ถัดจากปัว ขึ้นเหนือไปอีกนิดถึงอำเภอเชียงกลาง
ไทลื้อเชียงกลางเป็นกลุ่มชนในสมัยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช ฯ ไปกวาดมาจากเมืองพง เขตสิบสองปันนา
ที่ไปอำเภอเชียงกลางเพราะอยากไปวัดไทลื้อที่เป็นวิหารไม้รุ่นสุดท้ายที่ยังเหลืออยู่ ... วัดหนองแดง ...
วิหารวัดหนองแดง
เป็นวิหารไทลื้อ ที่ยังมีโครงสร้างส่วนใหญ่ที่ยังเป็นไม้ที่เหลืออยู่ในรุ่นสุดท้ายแล้ว
ผนังวิหารค่อนข้างเตี้ยก่ออิฐถือปูน มุงด้วยไม้ แป้นเกล็ด - ศิลปะไทลื้อแทนความสมบูรณ์ของป่าไม้*
หลังคาเป็นแบบไทลื้อ ฮ่างหงส์ - เหมือนหงส์กางปีกปกป้องลูก มีความชันมากเพื่อระบายน้ำฝนได้อย่างรวดเร็ว
ชั้นบนสุดเป็นหลังคาทรงจั่วเรียกว่า หาน*
รอบชายคาประดับลวดลายรูปน้ำหยาด* - ศิลปะไทลื้อเป็นตัวแทนของแม่น้ำ*
มีหลังคาปีกนกทั้งสี่ด้าน เรียกว่าหลังผัด*
ระหว่างหลังผัดและหาน เรียกคอสอง เป็นลวดลายสี่เหลี่ยมสีขาวเหลืองแดง ตรงกลางติดกระจก
ช่อฟ้า - นกหัสดีลิงค์ ในภาษาบาลี หัตดีลิงค์สกุโณ หัสดี แปลว่า ช้าง , ลิงค์ แปลว่า เพศ , สกุโณ แปลว่า นก
นาคเบือน - นาค
หน้าบันเป็นลายสี่เหลี่ยมเป็นช่องแบบลูกฟัก ประดับลายดอกบัว
ตรงกลางหน้าบันติดกระจกเพื่อสะท้อนสิ่งชั่วร้าย
นาคทันต์รูปเทพ ยักษ์ ยักษ์อุ้มเด็ก และสัตว์ในหิมพานต์
- จขกท คิดว่า เป็นการสื่อว่าวิหารนี้อยู่บนเขาพระสุเมรุ ที่ล้อมรอบด้วยหิมพานต์ -
ภายในจะเห็นโครงสร้างเสาบัวรับน้ำหนักหลังคา ไปแชร์น้ำหนักกับผนังวิหาร
เตรียมไว้สำหรับทำพิธีสืบชะตาของผู้มาเยือน - จะละเอาไว้ก็ใช่ที่ขออธิบายนิดนะคะ
พิธีสืบชะตาเป็นการต่ออายุทั้งของตัวเองและญาติพี่น้องบริวาร หรือบ้านเมือง
ให้มีอายุยืนยาว เกิดความสุขความเจริญ ขจัดภัยอันตรายต่างๆ ให้คลาดแคล้วจากสิ่งชั่วร้ายทั้งมวล
ไม้ค้ำ เป็นไม้ง่าม 3 อัน นำมาประกอบกันเป็นซุ้ม เรียกว่า ไม้ค้ำชะตา
นิยมใช้ขนาดยาวเท่ากับวาแขนหรือความสูงของเจ้าของชะตา
หมายว่าเพื่อให้เป็นสิ่งค้ำจุนชีวิตให้มีความเจริญรุ่งเรืองมีอายุยืนยาว
เปรียบเสมือนต้นไม้ที่ใกล้จะล้ม หากมีไม้มาค้ำไว้ก็จะทำให้เจริญงอกงามต่อไปได้
ก่อให้เกิดขวัญและกำลังใจในการดำรงชีวิตร่วมกันของคนในสังคม
ตรงส่วนปลายยอดประดับธงทิว เปรียบเป็นฉัตรเป็นชั้น ๆ หมายถึงสวรรค์
