"ขอขอบคุณเพจ ป ปืนอย่างสูงครับ"
https://www.facebook.com/Porpeunbybaster/
หลังJohn M. Browningออกแบบต้นแบบปืนกลที่ใช้ระบบบริหารกลไกด้วยแรงสะท้อนถอยหลังหรือ Recoil-operated automatic ของลำกล้องในปี 1900 เป็นเวลา10ปีที่เขาไม่ได้ออกแบบปืนกลอีกเลยในปี 1910 เขาก้ได้นำหลักการของระบบนี้มาชิอีกกับปืนกล ซึ่งบรรจุกระสุนด้วยสายกระสุน
การออกแบบนี้มีการใช้ระบบระบายความร้อนด้วยน้ำเข้าไปด้วย ซึ่งเป็นการพัฒนาเป็นปืนกลหนัก /Heavy machine gun ขนาด .30-06 Springfield (ต่อมามีการพัฒนาเป็นระบายความร้อนด้วยอากาศคือ M1919 เป็นปืนกลกลาง และ มีM2 ขนาด.50 ในปี1933 จึงมีการตั้งประเภทกันใหม่) ถึงแม้จะมีน้ำหนักเพียง 47 ปอนด์ ก็ตาม แต่ระบบบริหารกลไกต่างๆเช่น ระบบบริหารกลไกด้วยแรงสะท้อน (recoil operation ), เข้ากลอนด้วยร่อง T-slot breechblock ,ระบบป้อนกระสุนแบบดึงสายกระสุน ("pull-out" belt feed), ระบายความร้อนด้วยน้ำ (water cooling), และ คายปลอกกะสุนลงด้านล่าง(ผลักออกหน้าลูกเลื่อน /forward ejection.) นั้นล้วนมีส่วนคล้ายระบบของ Maxim หรือ Vickers
การทำงานของปืนจะอาศัยแรงสะท้อนจากปากลำกล้องช่วงสั้น (short-recoil action) ซึ่งโครงนำลูกเลื่อนจะติดอยู่กับส่วนท้ายของลำกล้อง เมื่อส่วนโครงนำถอยมา ร่องบังคับจะบังคับให้แท่งขัดกลอนเลื่อนลงมาและลดตัวลงปล่อยให้ลูกเลื่อนถอยหลังไปได้โดยมีกระเดื่องช่วยพลักลูกเลื่อนให้ถอยหลังไปพร้อมกับแรงเฉื่อยของระบบ โครงนำลูกเลื่อนและลูกเลื่อนจะมีแหนบสปริงหลักคนล่ะชุดกัน
ระบบลั่นไกจะเป็นแบบพร้อมยิงขณะลูกเลื่อนปิด ( fire from a closed bolt ) โดยใช้การเหนี่ยวไก สะพานไกจะปล่อยให้ตัวค้างไก (Sear)เลื่อนตำลงมาปล่อยให้เข็มแทงชนวนแบบพุ่งกระแทกZstrikes)ทำงาน เมื่อระบบส่งลูกเลื่อนถอยหลังมา ด้านในลูกเลื่อนจะมีก้านกระเดื่องสำหรับขึ้นนกปืน ซึ่งจะใช้การเคลื่อนที่ของลูกเลื่อนและบ่าของโครงปืนทำงานประสานกัน ในแต่ล่ะวงรอบของการทำงาน
การป้อนกระสุนจะมีแขนเกี่ยวสายกระสุนเข้าสู่ระบบ แบบปืนกลM60 ซึ่งจะอาศัยร่องลูกเบี้ยวที่ลูกเลื่อนในการควบคุมจังหวะในการป้อนกระสุน จากสายกระสุนแบบผ้า การทำงานจะต้องดึงคันรั้ง2ครั้ง ครั้งแรกเป็นป้อนกระสุนเข้าสู่ตำแหน่งเตรียมจ่าย ครั้งที่สองป้อนกระสุนเข้าสู่รังเพลิง ที่ลูกเลื่อนขอรั้งปลอกกระสุนจะสามารถเหวี่ยงขึ้นลงได้ตามจังหวะการป้อนซึ่งจะป้อนกระสุนไปที่ร่องหางเหยี่ยวที่หน้าลูกเลื่อน การคัดปลอกร่องหางเหยี่ยวจะดึงปลอกกระสุนออกมาและคัดปลอกทิ้งลงด้านล่างเพราะขอรั้งปลอกกระสุนดันลงต่อมา โดยขอรั้งปลอกกระสุนจะจับเป็นรูปตัวU
ลำกล้องนั้นจะมีการประกอบกับโครงนำลูกเลื่อนด้วยเกลียวดังนั้นเมื่อมีการประกอบจึงจะต้องมีการตั้งระยะหน้าลูกเลื่อนทุกครั้ง(headspace) รวมถึงหลังการใช้งาน
