สภาพเละเสี่ยงโควิดหลังจบงานบิ๊กเมาท์เท่นเขาใหญ่
https://www.thansettakij.com/content/normal_news/460155
สธ.แจงความเสี่ยงจัดงาน'บิ๊กเมาน์เท่น' ก่อนถูกสั่งปิด
“บิ๊กเมาน์เท่น”แออัด สวมหน้ากากไม่ถึง 50% แถมมีน้ำเมาเปลี่ยนนิสัย ทำคุมยาก ย้ำไม่ห้ามจัดคอนเสิร์ต แต่ต้องร่วมมือกัน 3 ฝ่าย แนะจัดโซน-ซอย แยกกลุ่มเล็กให้ง่ายต่อการควบคุม ติดตามโรค
จันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 เวลา 13.56 น.
เมื่อวันที่ 14 ธ.ค.ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. กล่าวการสั่งปิดสถานที่จัดงานคอนเสิร์ตบิ๊กเมาน์เทนเมื่อคืนวันที่ 13 ธ.ค.ที่ผ่านมา ว่า การที่เรามี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และ พ.ร.บ.โรคติดต่อ ก็เพื่อควบคุมโรคระบาด โดยเฉพาะกรณีที่มีการเอาคนมาอยู่รวมกันจำนวนมาก แต่ก็ยืนยันว่าเราไม่ได้ห้ามไม่ให้มีการจัดกิจกรรมใดๆ รวมถึงคอนเสิร์ต ต้องการให้ประชาชนมีการใช้ชีวิตที่เป็นปกติที่สุด แต่ต้องเป็นความปกติรูปแบบใหม่ (New Normal) คือเว้นระยะห่าง ล้างมือ สวมหน้ากากอนามัย ที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี
ทั้งนี้ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และพ.ร.บ.โรคติดต่อ กำหนดว่าการจัดงานต่างๆ จะต้องให้มีมาตรการ ตามที่ภาครัฐกำหนด ดูแผนการจัดงานของภาคเอกชน เชื่อว่าเป็นความเหนื่อยยากทั้ง 2 ฝ่าย แต่พอถึงหน้างานจริงๆ แล้วคนนับหมื่นมาอยู่ด้วยกันความร่วมมือที่จะให้เป็นไปตามแผนของผู้จัดงานและภาครัฐที่วางเอาไว้นั้นคือความร่วมมือของประชาชน หลายครั้ง ที่มีความกังวลใจว่าทำไมถึงต้องคิดกันละเอียดมากเช่นการเปิดให้เข้าชมกีฬาที่ถึงแม้จะเป็นยิมเนเซียมที่สามารถบรรจุคนได้ 70,000 คน แต่เปิดให้เข้าแค่ประมาณ 4,000 คน เพราะตามข้อกำหนดให้มีทางเข้าแค่ 1 ทาง ถ้าให้มาเต็มจำนวนก็จะเกิดความแออัดที่ประตูทางเข้า ดังนั้นการจัดงานที่มีคนมารวมกันนับพัน นับหมื่นคนนั้นจึงต้องการความร่วมมือกันทั้ง 3 ฝ่าย คือภาครัฐ ผู้จัดงาน และประชาชน จะขาดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้
ที่สำคัญที่เรากังวลใจและกรมควบคุมโรคก็เน้นย้ำเสมอคือเรื่องของแอลกอฮอล์ เมื่อมีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้ามาเกี่ยวข้องจะทำให้บรรยากาศของการรับฟังกัน เชื่อฟังกันจะทำได้ยากมากขึ้น การปฏิบัติตามมาตรการที่คุยกันไว้ทำได้ยาก พูดง่ายๆ คือพอเหล้าเข้าปากการควบคุมพฤติกรรมอารมณ์ก็เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นนี่เป็นความยากทั้งของผู้จัดและภาครัฐซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องเห็นใจอย่างไรก็ตามวันนี้ต้องเน้นย้ำภาคประชาชนในการสวมหน้ากากอนามัยเว้นระยะห่างและล้างมือบ่อยๆ สิ่งที่เราพูดกันมาร่วมปีนี้ยังต้องปฏิบัติการอย่างเข้มข้น
ด้าน นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผอ.กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค ให้สัมภาษณ์ภายหลังการแถลงข่าวสถานการณ์โควิด-19 ว่า เมื่อพูดถึงเรื่องโรคติดต่อจะเกี่ยวกับความเสี่ยง โดยความเสี่ยงจะแปรตามจำนวนคน หากมีรวมกลุ่มกันจำนวนมาก จากต่างพื้นที่ จะมีโอกาสแจ็คพอตที่จะมีคนติดเชื้อ 1 รายเข้าไปอยู่ร่วมก็จะมากขึ้น รวมถึงโอกาสที่จะกระจายเชื้อไปยังคนอื่นก็จะมากขึ้นเพราะมีคนมาอยู่ใกล้ชิดจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม หากสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาความเสี่ยงก็จะลดลง
