ลากไส้แก๊ง 9 ส.ว.มะกันกลางสภา 'ดอน'แฉกลับมีกระบวนการล็อบบี้ยิสต์
พท.’ โหนตั้งกระทู้ ปม ‘ส.ว.มะกัน’โวยละเมิดสิทธิม็อบ ด้าน ‘ดอน’ ไม่ทนสวนกลับมีกระบวนการล็อบบี้ยิสต์
เมื่อเวลา 11.00 น.วันที่ 17 ธ.ค.2563 ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่ประธานการประชุม เพื่อพิจารณากระทู้ถามสดของนพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย ที่ถามพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม
➡️9 ส.ว.สหรัฐอเมริกา มีข้อมติเรียกร้องต่อรัฐบาลไทยถึงเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน และกรณีที่สหภาพยุโรป(อียู)ผ่านกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ เมื่อวันที่ 10 ธ.ค.ที่ผ่านมา เพื่อเอาผิดกับผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชน ทั้งสองประเด็นดังกล่าว ถือเป็นการแทรกแซงกิจการภายในประเทศไทยหรือไม่.....🔻
โดยนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ต่างประเทศ ตอบกระทู้สดชี้แจงแทนนายกรัฐมนตรีว่า กรณีข้อมติเรียกร้องของส.ว.สหรัฐฯไม่ใช่ประเด็นที่ได้รับความสนใจในสหรัฐฯ และร่างมติดังกล่าวไม่มีผลบังคับใดๆต่อประเทศไทย เป็นเพียงแค่การแสดงท่าทีเท่านั้น และร่างมติดังกล่าวจะตกไปในชั้นวุฒิสภาสหรัฐในวันที่ 18 ธ.ค. เพราะไม่สามารถนำเรื่องเข้าไปหารือในวุฒิสภาสหรัฐได้ทัน อย่างไรก็ตามกระทรวงต่างประเทศได้ทำหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงส่งให้ส.ว.สหรัฐฯทราบแล้ว เพื่อให้เข้าใจข้อเท็จจริงที่ถูกต้องในสถานการณ์ชุมนุมประเทศไทย
นายดอน กล่าวว่า ส่วนที่มาที่ไปของร่างมติดังกล่าว มีสมมติฐาน 2ประการ คือ 1.มีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ของผู้ที่สนใจ ไม่ว่ามาจากองค์การภายในของสภาฯ หรือภายนอก 2.จากการล็อบบี้จากภายนอกที่ตรวจสอบพบหลักฐานจำนวนมาก ส่วนข้อกังวลจะเป็นการแทรกแซงกิจการภายในประเทศไทยนั้น ไม่คิดว่าเป็นการแทรกแซงกิจการในประเทศ
และเมื่อวันที่ 16 ธ.ค.ที่ผ่านมา ตนได้รับเชิญไปรับประทานอาหารที่บ้านเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทยที่แสดงความชื่นชมสถานการณ์ชุมนุมในไทยเป็นไปด้วยความสงบ รัฐบาลอดกลั้นรับมือกับผู้ชุมนุม ถือเป็นเรื่องปกติที่กระบวน การประชาธิปไตยจะเจอความท้าทาย เชื่อว่าประเทศไทยจะหาทางแก้สถานการณ์การเมืองได้ในที่สุด คำตอบเหล่านี้ยืนยันต่อข้อกังวลเรื่องการแทรกแซงได้
“จากการติดตามข้อมติเรียกร้องของส.ว.สหรัฐฯ เราได้กลิ่นไออย่างมากเรื่องการล็อบบี้ ยืนยันว่ากระทรวงต่างประเทศไม่เคยมองข้ามปัญหาข้อเรียกร้องใดๆ แต่เมื่อเจอปัญหาแล้ว เราไม่โวยวาย เป็นมวยวัดออกสื่อ แต่จะหาข้อมูลก่อน เพื่อตอบโต้อย่างเหมาะสม ส่วนกรณีสหภาพยุโรป(อียู)ออกกฎหมายคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน มีผลวันที่ 10 ธ.ค.นั้น ยังไม่เคยได้ยิน อาจจะตกข่าว จึงขอไปหาข้อมูลก่อน ไม่รีแอคกับข่าวทันทีทันใด” รมว.ต่างประเทศ กล่าว