ขัวเงิน ขัวทอง ขัวอีกอันสีเขียวไม่แนใจว่าคือขัวแก้วหรือเปล่า ... ขัวแปลว่าสะพาน
แนวตรงกลางจะขึงขัวทั้งสาม เปรียบเป็นสะพานและเป็นบันได
หมายถึง สะพานแห่งชีวิตที่ทอดให้เดินข้ามจากฝั่งที่เลวร้ายไปสู่ฝั่งที่ดีงามกว่า
และ บันไดแห่งชีวิตที่พาดให้เราไต่ขึ้นสู่ที่สูง
ไม้ง่ามหรือไม้ค้ำขนาดเล็กห่อกระดาษเงินและทอง นำมามัดรวมกัน มีจำนวนมากกว่าอายุผู้สืบชะตา 1 อัน
หมายถึงมีคนช่วยเหลือค้ำชูไปตลอด
แท่นบูชาท้าวทั้งสี่และเทพารักษ์
แต่ละชนิดจะมี 108 ชิ้น ได้แก่ ข้าว(จะนำมาใส่อีกทีในวันงาน) พริกแห้ง เกลือ ขนม(ผิง) สวยดอกไม้(กรวยดอกไม้)
ธูปเทียน หมาก พลู บุหรี่ เมี่ยง (ประดับสะพานไม้)
ตุงร้อยแปดทำด้วยกระดาษสีเพื่อสะเดาะเคราะห์ (ประดับสะพานไม้)
กระบอกน้ำ กระบอกทราย กระบอกข้าวเปลือก กระบอกข้าวสาร
หมายถึง ธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะทำให้คนเรามีความแข็งแรง
หน่อกล้วย หน่อยอ้อย หน่อหมาก หน่อมะพร้าว
หมายถึง จะมีชีวิตที่เหมือนกับได้เกิดใหม่ พร้อมจะเจริญเติบโต มีความหอมหวาน มีความเจริญงอกงาม
สาดใหม่(เสื่อ) หมอนใหม่
หมายถึง ผู้ที่สืบชะตาแล้วจะมีความสุขสบายและนอนหลับฝันดี
เสาแต่ละต้นตกแต่งด้วยภาพเขียนลวดลายดอกไม้
มีรูเจาะไว้ เรียกว่ารูจัย (กำเมืองน่าจะว่า ฮูใจ๋ เนาะ) เพื่อคอยตรวจตรามดปลวก ระบายความชื้น หรือใช้ยึดขณะทำการบูรณะ
พระประธานเป็นพระอุปคุต หรือพระบัวเข็ม บนแท่นพญานาคสองตัว - นาคบัลลังก์
แท่นพญานาคเป็นสิ่งที่แสดงถึงที่อยู่ของท่าน - สะดือทะเล
สัตตภัณฑ์ไทลื้อ หรือเรียกว่าขั้นไดแก้ว หรือ บันไดแก้ว อยู่ด้านหน้าพระประธาน
ข้างฐานชุกชีเป็นรูปเทวดาถืออาวุธ - เพื่อป้องกันอันตราย
ด้านหลังแท่นพระประธานมีจิตรกรรมฝาผนัง
เดาเองนะคะว่าเป็นตำนานประอุปคุต - เพราะพระประธานเป็นพระอุปคุต
พระเจ้าอโศกมหาราชทรงให้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและฉลองสมโภชองค์พระมหาเจดีย์ - ด้านบนของภาพมีรูปสถูปสำหรับใส่อัฐิหลายใน และ มีเจดีย์
มีพระอุปคุตมาป้องกันพญามารที่จะมาขัดขวางทำลายพระราชพิธีสมโภช - ด้านล่างมีภาพพระภิกษุนั่งขัดสมาธิ มีกษัตริย์ มีบุคคล มีนักบวช
