เรียกร้องความสนใจ เป็นอาการหนึ่งของซึมเศร้ารึเปล่า

เพื่ิอนของลูกได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นซึมเศร้าเรื้อรังมาระยะหนึ่งแล้ว
พฤติกรรมหลังจากได้รับการวินิจฉัยจากหมอเปลี่ยนไปจากเดิมเยอะ
เช่น ต้องการความสนใจ ความรักจากคนรอบข้างและสังคมโซเชียล, ทำอะไรตามใจตัวเองโดยไม่ยั้งคิด, alert มากขึ้น

จากเดิมที่พฤติกรรมดูน่าสงสาร น่าเห็นใจ กลายเป็นตอนนี้โดนหมั่นไส้ ไม่มีใครอยากข้องเกี่ยวด้วย
ตอนแรกเราก็เป็นห่วงมาก กลัวเขาจะคิดทำร้ายตัวเอง แต่เขาบอกลูกว่าเขาไม่มีทางทำร้ายตัวเอง เขาไม่ได้อยากตาย เขาอยากหาย

เป็นเพราะฤทธิ์ยาหรือนี่คืออาการหนึ่งของโรค

เพื่อนคนนี้ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ แต่อยู่กับป้าซึ่งมีอาการไบโพลาร์ จะเป็นที่รองรับอารมณ์ของป้าเสมอ และต้องแอบไปหาจิตแพทย์ไม่สามารถบอกผู้ปกครองได้เพราะจะโดนทำร้ายจิตใจด้วยการดุด่า

เด็กน่าสงสารมาก ไม่มีทางออกให้กับตัวเองเลย โตขึ้นคงเป็นผู้ใหญ่ที่น่าสงสารเช่นกัน

เราก็แค่คนนอก ไม่สามารถช่วยอะไรได้ บนโลกใบนี้จะมีเด็กชะตากรรมแบบนี้อีกกี่คน
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 9
ก่อนอื่นตัดประเด็นที่เหมือนเอาเรื่องคนอื่นมานินทาให้คนในพันทิปฟังออกไปก่อน เพราะ ท่านอื่นพูดแทนไปหมดแล้ว
เอาจริงๆถ้าคุยกันเรื่องของตัวโรคจริงๆ จากคนทำอาชีพที่คลุกคลีกับผู้ป่วยจิตเวช ผมกล้าพูดเลย โรคซึมเศร้า ไม่ได้มีความสัมพันธ์อะไรกับพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจโดยตรงเลยแม้แต่น้อย (โรคซึมเศร้าไม่ได้ทำให้เกิดพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจ) แต่พฤติกรรมนี้มันมาจากการที่สังคมปัจจุบันรับรู้เรื่องโรคทางจิตเวช และ เปิดใจยอมผู้ป่วยกลุ่มนี้ และมักให้การดูแลเอาใจใส่มากกว่าคนปกติในฐานะคนป่วยคนนึง (ซึ่งเป็นอันนี้สิ่งที่ดีและเป็นเรื่องปกติที่สังคมยอมรับผู้ป่วยจิตเวชมากขึ้น ไม่แบ่งแยกเหมือนสมัยก่อน) แต่สิ่งนี้ทำให้บางคนเกิดพฤติกรรมเบี่ยงเบน เข้าใจผิดไปว่าฉันจะทำอะไรก็ได้ เพราะฉันป่วย/โดนว่าหรอ ก็ฉันป่วย/ทำผิดหรอ ก็เห็นใจฉันหน่อยฉันไม่ได้อยากทำ แต่ฉันป่วย จนมันกลายเป็นข้ออ้าง (Excuse) ในการยกขึ้นมาป้องกัน หรือ ในการแก้ตัวให้พ้นผิด ลดแรงกระแทกจากสังคม หรือใช้ในการเรียกความเห็นใจสังคมไปแล้ว คุณเคยสังเกตุไหมหลายๆเรื่องเลยจะมีการอ้างเหตุผลจากผู้กระทำผิดว่า ฉันป่วยมีปัญหาด้านจิตใจ/ฉันเป็นซึมเศร้า/ฉันไม่ได้ตั้งใจไม่ได้อยากทำแต่ฉันป่วยอะ ส่วนเรื่องเรียกร้องความสนใจ แต่เดิมผู้ป่วยอาจจะไม่ค่อยมีเพื่อน หรือ ไม่ค่อยมีบทบาทอะไร พอป่วย มีคนเห็นอกเห็นใจมากขึ้น เอาใจใส่มากขึ้น ก็เลยอาจจะเกิดชุดความคิดที่ว่า ป่วยก็ดีนะนี่มีคนสนใจ (เพราะเป็นจุดที่ไปตอบสนองเรื่องปมด้อยของเค้าพอดี) ก็เลยเป็นแรงผลักดันให้กระทำเรื่อยๆ ถ้าเกิดอันไหนทำพลาดแล้วโดนด่า โดนว่าก็อ้าง ฉันเป็นซึมเศร้า ฉันป่วย เข้าใจฉันหน่อย มากำบังตัวเองได้อีก

ปล.ถ้าสังเกตุดีๆข้ออ้างเรื่องโรคทางจิตเวชยอดฮิตคือ 1.ซึมเศร้า 2.ไบโพลาร์ ทำไมไม่ใครอ้างโรคอื่นบ้าง เช่น โรคจิตเภท นั่นก็เพราะ โรคจิตเภทเป็นโรคที่รุนแรงกว่ามาก แม้อาจจะได้รับความเห็นใจมากกว่า แต่สังคมยังไม่ยอมรับเท่ากลุ่มโรคทางอารมณ์ ถ้าอ้างไป นอกจากเสียภาพลักษณ์แล้ว เกิดเค้าเอาไปพูดต่อๆกัน อนาคตอาจจะหางานยาก ไม่ค่อยมีใครอยากรับเข้าทำงาน (โรคมันยังไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม คนที่เป็นจิตเภทมักจะถูกคนที่ไม่เข้าใจมองว่าหลอนบ้าง ว่าบ้าบ้าง หลายคนที่เป็นแม้จะได้รับการรักษาจนสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติแล้วก็มักจะปกปิดเรื่องนี้กัน) เค้าเลยต้องอ้างโรคที่เป็นที่ยอมรับที่คนเห็นใจแล้วผลกระทบน้อย

ปล.2 เป็นการตอบคำถามคุณ จขกท. และยกโมเดลมาอธิบายเฉยๆปัญหาเท่านั้น ไม่ได้โจมตีว่าผู้ป่วยซึมเศร้าเป็นแบบนี้ (ผมรู้ดีว่าผู้ป่วยจริงๆแล้วเป็นอย่างไรจากอาชีพและประสบการณ์ผม) แต่เป็นการยกเหตุผลในลักษณะ Case by Case ให้คุณ จขกท. ฟังเพียงเท่านั้น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่