ปืนกลหนักนี้ผลิตใช้งานในปี 1917 และได้ชื่อเรียกว่า “M1917 Browning machine gun”
ปืนจะใช้งานร่วมกับระบบขาหยั่งแบบ M2 tripods the T&E mechanism ซึ่งสามารถขนย้ายได้อย่างรวดเร็ว
M1917มีอัตราการยิงอยู่ที่ 450 นัดต่อนาที และรุ่น M1917A1 600นัดต่อนาที
เมื่อสหรัฐฯ ประกาศเข้าร่วมสงครามในภาคพื้นยุโรป หรือสงครามโลกครั้งที่ 1 ทาง เดือนเมษายน ปี 1917 ทาง Army Ordnance Department จึงได้มีความสนใจในปืนกลของ Browning เพราะเวลานั้นกองทัพบกอเมริกามีปืนกลอยู่เพียง 1,100 กระบอกเท่านั้น ในเดือนพฤษภาคมมีการทดสอบปืนซึ่งสามารถยิงไปได้ถึง20,000 นัดโดยมีอาการติดขัดที่มาจากสายพานผ้าเล็กน้อยเท่านั้น และมีปัญหาเซียร์แตกเมื่อยิงไป36,000นัด ถึงแม้คณะกรรมธิการจะประทับใจแต่ก็ยังไม่มั่นใจ Browningจึงได้นำปืนกระบอกที่สองมาทำการยิงทดสอบแบบกระบอกแรกและยิงต่อไปได้อีก21,000นัด ยิงต่อเนื่องเป็นเวลา 48 นาที 12วินาที
กองทัพได้ตัดสินใจเลือกใช้กับกระสุนแบบ .30-06 ซึ่ง M1917 นั้นมีการผลิตโดย Westinghouse และ Remington ซึ่ง ในปี1918 Westinghouse ผลิตไปได้ 2,500กระบอก และ Remington ผลิตได้ 1,600.กระบอก
และเมื่อสงครามเข้าสู่ช่วงสงบศึกนั้น Westinghouse ผลิตได้ 30,150 กระบอก,Remingtonผลิตได้ 12,000กระบอก และ Colt ผลิตได้ 600กระบอก โดยรวมสามารถผลิตได้ 128,369 กระบอก รวมถึงหลังสงคราม
แต่ถึงแบบนั้นกองกำลังของอเมริกาในต่างแดน(American Expeditionary Force.) นั้นใช้ปืนกลร่วมกันกลายแบบ เช่น M1895 Colt–Browning machine gun , Maxim Gun, Benet–Mercie M1909, และ Hotchkiss M1914 machine gun
มีรุ่นต่างๆอีกคือ
ในปี 1930 ได้มีการปรับปรุงเป็นรุ่น M1917A1 โดยแก้ปัญหาเรื่องความแข็งแรงของโครงปืน ระบบป้อนสายกระสุน ชิ้นส่วนทองเหลือง และปรับอัตราการยิงสูงขึ้นจากเดิม ทำการรปรับปรุงโดย Rock Island Arsenal
รุ่น M1918 เป็นรุ่นระบายความร้อนด้วยอากาศของ M1917 ซึ่งใช้งานบนอากาศยาน และมีน้ำหนักเบากว่ารุ่นมาตรฐาน และมีการปรับปรุงเป็นรุ่น M1918M1
มีรุ่นส่งออกคือ
Colt Model of 1919 (คลล่ะตัวกับ M1919 Browning machine gun ที่ระบายความร้อนด้วยอากาศ )
Colt Model of 1924
Colt Model of 1928. มีคันนิรภัยตำแหน่งนิ้วหัวแม่มือ ( thumb safety), .ใช้ปลอกลดแสงแบบ Type A flash hider มีแท่นติดตั้งกล้องเล็งแบบ panoramic sight
Colt MG38 series,ออกแบบในปี1931 เป็นรุ่น Colt M1928 ที่ทำมาขายทั่วไปในขนาดกระสุนต่างๆ
รุ่นที่ผลิตโดยประเทศอื่นๆเช่น
FN30
ซึ่งผลิตโดย Fabrique Nationale เบลเยี่ยมโดยผลิตสำเนามาจากรุ่น M1917 ซึ่งผลิตออกมาหลายขนาดกระสุน เพื่อทำการส่งออก
