(กระทู้ย้อนวัย) เครื่องเสียง Kenwood A9 (UD-900) มินิคอมโป อายุ 28 ปี กับพลังเสียงเหนือจินตนาการ
ใครที่ยังไม่ได้อ่านบทความ Sony FH-E939CD เชิญที่ลิ้งค์นี้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://ppantip.com/topic/40244724
“ไปฟังเคนหวูดกัน” เสียงจากกูรูเครื่องเสียงรุ่นพี่ทักขึ้นในขณะที่ผู้เขียนกำลังเพลิดเพลินกับเสียงหวานใสของมินิคอมโป Aiwa NSX-D9 ตัวท็อปในตำนาน คู่แข่งของ SONY FH-E939CD ที่เคยเขียนไปเมื่อตอนที่แล้ว ว่ากันตามตรง จากประสบการณ์การฟังเครื่องเสียงมาหลายปี แบรนด์ Kenwood เป็นแบรนด์ที่ผู้เขียนบอกตรงๆ ว่าค่อนข้างอคติ อาจจะเพราะประสบการณ์อันย่ำแย่ที่อุตส่าห์ไปแบกเอาชุด Midi M85 ราคาเรือนหมื่นจากนักสะสมเครื่องเสียงแถวปทุมธานีมากรุงเทพ แต่ก็ต้องผิดหวังกับน้ำเสียงอันบางใส และเบสที่กระชับผิดกับรูปลักษณ์อันใหญ่โตมโหฬารของมัน
"Kenwood Midi M85 (ในวงการชื่อ A-85 เรียกตามชื่อรุ่นของแอมพลิฟายเออร์) ของผู้เขียนมีแค่ลำโพงคู่หน้า ไม่มีคู่หลังและซับ"
เครดิตภาพจาก Google
จนกระทั่งผู้เขียนเดินทางไปถึงบ้านของกูรูเครื่องเสียงอีกท่านหนึ่งที่อดีตเคยเป็นผู้คร่ำหวอดในเครื่องเสียงยี่ห้อ JVC แต่อยู่ดีๆ กูรูคนนี้ก็เปลี่ยนมาเล่น Kenwood เสียอย่างนั้น แกเล่าว่า แกไปได้มินิคอมโปตัวท็อป รุ่นไฮเอนด์มาตัวนึง แกบอกว่า ถ้าได้ฟังมินิคอมโปชุดนี้ ก็ไม่ต้องไปฟังรุ่นอื่นอีกแล้ว เพราะรุ่นนี้คือ “ตัวจบ” เสียงมันเกินคำว่า “มินิคอมโป” ไปเยอะมาก ไอ้เราก็สงสัย อะไรจะขนาดนั้นกันหนอ เลยตัดสินใจลองฟัง หลังจากนั้น บอกเลยว่าเกิดอาการ “ประสาทหูเสีย” ไปหลายเดือน เพราะเสียงของมินิคอมโปชุดนี้มันต่างกับทุกรุ่นที่เคยฟังมา... มันเหนือความคาดหมาย เหนือจินตนาการไปเยอะ เสียงของมันติดหูมาก พยายามจะลบมันออกจากหัวก็ลบไม่ออก จนวันหนึ่งมีการประกาศขายเครื่องเสียงชุดนี้ลงใน Facebook เลยตัดสินใจควักเงินซื้อทันทีโดยไม่ต่อราคาแม้แต่บาทเดียว แถมออกค่าส่งให้อีกต่างหาก
ในวงการเครื่องเสียง โดยเฉพาะในวงการมินิคอมโป คนส่วนใหญ่เลือกเครื่องที่หน้าตาสวย เป็นหน้าเป็นตาให้กับคนใช้ เสียงที่ดังกระหึ่ม กำลังขับเยอะๆ ไว้ก่อน รายละเอียด ค่าความเพี้ยนเสียงจะเป็นยังไงช่างหัวมัน ขอแค่มีไว้เปิดอวดชาวบ้าน หรือเติมเต็มความฝันวัยเด็กของตัวเองก็เท่านั้น ไม่ได้มาคิดไกลถึงเรื่องของคุณภาพเสียงที่แท้จริงซักเท่าไหร่หรอก ซึ่งตัวผู้เขียนเองอาจจะเป็นชนกลุ่มน้อยในวงการนี้ ที่เลือกเล่นแต่เครื่องที่ให้คุณภาพเสียงดีไว้ก่อน เลยมีแต่รุ่นเชยๆ หน้าตาจืดๆ มาเขียนให้อ่านกัน