https://www.naewna.com/politic/539201
"ดอน" แฉ กลางสภาฯ มีล็อบบี้ยีสต์-แลกผลประโยชน์ ปม"ส.ว.สหรัฐฯ"หนุนม็อบราษฎร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ตอบกระทู้ถามสด ของส.ส.เพื่อไทย ที่คาใจทางการไทย ไม่ตอบโต้ ประเด็น9ส.ว.สหรัฐ ชี้มีขบวนการล็อบบี้-แลกผลประโยชน์ ยัน สหรัฐฯ ไม่แทรกแซงเรื่องภายใน หลังคุยกับทูตสหรัฐฯ แล้ว
ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง เป็นประธานการประชุม ช่วงกระทู้ถามสด
โดย นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย ตั้งกระทู้ถามสด
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งได้มอบหมายให้นายดอน ปรมัติวินัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ชี้แจงถึงกรณีมติของวุฒิสภาสหรัฐอเมริกาที่มีต่อประเด็นการแสดงสิทธิเสรีภาพในประเทศไทย เมื่อวันที่ 4 ธันวาคมและเตรียมเสนอให้ที่ประชุมวุฒิสภาพิจารณารับรอง รวมถึงกรณีที่สหภาพยุโรปผ่านกฎหมายว่าด้วยเรื่องการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยมีรายละเอียดคือ ขยายขอบเขตการลงโทษผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชนทั่วโลก ซึ่งมีผลเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม
นายดอน ชี้แจงว่าตนไม่ทราบว่าจะตั้งกระทู้ทำไม ในเมื่อเรื่องดังกล่าวในสหรัฐอเมริกานั้นไม่มีบุคคลใดสนใจ อย่างไรก็ตามกระทรวงการต่างประเทศรับทราบถึงร่างมติของส.ว.สหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ช่วงเช้าวันที่ 3 ธันวาคม ก่อนมติจะออกช่วงเย็นวันเดียวกัน ซึ่งกระทรวงการตางประเทศได้ติดตามทันที และตรวจสอบและหลังจากที่ร่างมติดังกล่าวออกมา ได้สั่งการให้ปลัดกระทรวงการต่างประเทศตรวจสอบทันที และข้อมูลที่ได้รับ คือ ร่างมติดังกล่าวจะตกไปก่อนนำเสนอ เนื่องจากวุฒิสภาสหรัฐฯ จะประชุมวันสุดท้ายวันที่ 18 ธันวาคม และร่างมติดังกล่าวยังไม่นำเสนอเข้าสู่การพิจารณา อีกทั้งมติดังกล่าวเป็นเพียงการแสดงท่าที โดยไม่มีผลใดๆ ต่อประเทศไทย อย่างไรก็ตามกระทรวงการต่างประเทศได้ทำหนังสือไปยังส.ว.สหรัฐ ในวันที่ 10 ธันวาคม เพื่อแสดงความขอบคุณที่ห่วงใยในสถานการณ์ภายในประเทศ แต่ไทยพร้อมจะจัดการปัญหาภายในด้วยตัวเอง
นายดอน กล่าวด้วยว่าส่วนที่มาที่ไปของร่างมติดังกล่าวมีสมมติฐาน 2 ประการ คือ 1.มีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ของผู้ที่สนใจ ไม่ว่ามาจากองค์การภายในของสภาฯ หรือภายนอก และ 2.มาจากการล็อบบี้จากภายนอก ซึ่งตรวจสอบและพบหลักฐานจำนวนมาก ส่วนกรณีที่กังวลว่ากรณีดังกล่าวจะทำให้สหรัฐแทรกแซงกิจการภายในประเทศหรือไม่นั้น เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ตนได้รับเชิญให้รับประทานอาหารที่บ้านเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย และได้คุยกันเล็กน้อย แต่ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ ซึ่งเอกอัครราชทูต แสดงความชื่นชม ว่าสถานการณ์ชุมนุมภาพรวมสงบ และทางการอดกลั้นรับมือกับผู้ชุมนุม ทั้งนี้เป็นปกติที่กระบวนการประชาธิปไตยที่เจอความท้าทาย ซึ่งสหรัฐอเมริกายังเจอการประท้วง และเชื่อว่าประเทศไทยจะหาทางแก้ไขสถานการณ์ทางการเมืองได้ในที่สุด ดังนั้นตนมองว่าเป็นคำตอบที่เอกอัครราชทูตไทยที่จะยืนยันในข้อกังวลต่อการแทรกแซงได้