Ksp m/14-29 และ ksp m/36
ผลิตโดย Carl Gustafs Gevärsfaktori สวีเดน อิงกับรุ่น M1917A1, โดยผลิตในขนาด 6.5×55mm, และรุ่นต่อสู่อากาศยานใช้กระสุนขนาด 8×63mm patron m/32 ในปี1966 ได้ปรับมาใช้กระสุนขนาด 7.62×51mm NATO จนสิ้นสุดยุค 1990
Ckm wz.30
ผลิตโดย Państwowa Fabryka Karabinów. โปลแลนด์ ใช้กระสุนขนาด 7.92×57mm Mauser
M/29 (Colt MG 38)
ผลิตโดย นอร์เวย์ ใช้กระสุนขนาด 7,92 × 61 mm
ในประเทศไทยนั้นเคยมีการสั่งนำเข้ามาใช้งานในกองทัพครั้งแรกคือ รุ่น FN30 ซึ่งใช้กระสุนแบบ๖๖ ขนาด 8x52 mmR ซึ่งเรียกว่า ปืนกลหนักแบบ ๖๖ ในปีพ.ศ.2466
ปืนกลหนักแบบ ๖๖ ถูกใช้งานโดยกองทัพพายัพในเชียงตุง
และมีการนำมาใช้โดยความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาในปี 2488 คือ ปืนกลหนักแบบ ๘๘ ซึ่งเป็นรุ่น M1917A1 ขนาด .30-06 สปริงฟิลล์
หากมีข้อผิดพลาดประการใดๆก็ ขออภัยมา ณ. ที่นี้ครับ และขอบคุณที่ติดตาม
Cr.
https://en.wikipedia.org/wiki/M1917_Browning_machine_gun
https://www.youtube.com/watch?v=1Bf6kv1jZng
https://www.militaryfactory.com/smallarms/detail.asp...
https://www.iwm.org.uk/collections/item/object/30034677
https://modernfirearms.net/.../browning-m1917-m1919-eng/
#M1917_Browning_machine_gun #ป_ปืน
John Moses Browning 1855–1926
สวัสดีครับ
สารานุกรมปืนตอนที่ 421 M1917 Browning machine gun
https://www.facebook.com/Porpeunbybaster/
หลังJohn M. Browningออกแบบต้นแบบปืนกลที่ใช้ระบบบริหารกลไกด้วยแรงสะท้อนถอยหลังหรือ Recoil-operated automatic ของลำกล้องในปี 1900 เป็นเวลา10ปีที่เขาไม่ได้ออกแบบปืนกลอีกเลยในปี 1910 เขาก้ได้นำหลักการของระบบนี้มาชิอีกกับปืนกล ซึ่งบรรจุกระสุนด้วยสายกระสุน
การออกแบบนี้มีการใช้ระบบระบายความร้อนด้วยน้ำเข้าไปด้วย ซึ่งเป็นการพัฒนาเป็นปืนกลหนัก /Heavy machine gun ขนาด .30-06 Springfield (ต่อมามีการพัฒนาเป็นระบายความร้อนด้วยอากาศคือ M1919 เป็นปืนกลกลาง และ มีM2 ขนาด.50 ในปี1933 จึงมีการตั้งประเภทกันใหม่) ถึงแม้จะมีน้ำหนักเพียง 47 ปอนด์ ก็ตาม แต่ระบบบริหารกลไกต่างๆเช่น ระบบบริหารกลไกด้วยแรงสะท้อน (recoil operation ), เข้ากลอนด้วยร่อง T-slot breechblock ,ระบบป้อนกระสุนแบบดึงสายกระสุน ("pull-out" belt feed), ระบายความร้อนด้วยน้ำ (water cooling), และ คายปลอกกะสุนลงด้านล่าง(ผลักออกหน้าลูกเลื่อน /forward ejection.) นั้นล้วนมีส่วนคล้ายระบบของ Maxim หรือ Vickers