สำหรับ Kenwood A9 หรือ UD-900 เป็นรุ่นท็อปสุดของชุดเครื่องเสียงมินิคอมโปที่เปิดตัวและวางขายในช่วงปี 1992-1993 เปิดตัวมาในราคาประมาณ 59,900 บาท เป็นรุ่นที่ทางเคนหวูดวางจุดยืนไว้ว่าเป็นรุ่นที่เน้นเรื่องความสมจริงของเสียง ประดุจมีวงดนตรีมาเล่นสดให้ฟังตรงหน้า เอาแนวคิดของการสะท้อนเสียงของมิวสิคฮอลล์มาประยุกต์สร้างเป็นระบบลำโพง เรียกว่า Omni Top Speaker
ระบบนี้ไม่ได้มีอะไรซับซ้อนแต่คิดว่าวิศวกรทางเสียงของแบรนด์นี้ต้องออกแบบมาอย่างดีแล้ว คือการติดลำโพงแกนร่วมไว้ที่ด้านบนของตู้ แล้วทำตะแกรงตู้ให้คล้ายโดม ซึ่งเสียงที่ได้จากลำโพงด้านบนนี้จะแผ่กระจายออกรอบทิศทาง ประกอบกับระบบลำโพงสามทาง ทวีตเตอร์ซอฟท์โดมขนาด 2 นิ้ว มิดเรนจ์ขนาด 2 นิ้ว และวูฟเฟอร์ขนาด 6 นิ้วทำจากกระดาษเคลือบน้ำยาชั้นดี ไม่รู้ว่าข้างในมีการติดครอสโอเวอร์อะไรอีกหรือเปล่าแต่เดี๋ยวไปว่ากันต่อในส่วนของเนื้อเสียง
ภาคขยายของรุ่นนี้ แบ่งออกเป็นสองภาคย่อยคือ ภาค Pre-Amp ซึ่งจะทำหน้าที่ควบคุมระบบเสียงทั้งหมด และใช้เป็นภาครับวิทยุในตัวด้วย ด้านหลังมีช่องต่อสัญญาณ Input เยอะถึง 3 ช่อง มีวงจรปรับสัญญาณลำโพงขาออก มีวงจรปรับสนามเสียงเซอร์ราวด์ซึ่งสามารถเลือกได้ว่าจะใช้เพียงลำโพงคู่หน้า หรือจะต่อชุดลำโพงเซอร์ราวด์ช่วยเพิ่มความสมจริง มีวงจรถอดรหัสเสียง Dolby Pro-Logic ที่เป็นของใหม่มากเมื่อ 28 ปีที่แล้ว มีระบบเพิ่มเสียงเบสแบบมือหมุน ระบบตัดเสียงร้องสำหรับคาราโอเกะ ระบบเร่งกำลังขับ และระบบปรับอีควอไลเซอร์อัตโนมัติสำหรับภาคซีดี ส่วนอีกภาคหนึ่งคือภาค Power Amp ที่มีหน้าที่คือขยายเสียง จุดเด่นคือมีตัวเลขวิ่งอยู่ตลอดเวลาที่มีเสียงเข้า ซึ่งก็สงสัยอยู่ว่ามันคือเลขอะไร ซึ่งข้อดีของรุ่นนี้คือวงจรขยายเสียงภายในใช้วัสดุระดับออดิโอเกรดที่ให้เสียงเป็นธรรมชาติและมีความเที่ยงตรงสูง แต่มีจุดพิจารณาคือเครื่อง A9 นี้ไม่เหมาะสำหรับคนมือบอน เพราะเราจะไม่สามารถปรับค่าต่างๆ แบบ Manual ได้เลย
