รายการ พบหมอศิริราช ตอน โรคตุ่มน้ำพอง

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

เรื่อง:
โรคตุ่มน้ำพอง
บทคัดย่อ:
        โรคตุ่มน้ำพอง เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับผิวหนัง ทำให้หลายคนหวาดกลัว และเกิดข้อสงสัยที่มาของโรคว่าเกิดจากอะไร เป็นแล้วรักษาหายหรือไม่ อ.พญ.ชุดา รุจิธารณวงศ์ ภาควิชาตจวิทยา จะมาให้รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้

   โรคตุ่มน้ำพอง เป็นโรคไม่ติดต่อ สาเหตุของโรคเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย สร้างสารกลุ่มอิมมูโมโนโกลบูลินไปทำลายการยึดเกาะของเซลล์ผิวหนัง อาจมีปัจจัยทางพันธุกรรม หรือสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เป็นสาเหตุร่วมด้วย เช่น การติดเชื้อ หรือสารเคมี เป็นปัจจัยกระตุ้น จึงทำให้เกิดการแยกตัวของชั้นผิวหนัง เกิดเป็นตุ่มน้ำพองขึ้นที่ผิวหนังหรือเยื่อบุต่าง ๆ  เช่น ในปาก เป็นต้น ตัวอย่างของโรคกลุ่มนี้คือ โรคเพมฟิกัส (Pemphigus) และโรคเพ็มฟิกอยด์ (Bullous pemphigoid)
        โรคกลุ่มนี้พบในทั้งวัยเด็กและผู้สูงอายุ พบได้ทั้งเพศหญิงและเพศชาย โดยอาการที่นำมาพบแพทย์ คือ มีตุ่มน้ำพองขนาดต่าง ๆ เกิดขึ้นที่ผิวหนัง บางรายอาจเกิดที่เยื่อบุต่าง ๆ ร่วมด้วย เมื่อตุ่มน้ำแตกจะเกิดเป็นแผล หรือรอยถลอก ซึ่งมักมีอาการเจ็บร่วมด้วย ในผู้ป่วยบางรายที่ผิวหนังถลอกหรือเป็นแผลอาจเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ถ้าการติดเชื้อรุนแรงอาจนำไปสู่การติดเชื้อในกระแสเลือดได้ 
        ยาหลักในการรักษาโรคตุ่มน้ำพองทั้งโรคเพ็มฟิกัสและโรคเพ็มฟิกอยด์ คือ กลุ่มยากดภูมิคุ้มกัน เช่น ยาเพรดนิโซโลน (prednisolone) ซึ่งมักจะเริ่มด้วยยาขนาดสูงก่อน แล้วเมื่อควบคุมโรคได้แล้ว ผู้ป่วยอาจต้องกินยาต่อไปอีกระยะหนึ่ง พร้อมกับค่อย ๆ ปรับลดขนาดยาลงตามคำแนะนำของแพทย์ เนื่องจากการหยุดยากระทันหันอาจทำให้โรคกำเริบ ซึ่งระยะเวลาการควบคุมโรคให้สงบอาจใช้เวลานานเป็นเดือน ดังนั้นการปรับลดขนาดยาควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ และควรตรวจติดตามผลข้างเคียงระหว่างการรักษาอย่างใกล้ชิด 
        เนื่องจากผู้ป่วยมักได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยติดเชื้อ ไม่อยู่ในสถานที่แออัด และถ้ามีอาการที่บ่งบอกถึงการติดเชื้อ เช่น ไข้สูง ไอ ปัสสาวะแสบขัดควรพบแพทย์ ส่วนการดูแลแผลที่ผิวหนังไม่ควรประคบ หรือพอกแผลด้วยสมุนไพร ควรทำความสะอาดแผลด้วยน้ำเกลือตามคำแนะนำของแพทย์

ท่านสมาชิกชาวพันทิป มีประสบการณ์โรคตุ่มน้ำพิง หรือไม่ ? เคยเป็นหรือไม่เคยเป็น ครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่