวนี้กำลังมีประสบการณ์
ประสาทหลอนจากการกินเห็ดพิษ
Fairy ring ที่อยู่ใกล้ตัว
.
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/3mCbRT4
.
.
.
.
Squirrel gets stoned on mushrooms
28.
29.
30.
.
.
เรื่องเล่าไร้สาระ
เมืองไทยก็มีเห็ดพิษเรียกว่า
เห็ดขี้ควาย/เห็ดขี้วัว
นิยมใช้กันในงานฟูลมูนปาร์ตี้
ที่เกาะพงัน เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี
ส่วนใหญ่แล้วนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
นิยมกินโดยนำไปปั่นรวมกับนม
เป็นมิลค์เชคเห็ดขี้ควาย
หรือทำเป็นเหล้าปั่น หรือ ไข่เจียวเห็ดขี้ควาย
แบบกินแล้วดีด คึกคัก ฮึกเหิม
มันส์กับอินไปกับเสียงเพลงกระหึ่ม
แต่มีเรื่องแปลกคือ คนไทยมักจะแพ้เห็ดนี้
กินแล้วไม่ตายก็คางเหลือง/หนักหนาสาหัส
ตำนานชาวไวกิ้งจะมึเรื่องราวของ
นักรบ Berserkers ผู้เกรี้ยวกราดที่โจมตีข้าศึก
ด้วยความโกรธ ด้วยอารมณ์รุนแรง
อย่างที่ไม่สามารถควบคุมได้ในการรบ
แบบบ้าดีเดือด Gone Berserk
ท่ามกลางการต่อสู้ที่นองเลือด
แต่ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ใน
American Journal of Psychiatry 1956 ระบุ
พฤติกรรมบ้าคลั่งของพวก Berserkers
เป็นผลมาจากสารหลอนประสาทจากเห็ดพิษ
เห็ดหลอนประสาท
Amanita muscaria
มึในเรื่องเดิม
7 ความลับของนักรบไวกิ้ง
.
.
.
เห็ดโคนหรือเห็ดปลวก
วงจรชีวิตของเห็ดโคนหรือเห็ดปลวก
ต้องพึ่งพาปลวกเข้ามาช่วย
ปลวกงานจะนำเอาสปอร์
ซึ่งเป็นหน่วยขยายพันธุ์ที่มีขนาดเล็กมาก
ทำหน้าที่เช่นเดียวกับเมล็ดพืชอื่น ๆ
ไปปลูกในรังให้เป็นอาหารของปลวกวัยอ่อน
ส่วนสปอร์ที่หลงเหลือตกค้างอยู่ในดิน
เมื่อได้รับความชื้นในฤดูฝน
ก็จะเติบโตโผล่พ้นผิวดินขึ้นมาปรากฏให้เห็น
และเป็นอาหารอันโอชะของคนเรา
แถวบ้านชาวสวนยางมักจะขุดดินที่มีเห็ดโคน
เอามาวางไว้ในที่ร่มแถวบริเวณสวนไผ่/ไม้ยืนต้น
ก็มักจะได้กินบ้างแต่ไม่มากมายเหมือนธรรมชาติ
แต่ไม่กี่รอบก็หายเกลี้ยงไม่เหมือนปลวกเลี้ยงเอง
ภูมิปัญญาชาวบ้านมีวิธีเพาะหรือปลูกเห็ดโคน
ตามลิงค์ข้างบนนี้ แต่บางคนว่าได้ผลน้อย
รสชาติไม่อร่อยเหมือนเห็ดโคนตามธรรมชาติ
ซึ่งก็มีส่วนจริง เพราะดินตามธรรมชาติมีจุลธาตุ
และสารประกอบธรรมชาติมากกว่าที่คนสร้าง
ประกอบกับปัจจัยดิน น้ำ ลม ไฟ(แสงแดด)
ทำให้แหล่งผลิตพืชผักผลไม้แต่ละที่
รสชาติและคุณภาพต่างกันอย่างเห็นได้ชัด
เช่น เงาะนาสาร มังคุดชุมพร ลองกองตันหยงมัส
ผักหน้าหนาวจากดอยแถวภาคเหนือ เป็นต้น
เห็ดพิษที่สัตว์ป่ากินได้ แต่คนกินไม่ได้
.
Magic mushrooms & Reindeer -
Weird Nature - BBC animals
1.
.
