***หัดรีวิวครั้งแรก ผิดพลาดประการใดขออภัย
ปี พ.ศ. 2533 ปีแห่งความทรงจำของใครหลายคน ปีแห่งการเริ่มต้นทศวรรษ 90’s ปีที่เบิร์ดธงไชยออกอัลบั้มบูมเมอแรง แล้วดังระเบิดด้วยยอดขายเทป 2 ล้านตลับ เช่นเดียวกับคริสติน่า อากีล่าร์ กับอัลบั้มชุดแรกที่โกยยอดขายเกินล้านตลับ เป็นศิลปินหญิงคนแรกของแกรมมี่ที่มียอดขายเทปสูงที่สุดในขณะนั้น หนังเจ๊จูบานฉ่ำก็มาแรง เพลงโน้โค้กกลายเป็นเพลงประจำดิสโก้เธค ละครคู่กรรมที่เบิร์ดธงไชย เล่นคู่กับกวางกมลชนกก็ดังมาก เหตุการณ์ในความทรงจำที่เศร้าสลดของใครหลายคน อย่างอุบัติเหตุแพล่มที่เขื่อนอุบลรัตน์ หลังจากนั้นแค่หนึ่งวันก็เกิดเหตุการณ์รถแก๊สระเบิดที่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่กลายเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ที่คนในยุคนั้นไม่มีวันลืม
ในวงการเครื่องเสียงของไทยในขณะนั้น กระแสความนิยมเครื่องเสียงบ้านตระกูลมินิไฮไฟ หรือ มินิคอมโป กำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มคนเมืองยุคใหม่ ด้วยขนาดที่กะทัดรัด สามารถจัดวางในห้องที่มีขนาดเล็กได้ ดีไซน์ที่สวยงามเสมือนเฟอร์นิเจอร์ชิ้นหนึ่งของบ้าน คุณภาพเสียงที่ใกล้เคียงกับเครื่องเสียงรุ่นใหญ่ในราคาที่ถูกกว่ากันเกือบครึ่ง ทำให้เครื่องเสียงตระกูลมินิคอมโปนั้น กลายเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย
ซึ่ง Sony FH-E929 ที่ผู้เขียนนำมารีวิวในวันนี้ เป็นมินิคอมโปรุ่นทอปเจนเนอเรชันที่สองในตระกูล Sony Super FH ในปี 2533 หลังจากที่โซนี่เปิดตัว Super FH เจนเนอเรชันแรกเมื่อหนึ่งปีก่อน ภายใต้คอนเสปต์ “Lay Out Free” ดีไซน์ตัวเครื่อง จัดวางได้อย่างอิสระ มาพร้อมฟังก์ชัน Digital Parametric Equalizer ระบบปรับอีควอไลเซอร์แบบดิจิตอล พร้อมโหมดเสียง Surround รอบทิศทาง และ วงจรเพิ่มเสียงเบสแยกพิเศษ Super Acoustic Turbo (SAT) ราคาของ E929 ในขณะนั้นอยู่ที่ประมาณ 20,000 – 22,000 บาท โดยมีแอมป์พลิฟายเออร์ วิทยุ และเครื่องเล่นเทปแบบเดี่ยวเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน หากต้องการเครื่องเล่นซีดีต้องจ่ายเพิ่มอีกประมาณ 7,000 บาท รวมๆ แล้วก็ถือว่าแพงมากในยุคนั้น ในช่วงที่ราคาทองคำยังไม่แตะหลักหมื่นบาทเหมือนในยุคนี้ ส่วน E929 ตัวที่จะรีวิวในวันนี้ ได้มาในราคาหลักพันจากช่างซ่อมท่านหนึ่งแถวชลบุรี โดยที่ให้ช่างจัดการทำความสะอาดแผงวงจร ซ่อมวิทยุ ซ่อมระบบเทป และปะลำโพงให้เรียบร้อย