นพ.โสภณ กล่าวว่า กรณีบิ๊กเมาน์เท่นจากการประเมินพบว่าความเสี่ยงเพิ่มขึ้นพรวด เพราะมีคนที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนมาอยู่ร่วมกันจำนวนมาก และจากภาพที่ปรากฏพบว่าตอนเข้างานมีการสวมหน้ากากก็จริง แต่พอเข้าไปในงานแล้วพบว่าสวมหน้ากากไม่ถึง 50 % ซึ่งแม้จะเป็นการจัดงานกลางแจ้งที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าการจัดงานในห้องที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก แต่การที่คนจำนวนถึง 3 หมื่นคนมาอยู่ร่วมก็เพิ่มความเสี่ยง โดยเฉพาะการอยู่ร่วมกันแบบแออัดในโซนหน้าเวที ไม่มีการสวมหน้ากากอนามัยและมีการตะโกนร้องเพลง โอกาสที่คนติดโควิด-19 หลุดเข้าไปสัก 1 รายเข้าไปอยู่ร่วมกันโอกาสแพร่เชื้อไปคนอื่นก็จะมากขึ้น
“ก่อนที่จะจัดงานผู้จัดได้มีการเสนอแผนที่มีมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 กับคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดพิจารณาแล้ว ซึ่งเมื่อถึงวันจัดงานจริงก็สามารถปฏิบัติตามได้ค่อนข้างดี แต่การบริหาความเสี่ยงหน้างานทำได้ไม่ดี เช่น ผู้ร่วมงานไม่ใส่หน้ากาอนามัยตลอดเวลา ซึ่งไม่ใช่ความผิดของผู้จัดงาน และการเว้นระยะห่าง หากมีการใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาและเว้นระยะห่างได้ดี ความปลอดภัยก็จะมากขึ้น ซึ่งหากมีคนติดเชื้อขึ้นมากจริงๆ โดยปกติจะต้องติดตามผู้สัมผัสอีก 20 -40 คน แต่หากเป็นคอนเสิร์ตที่มีคนมาก ผู้ติดเชื้อ 1 รายจะต้องติดตามไปอีกราว 100 คน” นพ.โสภณ กล่าว
ทั้งนี้ แม้ยังไม่พบผู้ติดโควิด-19 ไปร่วมงานนี้ แต่ในจำนวนผู้ไปร่วมงานที่ได้สแกนไทยชนะนั้น ได้มีการส่ง SMS ให้คำแนะนำเพื่อเป็นการเฝ้าระวังตัวเอง หากไม่มีอาการป่วยให้สังเกตอาการตัวเองจนครบ 14 วัน ถ้ามีอาการป่วยเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส และท้องเสียให้รีบไปตรวจหาโควิด-19 ที่สถานพยาบาลใกล้บ้านพร้อมโชว์SMSให้เจ้าหน้าที่ดูจะได้รับการตรวจหาเชื้อโดยไม่เสียค่าใช้
นพ.โสภณ กล่าวด้วยว่า ในการจัดงานลักษณะเดียวกันนี้ ดีที่สุดคือจัดงานขนาดเล็กมีคนร่วมจำนวนไม่มาก หรือถ้ามีคนมากภายในงานควรมีการแบ่งโซนหรือจัดพื้นที่เป็นซอย และพยายามให้กลุ่มเดียวกัน อยู่ในซอยเดียวกันไม่ให้ข้ามโซนหรือซอย จะเป็นการจำกัดความเสี่ยงไม่ให้กระจาย สมมติมีคนร่วม 30,000 คน แต่จัดซอยย่อยๆราว 100 คน หากพบผู้ติดเชื้อในซอยไหนก็จะกระจายได้น้อยกว่าการไม่แบ่งซอยย่อย อีกทั้ง ไม่ควรจัดงานในลักษณะที่นำคนจาคนละจังหวัดมารวมกัน เพราะหากมีคนติดเชื้อในงานจะทำให้เพิ่มกระจายออกไปในจังหวัดต่างๆ แต่หากเป็นคนจากพื้นที่หรือจังหวัดเดียวกันก็เท่ากับความเสี่ยงเท่าเดิม
อ่านต่อที่ :
https://www.dailynews.co.th/politics/812724
เห็นสภาพขยะที่เกลื่อนกลาดแล้วก็พอจะนึกถึงบรรยากาศในงานได้นะคะ
สมควรแล้วที่สธ.ห่วงใยถึงความเสี่ยงที่จะติดโควิด
ความประมาทจะทำลายความสุขของทุกคนในประเทศค่ะ
อย่าหาทำอีกเลย
🎗เพราะอย่างนี้นี่เองค่ะ...สภาพเละเสี่ยงโควิดหลังงานบิ๊กเมาท์เท่นเขาใหญ่ สธ.แจงความเสี่ยงก่อนถูกสั่งปิด
https://www.thansettakij.com/content/normal_news/460155
สธ.แจงความเสี่ยงจัดงาน'บิ๊กเมาน์เท่น' ก่อนถูกสั่งปิด
“บิ๊กเมาน์เท่น”แออัด สวมหน้ากากไม่ถึง 50% แถมมีน้ำเมาเปลี่ยนนิสัย ทำคุมยาก ย้ำไม่ห้ามจัดคอนเสิร์ต แต่ต้องร่วมมือกัน 3 ฝ่าย แนะจัดโซน-ซอย แยกกลุ่มเล็กให้ง่ายต่อการควบคุม ติดตามโรค
จันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 เวลา 13.56 น.
