อยากแบ่งปันประสบการณ์บุคคลในครอบครัวป่วยเป็นมะเร็ง สำหรับผู้ที่อาจเผชิญกับสิ่งนี้อยู่ เหมือนกับที่เราเคยค้นกู้เกิ้ลและเจอบทความในพันทิปที่ได้ช่วยให้เราผ่านตรงนั้นมาค่ะ (สรุปจากคอร์สมะเร็งเรียกพี่ของกลุ่มจิตอาสา I SEE YOU และจากประสบการณ์ตรงจากการที่บิดาเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว) สถานะ ณ วันที่ 15 ธ.ค. 2563
ก่อนอื่น ขอบอกว่าจากที่ได้พบจิตอาสาที่เป็นมะเร็งหลายคน บางท่านหมอบอกว่า คุณอยู่ได้ไม่เกิน 2 เดือน แต่เขาก็อยู่มา 2 ปีหรือมากกว่า ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า สิ่งที่ทำให้เขารอดอยู่ได้ บางคนหายขาด บางคนอยู่กับมันไปได้อย่างสงบ คือ 1. การยอมรับ (เป็นก็เป็น แล้วไง มีอะไรก็แก้ไปทีละตอน) 2. ทำสิ่งที่มีความสุข อยากทำอะไรก็ทำเลย มะเร็งแพ้ความสุขค่ะ (ช่างหัวมัน!!! อยู่ไปทีละวัน ขอมีความสุขกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า )
1. หลังรับทราบแน่ชัดว่าคนที่คุณรักเป็นมะเร็ง
สิ่งที่เกิดขึ้นจริง ทุกคนจะตกใจกลัว คิดไปสารพัด วุ่นวาย สับสน แสวงหากันทุกวิธี นอนไม่หลับ กระวนกระวาย
วิธีรับมือ
- ชวนคนในครอบครัวมาคุยกัน ให้รับรู้ข้อมูลให้มากที่สุด (ตั้งกลุ่มไลน์ หรือ โทรไลน์พร้อมกัน) แบ่งหน้าที่ เช่น แม่มีหน้าที่ปลอบโยนพ่อ ทำให้พ่อรู้สึกผ่อนคลาย ลูกมีหน้าที่หาข้อมูลและแนวทางการรักษา บางคนอาจมีหน้าที่พาผู้ป่วยไปหาหมอ บางคนอาจมีหน้าที่หาของใช้อำนวยความสะดวกให้พ่อและแม่ (อาหารเสริม อุปกรณ์ที่ต้องมี)
- คุยกับหมอถึงแนวทางการรักษา (มีกี่ทาง ข้อดี ข้อเสียในแต่ละทาง)
- มีความเชื่อมั่นกับวิธีการรักษา (พยายามอย่าเปลี่ยนไปมา กรณีของคุณพ่อ ซึ่งเดิมเลือกคีโมแบบแรง (สามารถหายขาด แต่อาจถึงแก่ชีวิต) แต่ร่างกายติดเชื้ออ่อนแอจึงจำเป็นต้องเลือกคีโมแบบอ่อน (คือการกดเชื้อไว้)
- จงจดจ่อกับข้อเท็จจริงในปัจจุบัน (เขาเพิ่งเป็น เขายังจะไม่ได้ตายในวันพรุ่งนี้ วันนี้ ยังมีโอกาสคุย ให้คุยกัน กินของชอบ ให้กินไปเลยค่ะ อยากทำอะไร ให้ทำเลย อะไรที่สร้างความสุข เพราะระหว่างรักษาอาจจะมีวันที่เขาจะกิน/ทำไม่ได้)
- รักษาสุขภาพจิตของทุกๆ คนไว้ ทั้งคนดูแล คนป่วย ด้วยวิธีใดก็ได้ ฟังเพลงบำบัด บทสวดมนต์ที่ชอบ เพลงที่ชอบ รายการทีวี
- ให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องรวมทั้งคนป่วย หัดฝึกการหายใจลึกๆ เพื่อผ่อนคลาย (เปิดดูในคลิปยูทูป หาแบบง่ายๆ เช่น ยกมือขึ้นเหนือศีรษะหายใจเข้าช้าๆ พอลดมือลง ให้หายใจออกช้าๆ) ให้ทำทุกครั้งที่รู้สึกเครียดและกังวล