“ในประเทศไทยมีการกระพือข่าวด้วยหลายสาเหตุ ทั้งนี้ในสหรัฐฯ ไม่มีใครสนใจ เพราะเขาสนใจสถานการณ์ภายในประเทศของเขาทั้งกรณีการเสียชีวิตจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตนาทีละ 2 คน ขณะเดียวกันการเลือกตั้งประธานาธิบดียังไม่เรียบร้อย มีส.ว.ที่มุ่งเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมือง และไม่ได้สนใจประเทศไทย อย่างไรก็ดีกระทรวงรับรู้ความห่วงใยของคนไทยหลายแวดวง ทั้งนี้จากการติดตามเพิ่มเติมถึงที่มาที่ไป พบการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์หรือนำเรื่องเข้ามาจากวงนอกของวุฒิสภา และมีการล็อบบี้” นายดอน กล่าว
รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ชี้แจงด้วยว่า กระทรวงการต่างประเทศไม่เคยมองข้ามปัญหาใดๆ แต่เมื่อเจอปัญหาแล้วไม่โวยวาย ไม่เป็นมวยวัดออกสื่อใดๆ แต่หาข้อมูลและเป็นปฏิกริยาโต้ตอบอย่างเหมาะสมกับความเป็นประเทศที่มีอดีตอันยาวนานและมีอธิปไตย รวมถึงความมั่นคงของประเทศ ส่ิงใดที่ได้ยินเป็นบริบทปกติของวงนอก ท่าทีที่ออกมาบางครั้งอดไม่ได้ เวอร์เหลือเกินทำให้เกิดผลทางลบกับประเทศไทย โดยที่ผ่านมาเรื่องส.ว.สหรัฐฯ นั้นตนให้โฆษกกระทรวงการต่างประเทศชี้แจงหลายครั้ง
รองนายกฯ ชี้แจงต่อกฎหมายว่าด้วยเรื่องการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยมีรายละเอียดคือ ขยายขอบเขตการลงโทษผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชนทั่วโลก ซึ่งมีผลเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม นั้นยอมรับว่าไม่เคยได้ ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศอาจจะตกข่าว แต่โดยวิสัยการทำงาน ไม่รีแอคกับข่าวทันทีทันใด ต้องหาข่าวก่อนแสดงท่าที แต่หากจะถามเรื่องกฎหมายฉบับดังกล่าวขอให้ตั้งกระทู้ถามอีกครั้ง กับฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพราะตนรับแจ้งว่าจะต้องตอบเฉพาะกรณีส.ว.สหรัฐอเมริกาเท่านั้น
นพ.ชลน่าน อภิปรายด้วยว่า ตนจะนำเรื่องเข้าสู่กรรมาธิการ(กมธ.) การต่างประเทศ เพื่อตรวจสอบกรณีที่ระบุว่ามีล็อบบี้ยีสต์ และแลกผลประโยชน์ ดังนั้นของให้นายดอน ชี้แจงต่อกมธ.ฯ เพื่อร่วมมือกันทำงานเพื่อประเทศ
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/912767
ประชาชนก็สงสัยเช่นกันค่ะ
น่าจะเป็นแบบที่คุณดอน ตอบกระทู้หมอชลน่าน
กระบวนการล็อบบี้ยีสต์มีนักการเมืองเคยทำมาแล้ว
ยิ่งมาหนุนม็อบ ยิ่งน่าสงสัย
เพราะคนไทยส่วนใหญ่ไม่หนุนม็อบนี้