สัตว์บางชนิด เช่น Box Turtles
มีภูมิคุ้มกันสารพิษจากเห็ดเกือบทุกชนิด
สัตว์ป่าที่กินเห็ด ต่างเรียนรู้/สอนกันเองว่า
เห็ดอะไรที่ควรกิน เห็ดอะไรที่ไม่ควรกิน
แต่สัตว์ป่าจะกินเห็ดก็ต่อเมื่อหิวมากเท่านั้น
สัตว์ที่อาศัยอยู่ในถิ่นกำเนิด/พื้นเมือง
มักจะคุ้นเคยกับพืชที่เติบโตในบริเวณนั้น
กับรู้มากพอที่จะหลีกเลี่ยงการกินเห็ดพิษ
แต่สัตว์ที่ไม่ใช่สัตว์ประจำถิ่น
เช่น สุนัขบ้าน มักจะเป็นคนละเรื่องเดียวกัน
เพราะหลายตัวมักจะกินเห็ดพิษเข้าไป
กวางก็ชอบกินพืช
แต่จะกินเห็ดเป็นอาหารบ้างเล็กน้อย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูหนาว ที่ไร้พืชให้กิน
กวางเป็นสัตว์แทะเล็มพืชเหมือนกับพวกแพะ
พวกมันจึงกินได้ทีละเล็กทีละน้อย
ดังนั้น กวางจึงมักจะหลีกเลี่ยงการกินเห็ดพิษ
ด้วยการกินแต่พอเหมาะไม่มากจนเกินไป
ทั้วนี้ กวางยังมีกระเพาะอาหารที่ทนทาน
จึงกินเห็ดเห็ดส่วนใหญ่ได้มากกว่าคน
คนเรากินเห็ดได้เพียงไม่กี่สายพันธุ์
และจะเลือกกินเห็ดที่มีรสชาติอร่อยเป็นพิเศษ
แต่เห็ดป่าขนิดอื่น ๆ
ถ้าคนกินมักจะปวดท้องได้ง่าย ๆ
แต่สำหรับกวางแล้วกินเข้าไปเพียงเล็กน้อย
ท้องกวางไม่รู้สึกรู้สาแต่อย่างใดต่างกับคน
แต่กวางรู้ว่าควรจะหลีกเลี่ยงเห็ดพิษไม่กี่ชนิด
เห็ดพิษที่พิษร้ายแรงมาก
ประเภท Destroying Angel
.
3.
4.
5.
.
สุนัขจิ้งจอกก็กินเห็ด
เพราะมันเป็นสัตว์กินพืชทุกชนิด
แม้ว่าจะชอบล่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก
แต่พวกมันก็ยังกิน ผลเบอร์รี่ รากไมั เห็ด ฯลฯ
สุนัขจิ้งจอกตัวนี้กำลังกินเห็ด
Amanita muscaria
เห็ดชนิดนี้จัดว่าเป็นพิษต่อคนบางคน
แต่บางคนรู้วิธีที่จะปรุงเป็นอาหารได้
.
6.
7.
.
Amanita muscaria
8.
9.
10.
.
เต่า Box Turtles กินเห็ดพิษได้โดยไร้ปัญหา
ทั้งยังกินพืชทุกชนิด และกินเพ(ทุกอย่าง)
ตั้งแต่หนอน ซากกวาง ผลไม้ชนิดต่าง ๆ
และที่พวกมันชอบมากที่สุดคือ เห็ด
เพราะพวกมันเคลื่อนไหวได้อย่างช้า ๆ
พวกมันจึงต้องกินอะไรก็ได้ที่เจอ/ขวางหน้า
แต่พวกมันมีภูมิคุ้มกันสารพิษจากเห็ดส่วนใหญ่
ดังนั้น ถ้าพวกมันกินเห็ดพิษเข้าไปแล้ว
สารพิษจากเห็ดจะค่อย ๆ สะสมไว้ในเนื้อเยื่อ
ทำให้หลายคนกินเต่า Box Turtles แล้วชักตาตั้ง
เพราะเจอสารพิษจากเห็ดที่สะสมอยู่ในเนื้อเต่า
หรือที่เรียกว่า Chelotoxicity สารพิษจากเต่า
(Chelo=เต่า รากศัพท์ภาษาละติน)
เต่าทะเลสามารถกินแมงกะพรุนพิษได้
.
11.
12.
.
กระแต กระรอก ต่างกินเห็ดด้วย
เพราะมีคนเห็นว่า พวกมันกินเห็ด Russulas
ซึ่งขึ้นได้เองตามเรือกสวนไร่นา
กินแล้วไม่เป็นพิษร้ายกับพวกมันแต่อย่างใด
แต่ถ้าคนเจอเห็ดชนิดนึ้จะโยนทิ้ง ไม่กล้ากิน
กระแตเป็นสัตว์กินพืชทุกชนิด
รวมทั้งพืชที่มีธาตุอาหารสูงมาก
ทั้งยังกินแมลงและเห็ด
กระรอกก็เช่นเดียวกัน
บางครั้งพวกมันก็กินลูกนกด้วยซ้ำ
ดังนั้นถ้าพวกมันจะกินเห็ดบ้าง
ก็เป็นเรื่องธรรมดาเช่นกัน
กระรอกแดงกินเห็ดด้วย
แต่พวกมันมักจะทดสอบก่อน
แน่นอน พวกมันเจ๋งมาก
แม้ว่าเห็ดจะดูเหมือนไม่มีพิษก็ตาม
.
