การป้องกันและดูแลแผลกดทับ

กระทู้สนทนา
แผลกดทับหรือ bed sore หมายถึงบริเวณที่มีการตายของเนื้อเยื่อหรือเซลล์ เนื่องมาจากการขาดเลือด
ซึ่งเป็นผลมาจากการถูกกดทับเป็นระยะเวลานาน
            แผลกดทับแบ่งเป็น 4 ระดับ ได้แก่
                          ระดับที่ 1 เป็นรอยแดงบริเวณที่ถูกกดทับ และไม่จางหายในเวลา 30 วินาที
                          ระดับที่ 2 ผิวหนังมีรอยถลอก มีตุ่มพองใส เริ่มมีแอ่งแผลตื้นๆ อาจมีสารคัดหลั่งในปริมาณน้อย
                                       ผิวหนังอุ่น และมีอาการปวด
                          ระดับที่ 3 ผิวหนังชั้นนอกถูกทำลาย แผลลึกลงไปถึงระดับชั้นหนังแท้ แผลเริ่มมีกลิ่น
                                       มีเนื้อตายและมีสารคัดหลั่งปริมาณน้อยถึงปานกลาง
                          ระดับที่ 4 ผิวหนังชั้นนอกถูกทำลาย มีการลุกลามถึงชั้นกล้ามเนื้อ มีเนื้อตายปริมาณมาก
                                       แผลมีกลิ่นเหม็น ปริมาณสารคัดหลั่งปานกลางถึงมาก
การป้องกันและดูแลแผลกดทับ
                            1.    การจัดท่าผู้ป่วย
                                             -    ท่านอน ควรมีการปรับเปลี่ยนท่านอน ทุก 2 ชั่วโมง และควรมีหมอนหรือ
                                                           ผ้ารองบริเวณที่มีความเสื่ยงสูงต่อการเกิดแผลกดทับและใช้หมอนสอดคั่น
                                                           ระหว่างหัวเข่าและตาตุ่มทั้งสองข้าง
                                             -    ท่านั่ง ควรให้ผู้ป่วยนั่งเก้าอี้ที่มีพนักพิง ขนาดไม่เล็กหรือแคบจนเกินไป
                                                         เพราะอาจทำให้เกิดการเสียดสีได้ และควรมีเบารองนั่งซึ่งทำจากวัสดุระบายอากาศได้ดี
                            2.    การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
                                             -  ควรใช้อุปกรณ์ในการยกหรือเคลื่อนย้ายผู้ป่วย อย่าทำการลากตัวผู้ป่วย
                                                เพราะอาจจะทำให้เกิดการเสียดสี ซึ่งจะทำให้เกิดการเสียดสีที่ผิวหนังได้
                            3.    ประเมินลักษณะทางผิวหนังของผู้ป่วย
                                             - สังเกตรอยแดง ตุ่มพุพพอง ตุ่มน้ำใส ผิวหนังซีด อุ่น บวม หรือมีลักษณะแข็ง
                            4.    การทำสะอาดร่างกาย
                                             -  ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำอุ่นเพราะจะทำให้ผิวหนังแห้ง สบู่ที่ใช้ควรเป็นสบู่อ่อนๆ
                            5.    ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่ให้สารอาหารแก่ร่างกายครบหมู่ โดยเฉพาะโปรตีน
                            6.    การดูแลที่นอน
                                             - ควรให้ผ้าปูเตียงสะอาด ไม่อับชื้น และปูให้เรียบตึง
                            7.    การใช้อุปกรณ์กระจายแรงกด
                                             -    ใช้ที่นอนลม หรือที่นอนน้ำ
                                             -    ไม่ควรใช้ยางเป่าลมหรือหมอนรูปโดนัทวางบริเวณปุ่มกระดูก
                                                 เนื่องจากมีรายงานว่าจะมีผลทำให้มีการขัดขวางการไหลเวียนเลือดบริเวณรอบๆปุ่มกระดูก

โดยฟิสิคอลคลินิกกายภาพบำบัด
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่