[BR] 5 มาตรฐานที่ต้องมี สำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้าวันนี้

กระทู้ผู้สนับสนุน
กระทู้รีวิว
หากพูดถึงกระแสความแรงของรถยนต์ไฟฟ้า 100% (BEV) ตลาดโลกในปัจจุบัน เรียกได้ว่ามีการเติบโตแบบก้าวกระโดดกันเลยทีเดียว โดยเฉพาะประเทศจีน ที่มีสัดส่วนยอดจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าสูงถึง 55% ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ตลาดรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในจีนคึกคักเป็นอย่างมาก มาจากการที่ภาครัฐให้การสนับสนุน การลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และความเป็นกังวลเกี่ยวกับการใช้พลังงานน้ำมัน

สำหรับบ้านเรา ตลาดรถยนต์ไฟฟ้า 100% (BEV) เริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นเมื่อปี 2008 แต่ด้วยข้อจำกัดทางด้านราคา และรุ่นรถที่จำหน่าย ทำให้ยอดขายโดยรวมยังไม่มากนัก แต่หลังจากที่ MG เปิดตัว ‘MG ZS EV’  รถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% ในราคาที่จับต้องได้ ทำให้ตลาดเมืองไทยโดยรวมโตขึ้นทะลุ 1,300 คันในปี 2019 ซึ่งคิดเป็นยอดขายของ MG ZS EV กว่า 90% ของยอดขายทั้งหมด


เรียกว่า ‘MG ZS EV’ เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้กระแสรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในบ้านเราเริ่มเป็นที่นิยม และส่งผลให้เป็นผู้นำทางด้านรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ดังนั้น ถ้าหากใครกำลังมองหารถยนต์ไฟฟ้า 100% (BEV) มาใช้งานในชีวิตประจำวัน นี่คือ 5 มาตรฐานที่จะช่วยทำให้ตัดสินใจครอบครองได้ง่ายขึ้น

1. ขนาดมิติตัวถังของรถ และฟังก์ชันการใช้งานต้องตอบโจทย์

เมื่อรถยนต์เปรียบเสมือนบ้านหลังที่สองของใครหลายๆ คน การเลือกซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่ตอบโจทย์การใช้งานที่หลากหลาย รวมถึงสมาชิกในครอบครัวจึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความใส่ใจด้วยเช่นกัน ควรมีพื้นที่การใช้สอยที่พอเหมาะสำหรับการโดยสารและสัมภาระ สามารถรองรับผู้โดยสารได้อย่างน้อย 4 คน และให้ความสะดวกสบายในการขับขี่ทั้งในตำแหน่งผู้ขับขี่และผู้โดยสาร

ในเรื่องฟังก์ชันการใช้งานก็ต้องพอเพียงและเหมาะสม สำหรับการขับขี่ทั้งกลางวัน กลางคืน ในเมืองและนอกเมือง อาทิ ไฟหน้าแบบโปรเจคเตอร์ พร้อมระบบควบคุมการเปิด- ปิดอัตโนมัติ, ไฟส่องสว่างสำหรับการขับขี่เวลากลางวัน (Daytime Running Lights), เบาะนั่งแบบหนัง, หน้าจอสีแบบสัมผัสขนาด 8 นิ้ว, พวงมาลัยแบบมัลติฟังก์ชัน, ระบบปรับอากาศแบบดิจิทัล, ช่องเชื่อมต่อ USB และปุ่มสตาร์ตรถ


2. ความปลอดภัยต้องครบถ้วนและครบครัน

จริงอยู่ อุบัติเหตุ เป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่ขึ้นชื่อว่าอุบัติเหตุแล้วย่อมเป็นเรื่องไม่คาดคิด รถยนต์พลังงานไฟฟ้าจำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยที่ครอบคลุมทั้งก่อนเกิดและหลังเกิดอุบัติเหตุ อาทิ