ภาคแอมป์และวิทยุ
ภาคแอมป์ดูเรียบๆ ไม่หวือหวาอะไรมากมาย ด้านบนมีปุ่มปรับเสียงเซอร์ราวด์ ช่องเสียบหูฟัง กับปุ่มควบคุมอีควอไลเซอร์แบบดิจิตอล รุ่นนี้มีอีควอไลเซอร์แบบเซ็ตมาให้จากโรงงาน 7 แบบ และสามารถปรับเองได้ 3 แบบ
ด้านล่างมีช่องเสียบไมโครโฟน ปุ่มปรับความดังของไมค์ ปุ่มปรับความหนักแน่นของเสียงเบส ปุ่มปรับสมดุลเสียง ปุ่มจำค่าฟังก์ชั่นการใช้งาน ปุ่มวอลุ่มควบคุมด้วยมอเตอร์เมื่อใช้กับรีโมทคอนโทรล และปุ่มเลือกฟังก์ชั่นการใช้งาน
ภาควิทยุเป็นแบบดิจิตอล สามารถบันทึกสถานีได้ 30 สถานี มีระบบค้นหาสถานีอัตโนมัติ พร้อมนาฬิกาในตัว สามารถตั้งเวลาเปิด – ปิดเครื่องได้
ภาคเทป
เครื่องเล่นเทปของรุ่นนี้จะเป็นแบบเทปเดี่ยว 2 หัว 2 มอเตอร์ ควบคุมด้วยระบบกลไกลอจิก ส่วนตัวนับรอบเทปยังเป็นแบบอนาล็อกอยู่ มีระบบเลือกชนิดของเทปอัตโนมัติ และระบบกลับหน้าเทปอัตโนมัติมาให้ รวมถึงระบบตัดเสียงรบกวน Dolby B และ Dolby C ก็มีให้ใช้เช่นกัน
ลำโพง
รุ่นในใช้ลำโพงรุ่น SS-H3500 เป็นลำโพงสามทาง แบบเสียงเบสสะท้อนกลับ ติดท่อระบายเบสที่ด้านหลังตู้ วูฟเฟอร์ขนาดประมาณ 5 นิ้ว ไดอะแฟรมวูฟเฟอร์ทำจากกระดาษเคลือบน้ำยา ทวีตเตอร์เป็นแบบซอฟโดม ลำโพงกลางเป็นแบบกระดาษเคลือบน้ำยา เช่นเดียวกับวูฟเฟอร์
ทดสอบเสียง
ในการทดสอบครั้งนี้ ผู้เขียนใช้เพลงจากแหล่งเสียงหลายแหล่ง และเพลงหลายแนว ตั้งแต่เพลงแจ๊สระดับออดิโอไฟล์ จนถึงเพลงพ็อพตลาดๆ คาแรกเตอร์เสียงของ E929 จะออกไปทางฟังง่าย ติดหูทันทีที่ได้ฟัง มีความครบเครื่องในตัว คือมีทั้งเบส กลาง แหลม เสียงแหลมออกใส ติดปลายมนเล็กน้อย ไม่คมจนบาดหู เสียงแบบนี้เป็นเสียงแหลมสไตล์โซนี่แท้ๆ เสียงกลางออกไปทางชัดเจน ปลายเสียงไม่ติดคม ออกหวานเล็กน้อย โดยรวมออกไปทางชัดเจน เบสออกโทนนุ่ม จุดเด่นจะอยู่ที่ย่านมิดเบส และอิมแพค เสียงกลองตีได้กระแทกกระทั้นดี ส่วนเสียงฉาบแฉ สแนร์ ก็ทำได้ดีเช่นกัน ส่วนดีพเบสยังไม่ลึกและแน่นเท่าไหร่นัก โฟกัสเครื่องดนตรีทำได้ไม่เลวแต่ก็ไม่ถึงขั้นแยกขาด บรรยากาศในการฟังออกแนวโปร่ง ฟังสบาย ไม่ล้าหู ยิ่งได้ลองปรับอีควอไลเซอร์ ปรับเซอร์ราวด์ ปรับเบส ในแบบที่ชอบ แม้จะเป็นการบิดเบือนคุณภาพเสียง แต่ก็ทำให้เสียงที่ได้มีความกลมกล่อม ลงตัวขึ้น