- อารมณ์กลัว เป็นอารมณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดสูงสุด หากรู้สึกกลัว ให้ถามตัวเองว่ากลัวอะไรบ้าง สิ่งนั้นแก้ไขได้ไหม มีอะไรที่จะบรรเทาความกลัวได้ไหม โดยส่วนตัวพบว่า คนกลัวเนื่องจากความไม่รู้ ไม่รู้ว่าต้องเผชิญอะไร ดังนั้น การมีข้อมูลหรือพูดคุยกับคนที่ผ่านประสบการณ์นั้นมาแล้ว จะช่วยได้เยอะมาก
2. ระหว่างการรักษา
สิ่งที่เกิดขึ้น
- การรอคอยในกระบวนการรักษาที่ยาวนานในโรงพยาบาล (รอเอ็กซเรย์ รอยา รอให้คีโม รอจ่ายเงิน ฯลฯ) ทำให้ผู้ป่วยและคนดูแลอ่อนล้า
- หากเข้าพักในโรงพยาบาล การเห็นคนป่วยอื่นๆ ที่ป่วยหนัก/เสียชีวิตรอบตัว อาจเกิดภาวะหดหู่ และจิตตก หากสามารถจองห้องเดี่ยวไว้แต่เนิ่นๆ จะดีมาก
- ระหว่างการรักษา จะมีวันที่ดีและวันไม่ดีสำหรับคนป่วย บางวันดี สดชื่น บางวันแพ้และเพลีย
- กรณีเข้ารับการรักษาโรงพยาบาลรัฐ อาจมีทีมแพทย์ นักเรียนแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์มาเยี่ยมเป็นจำนวนมาก การมีการพูดคุยถึงอาการป่วย ความคืบหน้าต่อหน้าผู้ป่วยเสมอ ในบางครั้ง อาจมีผลกระทบต่อสภาพจิตใจของผู้ป่วย ซึ่งรับการรักษามาเป็นเวลานานและเหนื่อยล้าอยู่แล้ว หากไม่ปรารถนาให้สิ่งนี้เกิดขึ้น สามารถแจ้งโรงพยาบาลตั้งแต่แรก ขอเป็นผู้ป่วยแบบไม่ให้รับรู้ข้อมูล ให้แจ้งทุกอย่างกับญาติที่สามารถรับมือได้
- หากผู้ป่วยเป็นผู้สูงอายุ และคนดูแลเป็นผู้สูงอายุเช่นกัน ข้อมูลที่ท่วมท้นและความกลัวที่มีอยู่ในใจ จะทำให้เขายิ่งท้อแท้และล้า และการตีความข้อมูลอาจจะผิดไป อาจเกิดความเข้าใจผิดระหว่างการรักษาได้
- การทำหัตถการทางการแพทย์ทุกครั้ง (เจาะปอด แอ็คโค่หัวใจ เอกซเรย์ MRI ฯลฯ) ผู้ป่วยจะมีความเครียดทางร่างกายและจิตใจ ให้ถามแพทย์ว่า สิ่งนั้นจำเป็นต่อการรักษาหรือไม่ หากไม่จำเป็น ปฏิเสธไปเลย หากต้องเจาะเลือดกันบ่อยๆ ปรึกษาแพทย์ให้ขอเปิดเส้นถาวรไปเลย (อันนี้ไม่ทราบจริงๆ ว่าขอเลยตั้งแต่แรกได้ไหม)
- ทุกคนบอกว่ากำลังใจเป็นสิ่งจำเป็น แต่การสร้างกำลังใจในภาวะการเจ็บป่วยของคนในครอบครัวไม่ใช่เรื่องง่าย ขณะที่ทุกคนก็มีความกลัวและสับสน ส่วนตัวพบว่า ผู้ชายจะมีทัศนติที่ค่อนข้างดี รักษาไปตามขั้นตอน ดูข้อเท็จจริงเป็นหลัก ไม่แสดงความวิตกกังวลออกมามาก ดังนั้น อาจอาศัยลูกหลานผู้ชายอยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย เพื่อเพิ่มพลังบวก
วิธีรับมือ