🔶️เรื่องเป็นอย่างนี้นี่เองค่ะ..เปิดไส้พุงแก๊ง 9 ส.ว.มะกันกลางสภา 'ดอน'แฉกลับมีกระบวนการล็อบบี้ยิสต์
พท.’ โหนตั้งกระทู้ ปม ‘ส.ว.มะกัน’โวยละเมิดสิทธิม็อบ ด้าน ‘ดอน’ ไม่ทนสวนกลับมีกระบวนการล็อบบี้ยิสต์
เมื่อเวลา 11.00 น.วันที่ 17 ธ.ค.2563 ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่ประธานการประชุม เพื่อพิจารณากระทู้ถามสดของนพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย ที่ถามพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม
➡️9 ส.ว.สหรัฐอเมริกา มีข้อมติเรียกร้องต่อรัฐบาลไทยถึงเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน และกรณีที่สหภาพยุโรป(อียู)ผ่านกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ เมื่อวันที่ 10 ธ.ค.ที่ผ่านมา เพื่อเอาผิดกับผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชน ทั้งสองประเด็นดังกล่าว ถือเป็นการแทรกแซงกิจการภายในประเทศไทยหรือไม่.....🔻
โดยนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ต่างประเทศ ตอบกระทู้สดชี้แจงแทนนายกรัฐมนตรีว่า กรณีข้อมติเรียกร้องของส.ว.สหรัฐฯไม่ใช่ประเด็นที่ได้รับความสนใจในสหรัฐฯ และร่างมติดังกล่าวไม่มีผลบังคับใดๆต่อประเทศไทย เป็นเพียงแค่การแสดงท่าทีเท่านั้น และร่างมติดังกล่าวจะตกไปในชั้นวุฒิสภาสหรัฐในวันที่ 18 ธ.ค. เพราะไม่สามารถนำเรื่องเข้าไปหารือในวุฒิสภาสหรัฐได้ทัน อย่างไรก็ตามกระทรวงต่างประเทศได้ทำหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงส่งให้ส.ว.สหรัฐฯทราบแล้ว เพื่อให้เข้าใจข้อเท็จจริงที่ถูกต้องในสถานการณ์ชุมนุมประเทศไทย
นายดอน กล่าวว่า ส่วนที่มาที่ไปของร่างมติดังกล่าว มีสมมติฐาน 2ประการ คือ 1.มีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ของผู้ที่สนใจ ไม่ว่ามาจากองค์การภายในของสภาฯ หรือภายนอก 2.จากการล็อบบี้จากภายนอกที่ตรวจสอบพบหลักฐานจำนวนมาก ส่วนข้อกังวลจะเป็นการแทรกแซงกิจการภายในประเทศไทยนั้น ไม่คิดว่าเป็นการแทรกแซงกิจการในประเทศ และเมื่อวันที่ 16 ธ.ค.ที่ผ่านมา ตนได้รับเชิญไปรับประทานอาหารที่บ้านเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทยที่แสดงความชื่นชมสถานการณ์ชุมนุมในไทยเป็นไปด้วยความสงบ รัฐบาลอดกลั้นรับมือกับผู้ชุมนุม ถือเป็นเรื่องปกติที่กระบวน การประชาธิปไตยจะเจอความท้าทาย เชื่อว่าประเทศไทยจะหาทางแก้สถานการณ์การเมืองได้ในที่สุด คำตอบเหล่านี้ยืนยันต่อข้อกังวลเรื่องการแทรกแซงได้
“จากการติดตามข้อมติเรียกร้องของส.ว.สหรัฐฯ เราได้กลิ่นไออย่างมากเรื่องการล็อบบี้ ยืนยันว่ากระทรวงต่างประเทศไม่เคยมองข้ามปัญหาข้อเรียกร้องใดๆ แต่เมื่อเจอปัญหาแล้ว เราไม่โวยวาย เป็นมวยวัดออกสื่อ แต่จะหาข้อมูลก่อน เพื่อตอบโต้อย่างเหมาะสม ส่วนกรณีสหภาพยุโรป(อียู)ออกกฎหมายคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน มีผลวันที่ 10 ธ.ค.นั้น ยังไม่เคยได้ยิน อาจจะตกข่าว จึงขอไปหาข้อมูลก่อน ไม่รีแอคกับข่าวทันทีทันใด” รมว.ต่างประเทศ กล่าว