การทำงานของปืนจะอาศัยแรงสะท้อนจากปากลำกล้องช่วงสั้น (short-recoil action) ซึ่งโครงนำลูกเลื่อนจะติดอยู่กับส่วนท้ายของลำกล้อง เมื่อส่วนโครงนำถอยมา ร่องบังคับจะบังคับให้แท่งขัดกลอนเลื่อนลงมาและลดตัวลงปล่อยให้ลูกเลื่อนถอยหลังไปได้โดยมีกระเดื่องช่วยพลักลูกเลื่อนให้ถอยหลังไปพร้อมกับแรงเฉื่อยของระบบ โครงนำลูกเลื่อนและลูกเลื่อนจะมีแหนบสปริงหลักคนล่ะชุดกัน
ระบบลั่นไกจะเป็นแบบพร้อมยิงขณะลูกเลื่อนปิด ( fire from a closed bolt ) โดยใช้การเหนี่ยวไก สะพานไกจะปล่อยให้ตัวค้างไก (Sear)เลื่อนตำลงมาปล่อยให้เข็มแทงชนวนแบบพุ่งกระแทกZstrikes)ทำงาน เมื่อระบบส่งลูกเลื่อนถอยหลังมา ด้านในลูกเลื่อนจะมีก้านกระเดื่องสำหรับขึ้นนกปืน ซึ่งจะใช้การเคลื่อนที่ของลูกเลื่อนและบ่าของโครงปืนทำงานประสานกัน ในแต่ล่ะวงรอบของการทำงาน
การป้อนกระสุนจะมีแขนเกี่ยวสายกระสุนเข้าสู่ระบบ แบบปืนกลM60 ซึ่งจะอาศัยร่องลูกเบี้ยวที่ลูกเลื่อนในการควบคุมจังหวะในการป้อนกระสุน จากสายกระสุนแบบผ้า การทำงานจะต้องดึงคันรั้ง2ครั้ง ครั้งแรกเป็นป้อนกระสุนเข้าสู่ตำแหน่งเตรียมจ่าย ครั้งที่สองป้อนกระสุนเข้าสู่รังเพลิง ที่ลูกเลื่อนขอรั้งปลอกกระสุนจะสามารถเหวี่ยงขึ้นลงได้ตามจังหวะการป้อนซึ่งจะป้อนกระสุนไปที่ร่องหางเหยี่ยวที่หน้าลูกเลื่อน การคัดปลอกร่องหางเหยี่ยวจะดึงปลอกกระสุนออกมาและคัดปลอกทิ้งลงด้านล่างเพราะขอรั้งปลอกกระสุนดันลงต่อมา โดยขอรั้งปลอกกระสุนจะจับเป็นรูปตัวU
ลำกล้องนั้นจะมีการประกอบกับโครงนำลูกเลื่อนด้วยเกลียวดังนั้นเมื่อมีการประกอบจึงจะต้องมีการตั้งระยะหน้าลูกเลื่อนทุกครั้ง(headspace) รวมถึงหลังการใช้งาน
ปืนกลหนักนี้ผลิตใช้งานในปี 1917 และได้ชื่อเรียกว่า “M1917 Browning machine gun”
ปืนจะใช้งานร่วมกับระบบขาหยั่งแบบ M2 tripods the T&E mechanism ซึ่งสามารถขนย้ายได้อย่างรวดเร็ว
M1917มีอัตราการยิงอยู่ที่ 450 นัดต่อนาที และรุ่น M1917A1 600นัดต่อนาที
เมื่อสหรัฐฯ ประกาศเข้าร่วมสงครามในภาคพื้นยุโรป หรือสงครามโลกครั้งที่ 1 ทาง เดือนเมษายน ปี 1917 ทาง Army Ordnance Department จึงได้มีความสนใจในปืนกลของ Browning เพราะเวลานั้นกองทัพบกอเมริกามีปืนกลอยู่เพียง 1,100 กระบอกเท่านั้น ในเดือนพฤษภาคมมีการทดสอบปืนซึ่งสามารถยิงไปได้ถึง20,000 นัดโดยมีอาการติดขัดที่มาจากสายพานผ้าเล็กน้อยเท่านั้น และมีปัญหาเซียร์แตกเมื่อยิงไป36,000นัด ถึงแม้คณะกรรมธิการจะประทับใจแต่ก็ยังไม่มั่นใจ Browningจึงได้นำปืนกระบอกที่สองมาทำการยิงทดสอบแบบกระบอกแรกและยิงต่อไปได้อีก21,000นัด ยิงต่อเนื่องเป็นเวลา 48 นาที 12วินาที
กองทัพได้ตัดสินใจเลือกใช้กับกระสุนแบบ .30-06 ซึ่ง M1917 นั้นมีการผลิตโดย Westinghouse และ Remington ซึ่ง ในปี1918 Westinghouse ผลิตไปได้ 2,500กระบอก และ Remington ผลิตได้ 1,600.กระบอก