ลองฟังไปหลายๆ เพลง หลายๆ ยุค พบว่าเพลงที่เข้ากับเครื่องเสียงชุดนี้ที่สุดคือเพลงยุค 80’s และ 90’s แต่เพลงในยุคหลังๆ ก็ฟังเพราะไม่แพ้กัน เพลงพ็อพอินดี้ในยุคนี้ก็ฟังดีไม่หยอก เพลงลูกทุ่งก็ฟังรื่นหู เพลงร็อคก็ใช้ได้ ยกเว้นเพลงแดนซ์ตระกูล EDM ที่เสียงเบสดูจะเก็บตัวช้าไปนิด และแนวคลาสสิคที่รายละเอียดเสียงยังมีการทับกันอยู่ในหลายๆ ช่วง และโฟกัสเครื่องดนตรียังแยกได้ไม่ขาด
สรุป
ผู้เขียนเชื่อว่าหลายคนมีเจ้าเครื่องนี้อยู่ที่บ้าน และยังมีอีกหลายคนที่ยังใช้ฟังเพลงมาจนถึงทุกวันนี้ แม้ว่าทุกวันนี้เครื่องเล่นซีดีกับเทปอาจจะพังไปแล้ว วิทยุเริ่มรับคลื่นได้ไม่ชัด วอลุ่มอาจจะเริ่มมีเสียงติดๆ ขัดๆ บ้าง เสียงอาจจะมีขาดหายบ้าง แต่ก็มีคนนำมาใช้งานกับแหล่งเสียงสมัยใหม่อย่างคอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทโฟน ไม่ใช่เพราะเสียงมันดีเลิศอะไรหรอก เอาจริงๆ ว่าเสียงมันสู้เครื่องเสียงราคาหลายหมื่นไม่ได้ด้วยซ้ำ แต่เพราะมันคือความทรงจำ บางคนเก็บเงินอยู่เป็นปี เพื่อที่จะได้เครื่องเสียงชุดนี้มาครอง บางคนยังเก็บไว้ดูต่างหน้าเพื่อระลึกถึงคนที่เขารัก บางคนได้เครื่องนี้มาในโอกาสสำคัญของชีวิต ความทรงจำนี่แหละคือสิ่งที่เครื่องเสียงตัวนี้มอบให้กับผู้ที่เป็นเจ้าของ ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่า นี่คือเจตนารมณ์ของโซนี่ ที่ใส่ลงไปในผลิตภัณฑ์ที่พวกเขาผลิตขึ้น แม้เวลาจะล่วงเลยมาถึง 27 ปีแล้วก็ตาม
ปล. 1 ไม่รู้ว่าทำไม แต่ในช่วงที่เครื่องเสียงตัวนี้ทำตลาดอยู่ โซนี่ตัดสินใจเอารุ่น FH-E828 ซึ่งเป็นตัวรองทอป โปรโมตแทนตัว E929 ซึ่งรุ่น E828 นั้น ภายนอกไม่ต่างกับรุ่น E929 เลย ยกเว้นเครื่องเล่นเทปที่เป็นระบบเทปคู่
ปล. 2 รู้สึกว่าทางฝั่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเป็นเขตเดียวในเอเชียที่ทำการตลาด Sony Super FH แบบแยกเครื่องเล่นซีดีไปเป็นอุปกรณ์เสริม ซึ่งในเขตอื่นจะแถมเครื่องเล่นซีดีมาให้ในชุดเลย
ปล. 3 ในปี 2533 โซนี่ได้เปิดตัวมินิคอมโปตระกูล Pixy เจนเนอเรชั่นสอง ในรุ่น P99X, P77X และ P33X มีจุดเด่นเรื่องของการปรับสนามเสียงเซอร์ราวด์ได้หลายแบบ โดยรุ่น P99X ถูกส่งไปขายในตลาดยุโรปและอเมริกาในชื่อรุ่น MHC-5500 โดยมี MHC-3500 เป็นรุ่นรองทอป ซึ่งก็คือ FH-E828 เวอร์ชันแถมซีดีนั่นเอง
ปล.4 ในช่วงนั้นโซนี่ไทยยังไม่นำเข้ารุ่น P99X มาขาย แต่ก็มีการนำเข้ามาเองโดยดีลเลอร์อิสระตามย่านสะพานเหล็ก จนกระทั่งในปี 2535 โซนี่ไทยจึงได้เอารุ่น P99X มาจำหน่ายในไทยอย่างเป็นทางการ และน่าจะเป็นรุ่นเดียวของโซนี่ในบ้านเราตอนนั้นที่เอาเครื่องเสียงสเปคญี่ปุ่นมาขาย