https://www.naewna.com/politic/539201
"ดอน" แฉ กลางสภาฯ มีล็อบบี้ยีสต์-แลกผลประโยชน์ ปม"ส.ว.สหรัฐฯ"หนุนม็อบราษฎร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ตอบกระทู้ถามสด ของส.ส.เพื่อไทย ที่คาใจทางการไทย ไม่ตอบโต้ ประเด็น9ส.ว.สหรัฐ ชี้มีขบวนการล็อบบี้-แลกผลประโยชน์ ยัน สหรัฐฯ ไม่แทรกแซงเรื่องภายใน หลังคุยกับทูตสหรัฐฯ แล้ว
ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง เป็นประธานการประชุม ช่วงกระทู้ถามสด
โดย นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย ตั้งกระทู้ถามสด
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งได้มอบหมายให้นายดอน ปรมัติวินัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ชี้แจงถึงกรณีมติของวุฒิสภาสหรัฐอเมริกาที่มีต่อประเด็นการแสดงสิทธิเสรีภาพในประเทศไทย เมื่อวันที่ 4 ธันวาคมและเตรียมเสนอให้ที่ประชุมวุฒิสภาพิจารณารับรอง รวมถึงกรณีที่สหภาพยุโรปผ่านกฎหมายว่าด้วยเรื่องการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยมีรายละเอียดคือ ขยายขอบเขตการลงโทษผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชนทั่วโลก ซึ่งมีผลเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม
นายดอน ชี้แจงว่าตนไม่ทราบว่าจะตั้งกระทู้ทำไม ในเมื่อเรื่องดังกล่าวในสหรัฐอเมริกานั้นไม่มีบุคคลใดสนใจ อย่างไรก็ตามกระทรวงการต่างประเทศรับทราบถึงร่างมติของส.ว.สหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ช่วงเช้าวันที่ 3 ธันวาคม ก่อนมติจะออกช่วงเย็นวันเดียวกัน ซึ่งกระทรวงการตางประเทศได้ติดตามทันที และตรวจสอบและหลังจากที่ร่างมติดังกล่าวออกมา ได้สั่งการให้ปลัดกระทรวงการต่างประเทศตรวจสอบทันที และข้อมูลที่ได้รับ คือ ร่างมติดังกล่าวจะตกไปก่อนนำเสนอ เนื่องจากวุฒิสภาสหรัฐฯ จะประชุมวันสุดท้ายวันที่ 18 ธันวาคม และร่างมติดังกล่าวยังไม่นำเสนอเข้าสู่การพิจารณา อีกทั้งมติดังกล่าวเป็นเพียงการแสดงท่าที โดยไม่มีผลใดๆ ต่อประเทศไทย อย่างไรก็ตามกระทรวงการต่างประเทศได้ทำหนังสือไปยังส.ว.สหรัฐ ในวันที่ 10 ธันวาคม เพื่อแสดงความขอบคุณที่ห่วงใยในสถานการณ์ภายในประเทศ แต่ไทยพร้อมจะจัดการปัญหาภายในด้วยตัวเอง
นายดอน กล่าวด้วยว่าส่วนที่มาที่ไปของร่างมติดังกล่าวมีสมมติฐาน 2 ประการ คือ 1.มีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ของผู้ที่สนใจ ไม่ว่ามาจากองค์การภายในของสภาฯ หรือภายนอก และ 2.