- ให้ทราบว่า ทีมแพทย์จำเป็นต้องบรรยายผลและอาการข้างเคียงทุกอย่างให้คนไข้และญาติทราบ แต่ไม่ได้หมายความว่าสิ่งเหล่านั้นจะเกิดขึ้นจริง ดังนั้น เมื่อมีการบรรยาย ก็ให้รับทราบข้อมูล หากต้องตัดสินใจอะไร ก็ตัดสินใจ แล้วก็ลืมมันไปซะ อย่ากังวลในสิ่งที่ยังไม่เกิด ไว้เกิดค่อยทุกข์ อย่าทุกข์ล่วงหน้าค่ะ
- สำหรับคนในบ้าน ขอให้ยอมรับว่า คนในครอบครัวป่วย คนป่วยย่อมมีวันดี และวันไม่ดี อย่าเอาอารมณ์ของเราไปแปะไว้กับอาการของเขา พยายามเอาอารมณ์และความรู้สึกแปะไว้ที่ตัวเอง จดจ่อกับสิ่งที่ทำได้ เมื่อทำมันหมดแล้ว ขอให้ปล่อยวาง
- สำหรับทุกคน ให้ฝึกลมหายใจคลายเครียดต่อไป ตอนนี้ หากทำได้ ให้ฝึกนั่งสมาธิ นอนสมาธิ
- อย่ากดดันผู้ป่วยให้ทานข้าว ทานยา หากเขาทานไม่ได้ อย่าทำหน้าผิดหวัง หากน้ำหนักตัวผู้ป่วยลงเร็ว รีบให้อาหารทางสายยางก่อนที่น้ำหนักจะลงมากเกินไปจนกล้ามเนื้อสลายและฟื้นตัวยาก (ประสบการณ์ตรง)
- ให้พยายามเบี่ยงเบนความสนใจของผู้ป่วยและคนดูแล จากอาการเจ็บป่วย เช่น หารายการทีวี (หากอยู่ห้องรวมอาจหาแท็บเล็ตและหูฟัง) ให้ลูกหลานที่รักมาเล่นด้วย เด็กจะมีพลังในการเยียวยา เพราะเด็กจะไม่กดดันผู้ป่วยด้วยความคาดหวังต่างๆ
- บอกให้ผู้ป่วยอย่าจับผิดร่างกายของตัวเอง ให้ทำใจให้สบายที่สุด ร่างกายจะเยียวยาตัวเองและตอบสนองกับยาต่างๆ ได้ดี เมื่ออารมณ์ผ่อนคลาย
- ควรมีการสลับคนมาเฝ้าผู้ป่วย หรือจ้างผู้ช่วยพยาบาลเฝ้า มะเร็งเป็นโรคระยะยาว รักษาสุขภาพกายสุขภาพจิตของทุกคนเป็นเรื่องสำคัญ
- หากเชื่อในศาสนา ให้หาพระที่เคารพนับถือมาเยี่ยม มาสวดมนต์ หากเป็นคริสต์ (เหมือนของครอบครัวเรา) เชิญผู้รับใช้พระเจ้ามาอธิษฐานเผื่อ อย่างสม่ำเสมอ
- พูดคุยเรื่องที่ผู้ป่วยภูมิใจ เวลาที่เขามีความทรงจำที่ดี ชวนให้เขาเป็นฝ่ายคุย
- ฝึกจับมือ บีบมือ และกอดผู้ป่วยและคนดูแลบ่อยๆ การสัมผัสมีพลังในการเยียวยามาก
ณ วันนี้ ทางครอบครัวได้เผชิญกับมะเร็งมา 5 เดือนเต็มแล้ว และยังอยู่รักษาด้วยคีโมอยู่ โดยได้รับคีโมมา 3 ครั้งแล้ว เมื่อเดือนที่แล้ว คุณพ่อติดเชื้อและเข้าสู่ภาวะวิกฤต (แพทย์เรียกลูกๆ มาร่ำลาแล้ว) แต่ในที่สุด คุณพ่อก็พ้นวิกฤตนั้น ล่าสุด (15 ธ.ค. 2563) ทีมแพทย์อนุญาตให้คุณพ่อออกจากโรงพยาบาลมาพักฟื้นร่างกายที่บ้านได้ และรอให้คีโมรอบต่อไป สุดท้ายนี้ ขอถวายเกียรติแด่พระเจ้าที่เมตตาครอบครัวของเรา คืนชีวิตคุณพ่อมาให้ และเสริมกำลังพวกเราตลอดวิกฤตนี้ ให้พบทีมแพทย์ ทีมพยาบาล และญาติมิตรที่คอยช่วยเหลือพวกเรามาโดยตลอด และพวกเราจะชื่นชมยินดีกับวันที่มีอยู่ตรงหน้า โดยไม่สนใจอีกต่อไปว่า วันข้างหน้าจะเป็นเช่นไร เราจะไปทีละวันและมีความสุขไปทีละวัน ทีละชั่วโมง ทีละนาที และท้ายนี้ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนที่กำลังเผชิญสิ่งนี้อยู่ค่ะ