เมื่อวันที่ 14 ธ.ค.ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. กล่าวการสั่งปิดสถานที่จัดงานคอนเสิร์ตบิ๊กเมาน์เทนเมื่อคืนวันที่ 13 ธ.ค.ที่ผ่านมา ว่า การที่เรามี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และ พ.ร.บ.โรคติดต่อ ก็เพื่อควบคุมโรคระบาด โดยเฉพาะกรณีที่มีการเอาคนมาอยู่รวมกันจำนวนมาก แต่ก็ยืนยันว่าเราไม่ได้ห้ามไม่ให้มีการจัดกิจกรรมใดๆ รวมถึงคอนเสิร์ต ต้องการให้ประชาชนมีการใช้ชีวิตที่เป็นปกติที่สุด แต่ต้องเป็นความปกติรูปแบบใหม่ (New Normal) คือเว้นระยะห่าง ล้างมือ สวมหน้ากากอนามัย ที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี
ทั้งนี้ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และพ.ร.บ.โรคติดต่อ กำหนดว่าการจัดงานต่างๆ จะต้องให้มีมาตรการ ตามที่ภาครัฐกำหนด ดูแผนการจัดงานของภาคเอกชน เชื่อว่าเป็นความเหนื่อยยากทั้ง 2 ฝ่าย แต่พอถึงหน้างานจริงๆ แล้วคนนับหมื่นมาอยู่ด้วยกันความร่วมมือที่จะให้เป็นไปตามแผนของผู้จัดงานและภาครัฐที่วางเอาไว้นั้นคือความร่วมมือของประชาชน หลายครั้ง ที่มีความกังวลใจว่าทำไมถึงต้องคิดกันละเอียดมากเช่นการเปิดให้เข้าชมกีฬาที่ถึงแม้จะเป็นยิมเนเซียมที่สามารถบรรจุคนได้ 70,000 คน แต่เปิดให้เข้าแค่ประมาณ 4,000 คน เพราะตามข้อกำหนดให้มีทางเข้าแค่ 1 ทาง ถ้าให้มาเต็มจำนวนก็จะเกิดความแออัดที่ประตูทางเข้า ดังนั้นการจัดงานที่มีคนมารวมกันนับพัน นับหมื่นคนนั้นจึงต้องการความร่วมมือกันทั้ง 3 ฝ่าย คือภาครัฐ ผู้จัดงาน และประชาชน จะขาดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้
ที่สำคัญที่เรากังวลใจและกรมควบคุมโรคก็เน้นย้ำเสมอคือเรื่องของแอลกอฮอล์ เมื่อมีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้ามาเกี่ยวข้องจะทำให้บรรยากาศของการรับฟังกัน เชื่อฟังกันจะทำได้ยากมากขึ้น การปฏิบัติตามมาตรการที่คุยกันไว้ทำได้ยาก พูดง่ายๆ คือพอเหล้าเข้าปากการควบคุมพฤติกรรมอารมณ์ก็เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นนี่เป็นความยากทั้งของผู้จัดและภาครัฐซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องเห็นใจอย่างไรก็ตามวันนี้ต้องเน้นย้ำภาคประชาชนในการสวมหน้ากากอนามัยเว้นระยะห่างและล้างมือบ่อยๆ สิ่งที่เราพูดกันมาร่วมปีนี้ยังต้องปฏิบัติการอย่างเข้มข้น
ด้าน นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผอ.กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค ให้สัมภาษณ์ภายหลังการแถลงข่าวสถานการณ์โควิด-19 ว่า เมื่อพูดถึงเรื่องโรคติดต่อจะเกี่ยวกับความเสี่ยง โดยความเสี่ยงจะแปรตามจำนวนคน หากมีรวมกลุ่มกันจำนวนมาก จากต่างพื้นที่ จะมีโอกาสแจ็คพอตที่จะมีคนติดเชื้อ 1 รายเข้าไปอยู่ร่วมก็จะมากขึ้น รวมถึงโอกาสที่จะกระจายเชื้อไปยังคนอื่นก็จะมากขึ้นเพราะมีคนมาอยู่ใกล้ชิดจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม หากสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาความเสี่ยงก็จะลดลง