13.
.
กระแต
14.
.
กระรอก
15.
.
กระรอกแดง
16.
17.
.
The sickener (R. emetica group)
18.
.
R. flavida, Mexico
19.
.
Lobster mushroom
20.
.
R. chloroides
21.
22.
.
Blue jay
23.
.
Jungle crow
.
นกบางชนิดก็กินเห็ดเป็นอาหาร
แต่ส่วนใหญ่มักจะเป็น Jays and Crows (Corvidae)
นก Siberian Jays ก็กินเห็ดเช่นกัน
เพราะพบเห็ดส่วนใหญ่ในกระเพาะอาหาร
ในช่วงต้นฤดูหนาว ทำให้สัตว์ที่กล่าวมานี้
เรียกได้ว่า พวกกินเห็ดรา Fungivore
.
24.
.
Siberian Jays
25.
26.
.
พวกกินเห็ดรา Fungivore
ยังมีพวกแมลงที่มักจะกินเห็ดเป็นส่วนใหญ่
และเป็นกำลังสำคัญในการช่วยสลายเห็ด
เพราะเห็ดจะมีหน้าที่ปล่อยสปอร์ออกมา
ด้วง มด และ Earwigs
ก็มักจะเห็นว่าพวกมันกำลังกินเห็ด
เพราะแมลงพวกนี้มีภูมิคุ้มกันสารพิษจากเห็ด
จึงกินเข้าไปแล้วไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด
.
27.
.
มดสายพันธุ์ Euprenolepis procera
กำลังเก็บเกี่ยวเห็ด Pleurotus
.
.
แมวไม่ชอบกินอะไรที่ไม่ใช่สัตว์
ดังนั้นจึงปล่อยผ่านไปได้เลย
เพราะแมวคงไม่ไปกินเห็ดแน่
แต่สุนัขมีความเสี่ยงที่จะกินเห็ด
โดยเฉพาะสุนัขที่อายุน้อย
ที่ชอบคาบ/งับอะไรกับปาก
เพราะพวกมันยังไม่ได้เรียนรู้ว่า
มีอะไรบ้างที่เป็นอันตรายกับพวกมัน
คนมักจะตายง่ายถ้ากินเห็ดพิษ
เพราะถ้าท้องคนเราเคยชินกับ
อาหารป่าที่ไม่ได้ปรุงสุกเหมือนทุกวันนี้
คนเราคงจะมีภูมิคุ้มกันสารพิษได้เช่นกัน
แต่มีเพียงคนไม่กี่คนในยุคปัจจุบัน
ที่ขึ้นมาด้วยการเสาะหาอาหารใส่ท้องเข้าไว้
ทำให้กระเพาะอาหารของคนพวกนี้
สามารถจัดการกับสารพิษที่ไม่รุนแรงนักได้
เห็ดหลายชนิดที่คนเราคิดว่ากินไม่ได้นั้น
อาจจะไม่ได้อร่อยเลยจริง ๆ ก็ได้
อาจจะทำให้บางคนปวดท้องเล็กน้อย
และมีคนไม่กี่คนที่กินเห็ดพิษเข้าไปแล้ว
กลายเป็นว่ากินพิษที่ร้ายแรงมาก
ดังนั้น อย่าเสี่ยงชีวิตด้วยการกินเห็ดป่า
เว้นแต่จะมั่นใจได้ 100%
เพราะมีประสบการณ์และระบุชนิดเห็ดได้
สัตว์ป่าต่างเติบโตในสภาพแวดล้อม
ที่มีเงื่อนไขให้ต้องดิ้นรนหากินเพื่อยังชีพ
โดยปกติแล้ว ส้ตว์ป่าจะทดสอบ
ด้วยการกินในปริมาณเล็กน้อย
/เรียนรู้จากเพื่อน ๆ ส้ตว์ป่าด้วยกัน
การกินอาหารหลากหลายในปริมาณเล็กน้อย
ทำให้พวกมันจึงสามารถกินเห็ดได้หลายชนิด
ที่ค่อย ๆ สร้างภูมิคุ้มกันเห็ดพิษให้พวกมัน
แต่คนเรากินเข้าไปแล้วอาจจะชักตาตั้งเลยได้
แน่นอนว่าสัตว์บางชนิดเรียนรู้
ด้วยการผ่านประสบการณ์ที่ยากลำบาก
ดังนั้น จึงไม่แปลกใจเลยว่า
ถ้าบางครั้งกระรอกหรือกวาง
กว่าจะรู้เดียงสาจากเห็ดพิษ
แต่สัตว์บางตัวอาจจะตั้งใจกินเห็ดพิษ
เพราะกินแล้วดีด เหมือนคนที่ชอบกินเห็ดพิษ
ปลาโลมาบางตัวก็ชอบกินปลาปักเป้า
เพื่อให้ดีดจากสารพิษของปลาปักเป้า
กระรอกตัวนี้กำลังมีประสบการณ์
ประสาทหลอนจากการกินเห็ดพิษ
Fairy ring ที่อยู่ใกล้ตัว
.