และเมื่อสงครามเข้าสู่ช่วงสงบศึกนั้น Westinghouse ผลิตได้ 30,150 กระบอก,Remingtonผลิตได้ 12,000กระบอก และ Colt ผลิตได้ 600กระบอก โดยรวมสามารถผลิตได้ 128,369 กระบอก รวมถึงหลังสงคราม
แต่ถึงแบบนั้นกองกำลังของอเมริกาในต่างแดน(American Expeditionary Force.) นั้นใช้ปืนกลร่วมกันกลายแบบ เช่น M1895 Colt–Browning machine gun , Maxim Gun, Benet–Mercie M1909, และ Hotchkiss M1914 machine gun
มีรุ่นต่างๆอีกคือ
ในปี 1930 ได้มีการปรับปรุงเป็นรุ่น M1917A1 โดยแก้ปัญหาเรื่องความแข็งแรงของโครงปืน ระบบป้อนสายกระสุน ชิ้นส่วนทองเหลือง และปรับอัตราการยิงสูงขึ้นจากเดิม ทำการรปรับปรุงโดย Rock Island Arsenal
รุ่น M1918 เป็นรุ่นระบายความร้อนด้วยอากาศของ M1917 ซึ่งใช้งานบนอากาศยาน และมีน้ำหนักเบากว่ารุ่นมาตรฐาน และมีการปรับปรุงเป็นรุ่น M1918M1
มีรุ่นส่งออกคือ
Colt Model of 1919 (คลล่ะตัวกับ M1919 Browning machine gun ที่ระบายความร้อนด้วยอากาศ )
Colt Model of 1924
Colt Model of 1928. มีคันนิรภัยตำแหน่งนิ้วหัวแม่มือ ( thumb safety), .ใช้ปลอกลดแสงแบบ Type A flash hider มีแท่นติดตั้งกล้องเล็งแบบ panoramic sight
Colt MG38 series,ออกแบบในปี1931 เป็นรุ่น Colt M1928 ที่ทำมาขายทั่วไปในขนาดกระสุนต่างๆ
รุ่นที่ผลิตโดยประเทศอื่นๆเช่น
FN30
ซึ่งผลิตโดย Fabrique Nationale เบลเยี่ยมโดยผลิตสำเนามาจากรุ่น M1917 ซึ่งผลิตออกมาหลายขนาดกระสุน เพื่อทำการส่งออก
Ksp m/14-29 และ ksp m/36
ผลิตโดย Carl Gustafs Gevärsfaktori สวีเดน อิงกับรุ่น M1917A1, โดยผลิตในขนาด 6.5×55mm, และรุ่นต่อสู่อากาศยานใช้กระสุนขนาด 8×63mm patron m/32 ในปี1966 ได้ปรับมาใช้กระสุนขนาด 7.62×51mm NATO จนสิ้นสุดยุค 1990
Ckm wz.30
ผลิตโดย Państwowa Fabryka Karabinów. โปลแลนด์ ใช้กระสุนขนาด 7.92×57mm Mauser
M/29 (Colt MG 38)
ผลิตโดย นอร์เวย์ ใช้กระสุนขนาด 7,92 × 61 mm
ในประเทศไทยนั้นเคยมีการสั่งนำเข้ามาใช้งานในกองทัพครั้งแรกคือ รุ่น FN30 ซึ่งใช้กระสุนแบบ๖๖ ขนาด 8x52 mmR ซึ่งเรียกว่า ปืนกลหนักแบบ ๖๖ ในปีพ.ศ.2466
ปืนกลหนักแบบ ๖๖ ถูกใช้งานโดยกองทัพพายัพในเชียงตุง
และมีการนำมาใช้โดยความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาในปี 2488 คือ ปืนกลหนักแบบ ๘๘ ซึ่งเป็นรุ่น M1917A1 ขนาด .30-06 สปริงฟิลล์
หากมีข้อผิดพลาดประการใดๆก็ ขออภัยมา ณ. ที่นี้ครับ และขอบคุณที่ติดตาม
Cr.
https://en.wikipedia.org/wiki/M1917_Browning_machine_gun
https://www.youtube.com/watch?v=1Bf6kv1jZng
https://www.militaryfactory.com/smallarms/detail.asp...
https://www.iwm.org.uk/collections/item/object/30034677
https://modernfirearms.net/.../browning-m1917-m1919-eng/
#M1917_Browning_machine_gun #ป_ปืน