นพ.โสภณ กล่าวว่า กรณีบิ๊กเมาน์เท่นจากการประเมินพบว่าความเสี่ยงเพิ่มขึ้นพรวด เพราะมีคนที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนมาอยู่ร่วมกันจำนวนมาก และจากภาพที่ปรากฏพบว่าตอนเข้างานมีการสวมหน้ากากก็จริง แต่พอเข้าไปในงานแล้วพบว่าสวมหน้ากากไม่ถึง 50 % ซึ่งแม้จะเป็นการจัดงานกลางแจ้งที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าการจัดงานในห้องที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก แต่การที่คนจำนวนถึง 3 หมื่นคนมาอยู่ร่วมก็เพิ่มความเสี่ยง โดยเฉพาะการอยู่ร่วมกันแบบแออัดในโซนหน้าเวที ไม่มีการสวมหน้ากากอนามัยและมีการตะโกนร้องเพลง โอกาสที่คนติดโควิด-19 หลุดเข้าไปสัก 1 รายเข้าไปอยู่ร่วมกันโอกาสแพร่เชื้อไปคนอื่นก็จะมากขึ้น
“ก่อนที่จะจัดงานผู้จัดได้มีการเสนอแผนที่มีมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 กับคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดพิจารณาแล้ว ซึ่งเมื่อถึงวันจัดงานจริงก็สามารถปฏิบัติตามได้ค่อนข้างดี แต่การบริหาความเสี่ยงหน้างานทำได้ไม่ดี เช่น ผู้ร่วมงานไม่ใส่หน้ากาอนามัยตลอดเวลา ซึ่งไม่ใช่ความผิดของผู้จัดงาน และการเว้นระยะห่าง หากมีการใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาและเว้นระยะห่างได้ดี ความปลอดภัยก็จะมากขึ้น ซึ่งหากมีคนติดเชื้อขึ้นมากจริงๆ โดยปกติจะต้องติดตามผู้สัมผัสอีก 20 -40 คน แต่หากเป็นคอนเสิร์ตที่มีคนมาก ผู้ติดเชื้อ 1 รายจะต้องติดตามไปอีกราว 100 คน” นพ.โสภณ กล่าว
ทั้งนี้ แม้ยังไม่พบผู้ติดโควิด-19 ไปร่วมงานนี้ แต่ในจำนวนผู้ไปร่วมงานที่ได้สแกนไทยชนะนั้น ได้มีการส่ง SMS ให้คำแนะนำเพื่อเป็นการเฝ้าระวังตัวเอง หากไม่มีอาการป่วยให้สังเกตอาการตัวเองจนครบ 14 วัน ถ้ามีอาการป่วยเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส และท้องเสียให้รีบไปตรวจหาโควิด-19 ที่สถานพยาบาลใกล้บ้านพร้อมโชว์SMSให้เจ้าหน้าที่ดูจะได้รับการตรวจหาเชื้อโดยไม่เสียค่าใช้
นพ.โสภณ กล่าวด้วยว่า ในการจัดงานลักษณะเดียวกันนี้ ดีที่สุดคือจัดงานขนาดเล็กมีคนร่วมจำนวนไม่มาก หรือถ้ามีคนมากภายในงานควรมีการแบ่งโซนหรือจัดพื้นที่เป็นซอย และพยายามให้กลุ่มเดียวกัน อยู่ในซอยเดียวกันไม่ให้ข้ามโซนหรือซอย จะเป็นการจำกัดความเสี่ยงไม่ให้กระจาย สมมติมีคนร่วม 30,000 คน แต่จัดซอยย่อยๆราว 100 คน หากพบผู้ติดเชื้อในซอยไหนก็จะกระจายได้น้อยกว่าการไม่แบ่งซอยย่อย อีกทั้ง ไม่ควรจัดงานในลักษณะที่นำคนจาคนละจังหวัดมารวมกัน เพราะหากมีคนติดเชื้อในงานจะทำให้เพิ่มกระจายออกไปในจังหวัดต่างๆ แต่หากเป็นคนจากพื้นที่หรือจังหวัดเดียวกันก็เท่ากับความเสี่ยงเท่าเดิม
อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/politics/812724
เห็นสภาพขยะที่เกลื่อนกลาดแล้วก็พอจะนึกถึงบรรยากาศในงานได้นะคะ
สมควรแล้วที่สธ.ห่วงใยถึงความเสี่ยงที่จะติดโควิด
ความประมาทจะทำลายความสุขของทุกคนในประเทศค่ะ
อย่าหาทำอีกเลย