มาดูภาคเครื่องเล่นกันบ้าง โมเดลที่ได้มาจะเป็นเครื่องเล่นซีดีแบบถาดเดี่ยว เล่นได้แค่ 1 แผ่น ถ้าอยากฟังเพลงจากซีดีแบบยิงยาวก็มีรุ่นที่เป็นถาดไฮบริดให้เลือก คือเป็นเดี่ยว 1 ผสมแมกกาซีนใส่ซีดีอีก 6 แผ่นก โดยรุ่นนั้นจะไฮเทคกว่าตรงที่จอแสดงผลจะอยู่ที่ฝาปิดถาดซีดี เปิด-ปิดด้วยระบบแมคคานิค วงจรถอดรหัสเสียงจากแผ่นซีดีเป็นแบบ 1 บิทที่แสนจะธรรมดา แต่มีตัวถอดรหัสเสียงจากดิจิตอลเป็นอนาล็อกถึง 2 ตัว ช่วยให้เสียงเป็นธรรมชาติมากขึ้น ส่วนเทปเป็นระบบเทปคู่กลับหน้าเทปอัตโนมัติ รองรับระบบตัดเสียงรบกวน Dolby B และ Dolby C และรองรับระบบ Dolby HX Pro ช่วยให้คุณภาพเสียงดีขึ้น
ในการทดสอบเสียงในครั้งนี้ ผู้เขียนเลือกที่จะไม่ทดสอบผ่านเทปและซีดี เนื่องจากต้องการจะรีดประสิทธิภาพของภาคขยายล้วนๆ ทางผู้เขียนเลือกเอา Bluetooth DAC Amp ตัวดังในตอนนี้อย่าง Shanling UP4 มาใช้เป็นแหล่งกำเนิดเสียง โดยเจ้า UP4 ใช้ชิพถอดรหัสเสียงของ ESS Sabre รุ่น ES9218P ถึง 2 ตัว รองรับการถอดรหัสเสียงผ่านสัญญาณ Bluetooth สูงสุดที่ LDAC ที่ความละเอียด 24 บิต 96 กิโลเฮิตซ์ ที่บิทเรต 990 กิโลบิตต่อวินาที รวมทั้งรองรับระบบ Dual DAC เมื่อใช้งานผ่านช่อง 3.5 มิลลิเมตร ใช้ไฟล์เสียง MQA จากแอพพลิเคชั่น Tidal ทั้งหมด และห้องที่ใช้ฟังเป็นห้องปิด
น่าเสียดายที่ไม่มีสาย RCA ที่มีแจ๊คเป็นแบบ Balanced 2.5 มิลลิเมตร ไม่งั้นจะรีดประสิทธิภาพออกมาได้ดีกว่านี้ ส่วนสายลำโพง ผู้เขียนเลือกใช้สายของ Supra Classic 2.5 เพื่อให้สมศักดิ์ศรีมินิคอมโปตัวเทพ (ถึงจะเสียเวลายัดสายเข้ากับช่องเสียบสายลำโพงอยู่เกือบครึ่งชั่วโมงก็เถอะ) และการทดสอบในครั้งนี้ จะไม่มีการเปิดอีควอไลเซอร์ หรือใช้ฟีเจอร์พิเศษใดๆ ในการปรุงเสริมเติมแต่งทั้งสิ้น
ผู้เขียนเริ่มจากแทร็ค Nordheim: Colorazione (Excerpt) จากอัลบั้ม 2L Audiophile Reference Recordings แค่แทร็คแรกก็เล่นของโหดซะแล้ว เพราะมันคือเสียงเครื่องเคาะ กับเสียงสังเคราะห์หลายอย่างผสมปนเปกันไปหมด แต่แค่แทร็คแรก แค่เสียงเครื่องเคาะ การแบ่งแยกชั้นเสียงถือว่าทำได้ค่อนข้างดี คือแยกขาดว่าเสียงอะไรเป็นเสียงอะไร แต่ถามว่าขาดหมดมั้ย ก็คงไม่ขนาดนั้น การจางหายของเสียงถือว่าให้ผ่าน แต่แทร็กแบบนี้มันยากเกินไปสำหรับมินิคอมโปแบบนี้แน่ เปลี่ยนแทร็คดีกว่า