[CR] [รีวิวของเก่า] SONY FH-E929 สเตอริโออายุ 27 ปี
ปี พ.ศ. 2533 ปีแห่งความทรงจำของใครหลายคน ปีแห่งการเริ่มต้นทศวรรษ 90’s ปีที่เบิร์ดธงไชยออกอัลบั้มบูมเมอแรง แล้วดังระเบิดด้วยยอดขายเทป 2 ล้านตลับ เช่นเดียวกับคริสติน่า อากีล่าร์ กับอัลบั้มชุดแรกที่โกยยอดขายเกินล้านตลับ เป็นศิลปินหญิงคนแรกของแกรมมี่ที่มียอดขายเทปสูงที่สุดในขณะนั้น หนังเจ๊จูบานฉ่ำก็มาแรง เพลงโน้โค้กกลายเป็นเพลงประจำดิสโก้เธค ละครคู่กรรมที่เบิร์ดธงไชย เล่นคู่กับกวางกมลชนกก็ดังมาก เหตุการณ์ในความทรงจำที่เศร้าสลดของใครหลายคน อย่างอุบัติเหตุแพล่มที่เขื่อนอุบลรัตน์ หลังจากนั้นแค่หนึ่งวันก็เกิดเหตุการณ์รถแก๊สระเบิดที่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่กลายเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ที่คนในยุคนั้นไม่มีวันลืม
ในวงการเครื่องเสียงของไทยในขณะนั้น กระแสความนิยมเครื่องเสียงบ้านตระกูลมินิไฮไฟ หรือ มินิคอมโป กำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มคนเมืองยุคใหม่ ด้วยขนาดที่กะทัดรัด สามารถจัดวางในห้องที่มีขนาดเล็กได้ ดีไซน์ที่สวยงามเสมือนเฟอร์นิเจอร์ชิ้นหนึ่งของบ้าน คุณภาพเสียงที่ใกล้เคียงกับเครื่องเสียงรุ่นใหญ่ในราคาที่ถูกกว่ากันเกือบครึ่ง ทำให้เครื่องเสียงตระกูลมินิคอมโปนั้น กลายเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย
ซึ่ง Sony FH-E929 ที่ผู้เขียนนำมารีวิวในวันนี้ เป็นมินิคอมโปรุ่นทอปเจนเนอเรชันที่สองในตระกูล Sony Super FH ในปี 2533 หลังจากที่โซนี่เปิดตัว Super FH เจนเนอเรชันแรกเมื่อหนึ่งปีก่อน ภายใต้คอนเสปต์ “Lay Out Free” ดีไซน์ตัวเครื่อง จัดวางได้อย่างอิสระ มาพร้อมฟังก์ชัน Digital Parametric Equalizer ระบบปรับอีควอไลเซอร์แบบดิจิตอล พร้อมโหมดเสียง Surround รอบทิศทาง และ วงจรเพิ่มเสียงเบสแยกพิเศษ Super Acoustic Turbo (SAT) ราคาของ E929 ในขณะนั้นอยู่ที่ประมาณ 20,000 – 22,000 บาท โดยมีแอมป์พลิฟายเออร์ วิทยุ และเครื่องเล่นเทปแบบเดี่ยวเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน หากต้องการเครื่องเล่นซีดีต้องจ่ายเพิ่มอีกประมาณ 7,000 บาท รวมๆ แล้วก็ถือว่าแพงมากในยุคนั้น ในช่วงที่ราคาทองคำยังไม่แตะหลักหมื่นบาทเหมือนในยุคนี้ ส่วน E929 ตัวที่จะรีวิวในวันนี้ ได้มาในราคาหลักพันจากช่างซ่อมท่านหนึ่งแถวชลบุรี โดยที่ให้ช่างจัดการทำความสะอาดแผงวงจร ซ่อมวิทยุ ซ่อมระบบเทป และปะลำโพงให้เรียบร้อย