วิธีรับมือเมื่อคนในครอบครัวเป็นมะเร็ง
ก่อนอื่น ขอบอกว่าจากที่ได้พบจิตอาสาที่เป็นมะเร็งหลายคน บางท่านหมอบอกว่า คุณอยู่ได้ไม่เกิน 2 เดือน แต่เขาก็อยู่มา 2 ปีหรือมากกว่า ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า สิ่งที่ทำให้เขารอดอยู่ได้ บางคนหายขาด บางคนอยู่กับมันไปได้อย่างสงบ คือ 1. การยอมรับ (เป็นก็เป็น แล้วไง มีอะไรก็แก้ไปทีละตอน) 2. ทำสิ่งที่มีความสุข อยากทำอะไรก็ทำเลย มะเร็งแพ้ความสุขค่ะ (ช่างหัวมัน!!! อยู่ไปทีละวัน ขอมีความสุขกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า )
1. หลังรับทราบแน่ชัดว่าคนที่คุณรักเป็นมะเร็ง
สิ่งที่เกิดขึ้นจริง ทุกคนจะตกใจกลัว คิดไปสารพัด วุ่นวาย สับสน แสวงหากันทุกวิธี นอนไม่หลับ กระวนกระวาย
วิธีรับมือ
- ชวนคนในครอบครัวมาคุยกัน ให้รับรู้ข้อมูลให้มากที่สุด (ตั้งกลุ่มไลน์ หรือ โทรไลน์พร้อมกัน) แบ่งหน้าที่ เช่น แม่มีหน้าที่ปลอบโยนพ่อ ทำให้พ่อรู้สึกผ่อนคลาย ลูกมีหน้าที่หาข้อมูลและแนวทางการรักษา บางคนอาจมีหน้าที่พาผู้ป่วยไปหาหมอ บางคนอาจมีหน้าที่หาของใช้อำนวยความสะดวกให้พ่อและแม่ (อาหารเสริม อุปกรณ์ที่ต้องมี)
- คุยกับหมอถึงแนวทางการรักษา (มีกี่ทาง ข้อดี ข้อเสียในแต่ละทาง)
- มีความเชื่อมั่นกับวิธีการรักษา (พยายามอย่าเปลี่ยนไปมา กรณีของคุณพ่อ ซึ่งเดิมเลือกคีโมแบบแรง (สามารถหายขาด แต่อาจถึงแก่ชีวิต) แต่ร่างกายติดเชื้ออ่อนแอจึงจำเป็นต้องเลือกคีโมแบบอ่อน (คือการกดเชื้อไว้)
- จงจดจ่อกับข้อเท็จจริงในปัจจุบัน (เขาเพิ่งเป็น เขายังจะไม่ได้ตายในวันพรุ่งนี้ วันนี้ ยังมีโอกาสคุย ให้คุยกัน กินของชอบ ให้กินไปเลยค่ะ อยากทำอะไร ให้ทำเลย อะไรที่สร้างความสุข เพราะระหว่างรักษาอาจจะมีวันที่เขาจะกิน/ทำไม่ได้)
- รักษาสุขภาพจิตของทุกๆ คนไว้ ทั้งคนดูแล คนป่วย ด้วยวิธีใดก็ได้ ฟังเพลงบำบัด บทสวดมนต์ที่ชอบ เพลงที่ชอบ รายการทีวี
- ให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องรวมทั้งคนป่วย หัดฝึกการหายใจลึกๆ เพื่อผ่อนคลาย (เปิดดูในคลิปยูทูป หาแบบง่ายๆ เช่น ยกมือขึ้นเหนือศีรษะหายใจเข้าช้าๆ พอลดมือลง ให้หายใจออกช้าๆ) ให้ทำทุกครั้งที่รู้สึกเครียดและกังวล