ลองเปลี่ยนมาฟังแจ๊ซดูบ้าง ผู้เขียนเลือกแทร็ค Jimerick ของ Art Blakey จากอัลบั้ม Just Coolin’, Art Blakey and the Jazz Messengers งานเพลงแจ๊ซเน้นเครื่องดนตรี แทร็คนี้ผู้เขียนตั้งใจเลือกมาเพื่อจับผิดการโฟกัสเสียงและความสมบูรณ์ของเสียงเครื่องดนตรี การโฟกัสดนตรีทำได้ดีมาก แม้จะไม่มีการเปิดลำโพง Omni Top ช่วยแต่อย่างใด ตำแหน่งของเครื่องดนตรีถือว่าจัดว่างตำแหน่งได้ดี เสียงเครื่องดนตรีต่างๆ ก็ยังเป็นเสียงเครื่องดนตรีที่เราได้ยินตามจริง ไม่ฟังดูเป็นเสียงสังเคราะห์ โดยเฉพาะเสียงของกลองที่อิมแพคดีมาก สัมผัสได้เวลาไม้ลงกระทบกับหนังกลอง เสียงฉาบ แฉ ไฮแฮท ทำออกมาได้ดีเป็นธรรมชาติ ส่วนมิติเสียงจะออกไปทางโอ่โถง อบอวลไปด้วยมวลของเครื่องดนตรีที่รายล้อมเราอยู่ ต้องยกความดีความชอบให้กับพาวเวอร์แอมป์ที่ขับเสียงออกมาได้ขนาดนี้
พักหูหน่อยละกัน ขอต่อด้วยเพลงพ็อพมาแรงอย่าง Positions ของ Ariana Grande ถึงจะเป็นเพลงพ็อพสังเคราะห์เสียงตามยุคสมัย แต่สิ่งที่สัมผัสได้คือความสดและเป็นธรรมชาติของเสียงร้อง ส่วนเสียงเบสถือเป็นจุดเด่นของรุ่นนี้ ดอกวูฟเฟอร์ 6 นิ้ว แต่ให้เสียงต่ำลึกได้ดีสุดๆ มวลเบสใหญ่ อิ่มหนา อิมแพคดีสุดๆ ทำเอาเราเพลินกับเพลงนี้ไปจนจบโดยไม่มีข้อกังขาใดๆ ส่วนเพลงพ็อพอีกเพลงนึงอย่าง Midnight Sky ของ Miley Cyrus ที่เป็นแนวดิสโก้ย้อนยุค ก็ทำออกมาได้ดีไม่แพ้กัน ตามมาด้วยเพลงจากอัลบั้มแนวอิเล็คโทรพ็อพของ Madonna ในอัลบั้ม Ray of Light เป็นอัลบั้มเพลงอิเล็กโทรพ็อพที่บันทึกเสียงได้ดีทีเดียว ผู้เขียนเลือกเพลง Drowned World / Substitute for Love ซึ่งเป็นเพลงเปิดอัลบั้ม มีการเล่นเสียงของซาวด์อิเล็คทรอนิกมากมายหลายชั้น การไล่เสียงจากเบาไปดัง การแยกมิติซ้าย-ขวาถือว่าสุดยอดกว่าเครื่องเสียงมินิคอมโปในยุคนั้นไปเยอะ เนื้อเสียงหนา ไม่แห้ง ไม่สาก เบสถือว่าลงได้ลึกเกินความคาดหมายไปเยอะ แต่ด้วยความสงสัยว่าถ้าเล่นเพลงที่มีความซับซ้อนมากขึ้นจะเป็นอย่างไร ผู้เขียนเลือกเพลง Hyperballad ของ Bjork ที่ยืนพื้นด้วยเสียงเบสเป็นหลัก แทรกด้วยซาวด์อิเล็กทรอนิคมากมายตลอดทั้งเพลง จบด้วยเสียงไวโอลินในตอนท้าย มินิคอมโป A9 ก็ยังทำได้ยอดเยี่ยม ไม่มีการบวม เบลอของเนื้อเสียง ข้อดีคือเสียงเบสไม่กลบเสียงของนักร้องหรือเครื่องดนตรีเลย ซึ่งเพลงในลักษณะนี้ ถ้าระบบแอมป์ หรือลำโพงไม่ดีพอ จะไม่สามารถแยกรายละเอียดของเสียงได้ดี เสียงจะแบนเป็นระนาบ แต่รุ่นนี้ไม่เป็นแบบนั้น