- ระบบความปลอดภัยเชิงป้องกันก่อนเกิดเหตุ (Active Safety) เช่น ระบบป้องกันล้อล็อก ABS พร้อมระบบกระจายแรงเบรก, EBD ระบบเสริมแรงเบรกด้วยอิเล็กทรอนิกส์, EBA ระบบช่วยออกตัวบนทางลาดชัน, HAS กล้องมองหลังและสัญญาณเตือนกะระยะถอยหลัง

- ระบบความปลอดภัยเชิงปกป้องเมื่อเกิดเหตุ (Passive Safety) เช่น ถุงลมนิรภัยคู่หน้า เข็มขัดนิรภัยคู่หน้าแบบดึงรั้งกลับพร้อมผ่อนแรงอัตโนมัติ


3. สมรรถนะและระยะทางในการขับขี่ต้องเต็มแรงม้า

รถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่ให้กำลังในการขับขี่พอเหมาะ อย่างน้อยต้องมีอัตรากำลังอยู่ที่ 150 แรงม้า ถ้าหากรถยนต์มีกำลังน้อยเกินไปอาจจะไม่เหมาะกับการขับขี่ในทางสาธารณะรวมถึงการขับระยะทางไกล ในส่วนของระยะทาง รถยนต์พลังงานไฟฟ้าต้องได้ระยะทางในการขับขี่ไม่น้อยกว่า 300 กิโลเมตรต่อการชาร์จเต็มหนึ่งครั้ง ซึ่งเป็นระยะทางเฉลี่ยที่ครอบคลุมการใช้งานในชีวิตประจำวัน


4. ค่าบำรุงรักษาและการรับประกันคุณภาพสบายใจ

ข้อดีของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า คือการประหยัดค่าใช้จ่าย ทั้งค่าพลังงานที่ได้จากการชาร์จไฟได้ง่ายๆ จากที่บ้าน และดูแลง่าย ค่าบำรุงรักษาต่ำ โดยมีอัตราเฉลี่ยไม่เกิน 8,000 บาท ตลอดระยะเวลา 5 ปี หรือ 100,000 กิโลเมตร อย่างใดอย่างหนึ่งถึงก่อน ซึ่งเหตุผลที่รถยนต์พลังงานไฟฟ้ามีค่าบำรุงรักษาที่ต่ำเมื่อเทียบกับรถยนต์สันดาปทั่วไปถึง 1 ใน 3 เป็นเพราะว่าไม่มีระบบเครื่องยนต์ให้ดูแล ทำให้จำนวนชิ้นส่วนของตัวรถน้อยลง

สำหรับ การรับประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ต้องไม่ต่ำกว่า  4 ปี หรือ 120,000 กม.และการรับประกันแบตเตอรี่ต้องไม่ต่ำกว่า 8 ปี หรือ 180,000  กิโลเมตร รวมถึงมีเทคโนโลยีการเปลี่ยนแบตเตอรี่เฉพาะโมดูลที่เสียหายได้ ซึ่งจะช่วยลดค่าบำรุงรักษาในระยะยาว


5. มีบริการหลังการขายและศูนย์บริการที่ได้รับมาตรฐาน

นอกจากเรื่องสมรรถนะ ประสิทธิภาพ ฟังก์ชันเทคโนโลยีตัวรถแล้ว การบริการหลังการขายเป็นอีกหนึ่งมาตรฐานที่ต้องให้ความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความสะดวกสบายในการเข้ารับบริการ หรือมีช่างที่ชำนาญการให้บริการ

นี่คือ 5 มาตรฐานของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่จะช่วยให้ผู้ที่สนใจตัดสินใจได้ง่ายขึ้น นอกจากเรื่องราคาความคุ้มค่าที่สามารถเป็นเจ้าของได้

[Advertorial]
ชื่อสินค้า:   MG
คะแนน:     

BR - Business Review : กระทู้นี้เป็นกระทู้รีวิวจากผู้สนับสนุน

โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่