- อารมณ์กลัว เป็นอารมณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดสูงสุด หากรู้สึกกลัว ให้ถามตัวเองว่ากลัวอะไรบ้าง สิ่งนั้นแก้ไขได้ไหม มีอะไรที่จะบรรเทาความกลัวได้ไหม โดยส่วนตัวพบว่า คนกลัวเนื่องจากความไม่รู้ ไม่รู้ว่าต้องเผชิญอะไร ดังนั้น การมีข้อมูลหรือพูดคุยกับคนที่ผ่านประสบการณ์นั้นมาแล้ว จะช่วยได้เยอะมาก
2. ระหว่างการรักษา
สิ่งที่เกิดขึ้น
- การรอคอยในกระบวนการรักษาที่ยาวนานในโรงพยาบาล (รอเอ็กซเรย์ รอยา รอให้คีโม รอจ่ายเงิน ฯลฯ) ทำให้ผู้ป่วยและคนดูแลอ่อนล้า
- หากเข้าพักในโรงพยาบาล การเห็นคนป่วยอื่นๆ ที่ป่วยหนัก/เสียชีวิตรอบตัว อาจเกิดภาวะหดหู่ และจิตตก หากสามารถจองห้องเดี่ยวไว้แต่เนิ่นๆ จะดีมาก
- ระหว่างการรักษา จะมีวันที่ดีและวันไม่ดีสำหรับคนป่วย บางวันดี สดชื่น บางวันแพ้และเพลีย
- กรณีเข้ารับการรักษาโรงพยาบาลรัฐ อาจมีทีมแพทย์ นักเรียนแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์มาเยี่ยมเป็นจำนวนมาก การมีการพูดคุยถึงอาการป่วย ความคืบหน้าต่อหน้าผู้ป่วยเสมอ ในบางครั้ง อาจมีผลกระทบต่อสภาพจิตใจของผู้ป่วย ซึ่งรับการรักษามาเป็นเวลานานและเหนื่อยล้าอยู่แล้ว หากไม่ปรารถนาให้สิ่งนี้เกิดขึ้น สามารถแจ้งโรงพยาบาลตั้งแต่แรก ขอเป็นผู้ป่วยแบบไม่ให้รับรู้ข้อมูล ให้แจ้งทุกอย่างกับญาติที่สามารถรับมือได้
- หากผู้ป่วยเป็นผู้สูงอายุ และคนดูแลเป็นผู้สูงอายุเช่นกัน ข้อมูลที่ท่วมท้นและความกลัวที่มีอยู่ในใจ จะทำให้เขายิ่งท้อแท้และล้า และการตีความข้อมูลอาจจะผิดไป อาจเกิดความเข้าใจผิดระหว่างการรักษาได้
- การทำหัตถการทางการแพทย์ทุกครั้ง (เจาะปอด แอ็คโค่หัวใจ เอกซเรย์ MRI ฯลฯ) ผู้ป่วยจะมีความเครียดทางร่างกายและจิตใจ ให้ถามแพทย์ว่า สิ่งนั้นจำเป็นต่อการรักษาหรือไม่ หากไม่จำเป็น ปฏิเสธไปเลย หากต้องเจาะเลือดกันบ่อยๆ ปรึกษาแพทย์ให้ขอเปิดเส้นถาวรไปเลย (อันนี้ไม่ทราบจริงๆ ว่าขอเลยตั้งแต่แรกได้ไหม)
- ทุกคนบอกว่ากำลังใจเป็นสิ่งจำเป็น แต่การสร้างกำลังใจในภาวะการเจ็บป่วยของคนในครอบครัวไม่ใช่เรื่องง่าย ขณะที่ทุกคนก็มีความกลัวและสับสน ส่วนตัวพบว่า ผู้ชายจะมีทัศนติที่ค่อนข้างดี รักษาไปตามขั้นตอน ดูข้อเท็จจริงเป็นหลัก ไม่แสดงความวิตกกังวลออกมามาก ดังนั้น อาจอาศัยลูกหลานผู้ชายอยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย เพื่อเพิ่มพลังบวก
วิธีรับมือ
- ให้ทราบว่า ทีมแพทย์จำเป็นต้องบรรยายผลและอาการข้างเคียงทุกอย่างให้คนไข้และญาติทราบ แต่ไม่ได้หมายความว่าสิ่งเหล่านั้นจะเกิดขึ้นจริง ดังนั้น เมื่อมีการบรรยาย ก็ให้รับทราบข้อมูล หากต้องตัดสินใจอะไร ก็ตัดสินใจ แล้วก็ลืมมันไปซะ อย่ากังวลในสิ่งที่ยังไม่เกิด ไว้เกิดค่อยทุกข์ อย่าทุกข์ล่วงหน้าค่ะ