เอาใจขาร็อกกันหน่อย ด้วยเพลง Pull Me Under ของ Dream Theater เสียงเบสถือว่าทำได้ดีในเพลงร็อกที่มีจังหวะรุกเร้าแบบนี้ เสียงร้อง เสียงกีต้าร์ กลอง ฉาบ แฉทั้งหลายทำออกมาได้ดี แต่... ถ้าฟังแบบไม่ปรับอีควอไลเซอร์เลย จะรู้สึกว่าเนื้อเสียงจืดชืดไปซักหน่อย ต้องใช้อีควอไลเซอร์ช่วย ซึ่งพอเปิดระบบอีควอไลเซอร์แบบปรับอัตโนมัติที่มีมาให้ เนื้อเสียงทั้งหลายเปิดกว้าง มิติดีขึ้น มีความสด กระจ่างขึ้นแบบเห็นได้ชัด
สรุปแล้วเครื่องเสียงชุดนี้เหมาะกับใคร ถึงแม้ว่าเสียงจะเหนือจินตนาการ เหนือความเป็นมินิคอมโปไปหลายขุม แต่ก็มีข้อจำกัดเรื่องของฟังก์ชั่นการปรับแต่งที่ค่อนข้างน้อย จึงไม่เหมาะสำหรับคนที่ชอบปรับนั่นปรับนี่ แต่ถ้าเป็นคนที่ชอบเครื่องเสียงที่ให้คุณภาพเสียงที่ยอดเยี่ยมตั้งแต่ออกจากกล่อง ไม่ต้องปรับอะไรก็เพราะ รุ่นนี้ถือว่าตอบโจทย์ (ยกเว้นเพลงร็อกที่เนื้อเสียงฟังดูจืดชืดไปนิดนึง) ถ้าในราคาเกือบ 6 หมื่นบาทเมื่อ 28 ปีก่อน ตัวที่พอจะเทียบชั้นได้ก็เห็นจะมี Technics รุ่น CH900 ที่ให้เนื้อเสียงที่เป็นธรรมชาติกว่า JVC MX-77 ที่ให้พลังเบสล้นเหลือด้วยตู้ลำโพงที่มีซับวูฟเฟอร์ในตัว (อย่าพูดถึง Sony FH-E959 ตัวสีทองที่ออกปีเดียวกัน ตัวนั้นไม่มีอะไรเทียบได้เลยนอกจากฟังก์ชั่นเซอร์ราวด์ที่เยอะกว่าชาวบ้านเค้า)
แต่ในปี 2020 ที่เครื่องเสียงพวกนี้กลายเป็นของมือสอง บอกเลยว่าไม่เสียดายเงินเลยที่ซื้อมันมา พร้อมกับอัพเกรดให้ทันสมัยด้วย Bluetooth DAC AMP ซักตัว ก็ได้เครื่องเสียงดีๆ ไว้ฟังผ่อนคลายยามเหงาแล้ว
ปามมี่ สาวเชียงใหม่
5 พฤศจิกายน 2563
(กระทู้ย้อนวัย) เครื่องเสียง Kenwood A9 (UD-900) มินิคอมโป อายุ 28 ปี กับพลังเสียงเหนือจินตนาการ
ในวงการเครื่องเสียง โดยเฉพาะในวงการมินิคอมโป คนส่วนใหญ่เลือกเครื่องที่หน้าตาสวย เป็นหน้าเป็นตาให้กับคนใช้ เสียงที่ดังกระหึ่ม กำลังขับเยอะๆ ไว้ก่อน รายละเอียด ค่าความเพี้ยนเสียงจะเป็นยังไงช่างหัวมัน ขอแค่มีไว้เปิดอวดชาวบ้าน หรือเติมเต็มความฝันวัยเด็กของตัวเองก็เท่านั้น ไม่ได้มาคิดไกลถึงเรื่องของคุณภาพเสียงที่แท้จริงซักเท่าไหร่หรอก ซึ่งตัวผู้เขียนเองอาจจะเป็นชนกลุ่มน้อยในวงการนี้ ที่เลือกเล่นแต่เครื่องที่ให้คุณภาพเสียงดีไว้ก่อน เลยมีแต่รุ่นเชยๆ หน้าตาจืดๆ มาเขียนให้อ่านกัน
น่าเสียดายที่ไม่มีสาย RCA ที่มีแจ๊คเป็นแบบ Balanced 2.5 มิลลิเมตร ไม่งั้นจะรีดประสิทธิภาพออกมาได้ดีกว่านี้ ส่วนสายลำโพง ผู้เขียนเลือกใช้สายของ Supra Classic 2.5 เพื่อให้สมศักดิ์ศรีมินิคอมโปตัวเทพ (ถึงจะเสียเวลายัดสายเข้ากับช่องเสียบสายลำโพงอยู่เกือบครึ่งชั่วโมงก็เถอะ) และการทดสอบในครั้งนี้ จะไม่มีการเปิดอีควอไลเซอร์ หรือใช้ฟีเจอร์พิเศษใดๆ ในการปรุงเสริมเติมแต่งทั้งสิ้น