ภาคแอมป์และวิทยุ
ภาคแอมป์ดูเรียบๆ ไม่หวือหวาอะไรมากมาย ด้านบนมีปุ่มปรับเสียงเซอร์ราวด์ ช่องเสียบหูฟัง กับปุ่มควบคุมอีควอไลเซอร์แบบดิจิตอล รุ่นนี้มีอีควอไลเซอร์แบบเซ็ตมาให้จากโรงงาน 7 แบบ และสามารถปรับเองได้ 3 แบบ
ด้านล่างมีช่องเสียบไมโครโฟน ปุ่มปรับความดังของไมค์ ปุ่มปรับความหนักแน่นของเสียงเบส ปุ่มปรับสมดุลเสียง ปุ่มจำค่าฟังก์ชั่นการใช้งาน ปุ่มวอลุ่มควบคุมด้วยมอเตอร์เมื่อใช้กับรีโมทคอนโทรล และปุ่มเลือกฟังก์ชั่นการใช้งาน
ภาควิทยุเป็นแบบดิจิตอล สามารถบันทึกสถานีได้ 30 สถานี มีระบบค้นหาสถานีอัตโนมัติ พร้อมนาฬิกาในตัว สามารถตั้งเวลาเปิด – ปิดเครื่องได้
ภาคเทป
เครื่องเล่นเทปของรุ่นนี้จะเป็นแบบเทปเดี่ยว 2 หัว 2 มอเตอร์ ควบคุมด้วยระบบกลไกลอจิก ส่วนตัวนับรอบเทปยังเป็นแบบอนาล็อกอยู่ มีระบบเลือกชนิดของเทปอัตโนมัติ และระบบกลับหน้าเทปอัตโนมัติมาให้ รวมถึงระบบตัดเสียงรบกวน Dolby B และ Dolby C ก็มีให้ใช้เช่นกัน
ลำโพง
รุ่นในใช้ลำโพงรุ่น SS-H3500 เป็นลำโพงสามทาง แบบเสียงเบสสะท้อนกลับ ติดท่อระบายเบสที่ด้านหลังตู้ วูฟเฟอร์ขนาดประมาณ 5 นิ้ว ไดอะแฟรมวูฟเฟอร์ทำจากกระดาษเคลือบน้ำยา ทวีตเตอร์เป็นแบบซอฟโดม ลำโพงกลางเป็นแบบกระดาษเคลือบน้ำยา เช่นเดียวกับวูฟเฟอร์
ทดสอบเสียง
ในการทดสอบครั้งนี้ ผู้เขียนใช้เพลงจากแหล่งเสียงหลายแหล่ง และเพลงหลายแนว ตั้งแต่เพลงแจ๊สระดับออดิโอไฟล์ จนถึงเพลงพ็อพตลาดๆ คาแรกเตอร์เสียงของ E929 จะออกไปทางฟังง่าย ติดหูทันทีที่ได้ฟัง มีความครบเครื่องในตัว คือมีทั้งเบส กลาง แหลม เสียงแหลมออกใส ติดปลายมนเล็กน้อย ไม่คมจนบาดหู เสียงแบบนี้เป็นเสียงแหลมสไตล์โซนี่แท้ๆ เสียงกลางออกไปทางชัดเจน ปลายเสียงไม่ติดคม ออกหวานเล็กน้อย โดยรวมออกไปทางชัดเจน เบสออกโทนนุ่ม จุดเด่นจะอยู่ที่ย่านมิดเบส และอิมแพค เสียงกลองตีได้กระแทกกระทั้นดี ส่วนเสียงฉาบแฉ สแนร์ ก็ทำได้ดีเช่นกัน ส่วนดีพเบสยังไม่ลึกและแน่นเท่าไหร่นัก โฟกัสเครื่องดนตรีทำได้ไม่เลวแต่ก็ไม่ถึงขั้นแยกขาด บรรยากาศในการฟังออกแนวโปร่ง ฟังสบาย ไม่ล้าหู ยิ่งได้ลองปรับอีควอไลเซอร์ ปรับเซอร์ราวด์ ปรับเบส ในแบบที่ชอบ แม้จะเป็นการบิดเบือนคุณภาพเสียง แต่ก็ทำให้เสียงที่ได้มีความกลมกล่อม ลงตัวขึ้น