มาจากการล็อบบี้จากภายนอก ซึ่งตรวจสอบและพบหลักฐานจำนวนมาก ส่วนกรณีที่กังวลว่ากรณีดังกล่าวจะทำให้สหรัฐแทรกแซงกิจการภายในประเทศหรือไม่นั้น เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ตนได้รับเชิญให้รับประทานอาหารที่บ้านเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย และได้คุยกันเล็กน้อย แต่ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ ซึ่งเอกอัครราชทูต แสดงความชื่นชม ว่าสถานการณ์ชุมนุมภาพรวมสงบ และทางการอดกลั้นรับมือกับผู้ชุมนุม ทั้งนี้เป็นปกติที่กระบวนการประชาธิปไตยที่เจอความท้าทาย ซึ่งสหรัฐอเมริกายังเจอการประท้วง และเชื่อว่าประเทศไทยจะหาทางแก้ไขสถานการณ์ทางการเมืองได้ในที่สุด ดังนั้นตนมองว่าเป็นคำตอบที่เอกอัครราชทูตไทยที่จะยืนยันในข้อกังวลต่อการแทรกแซงได้
“ในประเทศไทยมีการกระพือข่าวด้วยหลายสาเหตุ ทั้งนี้ในสหรัฐฯ ไม่มีใครสนใจ เพราะเขาสนใจสถานการณ์ภายในประเทศของเขาทั้งกรณีการเสียชีวิตจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตนาทีละ 2 คน ขณะเดียวกันการเลือกตั้งประธานาธิบดียังไม่เรียบร้อย มีส.ว.ที่มุ่งเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมือง และไม่ได้สนใจประเทศไทย อย่างไรก็ดีกระทรวงรับรู้ความห่วงใยของคนไทยหลายแวดวง ทั้งนี้จากการติดตามเพิ่มเติมถึงที่มาที่ไป พบการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์หรือนำเรื่องเข้ามาจากวงนอกของวุฒิสภา และมีการล็อบบี้” นายดอน กล่าว
รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ชี้แจงด้วยว่า กระทรวงการต่างประเทศไม่เคยมองข้ามปัญหาใดๆ แต่เมื่อเจอปัญหาแล้วไม่โวยวาย ไม่เป็นมวยวัดออกสื่อใดๆ แต่หาข้อมูลและเป็นปฏิกริยาโต้ตอบอย่างเหมาะสมกับความเป็นประเทศที่มีอดีตอันยาวนานและมีอธิปไตย รวมถึงความมั่นคงของประเทศ ส่ิงใดที่ได้ยินเป็นบริบทปกติของวงนอก ท่าทีที่ออกมาบางครั้งอดไม่ได้ เวอร์เหลือเกินทำให้เกิดผลทางลบกับประเทศไทย โดยที่ผ่านมาเรื่องส.ว.สหรัฐฯ นั้นตนให้โฆษกกระทรวงการต่างประเทศชี้แจงหลายครั้ง
รองนายกฯ ชี้แจงต่อกฎหมายว่าด้วยเรื่องการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยมีรายละเอียดคือ ขยายขอบเขตการลงโทษผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชนทั่วโลก ซึ่งมีผลเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม นั้นยอมรับว่าไม่เคยได้ ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศอาจจะตกข่าว แต่โดยวิสัยการทำงาน ไม่รีแอคกับข่าวทันทีทันใด ต้องหาข่าวก่อนแสดงท่าที แต่หากจะถามเรื่องกฎหมายฉบับดังกล่าวขอให้ตั้งกระทู้ถามอีกครั้ง กับฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพราะตนรับแจ้งว่าจะต้องตอบเฉพาะกรณีส.ว.สหรัฐอเมริกาเท่านั้น
นพ.ชลน่าน อภิปรายด้วยว่า ตนจะนำเรื่องเข้าสู่กรรมาธิการ(กมธ.) การต่างประเทศ เพื่อตรวจสอบกรณีที่ระบุว่ามีล็อบบี้ยีสต์ และแลกผลประโยชน์ ดังนั้นของให้นายดอน ชี้แจงต่อกมธ.ฯ เพื่อร่วมมือกันทำงานเพื่อประเทศ
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/912767
ประชาชนก็สงสัยเช่นกันค่ะ
น่าจะเป็นแบบที่คุณดอน ตอบกระทู้หมอชลน่าน
กระบวนการล็อบบี้ยีสต์มีนักการเมืองเคยทำมาแล้ว
ยิ่งมาหนุนม็อบ ยิ่งน่าสงสัย
เพราะคนไทยส่วนใหญ่ไม่หนุนม็อบนี้