ผู้เขียนเริ่มจากแทร็ค Nordheim: Colorazione (Excerpt) จากอัลบั้ม 2L Audiophile Reference Recordings แค่แทร็คแรกก็เล่นของโหดซะแล้ว เพราะมันคือเสียงเครื่องเคาะ กับเสียงสังเคราะห์หลายอย่างผสมปนเปกันไปหมด แต่แค่แทร็คแรก แค่เสียงเครื่องเคาะ การแบ่งแยกชั้นเสียงถือว่าทำได้ค่อนข้างดี คือแยกขาดว่าเสียงอะไรเป็นเสียงอะไร แต่ถามว่าขาดหมดมั้ย ก็คงไม่ขนาดนั้น การจางหายของเสียงถือว่าให้ผ่าน แต่แทร็กแบบนี้มันยากเกินไปสำหรับมินิคอมโปแบบนี้แน่ เปลี่ยนแทร็คดีกว่า
ลองเปลี่ยนมาฟังแจ๊ซดูบ้าง ผู้เขียนเลือกแทร็ค Jimerick ของ Art Blakey จากอัลบั้ม Just Coolin’, Art Blakey and the Jazz Messengers งานเพลงแจ๊ซเน้นเครื่องดนตรี แทร็คนี้ผู้เขียนตั้งใจเลือกมาเพื่อจับผิดการโฟกัสเสียงและความสมบูรณ์ของเสียงเครื่องดนตรี การโฟกัสดนตรีทำได้ดีมาก แม้จะไม่มีการเปิดลำโพง Omni Top ช่วยแต่อย่างใด ตำแหน่งของเครื่องดนตรีถือว่าจัดว่างตำแหน่งได้ดี เสียงเครื่องดนตรีต่างๆ ก็ยังเป็นเสียงเครื่องดนตรีที่เราได้ยินตามจริง ไม่ฟังดูเป็นเสียงสังเคราะห์ โดยเฉพาะเสียงของกลองที่อิมแพคดีมาก สัมผัสได้เวลาไม้ลงกระทบกับหนังกลอง เสียงฉาบ แฉ ไฮแฮท ทำออกมาได้ดีเป็นธรรมชาติ ส่วนมิติเสียงจะออกไปทางโอ่โถง อบอวลไปด้วยมวลของเครื่องดนตรีที่รายล้อมเราอยู่ ต้องยกความดีความชอบให้กับพาวเวอร์แอมป์ที่ขับเสียงออกมาได้ขนาดนี้
พักหูหน่อยละกัน ขอต่อด้วยเพลงพ็อพมาแรงอย่าง Positions ของ Ariana Grande ถึงจะเป็นเพลงพ็อพสังเคราะห์เสียงตามยุคสมัย แต่สิ่งที่สัมผัสได้คือความสดและเป็นธรรมชาติของเสียงร้อง ส่วนเสียงเบสถือเป็นจุดเด่นของรุ่นนี้ ดอกวูฟเฟอร์ 6 นิ้ว แต่ให้เสียงต่ำลึกได้ดีสุดๆ มวลเบสใหญ่ อิ่มหนา อิมแพคดีสุดๆ ทำเอาเราเพลินกับเพลงนี้ไปจนจบโดยไม่มีข้อกังขาใดๆ ส่วนเพลงพ็อพอีกเพลงนึงอย่าง Midnight Sky ของ Miley Cyrus ที่เป็นแนวดิสโก้ย้อนยุค ก็ทำออกมาได้ดีไม่แพ้กัน ตามมาด้วยเพลงจากอัลบั้มแนวอิเล็คโทรพ็อพของ Madonna ในอัลบั้ม Ray of Light เป็นอัลบั้มเพลงอิเล็กโทรพ็อพที่บันทึกเสียงได้ดีทีเดียว ผู้เขียนเลือกเพลง Drowned World / Substitute for Love ซึ่งเป็นเพลงเปิดอัลบั้ม