ด้านใต้ลายกนก มีภาพ เต่า ปลา - ทะเล ซึ่งเลือนมาก
มีภาพบุคคลไม่ชัด ที่เห็นชัดคือช้างสามเศียร
ธรรมาสน์บุษบก - เกรินหรือบันไดเป็นรูปนาค
เจดีย์หน้าวัด
เจดีย์ฐานเขียงสามชั้น
ฐานปัทม์
องค์ระฆังกลมมีซุ้มพระเจ้าทั้งสี่ด้าน
มีบัลลังก์ ฉัตรวลีหรือปล้องไฉน ปลี ลูกแก้ว ปกฉัตร
ต้นโพธิ์หลังวัด
นาข้าวและทางหลังวัด
ต๋าแหลว - ป้องกันสิ่งชั่วร้ายอีก
ต้นเทียน
เกล็ดพญานาค
ปิดท้ายด้วยด้านหลังอุโบสถค่ะ
วัดหนองแดง ... วัดไทลื้อ อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน
ไทลื้อเชียงกลางเป็นกลุ่มชนในสมัยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช ฯ ไปกวาดมาจากเมืองพง เขตสิบสองปันนา
ที่ไปอำเภอเชียงกลางเพราะอยากไปวัดไทลื้อที่เป็นวิหารไม้รุ่นสุดท้ายที่ยังเหลืออยู่ ... วัดหนองแดง ...
เป็นวิหารไทลื้อ ที่ยังมีโครงสร้างส่วนใหญ่ที่ยังเป็นไม้ที่เหลืออยู่ในรุ่นสุดท้ายแล้ว
ผนังวิหารค่อนข้างเตี้ยก่ออิฐถือปูน มุงด้วยไม้ แป้นเกล็ด - ศิลปะไทลื้อแทนความสมบูรณ์ของป่าไม้*
หลังคาเป็นแบบไทลื้อ ฮ่างหงส์ - เหมือนหงส์กางปีกปกป้องลูก มีความชันมากเพื่อระบายน้ำฝนได้อย่างรวดเร็ว
ชั้นบนสุดเป็นหลังคาทรงจั่วเรียกว่า หาน*
รอบชายคาประดับลวดลายรูปน้ำหยาด* - ศิลปะไทลื้อเป็นตัวแทนของแม่น้ำ*
มีหลังคาปีกนกทั้งสี่ด้าน เรียกว่าหลังผัด*
ระหว่างหลังผัดและหาน เรียกคอสอง เป็นลวดลายสี่เหลี่ยมสีขาวเหลืองแดง ตรงกลางติดกระจก
ช่อฟ้า - นกหัสดีลิงค์ ในภาษาบาลี หัตดีลิงค์สกุโณ หัสดี แปลว่า ช้าง , ลิงค์ แปลว่า เพศ , สกุโณ แปลว่า นก
นาคเบือน - นาค
หน้าบันเป็นลายสี่เหลี่ยมเป็นช่องแบบลูกฟัก ประดับลายดอกบัว
ตรงกลางหน้าบันติดกระจกเพื่อสะท้อนสิ่งชั่วร้าย
- จขกท คิดว่า เป็นการสื่อว่าวิหารนี้อยู่บนเขาพระสุเมรุ ที่ล้อมรอบด้วยหิมพานต์ -
พิธีสืบชะตาเป็นการต่ออายุทั้งของตัวเองและญาติพี่น้องบริวาร หรือบ้านเมือง
ให้มีอายุยืนยาว เกิดความสุขความเจริญ ขจัดภัยอันตรายต่างๆ ให้คลาดแคล้วจากสิ่งชั่วร้ายทั้งมวล
ไม้ค้ำ เป็นไม้ง่าม 3 อัน นำมาประกอบกันเป็นซุ้ม เรียกว่า ไม้ค้ำชะตา
นิยมใช้ขนาดยาวเท่ากับวาแขนหรือความสูงของเจ้าของชะตา
หมายว่าเพื่อให้เป็นสิ่งค้ำจุนชีวิตให้มีความเจริญรุ่งเรืองมีอายุยืนยาว
