ทำไมโรคซึมเศร้า ยังไม่เป็นที่ยอมรับในประเทศไทยเท่าที่ควรซักทีคะ

เราป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ป่วยมานานแล้ว แต่เพิ่งเข้ารับการรักษา/ทานยาจริงจังประมาณ 1-2 ปีค่ะ

บ่อยครั้งที่เราต้องไปตามนัดหมอ ผู้ใหญ่ที่บ้านก็จะพูดประมาณว่า โรคซึมเศร้ามันไม่มีจริง มันก็แค่จิตใจอ่อนแอ ไม่เข้มแข็งพอ ดูอย่างคนสมัยก่อนยังไม่เห็นมีใครจะเป็นโรคแบบนี้เลย

ต้องออกตัวก่อนว่าไม่ได้มีความรู้ในด้านนี้มากเท่าไหร่ 

แต่เราอธิบายไปว่า คุณหมอวินิจฉัยเราแล้ว ว่าเราป่วยจริง ไม่อย่างนั้นจะนัดดูอาการ และ จ่ายยาให้ทำไม

และโรคซึมเศร้า จริง ๆ มันอาจจะมีมานานแล้ว แต่การแพทย์ปัจจุบันเพิ่งมาค้นพบมัน ว่ามันคือสารที่หลั่งออกมาผิดปกติในสมอง

ซึ่งพอทางบ้านฟัง เค้าก็เงียบไป แต่ก็เหมือนฟังผ่าน ๆ แล้วพอมีประเด็นขึ้นมา ก็จะพูดแบบเดิม ซ้ำแล้วซ้ำเล่า 

แสดงให้เห็นว่าเค้าไม่ได้อยากจะทำความเข้าใจจริงจังแต่แรก แค่มองว่าเราก็แค่อ่อนแอเอง

เราเลยเกิดคำถามว่า ย้อนกลับไปสมัยก่อนที่โลกโซเชียล และ การแพทย์ยังไม่เฟื่องฟู มันมีโรคนี้อยู่ไหม

หรือที่ปัจจุบันมีคนฆ่าตัวตายเพราะโรคซึมเศร้าเยอะขึ้น เพราะเกิดการเลียนแบบพฤติกรรมในโลกโซเชียล

แล้วควรจะคุยกับทางบ้านยังไงให้เข้าใจมากขึ้นดีคะ

เลยอยากให้เพื่อน ๆ ที่เป็นโรคนี้เอง หรือ มีโอกาสใกล้ชิดกับผู้ป่วย มาแชร์ประสบการณ์ และ มุมมองความคิดให้ฟังหน่อยค่ะ ขอบคุณค่ะ

***ปล. อาการของเรา จะเป็นคนที่อ่อนไหวง่าย มีอะไรกระทบกระเทือนจิตใจนิดหน่อย ก็จะทรุดง่าย (แต่ยังดีที่ฟื้นตัวได้เร็ว) 
           เวลามีปัญหาชีวิต จะชอบไปดื่มเงียบ ๆ คนเดียว ไม่มีพฤติกรรมก้าวร้าว หรือ เหวี่ยงวีนใส่คนรอบข้าง
           เว้นแต่ว่าเข้ามาวุ่นวาย/หาเรื่องทะเลาะกับเราเองค่ะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่