- สำหรับคนในบ้าน ขอให้ยอมรับว่า คนในครอบครัวป่วย คนป่วยย่อมมีวันดี และวันไม่ดี อย่าเอาอารมณ์ของเราไปแปะไว้กับอาการของเขา พยายามเอาอารมณ์และความรู้สึกแปะไว้ที่ตัวเอง จดจ่อกับสิ่งที่ทำได้ เมื่อทำมันหมดแล้ว ขอให้ปล่อยวาง
- สำหรับทุกคน ให้ฝึกลมหายใจคลายเครียดต่อไป ตอนนี้ หากทำได้ ให้ฝึกนั่งสมาธิ นอนสมาธิ
- อย่ากดดันผู้ป่วยให้ทานข้าว ทานยา หากเขาทานไม่ได้ อย่าทำหน้าผิดหวัง หากน้ำหนักตัวผู้ป่วยลงเร็ว รีบให้อาหารทางสายยางก่อนที่น้ำหนักจะลงมากเกินไปจนกล้ามเนื้อสลายและฟื้นตัวยาก (ประสบการณ์ตรง)
- ให้พยายามเบี่ยงเบนความสนใจของผู้ป่วยและคนดูแล จากอาการเจ็บป่วย เช่น หารายการทีวี (หากอยู่ห้องรวมอาจหาแท็บเล็ตและหูฟัง) ให้ลูกหลานที่รักมาเล่นด้วย เด็กจะมีพลังในการเยียวยา เพราะเด็กจะไม่กดดันผู้ป่วยด้วยความคาดหวังต่างๆ
- บอกให้ผู้ป่วยอย่าจับผิดร่างกายของตัวเอง ให้ทำใจให้สบายที่สุด ร่างกายจะเยียวยาตัวเองและตอบสนองกับยาต่างๆ ได้ดี เมื่ออารมณ์ผ่อนคลาย
- ควรมีการสลับคนมาเฝ้าผู้ป่วย หรือจ้างผู้ช่วยพยาบาลเฝ้า มะเร็งเป็นโรคระยะยาว รักษาสุขภาพกายสุขภาพจิตของทุกคนเป็นเรื่องสำคัญ
- หากเชื่อในศาสนา ให้หาพระที่เคารพนับถือมาเยี่ยม มาสวดมนต์ หากเป็นคริสต์ (เหมือนของครอบครัวเรา) เชิญผู้รับใช้พระเจ้ามาอธิษฐานเผื่อ อย่างสม่ำเสมอ
- พูดคุยเรื่องที่ผู้ป่วยภูมิใจ เวลาที่เขามีความทรงจำที่ดี ชวนให้เขาเป็นฝ่ายคุย
- ฝึกจับมือ บีบมือ และกอดผู้ป่วยและคนดูแลบ่อยๆ การสัมผัสมีพลังในการเยียวยามาก
ณ วันนี้ ทางครอบครัวได้เผชิญกับมะเร็งมา 5 เดือนเต็มแล้ว และยังอยู่รักษาด้วยคีโมอยู่ โดยได้รับคีโมมา 3 ครั้งแล้ว เมื่อเดือนที่แล้ว คุณพ่อติดเชื้อและเข้าสู่ภาวะวิกฤต (แพทย์เรียกลูกๆ มาร่ำลาแล้ว) แต่ในที่สุด คุณพ่อก็พ้นวิกฤตนั้น ล่าสุด (15 ธ.ค. 2563) ทีมแพทย์อนุญาตให้คุณพ่อออกจากโรงพยาบาลมาพักฟื้นร่างกายที่บ้านได้ และรอให้คีโมรอบต่อไป สุดท้ายนี้ ขอถวายเกียรติแด่พระเจ้าที่เมตตาครอบครัวของเรา คืนชีวิตคุณพ่อมาให้ และเสริมกำลังพวกเราตลอดวิกฤตนี้ ให้พบทีมแพทย์ ทีมพยาบาล และญาติมิตรที่คอยช่วยเหลือพวกเรามาโดยตลอด และพวกเราจะชื่นชมยินดีกับวันที่มีอยู่ตรงหน้า โดยไม่สนใจอีกต่อไปว่า วันข้างหน้าจะเป็นเช่นไร เราจะไปทีละวันและมีความสุขไปทีละวัน ทีละชั่วโมง ทีละนาที และท้ายนี้ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนที่กำลังเผชิญสิ่งนี้อยู่ค่ะ