เปรียบเสมือนต้นไม้ที่ใกล้จะล้ม หากมีไม้มาค้ำไว้ก็จะทำให้เจริญงอกงามต่อไปได้
ก่อให้เกิดขวัญและกำลังใจในการดำรงชีวิตร่วมกันของคนในสังคม
ตรงส่วนปลายยอดประดับธงทิว เปรียบเป็นฉัตรเป็นชั้น ๆ หมายถึงสวรรค์
ขัวเงิน ขัวทอง ขัวอีกอันสีเขียวไม่แนใจว่าคือขัวแก้วหรือเปล่า ... ขัวแปลว่าสะพาน
แนวตรงกลางจะขึงขัวทั้งสาม เปรียบเป็นสะพานและเป็นบันได
หมายถึง สะพานแห่งชีวิตที่ทอดให้เดินข้ามจากฝั่งที่เลวร้ายไปสู่ฝั่งที่ดีงามกว่า
และ บันไดแห่งชีวิตที่พาดให้เราไต่ขึ้นสู่ที่สูง
ไม้ง่ามหรือไม้ค้ำขนาดเล็กห่อกระดาษเงินและทอง นำมามัดรวมกัน มีจำนวนมากกว่าอายุผู้สืบชะตา 1 อัน
หมายถึงมีคนช่วยเหลือค้ำชูไปตลอด
แท่นบูชาท้าวทั้งสี่และเทพารักษ์
แต่ละชนิดจะมี 108 ชิ้น ได้แก่ ข้าว(จะนำมาใส่อีกทีในวันงาน) พริกแห้ง เกลือ ขนม(ผิง) สวยดอกไม้(กรวยดอกไม้)
ธูปเทียน หมาก พลู บุหรี่ เมี่ยง (ประดับสะพานไม้)
ตุงร้อยแปดทำด้วยกระดาษสีเพื่อสะเดาะเคราะห์ (ประดับสะพานไม้)
กระบอกน้ำ กระบอกทราย กระบอกข้าวเปลือก กระบอกข้าวสาร
หมายถึง ธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะทำให้คนเรามีความแข็งแรง
หน่อกล้วย หน่อยอ้อย หน่อหมาก หน่อมะพร้าว
หมายถึง จะมีชีวิตที่เหมือนกับได้เกิดใหม่ พร้อมจะเจริญเติบโต มีความหอมหวาน มีความเจริญงอกงาม
สาดใหม่(เสื่อ) หมอนใหม่
หมายถึง ผู้ที่สืบชะตาแล้วจะมีความสุขสบายและนอนหลับฝันดี
มีรูเจาะไว้ เรียกว่ารูจัย (กำเมืองน่าจะว่า ฮูใจ๋ เนาะ) เพื่อคอยตรวจตรามดปลวก ระบายความชื้น หรือใช้ยึดขณะทำการบูรณะ
แท่นพญานาคเป็นสิ่งที่แสดงถึงที่อยู่ของท่าน - สะดือทะเล
เดาเองนะคะว่าเป็นตำนานประอุปคุต - เพราะพระประธานเป็นพระอุปคุต
พระเจ้าอโศกมหาราชทรงให้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและฉลองสมโภชองค์พระมหาเจดีย์ - ด้านบนของภาพมีรูปสถูปสำหรับใส่อัฐิหลายใน และ มีเจดีย์
มีพระอุปคุตมาป้องกันพญามารที่จะมาขัดขวางทำลายพระราชพิธีสมโภช - ด้านล่างมีภาพพระภิกษุนั่งขัดสมาธิ มีกษัตริย์ มีบุคคล มีนักบวช
ด้านใต้ลายกนก มีภาพ เต่า ปลา - ทะเล ซึ่งเลือนมาก
มีภาพบุคคลไม่ชัด ที่เห็นชัดคือช้างสามเศียร