ลองฟังไปหลายๆ เพลง หลายๆ ยุค พบว่าเพลงที่เข้ากับเครื่องเสียงชุดนี้ที่สุดคือเพลงยุค 80’s และ 90’s แต่เพลงในยุคหลังๆ ก็ฟังเพราะไม่แพ้กัน เพลงพ็อพอินดี้ในยุคนี้ก็ฟังดีไม่หยอก เพลงลูกทุ่งก็ฟังรื่นหู เพลงร็อคก็ใช้ได้ ยกเว้นเพลงแดนซ์ตระกูล EDM ที่เสียงเบสดูจะเก็บตัวช้าไปนิด และแนวคลาสสิคที่รายละเอียดเสียงยังมีการทับกันอยู่ในหลายๆ ช่วง และโฟกัสเครื่องดนตรียังแยกได้ไม่ขาด
สรุป
ผู้เขียนเชื่อว่าหลายคนมีเจ้าเครื่องนี้อยู่ที่บ้าน และยังมีอีกหลายคนที่ยังใช้ฟังเพลงมาจนถึงทุกวันนี้ แม้ว่าทุกวันนี้เครื่องเล่นซีดีกับเทปอาจจะพังไปแล้ว วิทยุเริ่มรับคลื่นได้ไม่ชัด วอลุ่มอาจจะเริ่มมีเสียงติดๆ ขัดๆ บ้าง เสียงอาจจะมีขาดหายบ้าง แต่ก็มีคนนำมาใช้งานกับแหล่งเสียงสมัยใหม่อย่างคอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทโฟน ไม่ใช่เพราะเสียงมันดีเลิศอะไรหรอก เอาจริงๆ ว่าเสียงมันสู้เครื่องเสียงราคาหลายหมื่นไม่ได้ด้วยซ้ำ แต่เพราะมันคือความทรงจำ บางคนเก็บเงินอยู่เป็นปี เพื่อที่จะได้เครื่องเสียงชุดนี้มาครอง บางคนยังเก็บไว้ดูต่างหน้าเพื่อระลึกถึงคนที่เขารัก บางคนได้เครื่องนี้มาในโอกาสสำคัญของชีวิต ความทรงจำนี่แหละคือสิ่งที่เครื่องเสียงตัวนี้มอบให้กับผู้ที่เป็นเจ้าของ ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่า นี่คือเจตนารมณ์ของโซนี่ ที่ใส่ลงไปในผลิตภัณฑ์ที่พวกเขาผลิตขึ้น แม้เวลาจะล่วงเลยมาถึง 27 ปีแล้วก็ตาม
ปล. 1 ไม่รู้ว่าทำไม แต่ในช่วงที่เครื่องเสียงตัวนี้ทำตลาดอยู่ โซนี่ตัดสินใจเอารุ่น FH-E828 ซึ่งเป็นตัวรองทอป โปรโมตแทนตัว E929 ซึ่งรุ่น E828 นั้น ภายนอกไม่ต่างกับรุ่น E929 เลย ยกเว้นเครื่องเล่นเทปที่เป็นระบบเทปคู่
ปล. 2 รู้สึกว่าทางฝั่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเป็นเขตเดียวในเอเชียที่ทำการตลาด Sony Super FH แบบแยกเครื่องเล่นซีดีไปเป็นอุปกรณ์เสริม ซึ่งในเขตอื่นจะแถมเครื่องเล่นซีดีมาให้ในชุดเลย
ปล. 3 ในปี 2533 โซนี่ได้เปิดตัวมินิคอมโปตระกูล Pixy เจนเนอเรชั่นสอง ในรุ่น P99X, P77X และ P33X มีจุดเด่นเรื่องของการปรับสนามเสียงเซอร์ราวด์ได้หลายแบบ โดยรุ่น P99X ถูกส่งไปขายในตลาดยุโรปและอเมริกาในชื่อรุ่น MHC-5500 โดยมี MHC-3500 เป็นรุ่นรองทอป ซึ่งก็คือ FH-E828 เวอร์ชันแถมซีดีนั่นเอง
ปล.4 ในช่วงนั้นโซนี่ไทยยังไม่นำเข้ารุ่น P99X มาขาย แต่ก็มีการนำเข้ามาเองโดยดีลเลอร์อิสระตามย่านสะพานเหล็ก จนกระทั่งในปี 2535 โซนี่ไทยจึงได้เอารุ่น P99X มาจำหน่ายในไทยอย่างเป็นทางการ และน่าจะเป็นรุ่นเดียวของโซนี่ในบ้านเราตอนนั้นที่เอาเครื่องเสียงสเปคญี่ปุ่นมาขาย