มีการเล่นเสียงของซาวด์อิเล็คทรอนิกมากมายหลายชั้น การไล่เสียงจากเบาไปดัง การแยกมิติซ้าย-ขวาถือว่าสุดยอดกว่าเครื่องเสียงมินิคอมโปในยุคนั้นไปเยอะ เนื้อเสียงหนา ไม่แห้ง ไม่สาก เบสถือว่าลงได้ลึกเกินความคาดหมายไปเยอะ แต่ด้วยความสงสัยว่าถ้าเล่นเพลงที่มีความซับซ้อนมากขึ้นจะเป็นอย่างไร ผู้เขียนเลือกเพลง Hyperballad ของ Bjork ที่ยืนพื้นด้วยเสียงเบสเป็นหลัก แทรกด้วยซาวด์อิเล็กทรอนิคมากมายตลอดทั้งเพลง จบด้วยเสียงไวโอลินในตอนท้าย มินิคอมโป A9 ก็ยังทำได้ยอดเยี่ยม ไม่มีการบวม เบลอของเนื้อเสียง ข้อดีคือเสียงเบสไม่กลบเสียงของนักร้องหรือเครื่องดนตรีเลย ซึ่งเพลงในลักษณะนี้ ถ้าระบบแอมป์ หรือลำโพงไม่ดีพอ จะไม่สามารถแยกรายละเอียดของเสียงได้ดี เสียงจะแบนเป็นระนาบ แต่รุ่นนี้ไม่เป็นแบบนั้น
เอาใจขาร็อกกันหน่อย ด้วยเพลง Pull Me Under ของ Dream Theater เสียงเบสถือว่าทำได้ดีในเพลงร็อกที่มีจังหวะรุกเร้าแบบนี้ เสียงร้อง เสียงกีต้าร์ กลอง ฉาบ แฉทั้งหลายทำออกมาได้ดี แต่... ถ้าฟังแบบไม่ปรับอีควอไลเซอร์เลย จะรู้สึกว่าเนื้อเสียงจืดชืดไปซักหน่อย ต้องใช้อีควอไลเซอร์ช่วย ซึ่งพอเปิดระบบอีควอไลเซอร์แบบปรับอัตโนมัติที่มีมาให้ เนื้อเสียงทั้งหลายเปิดกว้าง มิติดีขึ้น มีความสด กระจ่างขึ้นแบบเห็นได้ชัด
สรุปแล้วเครื่องเสียงชุดนี้เหมาะกับใคร ถึงแม้ว่าเสียงจะเหนือจินตนาการ เหนือความเป็นมินิคอมโปไปหลายขุม แต่ก็มีข้อจำกัดเรื่องของฟังก์ชั่นการปรับแต่งที่ค่อนข้างน้อย จึงไม่เหมาะสำหรับคนที่ชอบปรับนั่นปรับนี่ แต่ถ้าเป็นคนที่ชอบเครื่องเสียงที่ให้คุณภาพเสียงที่ยอดเยี่ยมตั้งแต่ออกจากกล่อง ไม่ต้องปรับอะไรก็เพราะ รุ่นนี้ถือว่าตอบโจทย์ (ยกเว้นเพลงร็อกที่เนื้อเสียงฟังดูจืดชืดไปนิดนึง) ถ้าในราคาเกือบ 6 หมื่นบาทเมื่อ 28 ปีก่อน ตัวที่พอจะเทียบชั้นได้ก็เห็นจะมี Technics รุ่น CH900 ที่ให้เนื้อเสียงที่เป็นธรรมชาติกว่า JVC MX-77 ที่ให้พลังเบสล้นเหลือด้วยตู้ลำโพงที่มีซับวูฟเฟอร์ในตัว (อย่าพูดถึง Sony FH-E959 ตัวสีทองที่ออกปีเดียวกัน ตัวนั้นไม่มีอะไรเทียบได้เลยนอกจากฟังก์ชั่นเซอร์ราวด์ที่เยอะกว่าชาวบ้านเค้า)
แต่ในปี 2020 ที่เครื่องเสียงพวกนี้กลายเป็นของมือสอง บอกเลยว่าไม่เสียดายเงินเลยที่ซื้อมันมา พร้อมกับอัพเกรดให้ทันสมัยด้วย Bluetooth DAC AMP ซักตัว ก็ได้เครื่องเสียงดีๆ ไว้ฟังผ่อนคลายยามเหงาแล้ว