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/3mCbRT4
.
.
.
Squirrel gets stoned on mushrooms
28.
29.
30.
.
.
เรื่องเล่าไร้สาระ
เมืองไทยก็มีเห็ดพิษเรียกว่า
เห็ดขี้ควาย/เห็ดขี้วัว
นิยมใช้กันในงานฟูลมูนปาร์ตี้
ที่เกาะพงัน เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี
ส่วนใหญ่แล้วนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
นิยมกินโดยนำไปปั่นรวมกับนม
เป็นมิลค์เชคเห็ดขี้ควาย
หรือทำเป็นเหล้าปั่น หรือ ไข่เจียวเห็ดขี้ควาย
แบบกินแล้วดีด คึกคัก ฮึกเหิม
มันส์กับอินไปกับเสียงเพลงกระหึ่ม
แต่มีเรื่องแปลกคือ คนไทยมักจะแพ้เห็ดนี้
กินแล้วไม่ตายก็คางเหลือง/หนักหนาสาหัส
ตำนานชาวไวกิ้งจะมึเรื่องราวของ
นักรบ Berserkers ผู้เกรี้ยวกราดที่โจมตีข้าศึก
ด้วยความโกรธ ด้วยอารมณ์รุนแรง
อย่างที่ไม่สามารถควบคุมได้ในการรบ
แบบบ้าดีเดือด Gone Berserk
ท่ามกลางการต่อสู้ที่นองเลือด
แต่ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ใน
American Journal of Psychiatry 1956 ระบุ
พฤติกรรมบ้าคลั่งของพวก Berserkers
เป็นผลมาจากสารหลอนประสาทจากเห็ดพิษ
เห็ดหลอนประสาท Amanita muscaria
มึในเรื่องเดิม 7 ความลับของนักรบไวกิ้ง
.
31.
.
© <โหน่ง>
32.
.
.
เห็ดโคนหรือเห็ดปลวก
วงจรชีวิตของเห็ดโคนหรือเห็ดปลวก
ต้องพึ่งพาปลวกเข้ามาช่วย
ปลวกงานจะนำเอาสปอร์
ซึ่งเป็นหน่วยขยายพันธุ์ที่มีขนาดเล็กมาก
ทำหน้าที่เช่นเดียวกับเมล็ดพืชอื่น ๆ
ไปปลูกในรังให้เป็นอาหารของปลวกวัยอ่อน
ส่วนสปอร์ที่หลงเหลือตกค้างอยู่ในดิน
เมื่อได้รับความชื้นในฤดูฝน
ก็จะเติบโตโผล่พ้นผิวดินขึ้นมาปรากฏให้เห็น
และเป็นอาหารอันโอชะของคนเรา
แถวบ้านชาวสวนยางมักจะขุดดินที่มีเห็ดโคน
เอามาวางไว้ในที่ร่มแถวบริเวณสวนไผ่/ไม้ยืนต้น
ก็มักจะได้กินบ้างแต่ไม่มากมายเหมือนธรรมชาติ
แต่ไม่กี่รอบก็หายเกลี้ยงไม่เหมือนปลวกเลี้ยงเอง
ภูมิปัญญาชาวบ้านมีวิธีเพาะหรือปลูกเห็ดโคน
ตามลิงค์ข้างบนนี้ แต่บางคนว่าได้ผลน้อย
รสชาติไม่อร่อยเหมือนเห็ดโคนตามธรรมชาติ
ซึ่งก็มีส่วนจริง เพราะดินตามธรรมชาติมีจุลธาตุ
และสารประกอบธรรมชาติมากกว่าที่คนสร้าง
ประกอบกับปัจจัยดิน น้ำ ลม ไฟ(แสงแดด)
ทำให้แหล่งผลิตพืชผักผลไม้แต่ละที่
รสชาติและคุณภาพต่างกันอย่างเห็นได้ชัด
เช่น เงาะนาสาร มังคุดชุมพร ลองกองตันหยงมัส
ผักหน้าหนาวจากดอยแถวภาคเหนือ เป็นต้น